ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

หน่วยงานภาครัฐและเอกชนหันมาให้ความสนใจเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญในระดับบุคคล สามารถนำไปใช้วิเคราะห์เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานได้เป็นอย่างสูง ปัจจุบันมีพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายสำคัญที่ช่วยเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการจัดเก็บและนำไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเสียก่อน ประกอบกับ พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ.2562 มาตรา 8 ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ต้องประกอบด้วย (2) การมีระบบบริหารและกระบวนการจัดการและคุ้มครองข้อมูลที่ครบถ้วน แสดงถึงการให้ความสำคัญในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่ามีกฎหมายที่บัญญัติขึ้น แต่ยังพบว่ายังคงมีปัญหาการหลุดรั่วของข้อมูลส่วนบุคคลเกิดขึ้น การจัดทำข้อมูลให้เป็นนิรนามจึงเป็นกระบวนการที่สำคัญที่ช่วยปกป้องคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและรักษาความเป็นส่วนตัว แต่ยังคงสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางการวิเคราะห์ การวิจัย การพัฒนานวัตกรรม หรือเทคโนโลยีใหม่  โดยไม่ละเมิดสิทธิ์และความเป็นส่วนตัวของบุคคล ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล และสนับสนุนการใช้ข้อมูลอย่างมีจริยธรรมและถูกต้องตามกฎหมายที่กำหนด

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ได้จัดทำ (ร่าง) มสพร. X-256X มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการจัดทำข้อมูลนิรนาม เวอร์ชัน 1.0 โดยเสนอคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำข้อมูลนิรนาม กรอบแนวคิดและขั้นตอนในการจัดทำข้อมูลนิรนาม 5 ขั้นตอน อีกทั้งศึกษารวบรวมเทคนิควิธีการและหลักเกณฑ์การพิจารณาในการจัดทำข้อมูลนิรนามโดยสรุปได้ 7 วิธี และการวิเคราะห์ความเสี่ยงในการเปิดเผยข้อมูล นอกจากนี้มีการแนะนำเครื่องมือในการจัดทำข้อมูลนิรนามและกรณีศึกษาจากหน่วยงานที่มีการดำเนินการจัดทำข้อมูลให้เป็นนิรนาม เป็นต้น โดยสาระสำคัญต่าง ๆ ของเนื้อหาในร่างมาตรฐานมีความสอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานฉบับต่าง ๆ ที่ได้มีการประกาศใช้ เพื่อให้ร่างมาตรฐานฉบับนี้ใช้เป็นข้อเสนอแนะให้หน่วยงานภาครัฐนำไปใช้เป็นแนวทาง ในการจัดทำข้อมูลนิรนาม ซึ่งเป็น กระบวนการจัดทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนได้มาอยู่ในรูปแบบที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ เพื่อลดความเสี่ยงการระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูล และเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่หน่วยงานภาครัฐในการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ละเมิดสิทธิ์และความเป็นส่วนตัวของบุคคล

ซึ่งคณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานการบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐ และคณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ได้ให้ความเห็นชอบให้นำ (ร่าง) มสพร. X-256X มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการจัดทำข้อมูลนิรนาม เวอร์ชัน 1.0 ฉบับ PRD จัดทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็น โดยขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นฯ ผ่านระบบออนไลน์ (Microsoft Forms) ในระหว่างวันที่ 12 มิถุนายน – 12 กรกฎาคม 2567 และ จัดงาน ประชุมรับฟังความคิดเห็นในรูปแบบออนไลน์ (Microsoft Teams) ในวันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2567 เวลา 13.30 – 16.00 น. โดยท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารเพื่อแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

เอกสารและลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

รายการวันที่นำเข้าลิงก์ /ดาวน์โหลด
1. (ร่าง) มสพร. X-256X มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการจัดทำข้อมูลนิรนาม เวอร์ชัน 1.06/ุ6/2567
2. แบบสำรวจความคิดเห็นฯ (ออนไลน์)6/6/2567
3. แบบสำรวจความคิดเห็นฯ (ออฟไลน์)6/6/2567
4. คำชี้แจงการสำรวจความคิดเห็นและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล6/6/2567
5. กำหนดการงานประชาพิจารณ์6/6/2567
6. แบบลงทะเบียนเข้าร่วมงานประชาพิจารณ์ (ออนไลน์)6/6/2567
7. ลิงก์สำหรับเข้าร่วมงานประชาพิจารณ์ (MS Team)6/6/2567
8. เอกสารนำเสนอสำหรับงานรับฟังความคิดเห็นฯ (สำหรับเผยแพร่)1/7/2567
9. เอกสารนำเสนอช่วงเสวนา1/7/2567



ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) พบว่าในปี 2566 ภาครัฐมีการเปิดเผยข้อมูล ผ่าน data.go.th จำนวน 10,800 ชุดข้อมูล แต่ข้อมูลที่สำคัญของภาครัฐยังมีการเปิดเผยอย่างจำกัด การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือรูปแบบที่อ่านได้ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ Machine Readable ที่ค่อนข้างน้อย จึงทำให้เกิดข้อจำกัดในการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์เพื่อวิเคราะห์หรือสร้างนวัตกรรมข้อมูล ประกอบกับมีการปรับปรุง มรด. และ มสพร. ที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นต้องมีการทบทวนเนื้อหาแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ ในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงมากขึ้น

สพร.จึงได้จัดทำ (ร่าง) มรด. X : 256X มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ ในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.0 โดยเสนอแนวทางการปรับปรุงคำนิยามและเนื้อหาให้สอดคล้องกับกฎหมาย และ มรด. 6 : 2566 ว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ เวอร์ชัน 2.0 มีการปรับปรุงปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ ให้ความสำคัญกับคุณลักษณะของข้อมูลเปิดภาครัฐ 10 ประการ เพื่อให้เกิดความเข้าใจชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น ปลอดข้อจำกัดทางทรัพย์สินทางปัญญา (License-free) การทำให้ข้อมูลรูปแบบ Machine Readable เพิ่มเติมการประเมินคุณภาพข้อมูลด้วยเครื่องมือการประเมินคุณภาพข้อมูลด้วยตนเอง อีกทั้งเพิ่มกรณีศึกษาของประเทศไทย และยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเปิดในการนำมาวิเคราะห์เพื่อจัดทำเป็นชุดข้อมูลใหม่ สำหรับภาคผนวก เพิ่มเติมตัวอย่างการประเมินชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง และเพิ่มรายชื่อชุดข้อมูล Master Data ตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2566 – 2570 เป็นต้น โดยการปรับปรุงสาระสำคัญต่างๆ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจในการเปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐให้เพิ่มมากขึ้น นำไปสู่การนำข้อมูลเปิดไปใช้ในการสร้างประโยชน์ในหลากหลายมิติ ให้หน่วยงานภาครัฐสามารถขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูลเปิดอย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งคณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานการบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐ และคณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ได้ให้ความเห็นชอบให้นำ (ร่าง) มรด. X : 256X มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ ในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.0 ฉบับ PRD จัดทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็น โดยขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นฯ ผ่านระบบออนไลน์ (Microsoft Forms) ในระหว่างวันที่ 8 มีนาคม – 8 เมษายน 2567 และ จัดงาน ประชุมรับฟังความคิดเห็นในรูปแบบออนไลน์ (Microsoft Teams) ในวันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 13.30 – 16.00 น. โดยท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารเพื่อแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

เอกสารและลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

รายการวันที่นำเข้าลิงก์ /ดาวน์โหลด
1. (ร่าง) มรด. X : 256X มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วย แนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.01/3/2567
2. แบบสำรวจความคิดเห็นฯ (ออนไลน์)1/3/2567
3. แบบสำรวจความคิดเห็นฯ (ออฟไลน์)1/3/2567
4. คำชี้แจงการสำรวจความคิดเห็นและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล1/3/2567
5. กำหนดการงานประชาพิจารณ์1/3/2567
6. แบบลงทะเบียนเข้าร่วมงานประชาพิจารณ์ (ออนไลน์)1/3/2567
7. ลิงก์สำหรับเข้าร่วมงานประชาพิจารณ์ (MS Team)1/3/2567
8. เอกสารนำเสนอสำหรับงานรับฟังความคิดเห็นฯ (สำหรับเผยแพร่)1/3/2567
9. เอกสารนำเสนอช่วงเสวนา28/3/2567



การขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data Driven) ด้วยการจัดทำบัญชีข้อมูล

การขับเคลื่อนเรื่องข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้ความสำคัญเป็นอย่างสูง เป็นการปรับตัวเข้าสู่ยุคของการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ นำข้อมูลที่มีมาวิเคราะห์เพื่อประกอบการตัดสินใจ เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินงานของหน่วยงาน หน่วยงานภาครัฐจึงเล็งเห็นความจำเป็นในการดำเนินการจัดทำบัญชีข้อมูลอันประกอบด้วย รายการข้อมูล และคำอธิบายข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐให้มีมาตรฐาน มีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 และประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ข้อ 4 (6) นำไปสู่การพัฒนาระบบศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ Government Data Catalog : GD Catalog ซึ่งถือได้ว่าการจัดทำบัญชีข้อมูลถือเป็นหนึ่งการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล เพื่อให้หน่วยงานรัฐเกิดการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data Driven) โดยมีการจัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลหรือเมทาดาตา (Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ โดยให้ความสำคัญกับชุดข้อมูลที่พร้อมใช้ และเชื่อมต่อแบ่งปันข้อมูลชุดข้อมูลระหว่างหน่วยงานรัฐ จะนำไปสู่การวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสามารถให้บริการประชาชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในปี 2564 สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) จึงได้ทบทวนแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ เวอร์ชัน 1.0 ขึ้น เพื่อเป็นข้อเสนอแนะให้กับหน่วยงานภาครัฐสามารถนำไปศึกษาและปฏิบัติใช้ โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พบว่าหน่วยงานภาครัฐยังคงประสบปัญหาในการจัดทำบัญชีข้อมูลหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาเลือกชุดข้อมูล การจัดหมวดหมู่และระดับชั้นข้อมูล การเลือกใช้สัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูล ดังนั้นเพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานจัดทำบัญชีข้อมูล จึงนำมาสู่การปรับปรุง มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ เวอร์ชัน 2.0 ขึ้น ซึ่งมีการปรับปรุง 1) ปรับปรุงเนื้อหาให้สอดคล้องกับ มรด. 6 : 2566 ว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ เวอร์ชัน 2.0 ซึ่งเป็นกรอบแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูล เช่น การกำหนดยุทธศาสตร์ด้านข้อมูล แนวทางการจัดหมวดหมู่และระดับชั้นข้อมูล 2) ปรับปรุงคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) โดยการเพิ่มตัวเลือกรายชื่อองค์กร เพิ่มตัวเลือกรายการจัดหมวดหมู่ “ข้อมูลใช้ภายใน” และปรับปรุงรายการตัวเลือกสัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูล พร้อมเกณฑ์การพิจารณาการเลือกประเภทสัญญา และ 3) ปรับปรุงคำอธิบายข้อมูลทางเลือก (Optional Metadata) โดยการเพิ่มรายการระดับชั้นข้อมูล และเพิ่มตัวเลือกรายการเงื่อนไขการเข้าถึงข้อมูล พร้อมยกตัวอย่าง เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมต่อชุดข้อมูลของหน่วยงานต่อไป

การจัดทำบัญชีข้อมูลถือเป็นหนึ่งการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล เพื่อให้หน่วยงานรัฐเกิดการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data Driven) โดยมีการจัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลหรือเมทาดาตา (Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ โดยให้ความสำคัญกับชุดข้อมูลที่พร้อมใช้ และเชื่อมต่อแบ่งปันข้อมูลชุดข้อมูลระหว่างหน่วยงานรัฐ จะนำไปสู่การวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสามารถให้บริการประชาชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การประกาศมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (มสพร.)

เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566 นายสุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ได้ลงนามในประกาศประกาศสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เลขที่ ม 4/2566 เรื่อง มสพร. 1-2566 มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ เพื่อประกาศใช้สำหรับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และเพื่อเป็นข้อเสนอแนะให้หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ได้นำไปใช้เป็นตัวอย่างหรือแนวปฏิบัติต่อไป

เอกสารมาตรฐานแนวทางจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ

ดาวน์โหลด มสพร. 1-2566 ว่าด้วยแนวทางจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ

เอกสารประกอบมาตรฐานฯ

ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
ประกาศ สพร. ม 1/2566 มสพร.ว่าด้วยแนวทางจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ18/9/2023
เอกสารประกอบ มสพร. 1-2566 ว่าด้วยแนวทางจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ18/9/2023
อกสาร ภาคผนวก ก การจัดทำ Metadata Standard18/9/2023
เอกสาร ภาคผนวก ข คำอธิบายรายการตัวเลือก18/9/2023
เอกสาร ภาคผนวก ค สัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมุูล18/9/2023
เครื่องมือการพิจารณาประเภทสัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูล18/9/2023

กรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ หรือ DGF Review

มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนการจัดธรรมภิบาลข้อมูลภายในหน่วยงาน โดยนำหลักการทางทฤษฎีและแนวคิดที่สำคัญจากกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เวอร์ชัน 1.0 มาปรับปรุงเพื่อให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน และเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้งานจากหน่วยงานภาครัฐมากขึ้น โดยยังคงใจความสำคัญของทฤษฎีและหลักการสำคัญไว้ และได้เพิ่มเติมแนวปฏิบัติการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เพื่อช่วยสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐให้สามารถนำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐไปปฏิบัติจริงได้ จึงมุ่งเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐให้กับหน่วยงานภาครัฐ ไปที่กลุ่มผู้ปฏิบัติงานภาครัฐประเภท “กลุ่ม Non-IT” หรือ กลุ่มแผนและนโยบาย ผู้ปฏิบัติงานภาคสนาม นักวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้เข้าใจธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐมากขึ้น และสามารถนำกรอบไปประยุกต์ขับเคลื่อนการจัดธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐภายในหน่วยงาน ให้ข้อมูลมีคุณภาพ สามารถนำไปบูรณาการเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่น (Data integration) เปิดเผยข้อมูลสู่ประชาชน (Open data) และ วิเคราะห์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ (Data analytics) นำไปสู่ การตัดสินใจเชิงนโยบายบนพื้นฐานของข้อมูล บริการที่มีคุณภาพ สะดวกรวดเร็ว และมั่นคงปลอดภัย นวัตกรรมจากข้อมูล เป้าหมายเพื่อ ข้อมูลที่ถูกต้อง ส่งผลต่อความพึงพอใจสำหรับภาคธุรกิจและประชาชน และยกระดับการบริหารงานและการให้บริการประชาชนสำหรับหน่วยงานของรัฐผลต่อเนื่องไปยังการนําข้อมูลไปใช้และส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ใช้ข้อมูลในทุกภาคส่วนต่อเนื่องกันไป

