Banner งานประชาพิจารณ์ มสพร 6-2567 ส่วนที่ 5


ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ได้จัดทำมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ (มสพร. 6) เพื่อสนับสนุนแนวทางวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 6 แห่ง พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 🔗 ซึ่งได้ประกาศใช้แล้วใน 4 ส่วนในปี พ.ศ. 2566 ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 เรื่องภาพรวม (มสพร. 6-1 : 2566) 🔗  ส่วนที่ 2 เรื่องมาตรฐานอ้างอิง (มสพร. 6-2 : 2566) 🔗 ส่วนที่ 3 เรื่องวิธีการระดับเริ่มต้น (มสพร. 6-3 : 2566) 🔗 และ ส่วนที่ 4 เรื่องวิธีการระดับมาตรฐาน (มสพร. 6-4 : 2566) 🔗 โดยที่ในส่วนที่ 5 นี้ จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการหน่วยงานในการจัดระดับบริการโดยใช้หลักเกณฑ์และขั้นตอนในการประเมินที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งคณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัลภาครัฐ และคณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ได้ให้ความเห็นชอบให้นำ (ร่าง) มาตรฐานฯ จัดทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็น ดังนั้น จึงกำหนดให้มีการรับฟังความคิดเห็น ออนไลน์ (Online) ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 15 มีนาคม พ.ศ. 2567 และจัดงานประชุมรับฟังความคิดเห็นรูปแบบออนไลน์ ในวันพฤหัสบดีที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 13.30 – 15.30 น.

ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงร่างมาตรฐานฯ ให้มีความเหมาะสมกับบริการภาครัฐมากยิ่งขึ้น จึงขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นฯ ผ่านแบบสำรวจด้านล่าง ภายในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567

เอกสารและลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

รายการวันที่นำเข้าลิงก์ /ดาวน์โหลด
1. (ร่าง) มาตรฐานฯ เรื่อง หลักเกณฑ์และการประเมินระดับวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริการภาครัฐ15/2/2567
2. แบบสำรวจความคิดเห็นฯ (ออนไลน์)15/2/2567
3. แบบสำรวจความคิดเห็นฯ (ออฟไลน์)15/2/2567
4. คำชี้แจงการสำรวจความคิดเห็นและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล15/2/2567
5. กำหนดการงานประชาพิจารณ์15/2/2567
6. แบบลงทะเบียนเข้าร่วมงานประชาพิจารณ์ (ออนไลน์)15/2/2567
7. ลิงก์สำหรับเข้าร่วมงานประชาพิจารณ์ (MS Team)15/2/2567
8. เอกสารนำเสนอสำหรับงานรับฟังความคิดเห็นฯ (สำหรับเผยแพร่)29/2/2567
9.1 เอกสารนำเสนอของวิทยากรจาก กพร.29/2/2567
9.2 เอกสารนำเสนอของวิทยากรจาก สวทช.29/2/2567

มาตรฐานกลุ่มข้อมูลที่อยู่

มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่อยู่เป็นสิ่งที่มีความสําคัญต่อการทําให้เกิดมาตรฐานการทํางานร่วมกัน (Interoperability) ของหน่วยงานภาครัฐ ข้อมูลที่อยู่เป็นองค์ประกอบของข้อมูลสถานที่ (Location) ที่เป็นหนึ่งในกลุ่มข้อมูลหลัก (Core Data) เป็นข้อมูลที่เกี่ยวพันกับกลุ่มข้อมูลอื่น ๆ เช่น ข้อมูลนิติบุคคล ข้อมูลทะเบียนบ้าน ดังนั้นจึงมีความจําเป็นที่จะต้องดําเนินการพัฒนามาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่อยู่ขึ้นเพื่อนําไปใช้ในร่วมกับข้อมูลด้านอื่นต่อไป

