แนวทางการจัดทำข้อมูลนิรนาม

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เล็งเห็นว่าการจัดทำข้อมูลนิรนามเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือในยุคสมัยที่ข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตและการทำงานของเราในชีวิตประจำวัน ตลอดถึงการขับเคลื่อนองค์กรให้ดำเนินไปยังเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ดังนั้นการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่เหมาะสมในการทำให้ข้อมูลเป็นข้อมูลนิรนามจะช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ละเมิดสิทธิ์และความเป็นส่วนตัวของบุคคล และเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่หน่วยงานภาครัฐรวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนถึงการใช้ข้อมูลของภาครัฐ จึงได้จัดทำมาตรฐานฉบับนี้ขึ้นซึ่งประกอบไปด้วย 5 บท ดังนี้

  • บทที่ 1 บทนำ กล่าวถึง ความเป็นมา วัตถุประสงค์ของการจัดทำข้อมูลนิรนาม ขอบข่าย คำนิยาม และ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เห็นถึงความจำเป็นในการจัดทำข้อมูลนิรนาม เหมาะสำหรับผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงาน
  • บทที่ 2 แนวคิดในการจัดทำข้อมูลนิรนาม กล่าวถึง ความสำคัญของการจัดทำข้อมูลนิรนาม แนวคิดและอธิบายถึงวิธีการจัดทำข้อมูลนิรนามโดยสังเขป เพื่อช่วยสร้างความเข้าใจต่อภาพรวมและพื้นฐานในการจัดข้อมูลนิรนาม เหมาะสำหรับผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ทั่วไป
  • บทที่ 3 กระบวนการจัดทำข้อมูลนิรนาม กล่าวถึง การพิจารณาข้อมูลมีหลักการอย่างไร การขจัดข้อมูลระบุตัวตน หลักเกณฑ์การจัดทำข้อมูลนิรนาม โดยมีหลักเกณฑ์การพิจารณาและข้อเสนอแนะเพื่อให้เพื่อเป็นแนวทางให้แก่เจ้าของข้อมูลใช้ในการประกอบการพิจารณาเพื่อจัดทำข้อมูลนิรนามได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยงและมาตรการจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้เห็นถึงกระบวนการจัดข้อมูลนิรนามที่เป็นขั้นตอน เหมาะสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านข้อมูล
  • บทที่ 4 ภาคผนวก (เครื่องมือ Open Source) กล่าวถึง เครื่องมือการจัดทำข้อมูลนิรนามเบื้องต้นโดยการใช้โปรแกรม Microsoft Excel รายการเครื่องมือการจัดทำข้อมูลนิรนามเชิงพาณิชย์ และกรณีศึกษาการจัดทำข้อมูลนิรนามของสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) กรณีศึกษาการจัดทำข้อมูลนิรนามของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้มีความเข้าใจต่อการจัดทำข้อมูลนิรนามและการใช้เครื่องมือต่าง ๆ เหมาะสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านข้อมูลและเจ้าหน้าที่ทั่วไป
  • บทที่ 5 บรรณานุกรม เป็นการรวบรวมแหล่งที่มาที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดทำมาตรฐานฉบับนี้

ทั้งนี้กระบวนการในการจัดทำข้อมูลนิรนามอาจมีความซับซ้อน จึงจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และดำเนินการอย่างระมัดระวังสูงสุดในการดำเนินการ

การประกาศมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (มสพร.)

เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2567 นางไอรดา เหลืองวิไล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ได้ลงนามในประกาศสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เลขที่ ม 5/2567 เรื่อง มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวทางการจัดทำข้อมูลนิรนาม หรือ มสพร. 14-2567 เพื่อประกาศใช้สำหรับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และเป็นข้อเสนอแนะให้กับหน่วยงานภาครัฐให้สามารถนำไปปฏิบัติใช้ตามแนวทางและตัวอย่างต่อไป

เอกสารมาตรฐานแนวทางจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ

เอกสารประกอบมาตรฐานฯ

ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
ประกาศ สพร. ม 5/2567 มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวทางการจัดทำข้อมูลนิรนาม24/9/2024
เอกสารประกอบ มสพร. 14-2567 ว่าด้วยแนวทางการจัดทำข้อมูลนิรนาม24/9/2024

เพื่อเป็นแนวทางการเปิดเผยให้สอดคล้องกับกฎหมาย และกรอบธรรมาภิบาลข้อมูล สร้างความรู้ความเข้าใจ ความมั่นใจในการเปิดเผยข้อมูลให้เพิ่มมากขึ้น อันประกอบด้วยการกำหนดขั้นตอน รูปแบบ และกลไกต่าง ๆ โดยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น และมุ่งเน้นการนำข้อมูลเปิดไปใช้ในการสร้างประโยชน์ในหลากหลายมิติ ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพของประเทศ ได้โดยง่ายและตลอดเวลา

การบูรณาการข้อมูลเปิดเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล

ข้อมูลถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการดำเนินงาน เพื่อนำมาใช้ในการสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจ และสังคมดิจิทัลให้กับทุกภาคส่วน รวมถึงการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาบริการหรือ ต่อยอดนวัตกรรมต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันภาครัฐได้มีการเปิดเผยข้อมูล ผ่าน data.go.th ที่รู้จักกันในนาม “ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ” โดยพบว่ามีจำนวนชุดข้อมูลเปิดเป็นจำนวนมาก ซึ่งก่อให้เกิดการบูรณาการข้อมูลร่วมกันในหลากหลายมิติ ทั้งในระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันและระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชน เน้นการยกระดับไปสู่ความร่วมมือกัน แสวงหาความคิดริเริ่มและสร้างนวัตกรรม แสดงถึงความโปร่งใสของการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาสังคมโดยการใช้ข้อมูลเปิดที่สำคัญในการวางแผนและการดำเนินการในสาขาต่าง ๆ สร้างประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการเข้าถึงข้อมูล รวมถึงสนับสนุนให้ภาคเอกชนและภาคประชาชนนำข้อมูลที่เปิดเผยไปสร้างนวัตกรรมและบริการเพื่อยกระดับการพัฒนาประเทศ

ในปี 2563 คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ได้มีการประกาศ มรด.-12001:2563 เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ ซึ่งครอบรอบระยะเวลา 3 ปีในการทบทวนมาตรฐานฉบับนี้ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงเสนอยกเลิก มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 1.0 และจัดทำมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.0 ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการเปิดเผยให้สอดคล้องกับกฎหมาย และกรอบธรรมาภิบาลข้อมูล สร้างความรู้ความเข้าใจ ความมั่นใจในการเปิดเผยข้อมูลให้เพิ่มมากขึ้น อันประกอบด้วยการกำหนดขั้นตอน รูปแบบ และกลไกต่าง ๆ เช่น การคัดเลือกชุดข้อมูลในการเปิดเผย การควบคุมคุณภาพของข้อมูล วิธีการและช่องทางในการเปิดเผยข้อมูล ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูล ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น และมุ่งเน้นการนำข้อมูลเปิดไปใช้ในการสร้างประโยชน์ในหลากหลายมิติ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนในทุกภาคส่วนสามารถที่จะเข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพของประเทศ ได้โดยง่ายและตลอดเวลา โดยมีกรอบการปรับปรุง ดังนี้

