ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

วิธีการทางเทคโนโลยีดิจิทัลในการประยุกต์ใช้มาตรฐาน การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล (กรณีประยุกต์ใช้มาตรฐานฯ ข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) กล่าวถึงอะไร

    สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) มีหน้าที่อำนวยการ และสนับสนุนการปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลมอบหมาย และดำเนินการร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ เสนอคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 และแต่งตั้งคณะทำงานเทคนิค ด้านมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ เพื่อสนับสนุนการร่างมาตรฐานและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดทำระบบศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางภาครัฐ รวมถึงแนวปฏิบัติ คู่มือ เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันภายใต้มาตรฐานเดียวกัน โดยได้จัดทำ (ร่าง) มสพร. x – 256x มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยวิธีการทางเทคโนโลยีดิจิทัลในการประยุกต์ใช้มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล (กรณีประยุกต์ใช้มาตรฐานฯ ข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐานฯ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2567 ได้มีมติเห็นชอบให้นำร่างมาตรฐานไปจัดทำประชาพิจารณ์ต่อไป

มาตรฐานฯ ฉบับนี้ เป็นการประยุกต์ใช้มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล เรื่อง ข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (Land and Building Tax) ครอบคลุมถึงองค์ประกอบ และโครงสร้างของข้อมูลที่ใช้อธิบายถึง “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” ในชุดข้อมูลที่สำคัญเช่น ข้อมูลประเมินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ข้อมูลผู้ถือกรรมสิทธิ์ ข้อมูลการชำระภาษี ข้อมูลภาษีห้องชุด ข้อมูลหน้าสำรวจของเอกสารสิทธิ ซึ่งจะนำไปใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน พร้อมทั้งแนวทางการประยุกต์ใช้มาตรฐาน โดยมีเครื่องมือในการสนับสนุนการพัฒนาระบบสำหรับผู้ที่สนใจ โดยมีแนวทางและหลักการที่สอดคล้องกับมาตรฐาน ทั้งคำนิยามและวิธีการแลกเปลี่ยน ตามที่ระบุในมาตรฐาน

ในการนี้ สพร. ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นต่อ (ร่าง) มาตรฐานฯ โดยสามารถตอบแบบสำรวจความเห็นผ่านระบบออนไลน์ (Microsoft Forms) ในระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม – 7 สิงหาคม 2567 และเข้าร่วมงานประชุมรับฟังความคิดเห็นในรูปแบบออนไลน์ (Microsoft Teams) ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2567 เวลา 13.30 – 15.30 น. โดยท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารเพื่อแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

เอกสารและไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

รายการวันที่นำเข้าลิงก์ /ดาวน์โหลด
1. ร่างมาตรฐานฯ ด้านความหมายข้อมูล เรื่องวิธีการทางเทคโนโลยีดิจิทัลในการประยุกต์ใช้มาตรฐานฯ ข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (Land and Building Tax Data)11/06/2567
2. แบบสำรวจความเห็นต่อ (ร่าง) มาตรฐานฯ ด้านความหมายข้อมูล เรื่องวิธีการทางเทคโนโลยีดิจิทัลในการประยุกต์ใช้มาตรฐานฯ ข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (Land and Building Tax Data)(ออนไลน์)11/06/2567
3. แบบสำรวจความเห็นต่อ (ร่าง) มาตรฐานฯ ด้านความหมายข้อมูล เรื่องวิธีการทางเทคโนโลยีดิจิทัลในการประยุกต์ใช้มาตรฐานฯ ข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (Land and Building Tax Data) (ออฟไลน์) 11/06/256ึ7
4. คำชี้แจงการสำรวจความคิดเห็นและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล11/06/2567
5. กำหนดการประชาพิจารณ์11/06/2567
6. แบบตอบรับลงทะเบียนเข้าร่วมงาน (ออนไลน์)11/06/2567
7. ลิงก์เข้าร่วมงาน (MS-Teams Conference)11/06/2567
8. เอกสารนำเสนอสำหรับงานรับฟังความคิดเห็นฯ_(สำหรับเผยแพร่)24/07/2567