ในการปรับปรุง มรด. 6 : 2566 ฉบับนี้ได้ดำเนินการเพิ่มเติมคำนิยามสำคัญ เพื่อให้หน่วยงานสามารถศึกษาได้อย่างมีความเข้าใจความหมายมากยิ่งขึ้น เช่น “หน่วยงานของรัฐ” “ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ” “ยุทธศาสตร์ด้านข้อมูล” เป็นต้น และเพิ่มกรณีศึกษาเพื่อเป็นแนวปฏิบัติการขับเคลื่อนธรรมาภิบาลข้อมูล เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานใช้เป็นตัวอย่างและเกิดการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐในระดับหน่วยงานมากยิ่งขึ้น โดย มรด. ฉบับนี้จึงได้แบ่งสาระสำคัญออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย

ส่วนที่ 1 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล ยังคงเนื้อหาของกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เวอร์ชั่น 1 เป็นหลัก โดยการปรับปรุง แก้ไข ข้อมูลบางส่วนเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น

ส่วนที่ 2 แนวปฏิบัติ เป็นการจัดทำเนื้อหาขึ้นใหม่ เพื่อเป็นแนวทางในการนำมาตรฐานมาขับเคลื่อนภายในหน่วยงาน ต้องการนำเสนอการทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐให้ใกล้เคียงกับสถานการณ์ในปัจจุบันในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

การประกาศมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล (มรด.)

เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2566 รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ และเสนอต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา

โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศฉบับนี้ได้ที่เว็บไซต์ www.ratchakitcha.soc.go.th หรือที่เว็บไซต์ https://standard.dga.or.th

เอกสารหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ

เอกสารประกอบมาตรฐานฯ

ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ30/08/2023
เอกสารประกอบ มรด. 6 : 2566 ว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ30/08/2023

เพื่อให้เข้าใจธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐมากขึ้น และสามารถนำกรอบไปประยุกต์ขับเคลื่อนการจัดธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐภายในหน่วยงาน ให้ข้อมูลมีคุณภาพ สามารถนำไปบูรณาการเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่น (Data integration) เปิดเผยข้อมูลสู่ประชาชน (Open data)

คลิกที่นี่เพื่อเข้าร่วมประชุม

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ เอกสารประกอบ

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการบริหารงานภาครัฐและการจัดทำบริการสาธารณะเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อการให้บริการและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการบริหารงานและการจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบและช่องทางดิจิทัล โดยมีการบริหารจัดการและการบูรณาการข้อมูลภาครัฐและการทำงานให้มีความสอดคล้องกัน เชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างมั่นคงปลอดภัย และมีธรรมาภิบาล ดังนั้น สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) จึงได้ประกาศ มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (มสพร.) ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ เวอร์ชัน 1.0 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐใช้เป็นแนวทางในการจัดทำบัญชีข้อมูล (Data Catalog) พัฒนาระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog : GD Catalog) และขึ้นทะเบียนกับระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐกลางที่ได้มาตรฐานและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ประกอบกับมีการทบทวนประกาศเรื่อง กรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เวอร์ชัน 1.0 จึงมีการทบทวนเนื้อหาใน มสพร. ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ เวอร์ชัน 1.0 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงมากขึ้น 

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ซึ่งมีหน้าที่อำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลมอบหมาย และดำเนินการร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ จึงจัดทำ (ร่าง) มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (มสพร.) ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ โดยเสนอแนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์ด้านข้อมูล เพื่อให้หน่วยงานรัฐเกิดการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data Driven) มีการปรับปรุงรายการคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) เพิ่มนิยามในตัวเลือกของสัญญาใช้อนุญาต เพิ่มตัวเลือกรายการจัดหมวดหมู่ “ข้อมูลใช้ภายใน” เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ เวอร์ชัน 2.0 มีการปรับปรุงรายการคำอธิบายข้อมูลที่เป็นทางเลือก (Optional Metadata) โดยการเพิ่มรายการระดับชั้นข้อมูล ในรายการที่ 15 ของเมทาดาตา (Metadata) ในข้อมูลทุกประเภท พร้อมยกตัวอย่างให้หน่วยงานสามารถทำความเข้าใจ และมีเครื่องมือเพื่อให้หน่วยงานนำไปปรับใช้ได้ง่ายยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบภายใต้กรอบแนวคิดการให้บริการข้อมูลภาครัฐ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้เป็นระบบสารสนเทศสำหรับการสืบค้นข้อมูล ร้องขอ เข้าถึง และใช้ประโยชน์ข้อมูลภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรม โดยการจัดทำบัญชีข้อมูลถือเป็นหนึ่งในกระบวนการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล มีการจัดทำคำอธิบายข้อมูลหรือเมทาดาตาสำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ ที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการกำกับดูแลข้อมูล โดยให้ความสำคัญกับชุดข้อมูลที่พร้อมใช้ และเชื่อมต่อแบ่งปันข้อมูลชุดข้อมูลระหว่างหน่วยงานได้ 