  • บทที่ 1 บทนำ เพิ่มมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี พ.ศ. 2556 เรื่อง แนวทางการยกระดับการให้บริการประชาชนผ่านบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ
  • บทที่ 2 กรอบแนวคิดที่เกี่ยวข้อง มีการปรับปรุงภาพ ประเภทและความสัมพันธ์ของข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
  • บทที่ 3 ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ มีการเพิ่มคุณลักษณะของชุดข้อมูลที่เป็น Machine Readable มีการปรับปรุงมิติคุณภาพข้อมูลให้สอดคล้องกับ มรด. 5 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ
  • บทที่ 4 กระบวนการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ มีการปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับมรด. 6 : 2566 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ รวมถึงมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเพิ่มแหล่งอ้างอิงการกำหนดรูปแบบของชุดข้อมูลเปิดในแต่ละประเภท
  • บทที่ 5 การบริหารจัดการศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ คงไว้ตามหลักการเดิม
  • บทที่ 6 การนำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์ มีการเพิ่มกรณีศึกษาหน่วยงานที่จัดทำข้อมูลเปิดและยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเปิด
  • บทที่ 7 ภาคผนวก เพิ่มการประกาศรายชื่อชุดข้อมูล Master Data ตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2566 – 2570 และปรับปรุงคำอธิบายชุดข้อมูลให้เป็นปัจจุบันและมีความละเอียดเพิ่มมากขึ้น
  • บทที่ 8 บรรณานุกรม เป็นการรวบรวมแหล่งที่มาที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดทำมาตรฐานฉบับนี้

การประกาศมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล (มรด.)

เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2567 รองนายกรัฐมนตรี นายพิชัย ชุณหวชิร ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.0 และเสนอต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา

โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศฉบับนี้ได้ที่เว็บไซต์ www.ratchakitcha.soc.go.th หรือที่เว็บไซต์ https://standard.dga.or.th

เอกสาร มรด. 8 : 2567 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.0

ดาวนโหลด มรด. 8 : 2567 ว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.0

เอกสารประกอบมาตรฐานฯ

ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.023/09/2024
เอกสารประกอบ มรด. 8 : 2567 ว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.023/09/2024

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ เอกสารและไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

วิธีการทางเทคโนโลยีดิจิทัลในการประยุกต์ใช้มาตรฐาน การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล (กรณีประยุกต์ใช้มาตรฐานฯ ข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) กล่าวถึงอะไร

    สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) มีหน้าที่อำนวยการ และสนับสนุนการปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลมอบหมาย และดำเนินการร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ เสนอคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 และแต่งตั้งคณะทำงานเทคนิค ด้านมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ เพื่อสนับสนุนการร่างมาตรฐานและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดทำระบบศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางภาครัฐ รวมถึงแนวปฏิบัติ คู่มือ เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันภายใต้มาตรฐานเดียวกัน โดยได้จัดทำ (ร่าง) มสพร. x – 256x มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยวิธีการทางเทคโนโลยีดิจิทัลในการประยุกต์ใช้มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล (กรณีประยุกต์ใช้มาตรฐานฯ ข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐานฯ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2567 ได้มีมติเห็นชอบให้นำร่างมาตรฐานไปจัดทำประชาพิจารณ์ต่อไป

มาตรฐานฯ ฉบับนี้ เป็นการประยุกต์ใช้มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล เรื่อง ข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (Land and Building Tax) ครอบคลุมถึงองค์ประกอบ และโครงสร้างของข้อมูลที่ใช้อธิบายถึง “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” ในชุดข้อมูลที่สำคัญเช่น ข้อมูลประเมินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ข้อมูลผู้ถือกรรมสิทธิ์ ข้อมูลการชำระภาษี ข้อมูลภาษีห้องชุด ข้อมูลหน้าสำรวจของเอกสารสิทธิ ซึ่งจะนำไปใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน พร้อมทั้งแนวทางการประยุกต์ใช้มาตรฐาน โดยมีเครื่องมือในการสนับสนุนการพัฒนาระบบสำหรับผู้ที่สนใจ โดยมีแนวทางและหลักการที่สอดคล้องกับมาตรฐาน ทั้งคำนิยามและวิธีการแลกเปลี่ยน ตามที่ระบุในมาตรฐาน

ในการนี้ สพร. ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นต่อ (ร่าง) มาตรฐานฯ โดยสามารถตอบแบบสำรวจความเห็นผ่านระบบออนไลน์ (Microsoft Forms) ในระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม – 7 สิงหาคม 2567 และเข้าร่วมงานประชุมรับฟังความคิดเห็นในรูปแบบออนไลน์ (Microsoft Teams) ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2567 เวลา 13.30 – 15.30 น. โดยท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารเพื่อแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

เอกสารและไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

รายการวันที่นำเข้าลิงก์ /ดาวน์โหลด
1. ร่างมาตรฐานฯ ด้านความหมายข้อมูล เรื่องวิธีการทางเทคโนโลยีดิจิทัลในการประยุกต์ใช้มาตรฐานฯ ข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (Land and Building Tax Data)11/06/2567
2. แบบสำรวจความเห็นต่อ (ร่าง) มาตรฐานฯ ด้านความหมายข้อมูล เรื่องวิธีการทางเทคโนโลยีดิจิทัลในการประยุกต์ใช้มาตรฐานฯ ข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (Land and Building Tax Data)(ออนไลน์)11/06/2567
3. แบบสำรวจความเห็นต่อ (ร่าง) มาตรฐานฯ ด้านความหมายข้อมูล เรื่องวิธีการทางเทคโนโลยีดิจิทัลในการประยุกต์ใช้มาตรฐานฯ ข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (Land and Building Tax Data) (ออฟไลน์) 11/06/256ึ7
4. คำชี้แจงการสำรวจความคิดเห็นและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล11/06/2567
5. กำหนดการประชาพิจารณ์11/06/2567
6. แบบตอบรับลงทะเบียนเข้าร่วมงาน (ออนไลน์)11/06/2567
7. ลิงก์เข้าร่วมงาน (MS-Teams Conference)11/06/2567
8. เอกสารนำเสนอสำหรับงานรับฟังความคิดเห็นฯ_(สำหรับเผยแพร่)24/07/2567
9. เอกสารนำเสนอสำหรับงานรับฟังความคิดเห็นฯ กรมที่ดิน (สำหรับเผยแพร่)06/08/2567

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการบริหารจัดการ การบูรณาการข้อมูลภาครัฐ การทำงานให้มีความสอดคล้องกัน การเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างมั่นคงปลอดภัยและมีธรรมาภิบาล และตามมาตรา 13 ระบุว่าเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินและการให้บริการประชาชน ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลที่มีการจัดทําและครอบครองตามที่หน่วยงานของรัฐแห่งอื่นร้องขอ เพื่อเกิดการบูรณาการ และเป็นไปตามมาตรฐานการเชืื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. ได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานการเชืื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ เพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานได้นำมาตรฐานการเชืื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (TGIX) ในการจัดทำหรือเรียกใช้บริการการเข้าถึงข้อมูล ในแต่ละหน่วยงาน ให้เป็นไปตามมาตรฐาน TGIX ประกอบด้วย

  1. มรด. 2-1:2565 มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัล ว่าด้วยเรื่อง กรอบแนวทางการพัฒนามาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมลูภาครัฐ
  2. มสพร. 4:2565 มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล เรื่องข้อมูลบุคคล (TGIX SEMANTIC: PERSON DATA)
  3. มสพร. 5:2565 มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล เรื่องข้อมูลนิติบุคคล (TGIX SEMANTIC: JURISTIC PERSON DATA)
  4. มสพร. 9-1:2566 มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐด้านความหมายข้อมูล เรื่อง ข้อมูลสถานที่-ที่อยู่ (TGIX SEMANTIC: LOCATION-ADDRESS DATA)
  5. มสพร. 9-2:2566 มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐด้านความหมายข้อมูล เรื่อง ข้อมูลสถานที่-ภูมิสารสนเทศ (TGIX SEMANTIC: LOCATION-GEOSPATIAL DATA)
  6. มสพร. 10-2566 มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านการเชื่อมโยงข้อมูล (TGIX LINKAGE) ทั้ง 6 ฉบับ
  7. มสพร. 12-2567 มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล เรื่อง ข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (TGIX SEMANTIC: LAND AND BUILDING TAX DATA)

ท่านสามารถเข้าถึงเครื่องมือประกอบการจัดทำมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ดังนี้

รายการเครื่องมือประกอบในการจัดทำมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ วันที่นำเข้า
1. เครื่องมือตรวจสอบมาตรฐาน TGIX Semantic (XML Validator) 01/06/2565
2. บริการทดสอบการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลบนสภาพแวดล้อมปิด TGIX-Linkage Sandbox 14/02/2566

