ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) พบว่าในปี 2566 ภาครัฐมีการเปิดเผยข้อมูล ผ่าน data.go.th จำนวน 10,800 ชุดข้อมูล แต่ข้อมูลที่สำคัญของภาครัฐยังมีการเปิดเผยอย่างจำกัด การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือรูปแบบที่อ่านได้ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ Machine Readable ที่ค่อนข้างน้อย จึงทำให้เกิดข้อจำกัดในการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์เพื่อวิเคราะห์หรือสร้างนวัตกรรมข้อมูล ประกอบกับมีการปรับปรุง มรด. และ มสพร. ที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นต้องมีการทบทวนเนื้อหาแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ ในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงมากขึ้น

สพร.จึงได้จัดทำ (ร่าง) มรด. X : 256X มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ ในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.0 โดยเสนอแนวทางการปรับปรุงคำนิยามและเนื้อหาให้สอดคล้องกับกฎหมาย และ มรด. 6 : 2566 ว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ เวอร์ชัน 2.0 มีการปรับปรุงปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ ให้ความสำคัญกับคุณลักษณะของข้อมูลเปิดภาครัฐ 10 ประการ เพื่อให้เกิดความเข้าใจชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น ปลอดข้อจำกัดทางทรัพย์สินทางปัญญา (License-free) การทำให้ข้อมูลรูปแบบ Machine Readable เพิ่มเติมการประเมินคุณภาพข้อมูลด้วยเครื่องมือการประเมินคุณภาพข้อมูลด้วยตนเอง อีกทั้งเพิ่มกรณีศึกษาของประเทศไทย และยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเปิดในการนำมาวิเคราะห์เพื่อจัดทำเป็นชุดข้อมูลใหม่ สำหรับภาคผนวก เพิ่มเติมตัวอย่างการประเมินชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง และเพิ่มรายชื่อชุดข้อมูล Master Data ตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2566 – 2570 เป็นต้น โดยการปรับปรุงสาระสำคัญต่างๆ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจในการเปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐให้เพิ่มมากขึ้น นำไปสู่การนำข้อมูลเปิดไปใช้ในการสร้างประโยชน์ในหลากหลายมิติ ให้หน่วยงานภาครัฐสามารถขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูลเปิดอย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งคณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัลภาครัฐ และคณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ได้ให้ความเห็นชอบให้นำ (ร่าง) มรด. X : 256X มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ ในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.0 ฉบับ PRD จัดทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็น โดยขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นฯ ผ่านระบบออนไลน์ (Microsoft Forms) ในระหว่างวันที่ 8 มีนาคม – 8 เมษายน 2567 และ จัดงาน ประชุมรับฟังความคิดเห็นในรูปแบบออนไลน์ (Microsoft Teams) ในวันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 13.30 – 16.00 น. โดยท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารเพื่อแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

เอกสารและลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

รายการวันที่นำเข้าลิงก์ /ดาวน์โหลด
1. (ร่าง) มรด. X : 256X มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วย แนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.01/3/2567
2. แบบสำรวจความคิดเห็นฯ (ออนไลน์)1/3/2567
3. แบบสำรวจความคิดเห็นฯ (ออฟไลน์)1/3/2567
4. คำชี้แจงการสำรวจความคิดเห็นและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล1/3/2567
5. กำหนดการงานประชาพิจารณ์1/3/2567
6. แบบลงทะเบียนเข้าร่วมงานประชาพิจารณ์ (ออนไลน์)1/3/2567
7. ลิงก์สำหรับเข้าร่วมงานประชาพิจารณ์ (MS Team)1/3/2567
8. เอกสารนำเสนอสำหรับงานรับฟังความคิดเห็นฯ (สำหรับเผยแพร่)1/3/2567
9. เอกสารนำเสนอช่วงเสวนา28/3/2567



Banner งานประชาพิจารณ์ มสพร 6-2567 ส่วนที่ 5


ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ได้จัดทำมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ (มสพร. 6) เพื่อสนับสนุนแนวทางวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 6 แห่ง พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 🔗 ซึ่งได้ประกาศใช้แล้วใน 4 ส่วนในปี พ.ศ. 2566 ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 เรื่องภาพรวม (มสพร. 6-1 : 2566) 🔗  ส่วนที่ 2 เรื่องมาตรฐานอ้างอิง (มสพร. 6-2 : 2566) 🔗 ส่วนที่ 3 เรื่องวิธีการระดับเริ่มต้น (มสพร. 6-3 : 2566) 🔗 และ ส่วนที่ 4 เรื่องวิธีการระดับมาตรฐาน (มสพร. 6-4 : 2566) 🔗 โดยที่ในส่วนที่ 5 นี้ จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการหน่วยงานในการจัดระดับบริการโดยใช้หลักเกณฑ์และขั้นตอนในการประเมินที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งคณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัลภาครัฐ และคณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ได้ให้ความเห็นชอบให้นำ (ร่าง) มาตรฐานฯ จัดทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็น ดังนั้น จึงกำหนดให้มีการรับฟังความคิดเห็น ออนไลน์ (Online) ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 15 มีนาคม พ.ศ. 2567 และจัดงานประชุมรับฟังความคิดเห็นรูปแบบออนไลน์ ในวันพฤหัสบดีที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 13.30 – 15.30 น.

ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงร่างมาตรฐานฯ ให้มีความเหมาะสมกับบริการภาครัฐมากยิ่งขึ้น จึงขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นฯ ผ่านแบบสำรวจด้านล่าง ภายในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567

เอกสารและลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

รายการวันที่นำเข้าลิงก์ /ดาวน์โหลด
1. (ร่าง) มาตรฐานฯ เรื่อง หลักเกณฑ์และการประเมินระดับวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริการภาครัฐ15/2/2567
2. แบบสำรวจความคิดเห็นฯ (ออนไลน์)15/2/2567
3. แบบสำรวจความคิดเห็นฯ (ออฟไลน์)15/2/2567
4. คำชี้แจงการสำรวจความคิดเห็นและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล15/2/2567
5. กำหนดการงานประชาพิจารณ์15/2/2567
6. แบบลงทะเบียนเข้าร่วมงานประชาพิจารณ์ (ออนไลน์)15/2/2567
7. ลิงก์สำหรับเข้าร่วมงานประชาพิจารณ์ (MS Team)15/2/2567
8. เอกสารนำเสนอสำหรับงานรับฟังความคิดเห็นฯ (สำหรับเผยแพร่)29/2/2567
9.1 เอกสารนำเสนอของวิทยากรจาก กพร.29/2/2567
9.2 เอกสารนำเสนอของวิทยากรจาก สวทช.29/2/2567

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ท่านสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องและอำนวยความสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ รวมถึงช่วยให้เราปรับปรุงการนำเสนอเนื้อหาตรงตามความต้องการของท่าน โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ประกาศการใช้คุกกี้ และ ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่าข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า