Banner งานประชาพิจารณ์ มสพร 6-2567 ส่วนที่ 5


ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ได้จัดทำมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ (มสพร. 6) เพื่อสนับสนุนแนวทางวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 6 แห่ง พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 🔗 ซึ่งได้ประกาศใช้แล้วใน 4 ส่วนในปี พ.ศ. 2566 ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 เรื่องภาพรวม (มสพร. 6-1 : 2566) 🔗  ส่วนที่ 2 เรื่องมาตรฐานอ้างอิง (มสพร. 6-2 : 2566) 🔗 ส่วนที่ 3 เรื่องวิธีการระดับเริ่มต้น (มสพร. 6-3 : 2566) 🔗 และ ส่วนที่ 4 เรื่องวิธีการระดับมาตรฐาน (มสพร. 6-4 : 2566) 🔗 โดยที่ในส่วนที่ 5 นี้ จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการหน่วยงานในการจัดระดับบริการโดยใช้หลักเกณฑ์และขั้นตอนในการประเมินที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งคณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัลภาครัฐ และคณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ได้ให้ความเห็นชอบให้นำ (ร่าง) มาตรฐานฯ จัดทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็น ดังนั้น จึงกำหนดให้มีการรับฟังความคิดเห็น ออนไลน์ (Online) ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 15 มีนาคม พ.ศ. 2567 และจัดงานประชุมรับฟังความคิดเห็นรูปแบบออนไลน์ ในวันพฤหัสบดีที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 13.30 – 15.30 น.

ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงร่างมาตรฐานฯ ให้มีความเหมาะสมกับบริการภาครัฐมากยิ่งขึ้น จึงขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นฯ ผ่านแบบสำรวจด้านล่าง ภายในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567

เอกสารและลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

รายการวันที่นำเข้าลิงก์ /ดาวน์โหลด
1. (ร่าง) มาตรฐานฯ เรื่อง หลักเกณฑ์และการประเมินระดับวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริการภาครัฐ15/2/2567
2. แบบสำรวจความคิดเห็นฯ (ออนไลน์)15/2/2567
3. แบบสำรวจความคิดเห็นฯ (ออฟไลน์)15/2/2567
4. คำชี้แจงการสำรวจความคิดเห็นและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล15/2/2567
5. กำหนดการงานประชาพิจารณ์15/2/2567
6. แบบลงทะเบียนเข้าร่วมงานประชาพิจารณ์ (ออนไลน์)15/2/2567
7. ลิงก์สำหรับเข้าร่วมงานประชาพิจารณ์ (MS Team)15/2/2567
8. เอกสารนำเสนอสำหรับงานรับฟังความคิดเห็นฯ (สำหรับเผยแพร่)29/2/2567
9.1 เอกสารนำเสนอของวิทยากรจาก กพร.29/2/2567
9.2 เอกสารนำเสนอของวิทยากรจาก สวทช.29/2/2567

มาตรฐานกลุ่มข้อมูลที่อยู่

มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่อยู่เป็นสิ่งที่มีความสําคัญต่อการทําให้เกิดมาตรฐานการทํางานร่วมกัน (Interoperability) ของหน่วยงานภาครัฐ ข้อมูลที่อยู่เป็นองค์ประกอบของข้อมูลสถานที่ (Location) ที่เป็นหนึ่งในกลุ่มข้อมูลหลัก (Core Data) เป็นข้อมูลที่เกี่ยวพันกับกลุ่มข้อมูลอื่น ๆ เช่น ข้อมูลนิติบุคคล ข้อมูลทะเบียนบ้าน ดังนั้นจึงมีความจําเป็นที่จะต้องดําเนินการพัฒนามาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่อยู่ขึ้นเพื่อนําไปใช้ในร่วมกับข้อมูลด้านอื่นต่อไป

มาตรฐานกลุ่มข้อมูลนิติบุคคล

การพัฒนามาตรฐานข้อมูลนิติบุคคลเป็นการพัฒนามาตรฐานในหมวดข้อมูลหลัก มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มข้อมูลอ้างอิงเฉพาะธุรกิจและกลุ่มข้อมูลขยายบางส่วน รวมถึงการนิยามประเภทรูปแบบข้อมูลอีกส่วนหนึ่ง