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการบริหารจัดการ การบูรณาการข้อมูลภาครัฐ การทำงานให้มีความสอดคล้องกัน การเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างมั่นคงปลอดภัยและมีธรรมาภิบาล และตามมาตรฐาน 8 ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐต้องประกอบด้วยอย่างน้อยดังนี้  การมีระบบบริหาร การมีกระบวนการจัดการและคุ้มครองข้อมูลที่ครบถ้วน ตั้งแต่การจัดทำ การจัดเก็บ การจำแนกหมวดหมู่ การประมวลผลหรือใช้ข้อมูล การปกปิดหรือเปิดเผยข้อมูล การตรวจสอบ และการทำลาย และประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารจัดการข้อมูล (Data Management) เพื่อเป็นกลไกในการกำหนดทิศทาง ควบคุม และทวนสอบการบริหารจัดการข้อมูล และเป็นแนวทางให้หน่วยงานได้ดำเนินการบริหารจัดการข้อมูลตามนโยบาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่ได้กำหนดไว้

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. ได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานการบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐ เป็นเครื่องมือเพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานมีการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล ประกอบด้วย

  1. มรด. 6 : 2566 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ (Data Governance Review) เพื่อเป็นกรอบภาพรวมในการขับเคลื่อนการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลของหน่วยงาน
  2. มรด. 3-1 : 2565 และ มรด. 3-2 : 2565 (GD Catalog Guideline & Register) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดทำ Metadata
  3. มรด. 4-1 : 2565 และ มรด. 4-2 : 2565 (Data Policy & Guideline) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดทำแนวนโยบายและแนวปฏิบัติการจัดการข้อมูล
  4. มรด. 5 : 2565 (Data Quality) เพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินคุณภาพข้อมูลภาครัฐ
  5. มสพร. 8-2565 (Data Classification) เพื่อเป็นเครื่องมือเพื่อพิจารณาระดับชั้นข้อมูล
  6. มสพร. 1-2566 (GD Catalog Guideline V. 2.0) เพื่อเป็นเครื่องมือในการพิจารณาเลือกใช้สัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูล

ท่านสามารถดาวโหลดเครื่องมือได้ ดังนี้

Data Policy & Guideline Template

2.25 MB 206 Downloads

GD Catalog Tool

144.13 KB 150 Downloads

Data Quality Tool

133.16 KB 123 Downloads

Data Classification Template

622.55 KB 186 Downloads

    การขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data Driven) ด้วยการจัดทำบัญชีข้อมูล