เอกสารและลิงก์ที่เกี่ยวข้อง ลิงก์สำหรับเข้าร่วมงานประชาพิจารณ์

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

หน่วยงานภาครัฐและเอกชนหันมาให้ความสนใจเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญในระดับบุคคล สามารถนำไปใช้วิเคราะห์เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานได้เป็นอย่างสูง ปัจจุบันมีพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายสำคัญที่ช่วยเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการจัดเก็บและนำไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเสียก่อน ประกอบกับ พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ.2562 มาตรา 8 ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ต้องประกอบด้วย (2) การมีระบบบริหารและกระบวนการจัดการและคุ้มครองข้อมูลที่ครบถ้วน แสดงถึงการให้ความสำคัญในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่ามีกฎหมายที่บัญญัติขึ้น แต่ยังพบว่ายังคงมีปัญหาการหลุดรั่วของข้อมูลส่วนบุคคลเกิดขึ้น การจัดทำข้อมูลให้เป็นนิรนามจึงเป็นกระบวนการที่สำคัญที่ช่วยปกป้องคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและรักษาความเป็นส่วนตัว แต่ยังคงสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางการวิเคราะห์ การวิจัย การพัฒนานวัตกรรม หรือเทคโนโลยีใหม่  โดยไม่ละเมิดสิทธิ์และความเป็นส่วนตัวของบุคคล ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล และสนับสนุนการใช้ข้อมูลอย่างมีจริยธรรมและถูกต้องตามกฎหมายที่กำหนด

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ได้จัดทำ (ร่าง) มสพร. X-256X มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการจัดทำข้อมูลนิรนาม เวอร์ชัน 1.0 โดยเสนอคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำข้อมูลนิรนาม กรอบแนวคิดและขั้นตอนในการจัดทำข้อมูลนิรนาม 5 ขั้นตอน อีกทั้งศึกษารวบรวมเทคนิควิธีการและหลักเกณฑ์การพิจารณาในการจัดทำข้อมูลนิรนามโดยสรุปได้ 7 วิธี และการวิเคราะห์ความเสี่ยงในการเปิดเผยข้อมูล นอกจากนี้มีการแนะนำเครื่องมือในการจัดทำข้อมูลนิรนามและกรณีศึกษาจากหน่วยงานที่มีการดำเนินการจัดทำข้อมูลให้เป็นนิรนาม เป็นต้น โดยสาระสำคัญต่าง ๆ ของเนื้อหาในร่างมาตรฐานมีความสอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานฉบับต่าง ๆ ที่ได้มีการประกาศใช้ เพื่อให้ร่างมาตรฐานฉบับนี้ใช้เป็นข้อเสนอแนะให้หน่วยงานภาครัฐนำไปใช้เป็นแนวทาง ในการจัดทำข้อมูลนิรนาม ซึ่งเป็น กระบวนการจัดทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนได้มาอยู่ในรูปแบบที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ เพื่อลดความเสี่ยงการระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูล และเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่หน่วยงานภาครัฐในการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ละเมิดสิทธิ์และความเป็นส่วนตัวของบุคคล

ซึ่งคณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานการบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐ และคณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ได้ให้ความเห็นชอบให้นำ (ร่าง) มสพร. X-256X มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการจัดทำข้อมูลนิรนาม เวอร์ชัน 1.0 ฉบับ PRD จัดทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็น โดยขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นฯ ผ่านระบบออนไลน์ (Microsoft Forms) ในระหว่างวันที่ 12 มิถุนายน – 12 กรกฎาคม 2567 และ จัดงาน ประชุมรับฟังความคิดเห็นในรูปแบบออนไลน์ (Microsoft Teams) ในวันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2567 เวลา 13.30 – 16.00 น. โดยท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารเพื่อแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

เอกสารและลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

รายการวันที่นำเข้าลิงก์ /ดาวน์โหลด
1. (ร่าง) มสพร. X-256X มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการจัดทำข้อมูลนิรนาม เวอร์ชัน 1.06/ุ6/2567
2. แบบสำรวจความคิดเห็นฯ (ออนไลน์)6/6/2567
3. แบบสำรวจความคิดเห็นฯ (ออฟไลน์)6/6/2567
4. คำชี้แจงการสำรวจความคิดเห็นและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล6/6/2567
5. กำหนดการงานประชาพิจารณ์6/6/2567
6. แบบลงทะเบียนเข้าร่วมงานประชาพิจารณ์ (ออนไลน์)6/6/2567
7. ลิงก์สำหรับเข้าร่วมงานประชาพิจารณ์ (MS Team)6/6/2567
8. เอกสารนำเสนอสำหรับงานรับฟังความคิดเห็นฯ (สำหรับเผยแพร่)1/7/2567
9. เอกสารนำเสนอช่วงเสวนา1/7/2567



มาตรสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ (มสพร. 6)

มิถุนายน 2567 สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ได้ประกาศมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 5 เรื่อง หลักเกณฑ์และการประเมินระดับวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริการภาครัฐ (มสพร. 6-5) เป็นฉบับล่าสุด ภายใต้มาตรสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ (มสพร. 6) เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานตามมาตรา 6 และมาตรา 19 แห่ง พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ที่ให้มีการกำหนดวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งรวมถึงมาตรฐาน ที่หน่วยงานของรัฐจะต้องใช้และปฏิบัติให้สอดคล้องกันและเชื่อมโยงถึงกันได้ โดยให้จัดแบ่งวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นระยะเริ่มต้นและระยะต่อ ๆ ไป โดย คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในคราวประชุมเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 จึงจำเป็นต้องพัฒนาแนวปฏิบัติพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดทำกระบวนการและการให้บริการ ในรูปแบบดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐ ให้เป็นไปตามกฎหมาย มาตรฐาน แนวปฏิบัติ แนวทางการดำเนินงาน และ ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้อง โดยมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (มสพร.) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ (มสพร. 6) ในระยะแรก (2566) ได้มีการประกาศมาตรฐานออกมา ทั้งหมด 4 ส่วน และในระยะต่อมา (2567) ได้มีการประกาศเพิ่มเติม ส่วนที่ 5 โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. ส่วนที่ 1 เรื่องภาพรวม (มสพร. 6-1 : 2566) อธิบายภาพรวมของการจัดทำกระบวนการทางดิจิทัลสำหรับการ “ขออนุญาต” หมายความรวมถึง ขอรับใบอนุญาต ขออนุมัติ ขอจดทะเบียน ขอขึ้นทะเบียน ขอแจ้ง ขอจดแจ้ง ขออาชญาบัตร ขอการรับรอง ขอความเห็นชอบ ขอความเห็น ขอให้พิจารณา ขออุทธรณ์ ร้องทุกข์ หรือร้องเรียน ขอให้ดำเนินการ ขอรับเงิน ขอรับสวัสดิการ และขอรับบริการอื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ มิได้ครอบคลุมกระบวนการดำเนินงานอื่นภายในหน่วยงานของรัฐ และข้อมูลทางเทคนิคของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
  2. ส่วนที่ 2 เรื่องมาตรฐานอ้างอิง (มสพร. 6-2 : 2566) รวบรวมมาตรฐานประเทศที่ภาครัฐสามารถใช้อ้างอิงในการปฏิบัติ หรือจัดทำบริการในรูปแบบดิจิทัล ในระดับ ต่างๆ ซึ่งได้นำเสนอไว้ใน มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ ส่วนที่ 1 ภาพรวม และ ได้ปรับปรุงจากมาตรฐาน สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐภาพรวม (มสพร. 6 2565) เวอร์ชัน 1.0 ทั้งนี้ข้อมูลที่นำเสนอ ในมาตรฐานฉบับนี้ ไม่ครอบคลุม กฎหมาย มาตรฐาน และแนวปฏิบัติ ทั้งหมด ของประเทศไทย และสากล ควรมีการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย และผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการตามรายละเอียดของแนวปฏิบัติฉบับนี้
  3. ส่วนที่ 3 เรื่องวิธีการระดับเริ่มต้น (มสพร. 6-3 : 2566) เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่มีข้อจำกัดทางด้านบุคลากรและงบประมาณสามารถให้บริการประชาชนด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ซึ่ง มาตรฐานฉบับนี้ จะครอบคลุมการใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (อีเมล) และ สื่อสังคมออนไลน์ (แอปพลิเคชัน LINE Official)
  4. ส่วนที่ 4 เรื่องวิธีการระดับมาตรฐาน (มสพร. 6-4 : 2566) เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่มีความต้องการที่จะยกระดับการให้บริการประชาชนจากระดับเริ่มต้น มาเป็นในรูปแบบของ e-Service ซึ่งอาจเป็นเว็บแอปพลิเคชัน ( Web Application) หรือ แอปพลิเคชันสำหรับโทรศัพท์มือถือ ( Mobile Application) หรือ บริการภายใต้แพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Service Platform) เช่น บริการในแอปพลิเคชันทางรัฐ เป็นต้น
  5. ส่วนที่ 5 เรื่องหลักเกณฑ์และการประเมินระดับวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริการภาครัฐ (มสพร. 6-5 : 2567) เพื่อตอบสนองความต้องการหน่วยงานในการจัดระดับบริการโดยใช้หลักเกณฑ์และขั้นตอนในการประเมินที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เมื่อมีการจัดทำหรือปรับปรุงบริการโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ระดับต้น ระดับมาตรฐาน และระดับสูงซึ่งมีแนวทางปฏิบัติและการใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดหลักเกณฑ์ให้ชัดเจน เพื่ออำนวยความสะดวกในการประเมินระดับของวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริการด้วยตนเอง (Self-assessment) สามารถทราบความจำเป็นในการยกระดับวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการและเพื่อให้หน่วยงานสามารถวางแผนเตรียมความพร้อม ทั้งด้านงบประมาณและบุคลากรได้ต่อไป

การประกาศมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (มสพร. 6-5 : 2567)

ประกาศมาตรฐาน มสพร 6-5:2567

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2567 นางไอรดา เหลือวิไล รองผู้อำนวยการ รักษาการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ได้ลงนามในประกาศสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เลขที่ ม 2/2567 เรื่อง มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 5 เรื่อง หลักเกณฑ์และการประเมินระดับวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริการภาครัฐ เพื่อประกาศใช้สำหรับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และเป็นการสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ได้นำไปใช้เป็นตัวอย่างหรือแนวปฏิบัติต่อไป

การประกาศมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (มสพร. 6-1 : 2566 ถึง มสพร. 6-4 : 2566)

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566 นายสุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)  ได้ลงนามในประกาศสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เลขที่ ม 3/2566 เรื่อง มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ(GUIDELINES FOR DIGITAL GOVERNMENT PROCESS) เพื่อประกาศใช้สำหรับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และเป็นการสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ได้นำไปใช้เป็นตัวอย่างหรือแนวปฏิบัติต่อไป

เอกสารมาตรฐานฯ

ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
ประกาศ สพร. 3/2566 มสพร.ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ22/08/2566
เอกสารประกอบ มสพร. 6-2566 ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ22/08/2566
มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการ
ทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 1 เรื่อง ภาพรวม เลขที่ มสพร. 6-1 : 2566
22/08/2566
มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการ
ทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 2 เรื่อง มาตรฐานอ้างอิง เลขที่ มสพร. 6-2 : 2566
22/08/2566
มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการ
ทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 3 เรื่อง วิธีการระดับเริ่มต้น เลขที่ มสพร. 6-3 : 2566
22/08/2566
มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการ
ทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 4 เรื่อง วิธีการระดับมาตรฐาน เลขที่ มสพร. 6-4 : 2566
22/08/2566
ประกาศ สพร 2/2567 มสพร.ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 5 เรื่อง หลักเกณฑ์และการประเมินระดับวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริการภาครัฐ เลขที่ มสพร. 6-5 : 256707/06/2567
มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการ
ทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 5 เรื่อง หลักเกณฑ์และการประเมินระดับวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับบริการภาครัฐ เลขที่ มสพร. 6-5 : 2567
07/06/2567
เครื่องมือแบบประเมินด้วยตนเอง(Self-assessment) สำหรับใช้ร่วมกับ มสพร. 6-5 : 256707/06/2567