มาตรฐานกลุ่มข้อมูลนิติบุคคล

การพัฒนามาตรฐานข้อมูลนิติบุคคลเป็นการพัฒนามาตรฐานในหมวดข้อมูลหลัก มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มข้อมูลอ้างอิงเฉพาะธุรกิจและกลุ่มข้อมูลขยายบางส่วน รวมถึงการนิยามประเภทรูปแบบข้อมูลอีกส่วนหนึ่ง

มาตรฐานข้อมูลบุคคล

มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลบุคคลเป็นสิ่งที่มีความสําคัญอย่างมากต่อการการทําให้เกิดมาตรฐานการทํางานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม ข้อมูลบุคคลเป็นหนึ่งในกลุ่มข้อมูลหลัก เป็นข้อมูลที่สําคัญและมีความเกี่ยวพันกับกลุ่มข้อมูลในด้านอื่นไม่ว่าจะเป็น ด้านธุรกิจ ด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข ฯลฯ ดังนั้นจึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งดําเนินการพัฒนา มาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลบุคคลขึ้นมาเพื่อนําไปใช้ในร่วมกับข้อมูลด้านอื่นต่อไป

มาตรสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวแฏิบัติกระการทางดิจิทัลภาครัฐ (มสพร. 6)

ด้วยมาตรา 6 และ มาตรา 19 แห่ง พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ให้มีการกำหนดวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งรวมถึงมาตรฐาน ที่หน่วยงานของ รัฐจะต้องใช้และปฏิบัติให้สอดคล้องกันและเชื่อมโยงถึงกันได้ โดยให้จัดแบ่งวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นระยะ เริ่มต้นและระยะต่อ ๆ ไป ซึ่ง คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในคราวประชุมเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 จึงจำเป็นต้องพัฒนาแนวปฏิบัติพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดทำกระบวนการและการให้บริการ ในรูปแบบดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐ ให้เป็นไปตามกฎหมาย มาตรฐาน แนวปฏิบัติ แนวทางการดำเนินงาน และ ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้อง โดยมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (มสพร.) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ (มสพร. 6) ในระยะแรก (2566) ได้มีการประกาศมาตรฐานออกมา ทั้งหมด 4 ส่วน โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. ส่วนที่ 1 เรื่องภาพรวม (มสพร. 6-1 : 2566) อธิบายภาพรวมของการจัดทำกระบวนการทางดิจิทัลสำหรับการ “ขออนุญาต” หมายความรวมถึง ขอรับใบอนุญาต ขออนุมัติ ขอจดทะเบียน ขอขึ้นทะเบียน ขอแจ้ง ขอจดแจ้ง ขออาชญาบัตร ขอการรับรอง ขอความเห็นชอบ ขอความเห็น ขอให้พิจารณา ขออุทธรณ์ ร้องทุกข์ หรือร้องเรียน ขอให้ดำเนินการ ขอรับเงิน ขอรับสวัสดิการ และขอรับบริการอื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ มิได้ครอบคลุมกระบวนการดำเนินงานอื่นภายในหน่วยงานของรัฐ และข้อมูลทางเทคนิคของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
  2. ส่วนที่ 2 เรื่องมาตรฐานอ้างอิง (มสพร. 6-2 : 2566) รวบรวมมาตรฐานประเทศที่ภาครัฐสามารถใช้อ้างอิงในการปฏิบัติ หรือจัดทำบริการในรูปแบบดิจิทัล ในระดับ ต่างๆ ซึ่งได้นำเสนอไว้ใน มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ ส่วนที่ 1 ภาพรวม และ ได้ปรับปรุงจากมาตรฐาน สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐภาพรวม (มสพร. 6 2565) เวอร์ชัน 1.0 ทั้งนี้ข้อมูลที่นำเสนอ ในมาตรฐานฉบับนี้ ไม่ครอบคลุม กฎหมาย มาตรฐาน และแนวปฏิบัติ ทั้งหมด ของประเทศไทย และสากล ควรมีการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย และผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการตามรายละเอียดของแนวปฏิบัติฉบับนี้
  3. ส่วนที่ 3 เรื่องวิธีการระดับเริ่มต้น (มสพร. 6-3 : 2566) เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่มีข้อจำกัดทางด้านบุคลากรและงบประมาณสามารถให้บริการประชาชนด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ซึ่ง มาตรฐานฉบับนี้ จะครอบคลุมการใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (อีเมล) และ สื่อสังคมออนไลน์ (แอปพลิเคชัน LINE Official)
  4. ส่วนที่ 4 เรื่องวิธีการระดับมาตรฐาน (มสพร. 6-4 : 2566) เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่มีความต้องการที่จะยกระดับการให้บริการประชาชนจากระดับเริ่มต้น มาเป็นในรูปแบบของ e-Service ซึ่งอาจเป็นเว็บแอปพลิเคชัน ( Web Application) หรือ แอปพลิเคชันสำหรับโทรศัพท์มือถือ ( Mobile Application) หรือ บริการภายใต้แพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Service Platform) เช่น บริการในแอปพลิเคชันทางรัฐ เป็นต้น

การประกาศมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (มสพร. 6-1 : 2566 ถึง มสพร. 6-4 : 2566)

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566 นายสุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)  ได้ลงนามในประกาศสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เลขที่ ม 3/2566 เรื่อง มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ(GUIDELINES FOR DIGITAL GOVERNMENT PROCESS) เพื่อประกาศใช้สำหรับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และเป็นการสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ได้นำไปใช้เป็นตัวอย่างหรือแนวปฏิบัติต่อไป

เอกสารมาตรฐานฯ

ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
ประกาศ สพร. 3/2566 มสพร.ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ22/08/2566
เอกสารประกอบ มสพร. 6-2566 ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ22/08/2566
มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการ
ทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 1 เรื่อง ภาพรวม เลขที่ มสพร. 6-1 : 2566
22/08/2566
มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการ
ทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 2 เรื่อง มาตรฐานอ้างอิง เลขที่ มสพร. 6-2 : 2566
22/08/2566
มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการ
ทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 3 เรื่อง วิธีการระดับเริ่มต้น เลขที่ มสพร. 6-3 : 2566
22/08/2566
มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการ
ทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 4 เรื่อง วิธีการระดับมาตรฐาน เลขที่ มสพร. 6-4 : 2566
22/08/2566

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ เอกสารการรับฟังความคิดเห็น งานประชุมรับฟังความคิดเห็น เอกสารประกอบงานประชุมฯ
GovWebsite-7-2

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

สืบเนื่องจากมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ เวอร์ชัน 2.0 ได้การประกาศใช้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบันเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ได้มีการพัฒนาไปจากมาตรฐานฉบับเดิม อีกทั้ง ยังมีการประกาศใช้กฎหมาย ข้อบังคับ แนวปฏิบัติต่างๆ เพิ่มเติมตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ดังนั้น เพื่อให้เกิดการนำใช้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องพัฒนาแนวปฏิบัติพื้นฐานเกี่ยวกับมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐให้เป็นไปตามกฎหมาย มาตรฐาน แนวปฏิบัติ แนวทางการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้อง

ในการนี้ เพื่อสนับสนุนการจัดทำแนวปฏิบัติพื้นฐานเกี่ยวกับมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐให้เป็นไปตามกฎหมาย มาตรฐาน แนวปฏิบัติ แนวทางการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องที่หน่วยงานของรัฐจะต้องใช้และปฏิบัติให้สอดคล้อง และบรรลุตามวัตถุประสงค์ข้างต้น ซึ่งคณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยภาครัฐ และคณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ได้ให้ความเห็นชอบให้นำร่างแนวปฏิบัติฯ จัดทำประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็น ดังนั้น จึงกำหนดให้มีการรับฟังความคิดเห็น Online ระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2566 และจัดงานประชุมรับฟังความคิดเห็นรูปแบบออนไลน์ ในวันพุธที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เวลา 10.00 – 12.00 น.