มาตรฐานข้อมูลบุคคล

มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลบุคคลเป็นสิ่งที่มีความสําคัญอย่างมากต่อการการทําให้เกิดมาตรฐานการทํางานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม ข้อมูลบุคคลเป็นหนึ่งในกลุ่มข้อมูลหลัก เป็นข้อมูลที่สําคัญและมีความเกี่ยวพันกับกลุ่มข้อมูลในด้านอื่นไม่ว่าจะเป็น ด้านธุรกิจ ด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข ฯลฯ ดังนั้นจึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งดําเนินการพัฒนา มาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลบุคคลขึ้นมาเพื่อนําไปใช้ในร่วมกับข้อมูลด้านอื่นต่อไป

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ เอกสารการรับฟังความคิดเห็น งานประชุมรับฟังความคิดเห็น เอกสารประกอบงานประชุมฯ
GovWebsite-7-2

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

สืบเนื่องจากมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ เวอร์ชัน 2.0 ได้การประกาศใช้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบันเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ได้มีการพัฒนาไปจากมาตรฐานฉบับเดิม อีกทั้ง ยังมีการประกาศใช้กฎหมาย ข้อบังคับ แนวปฏิบัติต่างๆ เพิ่มเติมตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ดังนั้น เพื่อให้เกิดการนำใช้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องพัฒนาแนวปฏิบัติพื้นฐานเกี่ยวกับมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐให้เป็นไปตามกฎหมาย มาตรฐาน แนวปฏิบัติ แนวทางการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้อง

ในการนี้ เพื่อสนับสนุนการจัดทำแนวปฏิบัติพื้นฐานเกี่ยวกับมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐให้เป็นไปตามกฎหมาย มาตรฐาน แนวปฏิบัติ แนวทางการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องที่หน่วยงานของรัฐจะต้องใช้และปฏิบัติให้สอดคล้อง และบรรลุตามวัตถุประสงค์ข้างต้น ซึ่งคณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยภาครัฐ และคณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ได้ให้ความเห็นชอบให้นำร่างแนวปฏิบัติฯ จัดทำประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็น ดังนั้น จึงกำหนดให้มีการรับฟังความคิดเห็น Online ระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2566 และจัดงานประชุมรับฟังความคิดเห็นรูปแบบออนไลน์ ในวันพุธที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เวลา 10.00 – 12.00 น.

รายการเอกสาร แบบฟอร์ม ไฟล์แนบ หรือลิ้งค์ที่เกี่ยวข้องวันที่นำเข้าลิ้งค์ดาวน์โหลด
1. แบบฟอร์มแสดงความคิดเห็นฯ (Online Form) 28/6/2566
2. แบบฟอร์มแสดงความคิดเห็นฯ สำหรับ Download (Pdf) (Word)28/6/2566
3. ร่างมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ เวอร์ชัน 3.028/6/2566
4. คำชี้แจงการสำรวจความคิดเห็นและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล28/6/2566

ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงร่างมาตรฐานฯ ให้มีความเหมาะสมกับบริการภาครัฐมากยิ่งขึ้น จึงขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นฯ แบบฟอร์มข้างต้น ภายในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2566

งานประชุมรับฟังความคิดเห็น วันพุธที่ 12 กรกฎาคม 2566 เวลา 10.00-12.00น.

บันทึกงานประชุมรับฟังความคิดเห็น

รายการเอกสาร แบบฟอร์ม ไฟล์แนบ หรือลิ้งค์ที่เกี่ยวข้องวันที่นำเข้าลิ้งค์ดาวน์โหลด
1. แบบฟอร์มลงทะเบียนเข้าร่วมงานประชุมเพื่อรับฟังความเห็นฯ 28/6/2566
2. (ร่าง) กำหนดการจัดงานประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นฯ28/6/2566
3. Link เข้าร่วมการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นฯ (MS Team)28/6/2566
4. (ร่าง) เอกสารประกอบการนำเสนอ (Powerpoint)12/7/2566

รับชมย้อนหลังการจัดงานประชุมรับฟังความคิดเห็นฯ ออนไลน์ (MS Teamวันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน 2566 เวลา 13.30 – 15.30 น.