    การขับเคลื่อนเรื่องข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้ความสำคัญเป็นอย่างสูง เป็นการปรับตัวเข้าสู่ยุคของการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ นำข้อมูลที่มีมาวิเคราะห์เพื่อประกอบการตัดสินใจ เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินงานของหน่วยงาน หน่วยงานภาครัฐจึงเล็งเห็นความจำเป็นในการดำเนินการจัดทำบัญชีข้อมูลอันประกอบด้วย รายการข้อมูล และคำอธิบายข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐให้มีมาตรฐาน มีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 และประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ข้อ 4 (6) นำไปสู่การพัฒนาระบบศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ Government Data Catalog : GD Catalog ซึ่งถือได้ว่าการจัดทำบัญชีข้อมูลถือเป็นหนึ่งการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล เพื่อให้หน่วยงานรัฐเกิดการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data Driven) โดยมีการจัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลหรือเมทาดาตา (Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ โดยให้ความสำคัญกับชุดข้อมูลที่พร้อมใช้ และเชื่อมต่อแบ่งปันข้อมูลชุดข้อมูลระหว่างหน่วยงานรัฐ จะนำไปสู่การวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสามารถให้บริการประชาชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    ในปี 2564 สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) จึงได้ทบทวนแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ เวอร์ชัน 1.0 ขึ้น เพื่อเป็นข้อเสนอแนะให้กับหน่วยงานภาครัฐสามารถนำไปศึกษาและปฏิบัติใช้ โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พบว่าหน่วยงานภาครัฐยังคงประสบปัญหาในการจัดทำบัญชีข้อมูลหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาเลือกชุดข้อมูล การจัดหมวดหมู่และระดับชั้นข้อมูล การเลือกใช้สัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูล ดังนั้นเพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานจัดทำบัญชีข้อมูล จึงนำมาสู่การปรับปรุง มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ เวอร์ชัน 2.0 ขึ้น ซึ่งมีการปรับปรุง 1) ปรับปรุงเนื้อหาให้สอดคล้องกับ มรด. 6 : 2566 ว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ เวอร์ชัน 2.0 ซึ่งเป็นกรอบแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูล เช่น การกำหนดยุทธศาสตร์ด้านข้อมูล แนวทางการจัดหมวดหมู่และระดับชั้นข้อมูล 2) ปรับปรุงคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) โดยการเพิ่มตัวเลือกรายชื่อองค์กร เพิ่มตัวเลือกรายการจัดหมวดหมู่ “ข้อมูลใช้ภายใน” และปรับปรุงรายการตัวเลือกสัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูล พร้อมเกณฑ์การพิจารณาการเลือกประเภทสัญญา และ 3) ปรับปรุงคำอธิบายข้อมูลทางเลือก (Optional Metadata) โดยการเพิ่มรายการระดับชั้นข้อมูล และเพิ่มตัวเลือกรายการเงื่อนไขการเข้าถึงข้อมูล พร้อมยกตัวอย่าง เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมต่อชุดข้อมูลของหน่วยงานต่อไป

    การจัดทำบัญชีข้อมูลถือเป็นหนึ่งการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล เพื่อให้หน่วยงานรัฐเกิดการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data Driven) โดยมีการจัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลหรือเมทาดาตา (Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ โดยให้ความสำคัญกับชุดข้อมูลที่พร้อมใช้ และเชื่อมต่อแบ่งปันข้อมูลชุดข้อมูลระหว่างหน่วยงานรัฐ จะนำไปสู่การวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสามารถให้บริการประชาชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    การประกาศมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (มสพร.)

    เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566 นายสุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ได้ลงนามในประกาศประกาศสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เลขที่ ม 4/2566 เรื่อง มสพร. 1-2566 มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ เพื่อประกาศใช้สำหรับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และเพื่อเป็นข้อเสนอแนะให้หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ได้นำไปใช้เป็นตัวอย่างหรือแนวปฏิบัติต่อไป

    เอกสารมาตรฐานแนวทางจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ

    ดาวน์โหลด มสพร. 1-2566 ว่าด้วยแนวทางจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ

    เอกสารประกอบมาตรฐานฯ

    ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
    ประกาศ สพร. ม 1/2566 มสพร.ว่าด้วยแนวทางจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ18/9/2023
    เอกสารประกอบ มสพร. 1-2566 ว่าด้วยแนวทางจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ18/9/2023
    อกสาร ภาคผนวก ก การจัดทำ Metadata Standard18/9/2023
    เอกสาร ภาคผนวก ข คำอธิบายรายการตัวเลือก18/9/2023
    เอกสาร ภาคผนวก ค สัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมุูล18/9/2023
    เครื่องมือการพิจารณาประเภทสัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูล18/9/2023

    กรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ หรือ DGF Review

    มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนการจัดธรรมภิบาลข้อมูลภายในหน่วยงาน โดยนำหลักการทางทฤษฎีและแนวคิดที่สำคัญจากกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เวอร์ชัน 1.0 มาปรับปรุงเพื่อให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน และเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้งานจากหน่วยงานภาครัฐมากขึ้น โดยยังคงใจความสำคัญของทฤษฎีและหลักการสำคัญไว้ และได้เพิ่มเติมแนวปฏิบัติการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เพื่อช่วยสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐให้สามารถนำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐไปปฏิบัติจริงได้ จึงมุ่งเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐให้กับหน่วยงานภาครัฐ ไปที่กลุ่มผู้ปฏิบัติงานภาครัฐประเภท “กลุ่ม Non-IT” หรือ กลุ่มแผนและนโยบาย ผู้ปฏิบัติงานภาคสนาม นักวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้เข้าใจธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐมากขึ้น และสามารถนำกรอบไปประยุกต์ขับเคลื่อนการจัดธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐภายในหน่วยงาน ให้ข้อมูลมีคุณภาพ สามารถนำไปบูรณาการเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่น (Data integration) เปิดเผยข้อมูลสู่ประชาชน (Open data) และ วิเคราะห์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ (Data analytics) นำไปสู่ การตัดสินใจเชิงนโยบายบนพื้นฐานของข้อมูล บริการที่มีคุณภาพ สะดวกรวดเร็ว และมั่นคงปลอดภัย นวัตกรรมจากข้อมูล เป้าหมายเพื่อ ข้อมูลที่ถูกต้อง ส่งผลต่อความพึงพอใจสำหรับภาคธุรกิจและประชาชน และยกระดับการบริหารงานและการให้บริการประชาชนสำหรับหน่วยงานของรัฐผลต่อเนื่องไปยังการนําข้อมูลไปใช้และส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ใช้ข้อมูลในทุกภาคส่วนต่อเนื่องกันไป

    ในการปรับปรุง มรด. 6 : 2566 ฉบับนี้ได้ดำเนินการเพิ่มเติมคำนิยามสำคัญ เพื่อให้หน่วยงานสามารถศึกษาได้อย่างมีความเข้าใจความหมายมากยิ่งขึ้น เช่น “หน่วยงานของรัฐ” “ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ” “ยุทธศาสตร์ด้านข้อมูล” เป็นต้น และเพิ่มกรณีศึกษาเพื่อเป็นแนวปฏิบัติการขับเคลื่อนธรรมาภิบาลข้อมูล เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานใช้เป็นตัวอย่างและเกิดการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐในระดับหน่วยงานมากยิ่งขึ้น โดย มรด. ฉบับนี้จึงได้แบ่งสาระสำคัญออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย

    ส่วนที่ 1 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล ยังคงเนื้อหาของกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เวอร์ชั่น 1 เป็นหลัก โดยการปรับปรุง แก้ไข ข้อมูลบางส่วนเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น

    ส่วนที่ 2 แนวปฏิบัติ เป็นการจัดทำเนื้อหาขึ้นใหม่ เพื่อเป็นแนวทางในการนำมาตรฐานมาขับเคลื่อนภายในหน่วยงาน ต้องการนำเสนอการทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐให้ใกล้เคียงกับสถานการณ์ในปัจจุบันในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

    การประกาศมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล (มรด.)

    เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2566 รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ และเสนอต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา

    โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศฉบับนี้ได้ที่เว็บไซต์ www.ratchakitcha.soc.go.th หรือที่เว็บไซต์ https://standard.dga.or.th

    เอกสาร มรด. 6 : 2566 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ

    เอกสารประกอบมาตรฐานฯ

    ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
    ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ30/08/2023
    เอกสารประกอบ มรด. 6 : 2566 ว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ30/08/2023

    เพื่อให้เข้าใจธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐมากขึ้น และสามารถนำกรอบไปประยุกต์ขับเคลื่อนการจัดธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐภายในหน่วยงาน ให้ข้อมูลมีคุณภาพ สามารถนำไปบูรณาการเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่น (Data integration) เปิดเผยข้อมูลสู่ประชาชน (Open data)

    เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ท่านสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องและอำนวยความสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ รวมถึงช่วยให้เราปรับปรุงการนำเสนอเนื้อหาตรงตามความต้องการของท่าน โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ประกาศการใช้คุกกี้ และ ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)

    ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    ยอมรับทั้งหมด
    จัดการความเป็นส่วนตัว
    • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
      เปิดใช้งานตลอด

      คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

    • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

      คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่าข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

    • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

      คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

    • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

      คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

    บันทึกการตั้งค่า