รายการเอกสาร แบบฟอร์ม ไฟล์แนบ หรือลิ้งค์ที่เกี่ยวข้องวันที่นำเข้าลิ้งค์ดาวน์โหลด
1. แบบฟอร์มแสดงความคิดเห็นฯ (Online Form) 28/6/2566
2. แบบฟอร์มแสดงความคิดเห็นฯ สำหรับ Download (Pdf) (Word)28/6/2566
3. ร่างมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ เวอร์ชัน 3.028/6/2566
4. คำชี้แจงการสำรวจความคิดเห็นและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล28/6/2566

ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงร่างมาตรฐานฯ ให้มีความเหมาะสมกับบริการภาครัฐมากยิ่งขึ้น จึงขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นฯ แบบฟอร์มข้างต้น ภายในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2566

งานประชุมรับฟังความคิดเห็น วันพุธที่ 12 กรกฎาคม 2566 เวลา 10.00-12.00น.

บันทึกงานประชุมรับฟังความคิดเห็น

รายการเอกสาร แบบฟอร์ม ไฟล์แนบ หรือลิ้งค์ที่เกี่ยวข้องวันที่นำเข้าลิ้งค์ดาวน์โหลด
1. แบบฟอร์มลงทะเบียนเข้าร่วมงานประชุมเพื่อรับฟังความเห็นฯ 28/6/2566
2. (ร่าง) กำหนดการจัดงานประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นฯ28/6/2566
3. Link เข้าร่วมการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นฯ (MS Team)28/6/2566
4. (ร่าง) เอกสารประกอบการนำเสนอ (Powerpoint)12/7/2566

รับชมย้อนหลังการจัดงานประชุมรับฟังความคิดเห็นฯ ออนไลน์ (MS Teamวันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน 2566 เวลา 13.30 – 15.30 น.

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 มาตรา 12 (2) กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดทำกระบวนการหรือการดำเนินงานทางดิจิทัลเพื่อการบริหารราชการแผ่นดินและการให้บริการประชาชน กระบวนการหรือการดำเนินงานทางดิจิทัลนั้น ต้องทำงานร่วมกันได้ตามมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด เพื่อให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นได้ นอกจากนี้ มาตรา 6 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ให้มีการกำหนดวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งรวมถึงมาตรฐาน ที่หน่วยงานของรัฐจะต้องใช้และปฏิบัติให้สอดคล้องกันและเชื่อมโยงถึงกันได้ โดยจะจัดแบ่งวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นระยะเริ่มต้นและระยะต่อ ๆ ไป ทั้งนี้พระราชบัญญัติฯ กำหนดให้ “ขออนุญาต” หมายความรวมถึง ขอรับใบอนุญาต ขออนุมัติ ขอจดทะเบียน ขอขึ้นทะเบียน ขอแจ้ง ขอจดแจ้ง ขออาชญาบัตร ขอการรับรอง ขอความเห็นชอบ ขอความเห็น ขอให้พิจารณา ขออุทธรณ์ ร้องทุกข์ หรือร้องเรียน ขอให้ดำเนินการ ขอรับเงิน ขอรับสวัสดิการ และขอรับบริการอื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ จึงจำเป็นต้องพัฒนาแนวปฏิบัติพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดทำกระบวนการและการให้บริการในรูปแบบดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐให้ครอบคลุมและเป็นไปตามกฎหมาย โดยมาตรฐานสำนักงานรัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ เวอร์ชัน 2.0 (มสพร. 6-256x) ฉบับนี้ได้ปรับปรุงจากมาตรฐานสำนักงานรัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ เวอร์ชัน 1.0 (มสพร. 6-2565) ให้มีความสมบูรณ์สอดคล้องกับเทคโนโลยี และกฏหมาย โดยเฉพาะวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. การปฏิบัตราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ซึ่งมาตรฐานฯ ฉบับนี้จะแบ่งเนื้อหาเป็น 4 ส่วนได้แก่ เรื่องภาพรวม เรื่องมาตรฐานอ้างอิง เรื่องวิธีการระดับเริ่มต้น เรื่องวิธีการระดับมาตรฐาน ทั้งนี้เพื่อให้หน่วยงานรัฐสามารถนำใช้อ้างอิงเป็นแนวทางในการจัดทำหรือปรับปรุงกระบวนการทางดิจิทัลสำหรับบริการประชาชนต่อไป