ในการนี้เพื่อเป็นการสนับสนุนการจัดทำ (ร่าง) มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (มสพร.) ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ ที่ประชุมคณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐานฯ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2566 ได้มีมติเห็นชอบให้นำ (ร่าง) มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (มสพร.) ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ ฉบับ PRD ไปจัดทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐ เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุง (ร่าง) มาตรฐานให้มีความเหมาะสมกับบริการภาครัฐมากยิ่งขึ้น ฝ่ายพัฒนามาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล สพร. จึงได้จัดกำหนดการประชาพิจารณ์ (ร่าง) มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (มสพร.) ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ ฉบับ PRD โดยขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นฯ ผ่านระบบออนไลน์ (Microsoft Forms) ในระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม – 7 สิงหาคม 2566 และ จัดงาน ประชุมรับฟังความคิดเห็นในรูปแบบออนไลน์ (Microsoft Teams) ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 เวลา 13.30 – 16.00 น. โดยท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารเพื่อแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

รายการเอกสาร แบบฟอร์ม ไฟล์แนบ หรือ Link แบบฟอร์มออนไลน์ที่เกี่ยวข้องประเภทวันที่นำเข้าLink Download
1. (ร่าง) มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (มสพร.) ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ01/07/2566
2. แบบสำรวจความคิดเห็นต่อ (ร่าง) มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (มสพร.) ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ (ออนไลน์)01/07/2566
3. แบบสำรวจความคิดเห็นต่อ (ร่าง) มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (มสพร.) ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ01/07/2566
4. คำชี้แจงการสำรวจความคิดเห็นและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล01/07/2566
5. กำหนดการประชาพิจารณ์01/07/2566
6. แบบตอบรับเข้าร่วมงานประชาพิจารณ์ (ออนไลน์)01/07/2566
7. แบบตอบรับเข้าร่วมงานประชาพิจารณ์01/07/2566
8. เอกสารนำเสนองานประชาพิจารณ์14/07/2566
9. เอกสารนำเสนองานประชาพิจารณ์ วิทยากรช่วงเสวนา20/07/2566

ทำไมภาครัฐควรให้ความสำคัญกับคุณภาพข้อมูล

โลกในปัจจุบันถูกผลักดันและเติบโตด้วยการขับเคลื่อนของดิจิทัล ข้อมูลกลายเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่ามากที่สุดขององค์กร การประกอบธุรกิจและกระบวนการทำงานต่าง ๆ ของทุกภาคส่วนล้วนพึ่งพา และอาศัยข้อมูลในการสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ประกอบกับกระแสของข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data ที่ทุกภาคส่วนกำลังให้ความสนใจและมีการตื่นตัวเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ เนื่องจากประโยชน์ที่ได้รับจากการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ จะช่วยในการดำเนินงานในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำความเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการในด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น รวมถึงประเทศไทยที่ภาครัฐมีนโยบายที่เตรียมพร้อมเข้าสู่ยุคของการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อประกอบการตัดสินใจ (Data Driven Decision) และการดำเนินงานของหน่วยงาน (Insight to Operation) การวิเคราะห์สถานการณ์ วางแผนยุทธศาสตร์ แก้ไขปัญหา ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน และการให้บริการภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล ดังนั้น เพื่อให้ข้อมูลที่มีอยู่สามารถนำมาวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ได้ หน่วยงานภาครัฐควรตระหนักถึงความสำคัญของการควบคุมและบริหารจัดการคุณภาพข้อมูล และจำเป็นต้องมีการวัดผลการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อให้หน่วยงานของรัฐมีข้อมูลที่มีคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปยังการนําข้อมูลไปใช้และส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ใช้ข้อมูลในทุกภาคส่วนต่อเนื่องกันไป

หลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลฉบับนี้ จะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐมีความเข้าใจแนวคิดการประเมินคุณภาพข้อมูลที่ถูกต้องตรงกัน และมีเครื่องมือสำหรับการประเมินคุณภาพข้อมูลเบื้องต้นด้วยตนเอง โดยแบ่งออกเป็น แบบตรวจประเมินคุณภาพ (DQA Checklist) เพื่อตรวจสอบกระบวนการเตรียมข้อมูลที่มีคุณภาพ และ แบบประเมินคุณภาพข้อมูลด้วยตนเอง (DQA Self-Assessment) เพื่อวัดผลลัพธ์ข้อมูล (Data Output) ตามมิติคุณภาพข้อมูล รวมทั้งแบบตรวจประเมินการควบคุมและติดตามคุณภาพข้อมูล (Data Quality Monitoring and Control Checklist) ตามกระบวนการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ซึ่งจะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถตรวจสอบและควบคุมการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ และสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ อันจะนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการให้บริการประชาชนต่อไป

การประกาศมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล (มรด.)

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ได้ลงลงนามในประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จำนวน 3 ฉบับ เสนอต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งประกาศฉบับนี้ ประกอบด้วย

1.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐและแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 2 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 3-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ และ มรด. 3-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ

2.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 2 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 4-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายการบริหารจัดการข้อมูล และ มรด. 4-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล

3.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 1 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 5 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ

โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศฉบับนี้ได้ที่เว็บไซต์ www.ratchakitcha.soc.go.th หรือที่เว็บไซต์ https://standard.dga.or.th

เอกสารหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ

มรด. 5 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ

เอกสารประกอบมาตรฐานฯ

ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ24/03/2023
เอกสารประกอบ มรด. 5 : 2565 ว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ24/03/2023

Data-driven Organization วัฒนธรรมใหม่ของหน่วยงานภาครัฐ

เนื่องจากหน่วยงานภาครัฐต้องมีการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการให้บริการประชาชน โดยมุ่งสู่การเป็นหน่วยงานภาครัฐที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล Data-driven Organization ด้วยการมีนโยบาย/แนวปฏิบัติด้านข้อมูลภายในองค์กรเพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการบริหารจัดการข้อมูลของหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้ประโยชน์ข้อมูลได้สูงสุด

ข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล (Recommendation for Writing Data Management Policy and Guideline) จะเป็นคู่มือการใช้งานเอกสารแม่แบบนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล (Data Management Policy and Guideline Template) เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐใช้เป็นตัวอย่างในการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูลของหน่วยงาน ซึ่งจะเป็นกรอบแนวทางและแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการข้อมูลให้มีความมั่นคงปลอดภัย มีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งเพื่อให้ข้อมูลของหน่วยงานมีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของผู้ใช้งาน และสามารถนำไปบูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การประกาศมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล (มรด.)