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 มาตรา 12 (2) กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดทำกระบวนการหรือการดำเนินงานทางดิจิทัลเพื่อการบริหารราชการแผ่นดินและการให้บริการประชาชน กระบวนการหรือการดำเนินงานทางดิจิทัลนั้น ต้องทำงานร่วมกันได้ตามมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด เพื่อให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นได้ นอกจากนี้ มาตรา 6 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ให้มีการกำหนดวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งรวมถึงมาตรฐาน ที่หน่วยงานของรัฐจะต้องใช้และปฏิบัติให้สอดคล้องกันและเชื่อมโยงถึงกันได้ โดยจะจัดแบ่งวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นระยะเริ่มต้นและระยะต่อ ๆ ไป ทั้งนี้พระราชบัญญัติฯ กำหนดให้ “ขออนุญาต” หมายความรวมถึง ขอรับใบอนุญาต ขออนุมัติ ขอจดทะเบียน ขอขึ้นทะเบียน ขอแจ้ง ขอจดแจ้ง ขออาชญาบัตร ขอการรับรอง ขอความเห็นชอบ ขอความเห็น ขอให้พิจารณา ขออุทธรณ์ ร้องทุกข์ หรือร้องเรียน ขอให้ดำเนินการ ขอรับเงิน ขอรับสวัสดิการ และขอรับบริการอื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ จึงจำเป็นต้องพัฒนาแนวปฏิบัติพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดทำกระบวนการและการให้บริการในรูปแบบดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐให้ครอบคลุมและเป็นไปตามกฎหมาย โดยมาตรฐานสำนักงานรัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ เวอร์ชัน 2.0 (มสพร. 6-256x) ฉบับนี้ได้ปรับปรุงจากมาตรฐานสำนักงานรัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ เวอร์ชัน 1.0 (มสพร. 6-2565) ให้มีความสมบูรณ์สอดคล้องกับเทคโนโลยี และกฏหมาย โดยเฉพาะวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. การปฏิบัตราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ซึ่งมาตรฐานฯ ฉบับนี้จะแบ่งเนื้อหาเป็น 4 ส่วนได้แก่ เรื่องภาพรวม เรื่องมาตรฐานอ้างอิง เรื่องวิธีการระดับเริ่มต้น เรื่องวิธีการระดับมาตรฐาน ทั้งนี้เพื่อให้หน่วยงานรัฐสามารถนำใช้อ้างอิงเป็นแนวทางในการจัดทำหรือปรับปรุงกระบวนการทางดิจิทัลสำหรับบริการประชาชนต่อไป

ในการนี้เพื่อสนับสนุนการจัดทำวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ของกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐจึงกำหนดให้มีการประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นระหว่างวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 และจัดงานประชุมรับฟังความคิดเห็นในรูปแบบออนไลน์ ในวันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน 2566 เวลา 13.30 – 15.30 น.

รายการเอกสาร แบบฟอร์ม ไฟล์แนบ หรือลิ้งค์ที่เกี่ยวข้องประเภทวันที่นำเข้าลิ้งค์ดาวน์โหลด
1. แบบฟอร์มแสดงความคิดเห็นฯ (Online Form) 1/4/2566
2. แบบฟอร์มแสดงความคิดเห็นฯ สำหรับ Download (Pdf) (Word) 1/4/2566
3. ร่างแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ-2.0 ส่วนที่ 1 เรื่องภาพรวม1/4/2566
4. ร่างแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ-2.0 ส่วนที่ 2 เรื่องมาตรฐานอ้างอิง1/4/2566
5. ร่างแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ-2.0 ส่วนที่ 3 เรื่องวิธีการระดับเริ่มต้น1/4/2566
6. ร่างแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ-2.0 ส่วนที่ 4 เรื่องวิธีการระดับมาตรฐาน1/4/2566
7. คำชี้แจงการสำรวจความคิดเห็นและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล1/4/2566

ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงร่างมาตรฐานฯ ให้มีความเหมาะสมกับบริการภาครัฐมากยิ่งขึ้น จึงขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นฯ แบบฟอร์มข้างต้น ภายในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

งานประชุมรับฟังความคิดเห็นวันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน 2566 เวลา 13.30-15.30น.