ในการนี้เพื่อสนับสนุนการจัดทำวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ของกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐจึงกำหนดให้มีการประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นระหว่างวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 และจัดงานประชุมรับฟังความคิดเห็นในรูปแบบออนไลน์ ในวันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน 2566 เวลา 13.30 – 15.30 น.

รายการเอกสาร แบบฟอร์ม ไฟล์แนบ หรือลิ้งค์ที่เกี่ยวข้องประเภทวันที่นำเข้าลิ้งค์ดาวน์โหลด
1. แบบฟอร์มแสดงความคิดเห็นฯ (Online Form) 1/4/2566
2. แบบฟอร์มแสดงความคิดเห็นฯ สำหรับ Download (Pdf) (Word) 1/4/2566
3. ร่างแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ-2.0 ส่วนที่ 1 เรื่องภาพรวม1/4/2566
4. ร่างแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ-2.0 ส่วนที่ 2 เรื่องมาตรฐานอ้างอิง1/4/2566
5. ร่างแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ-2.0 ส่วนที่ 3 เรื่องวิธีการระดับเริ่มต้น1/4/2566
6. ร่างแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ-2.0 ส่วนที่ 4 เรื่องวิธีการระดับมาตรฐาน1/4/2566
7. คำชี้แจงการสำรวจความคิดเห็นและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล1/4/2566

ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงร่างมาตรฐานฯ ให้มีความเหมาะสมกับบริการภาครัฐมากยิ่งขึ้น จึงขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นฯ แบบฟอร์มข้างต้น ภายในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

งานประชุมรับฟังความคิดเห็นวันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน 2566 เวลา 13.30-15.30น.

งานประชุมรับฟังความคิดเห็นวันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน 2566
[รับชมย้อนหลัง] – การจัดงานประชุมรับฟังความคิดเห็นฯ ออนไลน์ (MS Team)
รายการเอกสาร แบบฟอร์ม ไฟล์แนบ หรือลิ้งค์ที่เกี่ยวข้องประเภทวันที่นำเข้าลิ้งค์ดาวน์โหลด
1. แบบฟอร์มลงทะเบียนเข้าร่วมงานประชุมเพื่อรับฟังความเห็นฯ 1/ุุ4/2566
2. (ร่าง) กำหนดการจัดงานประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นฯ1/4/2566
3. Link เข้าร่วมการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นฯ (MS Team)1/4/2566
4. (ร่าง) เอกสารประกอบการนำเสนอ (Powerpoint)1/4/2566
5. ปัญหาถามตอบ (FAQ)10/5/2566
ประชาชนสนทนา เรื่อง e-Signature ว่าด้วยเรื่องประโยชน์และความปลอดภัย

e-Signature ยกระดับหน่วยงานรัฐ เลิกใช้ระบบเอกสาร สร้างบริการออนไลน์ รวดเร็วทันใจและเข้าถึงได้แม้พื้นที่ห่างไกล

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : e-Signature ว่าด้วยเรื่องประโยชน์และความปลอดภัย

ถ้านึกถึงการให้บริการภาครัฐผ่านทางดิจิทัล ก็ต้องนึกไปถึงภารกิจของหน่วยงานรัฐที่จะต้อง เปิดให้บริการต่อประชาชน แต่กว่าจะเปิดให้บริการผ่านทางระบบดิจิทัลได้ ก็ต้องจัดเตรียมความพร้อมอีกหลายเรื่อง ซึ่งรวมไปถึงเรื่องของมาตรฐานการบริการผ่านทางดิจิทัล ตลอดจนด้านการบริหารงานควรต้องสอดคล้องกันด้วย

ว่าด้วยเรื่อง “มาตรฐานการบริการผ่านทางดิจิทัล” ในบริบทของ DGA (สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. เราพูดถึง 2 ประเด็นหลัก คือ มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (มสพร.) และมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล (มรด.)