ภาพแบนเนอร์การรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 6 เรื่อง การรับและจ่ายเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริการภาครัฐ


ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ได้จัดทำมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ (มสพร. 6) เพื่อสนับสนุนแนวทางวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 6 แห่ง พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 🔗 ซึ่งได้ประกาศใช้แล้วใน 4 ส่วนในปี พ.ศ. 2566 ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 เรื่องภาพรวม (มสพร. 6-1 : 2566) 🔗  ส่วนที่ 2 เรื่องมาตรฐานอ้างอิง (มสพร. 6-2 : 2566) 🔗 ส่วนที่ 3 เรื่องวิธีการระดับเริ่มต้น (มสพร. 6-3 : 2566) 🔗 และ ส่วนที่ 4 เรื่องวิธีการระดับมาตรฐาน (มสพร. 6-4 : 2566) 🔗 โดยส่วนที่ 5 เรื่องหลักเกณฑ์และการประเมินระดับวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ อยู่ระหว่างการประกาศใช้งาน และมีมาตรฐานที่ต้องจัดทำเพิ่มเติมคือส่วนที่ 6 นี้ ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการหน่วยงานของรัฐเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการรับและจ่ายเงินให้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริการภาครัฐ ซึ่งคณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัลภาครัฐ และคณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ได้ให้ความเห็นชอบให้นำ (ร่าง) มาตรฐานฯ จัดทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็น ดังนั้น จึงกำหนดให้มีการรับฟังความคิดเห็น ออนไลน์ (Online) ระหว่างวันที่ 21 พฤษภาคม – 21 มิถุนายน พ.ศ. 2567 และจัดงานประชุมรับฟังความคิดเห็นรูปแบบออนไลน์ ในวันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เวลา 13.30 – 15.30 น.

ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงร่างมาตรฐานฯ ให้มีความเหมาะสมกับบริการภาครัฐมากยิ่งขึ้น จึงขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นฯ ผ่านแบบสำรวจด้านล่าง ภายในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2567

เอกสารและลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

รายการวันที่นำเข้าลิงก์ /ดาวน์โหลด
1. (ร่าง) มาตรฐานฯ เรื่อง การรับและจ่ายเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริการภาครัฐ13/5/2567
2. แบบสำรวจความคิดเห็นฯ (ออนไลน์)13/5/2567
3. แบบสำรวจความคิดเห็นฯ (ออฟไลน์)13/5/2567
4. คำชี้แจงการสำรวจความคิดเห็นและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล13/5/2567
5. ร่างกำหนดการงานประชาพิจารณ์13/5/2567
6. แบบลงทะเบียนเข้าร่วมงานประชาพิจารณ์ (ออนไลน์)13/5/2567
7. ลิงก์สำหรับเข้าร่วมงานประชาพิจารณ์ (MS Team)13/5/2567
8. เอกสารนำเสนอสำหรับงานประชาพิจารณ์5/6/2567
9. เอกสารนำเสนอสำหรับงานประชาพิจารณ์(รวมเอกสารนำเสนอของหน่วยงานรับเชิญ)5/6/2567

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) พบว่าในปี 2566 ภาครัฐมีการเปิดเผยข้อมูล ผ่าน data.go.th จำนวน 10,800 ชุดข้อมูล แต่ข้อมูลที่สำคัญของภาครัฐยังมีการเปิดเผยอย่างจำกัด การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือรูปแบบที่อ่านได้ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ Machine Readable ที่ค่อนข้างน้อย จึงทำให้เกิดข้อจำกัดในการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์เพื่อวิเคราะห์หรือสร้างนวัตกรรมข้อมูล ประกอบกับมีการปรับปรุง มรด. และ มสพร. ที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นต้องมีการทบทวนเนื้อหาแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ ในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงมากขึ้น