งานประชุมรับฟังความคิดเห็นวันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน 2566
[รับชมย้อนหลัง] – การจัดงานประชุมรับฟังความคิดเห็นฯ ออนไลน์ (MS Team)
รายการเอกสาร แบบฟอร์ม ไฟล์แนบ หรือลิ้งค์ที่เกี่ยวข้องประเภทวันที่นำเข้าลิ้งค์ดาวน์โหลด
1. แบบฟอร์มลงทะเบียนเข้าร่วมงานประชุมเพื่อรับฟังความเห็นฯ 1/ุุ4/2566
2. (ร่าง) กำหนดการจัดงานประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นฯ1/4/2566
3. Link เข้าร่วมการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นฯ (MS Team)1/4/2566
4. (ร่าง) เอกสารประกอบการนำเสนอ (Powerpoint)1/4/2566
5. ปัญหาถามตอบ (FAQ)10/5/2566
ประชาชนสนทนา เรื่อง บทบาทหน้าที่ผู้มีส่วนได้เสียกับความสำเร็จในการทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ

การจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐจะสำเร็จได้ ตั้งต้นด้วยการจัดวางบทบาทหน้าที่ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างถูกต้องตั้งแต่แรก

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : บทบาทหน้าที่ผู้มีส่วนได้เสียกับความสำเร็จในการทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ

ประชาชนสนทนา เรื่อง เชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นระบบด้วยมาตรฐาน TGIX-Linkage

TGIX-Linkage สร้างมาตรฐานการเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐ ครอบคลุมทุกระดับของการแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อการทำงานอย่างราบรื่น กลไกสำคัญในการใช้ข้อมูลขับเคลื่อนประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : เชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นระบบด้วยมาตรฐาน TGIX-Linkage

ประชาชนสนทนา เรื่อง e-Signature ว่าด้วยเรื่องประโยชน์และความปลอดภัย

e-Signature ยกระดับหน่วยงานรัฐ เลิกใช้ระบบเอกสาร สร้างบริการออนไลน์ รวดเร็วทันใจและเข้าถึงได้แม้พื้นที่ห่างไกล

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : e-Signature ว่าด้วยเรื่องประโยชน์และความปลอดภัย

มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านความหมาย (Semantic Exchange) แก้ปัญหาความต่าง ไขปัญหานักพัฒนาโปรแกรม ช่วยลดงบพัฒนาโปรแกรม เร่งการขยายตัวการแลกเปลี่ยนข้อมูล

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ตามหาความหมายของข้อมูล

หลังจากหน่วยงานมีแผนจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐแล้ว สิ่งที่ควรจะคำนึงถึงและวางแผนดำเนินการควบคู่กันไปคือ การจัดวางบทบาทหน้าที่ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ซึ่งมีความสำคัญส่วนหนึ่งในความสำเร็จของการดำเนินการนั่นเอง

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีใครกันบ้าง ไปดูกัน… ซึ่งในบทความนี้ DGA (สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร.) ได้สรุปโครงสร้างคร่าวๆ ของบุคลากรด้านการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance Structure) ไว้ในที่นี้ รวมทั้งได้เชื่อมโยงข้อมูลเชิงลึกเอาไว้ให้อ่านต่อในลิงก์ด้วยแล้ว

โครงสร้างบุคลากร

การกำหนดโครงสร้างบุคลากรของส่วนงานธรรมาภิบาลข้อมูล จัดทำขึ้นเพื่อแสดงลําดับขั้นระหว่างกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ และแสดงถึงสิทธิในการสั่งการตามลําดับขั้น ทั้งจำนวนบุคลากรและความลึกของลําดับขั้นควรพิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละหน่วยงานของรัฐ

ส่วนงานธรรมาภิบาลข้อมูลมีแนวทางจัดตั้งในรูปแบบที่แตกต่างกันได้ ดังนี้

1. รูปแบบทีมเสมือน (Virtual Team) ที่คัดเลือกมาจากส่วนงานต่างๆ

2. รูปแบบที่มีส่วนงานรับผิดชอบชัดเจน ซึ่งอาจจะจัดตั้งใหม่หรือกําหนดหน้าที่ให้กับส่วนงานที่มีหน้าที่คล้ายกับโครงสร้างบุคลากรของงานจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ

3. รูปแบบผสม ซึ่งจะต้องแยกหน้าที่ให้ชัดเจนระหว่างส่วนงานที่รับผิดชอบหลักกับทีมเสมือน โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน (ดังรูปที่ 10 ตัวอย่าง โครงสร้างธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐภายในหน่วยงาน คลิก https://bit.ly/3AAiIqu น.33) ประกอบด้วย 

  • คณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance Council) 
  • ทีมบริกรข้อมูล (Data Steward Team) 
  • ผู้มีส่วนได้เสียกับข้อมูล (Data Stakeholders)

ใครเป็นใครในคณะกรรมการธรรมาภิบาล

คณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล มีอํานาจสูงสุดในการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภายในหน่วยงานภาครัฐ ทําหน้าที่ตัดสินใจเชิงนโยบาย แก้ไขปัญหา และบริหารจัดการภายในคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล ประกอบไปด้วย

  • ผู้บริหารระดับสูงสุดของหน่วยงาน (Chief Executive Officer: CEO) 
  • ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (Chief Information Officer: CIO) 
  • ผู้บริหารข้อมูลระดับสูง (Chief Data Officer: CDO) 
  • ผู้บริหารด้านการรักษาความปลอดภัยระดับสูง (Chief Security Officer: CSO) 
  • ผู้บริหารจากส่วนงานต่างๆ ได้แก่ 
    • ฝ่ายบริหาร
    • ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • หัวหน้าทีมบริกรข้อมูล (Lead Data Steward)

CEO ควรทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการ เพื่อความเชื่อถือของการดำเนินงาน โดยกำกับดูแลการทำหน้าที่ของคณะกรรมการให้มีประสิทธิภาพ ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมคณะกรรมการ ดูแลส่งเสริมการดำเนินงานเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎเกณฑ์

การบริหารงานให้ได้ผล อาจนำ “วงจรบริหารงานคุณภาพ PDCA” มาใช้ (ดังรูป วงจร PDCA) ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน คือ Plan-Do-Check-Act หรือวางแผน-ปฏิบัติ-ตรวจสอบ-ปรับปรุง อันเป็นกระบวนการที่จัดทำขึ้นเพื่อให้การทำงานในองค์กรเป็นไปอย่างมีระบบ มีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาและเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตัดสินใจง่ายขึ้น และลดความเสี่ยงในการจัดการ

รูป วงจร PDCA

CIO อาจจะทําหน้าที่แทน CDO หรือเป็นคนเดียวกันได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับความพร้อมของหน่วยงานคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล

ส่วน CDO มีหน้าที่นําข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐเพื่อสร้างและส่งมอบเทคโนโลยี เครื่องมือ แนวทาง และวิธีการในการทําให้ข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐมีคุณค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อหน่วยงานภาครัฐ

นอกจากนี้ยังต้องวิเคราะห์และร่วมกับผู้บริหารส่วนอื่นๆ เพื่อจัดทํายุทธศาสตร์และดําเนินการธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐให้มีคุณภาพและการควบคุมอื่นๆ เพื่อรักษาความสมบูรณ์ของข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ

ในส่วนของการทํางานในระดับประเทศ CDO ยังต้องทําหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างหน่วยงานภาครัฐในการแลกเปลี่ยน เชื่อมโยงข้อมูล รวมไปถึงการจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดจากข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ

CSO เป็นผู้บริหารที่มีบทบาทสูงสุดในการทําให้หน่วยงานภาครัฐมีความปลอดภัยเพียงพอสําหรับการทํางานทั้งด้านการบริหารจัดการดูแล และด้านข้อมูล ทําให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างหน่วยงานภาครัฐ

ทีมบริกรข้อมูล (Data Steward Team) รับคําสั่งโดยตรงจากคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล ขณะเดียวกันยังให้ข้อมูลสนับสนุนในการตัดสินใจต่อคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล ประกอบไปด้วย

  • หัวหน้าบริกรข้อมูล (Lead Data Steward) ทําหน้าที่เป็นผู้ควบคุมและสั่งการภายใน ทีมบริกรข้อมูล รวมทั้งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล
  • บริกรข้อมูลด้านธุรกิจ (Business Data Stewards) ให้การสนับสนุนด้านธุรกิจ
  • บริกรข้อมูลด้านเทคนิค (Technical Data Stewards) ให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • บริกรข้อมูลด้านคุณภาพข้อมูล (Data Quality Stewards)
  • บุคคลที่ทําหน้าที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัย กฎหมาย
  • บุคคลที่ให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายข้อมูลและความรู้อื่นๆ ที่จะสนับสนุนให้เกิดธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐที่ดีภายในหน่วยงานภาครัฐ 