มาถึงตรงนี้ หลายท่านอาจมีข้อสงสัยว่า มาตรฐาน 2 เรื่อง คืออะไร ต่างกันอย่างไร? ในนี้มีคำตอบ แต่ก่อนที่จะไปขยายความเรื่องความแตกต่าง ขอกล่าวในเบื้องต้นเพื่อให้เกิดการจดจำชื่อย่อกันก่อน ดังนี้

มสพร. ย่อมาจาก มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล หรือ DGA Community Standard: DGA ต่อไปในบทความนี้จะเรียกชื่อย่อว่า มสพร.

มรด. ย่อมาจาก มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล หรือ Digital Government Standard: DGS ต่อไปในบทความนี้เราจะเรียกชื่อย่อว่า มรด.

“มสพร. และ มรด.” เกิดใช้ ไม่เหมือนกัน

เพื่อให้จดจำได้ง่าย ไม่สับสน ในที่นี้ขอให้คำจำกัดความสั้นๆ ว่า

  • “มสพร. เกิด-ใช้ ใน DGA และเสนอให้เป็นแนวปฏิบัตินำร่อง”
  • “มรด. เกิด-ใช้ ในหน่วยงานราชการทั่วไป”

หมายความว่า มสพร. เกิดจากนโยบายของ DGA (อาศัยอำนาจตามมาตรา 8 ใน พ.ร.ฎ.จัดตั้งสํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และ มีผลบังคับใช้ภายใน DGA เท่านั้น โดยสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ได้นำไปใช้เป็นตัวอย่างหรือเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป

ส่วน มรด. เกิดจากการประกาศในราชกิจจานุเบกษา (อาศัยอำนาจตามมาตรา 7 ใน พ.ร.บ.การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล) และ มีผลบังคับใช้กับหน่วยงานภาครัฐทุกแห่ง หรือหน่วยงานรัฐทั่วไปนั่นเอง

ทั้งนี้ ผู้มีอำนาจลงนามของ มสพร. คือ ผู้อำนวยการ DGA ในขณะที่มีอำนาจลงนามของ มรด. คือ ประธานคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

เลขรหัสมาตรฐาน สูตร 1 สูตร 2

เนื่องจากมาตรฐานมีหลายด้าน DGA จึงได้จัดทำเลขรหัสมาตรฐานออกมาเพื่อให้ชัดเจน และรู้ลำดับของการเกิดและปีที่ประกาศใช้ ดังตารางด้านล่าง นี้

มสพร. ที่ประกาศใช้แล้ว ได้แก่

  • มสพร. 1-2564 มาตรฐานของสํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล(องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวทางการจัดทําบัญชีข้อมูลภาครัฐ
  • มสพร. 2-1:2564 และ มสพร. 2-2:2564 มาตรฐานของสํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล(องค์การมหาชน) ว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายการบริหารจัดการข้อมูล
  • มสพร. 3-2565 มาตรฐานของสํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล(องค์การมหาชน) ว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ
  • มสพร. 4-2565 มาตรฐานของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล เรื่องข้อมูลบุคคล
  • มสพร. 5-2565 มาตรฐานของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล เรื่อง ข้อมูลนิติบุคคล

และเพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐได้ดียิ่งขึ้น DGA จะทำการทบทวนกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ โดยนำศึกษาจากกรณีศึกษาที่ดีมาจัดทำเป็นแนวปฏิบัติ เพื่อให้หน่วยงานสามารถนำมาตรฐานไปประยุกต์สู่การปฏิบัติจริงได้มากขึ้น