สพร.จึงได้จัดทำ (ร่าง) มรด. X : 256X มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ ในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.0 โดยเสนอแนวทางการปรับปรุงคำนิยามและเนื้อหาให้สอดคล้องกับกฎหมาย และ มรด. 6 : 2566 ว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ เวอร์ชัน 2.0 มีการปรับปรุงปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ ให้ความสำคัญกับคุณลักษณะของข้อมูลเปิดภาครัฐ 10 ประการ เพื่อให้เกิดความเข้าใจชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น ปลอดข้อจำกัดทางทรัพย์สินทางปัญญา (License-free) การทำให้ข้อมูลรูปแบบ Machine Readable เพิ่มเติมการประเมินคุณภาพข้อมูลด้วยเครื่องมือการประเมินคุณภาพข้อมูลด้วยตนเอง อีกทั้งเพิ่มกรณีศึกษาของประเทศไทย และยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเปิดในการนำมาวิเคราะห์เพื่อจัดทำเป็นชุดข้อมูลใหม่ สำหรับภาคผนวก เพิ่มเติมตัวอย่างการประเมินชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง และเพิ่มรายชื่อชุดข้อมูล Master Data ตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2566 – 2570 เป็นต้น โดยการปรับปรุงสาระสำคัญต่างๆ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจในการเปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐให้เพิ่มมากขึ้น นำไปสู่การนำข้อมูลเปิดไปใช้ในการสร้างประโยชน์ในหลากหลายมิติ ให้หน่วยงานภาครัฐสามารถขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูลเปิดอย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งคณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานการบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐ และคณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ได้ให้ความเห็นชอบให้นำ (ร่าง) มรด. X : 256X มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ ในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.0 ฉบับ PRD จัดทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็น โดยขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นฯ ผ่านระบบออนไลน์ (Microsoft Forms) ในระหว่างวันที่ 8 มีนาคม – 8 เมษายน 2567 และ จัดงาน ประชุมรับฟังความคิดเห็นในรูปแบบออนไลน์ (Microsoft Teams) ในวันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 13.30 – 16.00 น. โดยท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารเพื่อแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

เอกสารและลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

รายการวันที่นำเข้าลิงก์ /ดาวน์โหลด
1. (ร่าง) มรด. X : 256X มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วย แนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.01/3/2567
2. แบบสำรวจความคิดเห็นฯ (ออนไลน์)1/3/2567
3. แบบสำรวจความคิดเห็นฯ (ออฟไลน์)1/3/2567
4. คำชี้แจงการสำรวจความคิดเห็นและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล1/3/2567
5. กำหนดการงานประชาพิจารณ์1/3/2567
6. แบบลงทะเบียนเข้าร่วมงานประชาพิจารณ์ (ออนไลน์)1/3/2567
7. ลิงก์สำหรับเข้าร่วมงานประชาพิจารณ์ (MS Team)1/3/2567
8. เอกสารนำเสนอสำหรับงานรับฟังความคิดเห็นฯ (สำหรับเผยแพร่)1/3/2567
9. เอกสารนำเสนอช่วงเสวนา28/3/2567



Banner งานประชาพิจารณ์ มสพร 6-2567 ส่วนที่ 5


ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ได้จัดทำมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ (มสพร. 6) เพื่อสนับสนุนแนวทางวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 6 แห่ง พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 🔗 ซึ่งได้ประกาศใช้แล้วใน 4 ส่วนในปี พ.ศ. 2566 ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 เรื่องภาพรวม (มสพร. 6-1 : 2566) 🔗  ส่วนที่ 2 เรื่องมาตรฐานอ้างอิง (มสพร. 6-2 : 2566) 🔗 ส่วนที่ 3 เรื่องวิธีการระดับเริ่มต้น (มสพร. 6-3 : 2566) 🔗 และ ส่วนที่ 4 เรื่องวิธีการระดับมาตรฐาน (มสพร. 6-4 : 2566) 🔗 โดยที่ในส่วนที่ 5 นี้ จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการหน่วยงานในการจัดระดับบริการโดยใช้หลักเกณฑ์และขั้นตอนในการประเมินที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งคณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัลภาครัฐ และคณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ได้ให้ความเห็นชอบให้นำ (ร่าง) มาตรฐานฯ จัดทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็น ดังนั้น จึงกำหนดให้มีการรับฟังความคิดเห็น ออนไลน์ (Online) ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 15 มีนาคม พ.ศ. 2567 และจัดงานประชุมรับฟังความคิดเห็นรูปแบบออนไลน์ ในวันพฤหัสบดีที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 13.30 – 15.30 น.

ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงร่างมาตรฐานฯ ให้มีความเหมาะสมกับบริการภาครัฐมากยิ่งขึ้น จึงขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นฯ ผ่านแบบสำรวจด้านล่าง ภายในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567

เอกสารและลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

รายการวันที่นำเข้าลิงก์ /ดาวน์โหลด
1. (ร่าง) มาตรฐานฯ เรื่อง หลักเกณฑ์และการประเมินระดับวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริการภาครัฐ15/2/2567
2. แบบสำรวจความคิดเห็นฯ (ออนไลน์)15/2/2567
3. แบบสำรวจความคิดเห็นฯ (ออฟไลน์)15/2/2567
4. คำชี้แจงการสำรวจความคิดเห็นและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล15/2/2567
5. กำหนดการงานประชาพิจารณ์15/2/2567
6. แบบลงทะเบียนเข้าร่วมงานประชาพิจารณ์ (ออนไลน์)15/2/2567
7. ลิงก์สำหรับเข้าร่วมงานประชาพิจารณ์ (MS Team)15/2/2567
8. เอกสารนำเสนอสำหรับงานรับฟังความคิดเห็นฯ (สำหรับเผยแพร่)29/2/2567
9.1 เอกสารนำเสนอของวิทยากรจาก กพร.29/2/2567
9.2 เอกสารนำเสนอของวิทยากรจาก สวทช.29/2/2567

มาตรสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวแฏิบัติกระการทางดิจิทัลภาครัฐ (มสพร. 6)

ด้วยมาตรา 6 และ มาตรา 19 แห่ง พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ให้มีการกำหนดวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งรวมถึงมาตรฐาน ที่หน่วยงานของ รัฐจะต้องใช้และปฏิบัติให้สอดคล้องกันและเชื่อมโยงถึงกันได้ โดยให้จัดแบ่งวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นระยะ เริ่มต้นและระยะต่อ ๆ ไป ซึ่ง คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในคราวประชุมเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 จึงจำเป็นต้องพัฒนาแนวปฏิบัติพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดทำกระบวนการและการให้บริการ ในรูปแบบดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐ ให้เป็นไปตามกฎหมาย มาตรฐาน แนวปฏิบัติ แนวทางการดำเนินงาน และ ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้อง โดยมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (มสพร.) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ (มสพร. 6) ในระยะแรก (2566) ได้มีการประกาศมาตรฐานออกมา ทั้งหมด 4 ส่วน โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. ส่วนที่ 1 เรื่องภาพรวม (มสพร. 6-1 : 2566) อธิบายภาพรวมของการจัดทำกระบวนการทางดิจิทัลสำหรับการ “ขออนุญาต” หมายความรวมถึง ขอรับใบอนุญาต ขออนุมัติ ขอจดทะเบียน ขอขึ้นทะเบียน ขอแจ้ง ขอจดแจ้ง ขออาชญาบัตร ขอการรับรอง ขอความเห็นชอบ ขอความเห็น ขอให้พิจารณา ขออุทธรณ์ ร้องทุกข์ หรือร้องเรียน ขอให้ดำเนินการ ขอรับเงิน ขอรับสวัสดิการ และขอรับบริการอื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ มิได้ครอบคลุมกระบวนการดำเนินงานอื่นภายในหน่วยงานของรัฐ และข้อมูลทางเทคนิคของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
  2. ส่วนที่ 2 เรื่องมาตรฐานอ้างอิง (มสพร. 6-2 : 2566) รวบรวมมาตรฐานประเทศที่ภาครัฐสามารถใช้อ้างอิงในการปฏิบัติ หรือจัดทำบริการในรูปแบบดิจิทัล ในระดับ ต่างๆ ซึ่งได้นำเสนอไว้ใน มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ ส่วนที่ 1 ภาพรวม และ ได้ปรับปรุงจากมาตรฐาน สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐภาพรวม (มสพร. 6 2565) เวอร์ชัน 1.0 ทั้งนี้ข้อมูลที่นำเสนอ ในมาตรฐานฉบับนี้ ไม่ครอบคลุม กฎหมาย มาตรฐาน และแนวปฏิบัติ ทั้งหมด ของประเทศไทย และสากล ควรมีการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย และผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการตามรายละเอียดของแนวปฏิบัติฉบับนี้
  3. ส่วนที่ 3 เรื่องวิธีการระดับเริ่มต้น (มสพร. 6-3 : 2566) เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่มีข้อจำกัดทางด้านบุคลากรและงบประมาณสามารถให้บริการประชาชนด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ซึ่ง มาตรฐานฉบับนี้ จะครอบคลุมการใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (อีเมล) และ สื่อสังคมออนไลน์ (แอปพลิเคชัน LINE Official)
  4. ส่วนที่ 4 เรื่องวิธีการระดับมาตรฐาน (มสพร. 6-4 : 2566) เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่มีความต้องการที่จะยกระดับการให้บริการประชาชนจากระดับเริ่มต้น มาเป็นในรูปแบบของ e-Service ซึ่งอาจเป็นเว็บแอปพลิเคชัน ( Web Application) หรือ แอปพลิเคชันสำหรับโทรศัพท์มือถือ ( Mobile Application) หรือ บริการภายใต้แพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Service Platform) เช่น บริการในแอปพลิเคชันทางรัฐ เป็นต้น

การประกาศมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (มสพร. 6-1 : 2566 ถึง มสพร. 6-4 : 2566)

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566 นายสุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)  ได้ลงนามในประกาศสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เลขที่ ม 3/2566 เรื่อง มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ(GUIDELINES FOR DIGITAL GOVERNMENT PROCESS) เพื่อประกาศใช้สำหรับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และเป็นการสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ได้นำไปใช้เป็นตัวอย่างหรือแนวปฏิบัติต่อไป

เอกสารมาตรฐานฯ

ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
ประกาศ สพร. 3/2566 มสพร.ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ22/08/2566
เอกสารประกอบ มสพร. 6-2566 ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ22/08/2566
มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการ
ทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 1 เรื่อง ภาพรวม เลขที่ มสพร. 6-1 : 2566
22/08/2566
มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการ
ทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 2 เรื่อง มาตรฐานอ้างอิง เลขที่ มสพร. 6-2 : 2566
22/08/2566
มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการ
ทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 3 เรื่อง วิธีการระดับเริ่มต้น เลขที่ มสพร. 6-3 : 2566
22/08/2566
มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการ
ทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 4 เรื่อง วิธีการระดับมาตรฐาน เลขที่ มสพร. 6-4 : 2566
22/08/2566

มาตรฐานสำนักงานรัฐบาลดิจิทัล (มสพร.) ว่าด้วยแนวปฏิบัติการลงลายมืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ฉบับนี้ครอบคลุมเนื้อหา
เกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ แนวทางการพิจารณาเลือกใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และปัจจัยที่ต้อง พิจารณาในการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบกับรายละเอียดแนวทางการพัฒนาและบริหารจัดการระบบ
การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยสังเขป

เอกสารแนวปฏิบัติการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ

เอกสารประกอบมาตรฐาน

ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิ้งดาวน์โหลด
1.ประกาศ-สพร.-18-2565-มสพร.ว่าด้วยแนวปฏิบัติการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์1/10/2565
2.เอกสารประกอบ มสพร. 7_2565 ว่าด้วยแนวปฏิบัติการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ฯ1/10/2565

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ท่านสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องและอำนวยความสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ รวมถึงช่วยให้เราปรับปรุงการนำเสนอเนื้อหาตรงตามความต้องการของท่าน โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ประกาศการใช้คุกกี้ และ ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่าข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า