* หมายเหตุ บริกรข้อมูลด้านธุรกิจและบริกรข้อมูลด้านเทคนิค อาจจะเป็นบุคคลเดียวกัน ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของบุคคลหรือความเหมาะสมของหน่วยงานรัฐ

ขณะที่ ผู้มีส่วนได้เสียกับข้อมูล (Data Stakeholders) อื่นๆ ทําหน้าที่ให้การสนับสนุนธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐต่อทีมบริกรข้อมูลและคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล ประกอบไปด้วย 

  • เจ้าของข้อมูล (Data Owners)
  • ทีมบริหารจัดการข้อมูล (Data Management Team)
  • ผู้สร้างข้อมูล (Data Creators) 
  • ผู้ใช้ข้อมูล (Data Users)

บทบาท-ความรับผิดชอบเพื่อประสิทธิภาพ

การจะดําเนินงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ควรกำหนดบทบาท (Roles) และความรับผิดชอบ (Responsibilities) ที่เหมาะสมแก่คณะกรรมการฯ

อย่างไรก็ตาม การกําหนดบทบาทและความรับผิดชอบต้องไม่ขัดแย้งต่อกฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎหมาย รวมทั้งกําหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบในการบริหารจัดการข้อมูลที่อยู่ในความครอบครอง หรือควบคุมอย่างชัดเจน 

ทั้งนี้ อาจแต่งตั้งหรือมอบหมายเจ้าหน้าที่เป็นรายบุคคลหรือคณะบุคคลให้รับผิดชอบ และประกาศให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือประชาชนรับทราบด้วยเป็นไปตามที่กําหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น มีดังภาพ (รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://bit.ly/3AAiIqu น.35-36)

  • คณะผู้บริหาร ทั้ง CEO, CIO และ CDO  ทําหน้าที่กําหนดวิสัยทัศน์ ให้ข้อเสนอแนะ และอนุมัตินโยบายข้อมูล มาตรฐานข้อมูล แนวทางปฏิบัติงาน เกณฑ์การวัดคุณภาพ ระเบียบ และข้อบังคับอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล รวมถึงการจัดลําดับความสําคัญและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
  • บริกรข้อมูลด้านธุรกิจ (Business Data Stewards) คือ บุคคลที่ทําหน้าที่รับผิดชอบในการนิยามความต้องการด้านคุณภาพและความมั่นคงปลอดภัย
  • บริกรข้อมูลด้านเทคนิค (Technical Data Stewards) คือ บุคคลที่ทําหน้าที่ให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่บริกรข้อมูลด้านธุรกิจ เช่น นิยามเมทาดาตาเชิงเทคนิค
  • บริกรข้อมูลด้านคุณภาพข้อมูล (Data Quality Stewards) คือ บุคคลที่ทําหน้าที่ดําเนินการในเรื่องคุณภาพข้อมูล
  • เจ้าของข้อมูล (Data Owners) คือ บุคคลที่ทําหน้าที่รับผิดชอบดูแลข้อมูลโดยตรง สร้างความมั่นใจได้ว่าการบริหารจัดการข้อมูลสอดคล้องกับนโยบาย มาตรฐาน กฎระเบียบ หรือกฎหมาย
  • ทีมบริหารจัดการข้อมูล (Data Management Team) มีหน้าที่หลักในการบริหารจัดการข้อมูล
  • ผู้ใช้ข้อมูล (Data Users) คือ บุคคลที่ทําหน้าที่นําข้อมูลไปใช้งานทั้งในระดับปฏิบัติงานและระดับบริหาร และสนับสนุนธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐโดยการให้ความต้องการในการใช้ข้อมูล

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ประเด็นที่ต้องการนำเสนอให้พิจารณาคือ การกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้น ถือเป็นหนึ่งในกระบวนการที่จะกํากับดูแลการดําเนินการขั้นต่อๆ ไปของข้อมูลให้เป็นไปตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือนโยบายที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลให้เป็นไปอย่างราบรื่น บรรลุผล สะดวกต่อการปรับปรุงเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ เช่น นโยบายเปลี่ยน เทคโนโลยีเปลี่ยน เป็นต้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ท่านสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องและอำนวยความสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ รวมถึงช่วยให้เราปรับปรุงการนำเสนอเนื้อหาตรงตามความต้องการของท่าน โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ประกาศการใช้คุกกี้ และ ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่าข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า