เตรียมยกระดับ มสพร. เป็น มรด. ได้แก่

  • มสพร. 1-2564 มาตรฐานของสํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล(องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวทางการจัดทําบัญชีข้อมูลภาครัฐ
  • มสพร. 2-1:2564 และ มสพร. 2-2:2564 มาตรฐานของสํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล(องค์การมหาชน) ว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายการบริหารจัดการข้อมูล
  • มสพร. 3-2565 มาตรฐานของสํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล(องค์การมหาชน) ว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ

ขณะนี้ มาตรฐานทั้ง 3 ฉบับ อยู่ระหว่างการเสนอคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล และจะประกาศใช้เร็วๆ นี้ ซึ่งเมื่อเป็น มรด. ก็จะกลายเป็นกรอบแนวทางให้แก่หน่วยงานภาครัฐต่างๆ ได้นำไปปฏิบัติ เพื่อระดับหน่วยงานให้ก้าวสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลได้อีกขั้นหนึ่ง

มรด. ที่ประกาศใช้แล้ว ได้แก่

  • ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
  • มรด. 12001:2563 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ (Open Government Data Guideline)
  • มรด. 1-1:2564 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ – ภาพรวม (เวอร์ชัน 1.0)
  • มรด. 1-2:2564 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ – การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลสำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย (เวอร์ชัน 1.0)
  • มรด. 2-1:2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยกรอบแนวทางการพัฒนามาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ

ทั้งนี้ มรด. ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งหมายความว่า “มีผลบังคับใช้แล้ว” ประกอบด้วย 1. มรด-12001:2563 2. มรด. 1-1:2564 และ 3. มรด. 1-2:2564 (โดย มรด. 1-1:2564 และ มรด. 1-2:2564 มีการยืดเวลาให้มีผลบังคับใช้ไปอีก 2 ปี หลังวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งตามกำหนดคือ หลังวันที่ 11 ตค. 2566)

ส่วนที่ยังไม่ลงประกาศในราชกิจจา “หน่วยงานต่างๆ ควรเตรียมความพร้อม” ให้ใช้งานจริงได้เมื่อมีประกาศออกมา คือ มรด. 2-1:2565

กระบวนการจัดทำมาตรฐานของ สพร. (DGA)

มสพร. และ มรด. อยู่ในบริบทที่แตกต่างกัน ดังนั้นการจัดทำร่างก็มีความแตกต่างกันไปด้วย โดยได้อธิบายไว้ในตารางด้านล่าง

นอกจากนี้ยังมีการจัดทำร่าง มสพร. และ มรด. ด้านอื่นๆ เพื่อให้เกิดการยกระดับหน่วยงานภาครัฐไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลไปพร้อมๆ กัน อันเป็นเป้าหมายหลักของ DGA  ทั้งนี้ ยังทำให้งานด้านการให้บริการของภาครัฐผ่านช่องทางดิจิทัลมีความสอดคล้องกันทั้งระบบ และยังทรานส์ฟอร์มการบริหารงานของหน่วยงานภาครัฐให้ตอบโจทย์การก้าวไปสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

ซึ่งเมื่อบริการต่างๆ ของหน่วยงานรัฐก้าวไปสู่การให้บริการบนโลกดิจิทัลอย่างพร้อมเพรียงกันแล้ว เมื่อนั้นประชาชนคนไทยก็จะได้รับประโยชน์ และยกระดับคุณภาพการดำรงชีวิตในยุคดิจิทัลโดยไม่แพ้ชาติใดๆ ในโลกเลยก็ว่าได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ท่านสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องและอำนวยความสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ รวมถึงช่วยให้เราปรับปรุงการนำเสนอเนื้อหาตรงตามความต้องการของท่าน โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ประกาศการใช้คุกกี้ และ ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่าข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า