รู้หรือไม่… มสพร. กับ มรด. ต่างกันอย่างไร?

ถ้านึกถึงการให้บริการภาครัฐผ่านทางดิจิทัล ก็ต้องนึกไปถึงภารกิจของหน่วยงานรัฐที่จะต้อง เปิดให้บริการต่อประชาชน แต่กว่าจะเปิดให้บริการผ่านทางระบบดิจิทัลได้ ก็ต้องจัดเตรียมความพร้อมอีกหลายเรื่อง ซึ่งรวมไปถึงเรื่องของมาตรฐานการบริการผ่านทางดิจิทัล ตลอดจนด้านการบริหารงานควรต้องสอดคล้องกันด้วย

ว่าด้วยเรื่อง “มาตรฐานการบริการผ่านทางดิจิทัล” ในบริบทของ DGA (สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. เราพูดถึง 2 ประเด็นหลัก คือ มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (มสพร.) และมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล (มรด.)

มาถึงตรงนี้ หลายท่านอาจมีข้อสงสัยว่า มาตรฐาน 2 เรื่อง คืออะไร ต่างกันอย่างไร? ในนี้มีคำตอบ แต่ก่อนที่จะไปขยายความเรื่องความแตกต่าง ขอกล่าวในเบื้องต้นเพื่อให้เกิดการจดจำชื่อย่อกันก่อน ดังนี้

มสพร. ย่อมาจาก มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล หรือ DGA Community Standard: DGA ต่อไปในบทความนี้จะเรียกชื่อย่อว่า มสพร.

มรด. ย่อมาจาก มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล หรือ Digital Government Standard: DGS ต่อไปในบทความนี้เราจะเรียกชื่อย่อว่า มรด.

“มสพร. และ มรด.” เกิดใช้ ไม่เหมือนกัน

เพื่อให้จดจำได้ง่าย ไม่สับสน ในที่นี้ขอให้คำจำกัดความสั้นๆ ว่า

  • “มสพร. เกิด-ใช้ ใน DGA และเสนอให้เป็นแนวปฏิบัตินำร่อง”
  • “มรด. เกิด-ใช้ ในหน่วยงานราชการทั่วไป”

หมายความว่า มสพร. เกิดจากนโยบายของ DGA (อาศัยอำนาจตามมาตรา 8 ใน พ.ร.ฎ.จัดตั้งสํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และ มีผลบังคับใช้ภายใน DGA เท่านั้น โดยสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ได้นำไปใช้เป็นตัวอย่างหรือเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป

ส่วน มรด. เกิดจากการประกาศในราชกิจจานุเบกษา (อาศัยอำนาจตามมาตรา 7 ใน พ.ร.บ.การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล) และ มีผลบังคับใช้กับหน่วยงานภาครัฐทุกแห่ง หรือหน่วยงานรัฐทั่วไปนั่นเอง

ทั้งนี้ ผู้มีอำนาจลงนามของ มสพร. คือ ผู้อำนวยการ DGA ในขณะที่มีอำนาจลงนามของ มรด. คือ ประธานคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

เลขรหัสมาตรฐาน สูตร 1 สูตร 2

เนื่องจากมาตรฐานมีหลายด้าน DGA จึงได้จัดทำเลขรหัสมาตรฐานออกมาเพื่อให้ชัดเจน และรู้ลำดับของการเกิดและปีที่ประกาศใช้ ดังตารางด้านล่าง นี้

มสพร. ที่ประกาศใช้แล้ว ได้แก่

  • มสพร. 1-2564 มาตรฐานของสํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล(องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวทางการจัดทําบัญชีข้อมูลภาครัฐ
  • มสพร. 2-1:2564 และ มสพร. 2-2:2564 มาตรฐานของสํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล(องค์การมหาชน) ว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายการบริหารจัดการข้อมูล
  • มสพร. 3-2565 มาตรฐานของสํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล(องค์การมหาชน) ว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ
  • มสพร. 4-2565 มาตรฐานของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล เรื่องข้อมูลบุคคล
  • มสพร. 5-2565 มาตรฐานของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล เรื่อง ข้อมูลนิติบุคคล

และเพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐได้ดียิ่งขึ้น DGA จะทำการทบทวนกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ โดยนำศึกษาจากกรณีศึกษาที่ดีมาจัดทำเป็นแนวปฏิบัติ เพื่อให้หน่วยงานสามารถนำมาตรฐานไปประยุกต์สู่การปฏิบัติจริงได้มากขึ้น

เตรียมยกระดับ มสพร. เป็น มรด. ได้แก่

  • มสพร. 1-2564 มาตรฐานของสํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล(องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวทางการจัดทําบัญชีข้อมูลภาครัฐ
  • มสพร. 2-1:2564 และ มสพร. 2-2:2564 มาตรฐานของสํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล(องค์การมหาชน) ว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายการบริหารจัดการข้อมูล
  • มสพร. 3-2565 มาตรฐานของสํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล(องค์การมหาชน) ว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ

ขณะนี้ มาตรฐานทั้ง 3 ฉบับ อยู่ระหว่างการเสนอคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล และจะประกาศใช้เร็วๆ นี้ ซึ่งเมื่อเป็น มรด. ก็จะกลายเป็นกรอบแนวทางให้แก่หน่วยงานภาครัฐต่างๆ ได้นำไปปฏิบัติ เพื่อระดับหน่วยงานให้ก้าวสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลได้อีกขั้นหนึ่ง

มรด. ที่ประกาศใช้แล้ว ได้แก่

  • ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
  • มรด. 12001:2563 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ (Open Government Data Guideline)
  • มรด. 1-1:2564 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ – ภาพรวม (เวอร์ชัน 1.0)
  • มรด. 1-2:2564 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ – การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลสำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย (เวอร์ชัน 1.0)
  • มรด. 2-1:2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยกรอบแนวทางการพัฒนามาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ

ทั้งนี้ มรด. ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งหมายความว่า “มีผลบังคับใช้แล้ว” ประกอบด้วย 1. มรด-12001:2563 2. มรด. 1-1:2564 และ 3. มรด. 1-2:2564 (โดย มรด. 1-1:2564 และ มรด. 1-2:2564 มีการยืดเวลาให้มีผลบังคับใช้ไปอีก 2 ปี หลังวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งตามกำหนดคือ หลังวันที่ 11 ตค. 2566)

ส่วนที่ยังไม่ลงประกาศในราชกิจจา “หน่วยงานต่างๆ ควรเตรียมความพร้อม” ให้ใช้งานจริงได้เมื่อมีประกาศออกมา คือ มรด. 2-1:2565

กระบวนการจัดทำมาตรฐานของ สพร. (DGA)

มสพร. และ มรด. อยู่ในบริบทที่แตกต่างกัน ดังนั้นการจัดทำร่างก็มีความแตกต่างกันไปด้วย โดยได้อธิบายไว้ในตารางด้านล่าง

นอกจากนี้ยังมีการจัดทำร่าง มสพร. และ มรด. ด้านอื่นๆ เพื่อให้เกิดการยกระดับหน่วยงานภาครัฐไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลไปพร้อมๆ กัน อันเป็นเป้าหมายหลักของ DGA  ทั้งนี้ ยังทำให้งานด้านการให้บริการของภาครัฐผ่านช่องทางดิจิทัลมีความสอดคล้องกันทั้งระบบ และยังทรานส์ฟอร์มการบริหารงานของหน่วยงานภาครัฐให้ตอบโจทย์การก้าวไปสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

ซึ่งเมื่อบริการต่างๆ ของหน่วยงานรัฐก้าวไปสู่การให้บริการบนโลกดิจิทัลอย่างพร้อมเพรียงกันแล้ว เมื่อนั้นประชาชนคนไทยก็จะได้รับประโยชน์ และยกระดับคุณภาพการดำรงชีวิตในยุคดิจิทัลโดยไม่แพ้ชาติใดๆ ในโลกเลยก็ว่าได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ท่านสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องและอำนวยความสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ รวมถึงช่วยให้เราปรับปรุงการนำเสนอเนื้อหาตรงตามความต้องการของท่าน โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ประกาศการใช้คุกกี้ และ ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่าข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า