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ได้ลงลงนามในประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จำนวน 3 ฉบับ เสนอต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งประกาศฉบับนี้ ประกอบด้วย

1.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐและแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 2 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 3-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ และ มรด. 3-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ

2.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 2 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 4-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายการบริหารจัดการข้อมูล และ มรด. 4-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล

3.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 1 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 5 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ

โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศฉบับนี้ได้ที่เว็บไซต์ www.ratchakitcha.soc.go.th หรือที่เว็บไซต์ https://standard.dga.or.th

เอกสารข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล

มรด. 4-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายการบริหารจัดการข้อมูล

มรด. 4-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล

เอกสารประกอบมาตรฐานฯ

ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล24/03/2023
เอกสารประกอบ มรด. 4-1 : 2565 และ มรด. 4-2 : 2565 ว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล24/03/2023
เอกสารประกอบ มรด. 4-1 : 2565 Data Management Policy Template (word)29/05/2023
เอกสารประกอบ มรด. 4-2: 2565 Data Management Guideline Template (word)29/05/2023

ความสำคัญในการจัดระดับชั้นและแบ่งปันข้อมูลภาครัฐบัญชีข้อมูล (Data Catalog) : ทำไมต้องทำ ทำอย่างไร ทำแล้วได้อะไร?

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันประเทศไทยมีความตื่นตัวเรื่องข้อมูล อย่างกว้างขวางในทุกภาคส่วน ภาครัฐและภาคเอกชนเริ่มปรับตัวและเตรียมพร้อมเข้าสู่ยุคของการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ จึงมีความต้องการใช้ประโยชน์ข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การเลือกใช้ข้อมูลและการสืบค้นหาแหล่งข้อมูลสำหรับวิเคราะห์หรือให้บริการมีความซับซ้อนและยุ่งยาก อย่างไรก็ดี หน่วยงานภาครัฐยังขาดการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงาน มีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล และผู้ใช้ข้อมูลที่มีอยู่หลากหลายกลุ่มทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม รวมถึงประชาชนทั่วไป ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการจัดทำบัญชีข้อมูลอันประกอบด้วยรายการข้อมูลและคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐให้มีมาตรฐาน มีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาระบบข้อมูลที่สำคัญของภาครัฐเพื่อประโยชน์ในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน และบูรณาการข้อมูลของหน่วยงานของรัฐอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการพัฒนาศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำนัการจัดทำบัญชีข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ช่วยให้ผู้ใช้ข้อมูลในหน่วยงานสามารถใช้บริการผ่านระบบสารสนเทศในการสืบค้น ร้องขอ เข้าถึงแหล่งที่มา ทราบถึงประเภท รูปแบบข้อมูล และเพื่อรวบรวมให้เป็นบัญชีข้อมูลภาครัฐหรือ Government Data Catalog : GD Catalog เสมือนสมุดหน้าเหลือง (Yellow Pages) ทำให้ผู้ใช้ข้อมูลสามารถใช้ประโยชน์ข้อมูลสำคัญของภาครัฐทั้งหมดได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อน รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดการติดตามและกำกับดูแลการจัดการข้อมูลตลอดทั้งวงจรชีวิต สามารถบูรณาการ และใช้ประโยชน์ข้อมูลข้ามหน่วยงานได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

การประกาศมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล (มรด.)

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ได้ลงลงนามในประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จำนวน 3 ฉบับ เสนอต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งประกาศฉบับนี้ ประกอบด้วย

1.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐและแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 2 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 3-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ และ มรด. 3-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ

2.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 2 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 4-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายการบริหารจัดการข้อมูล และ มรด. 4-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล

3.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 1 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 5 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ

โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศฉบับนี้ได้ที่เว็บไซต์ www.ratchakitcha.soc.go.th หรือที่เว็บไซต์ https://standard.dga.or.th

เอกสารข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐและแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ

มรด. 3-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ

มรด. 3-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ

เอกสารประกอบมาตรฐานฯ

ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐและแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ24/03/2023
เอกสารประกอบ มรด. 3-1 : 2565 และ มรด. 3-2 : 2565 ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐและแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ24/03/2023

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ท่านสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องและอำนวยความสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ รวมถึงช่วยให้เราปรับปรุงการนำเสนอเนื้อหาตรงตามความต้องการของท่าน โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ประกาศการใช้คุกกี้ และ ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่าข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า