งานประชาพิจารณ์ มสพร. ด้านการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลและกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ด้านการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลและกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ 2 ฉบับ

     ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 มาตรา 12 (2) และมาตรา 15 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดทำกระบวนการหรือการดำเนินงานทางดิจิทัลเพื่อการบริหารราชการแผ่นดินและการให้บริการประชาชน โดยกระบวนการหรือการดำเนินงานทางดิจิทัลนั้นต้องทำงานร่วมกันได้ตามมาตรฐานข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด เพื่อให้มีความสอดคล้อง และเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นได้ ประกอบกับมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 กำหนดที่ให้มีการกำหนดวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งรวมถึงมาตรฐานที่หน่วยงานของรัฐจะต้องใช้และปฏิบัติให้สอดคล้องกันและเชื่อมโยงถึงกันได้ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ได้จัดทำร่างมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่

  1. (ร่าง) มสพร. x-256x มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล เรื่อง ข้อมูลสิ่งปลูกสร้าง เวอร์ชัน 1.0
  2. (ร่าง) มสพร. x-256x มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 7 เรื่อง เอกสารใบอนุญาตอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ เวอร์ชัน 1.0

เพื่อให้การพัฒนามาตรฐานเป็นไปตามกระบวนการ และเพื่อเป็นข้อเสนอแนะให้กับหน่วยงานของรัฐ สพร. จึงขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นต่อ (ร่าง) มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ทั้ง 2 ฉบับ ในระหว่างวันที่ 5 พฤษภาคม – 5 มิถุนายน 2568 และเข้าร่วมงานประชุมรับฟังความคิดเห็นในรูปแบบออนไลน์ (Microsoft Teams) ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2568 เวลา 13.30 – 15.30 น. โดยท่านสามารถดาวน์โหลด เอกสาร แบบฟอร์ม และ Link ที่เกี่ยวข้อง ตามตารางด้านล่าง

เอกสารและลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

1 (ร่าง) มสพร. x-256x มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล เรื่อง ข้อมูลสิ่งปลูกสร้าง เวอร์ชัน 1.024/04/2568
2. (ร่าง) มสพร. x-256x มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 7 เรื่อง เอกสารใบอนุญาตอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ เวอร์ชัน 1.024/04/2568
3. ลิงก์แสดงความเห็นฯ24/04/2568
4. แบบสำรวจความเห็นฯ (แบบออฟไลน์)24/04/2568
5. คำชี้แจงการสำรวจความคิดเห็นและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล24/04/2568
6. กำหนดการประชาพิจารณ์24/04/2568
7. แบบตอบรับลงทะเบียนเข้าร่วมงาน (ออนไลน์)24/04/2568link-icon
8. แบบลงทะเบียนเข้าร่วมงานประชาพิจารณ์ (ออฟไลน์)24/04/2568
9. ลิงก์สำหรับเข้าร่วมงานประชาพิจารณ์ (MS-Teams Conference)24/04/2568link-icon
10. เอกสารนำเสนอสำหรับงานรับฟังความคิดเห็นฯ (สำหรับเผยแพร่)
11. เอกสารนำเสนอช่วงเสวนา

งานประชาพิจารณ์-(ร่าง)-มสพร-Go-cloud-first-กับการขับเคลื่อนรัฐบาลไทย

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เพื่อเป็นกรอบแนวทางการบริหารจัดการคลาวด์ภาครัฐตามนโยบายการใช้คลาวดเ์ป็นหลัก 3 ฉบับ

     ด้วยนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 เรื่องการวางรากฐานและโครงสร้างพื้นฐานใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนด้วยการนำเทคโนโลยีและระบบดิจิทัลมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ ปรับปรุงการทำงานของภาครัฐให้เป็นรัฐบาลดิจิทัลทำให้ประชาชนสามารถรับบริการจากรัฐได้สะดวกมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเพิ่มความมั่นคงปลอดภัยด้วยนโยบาย “Go Cloud First”  ซึ่งต่อมาเมื่อในวันที่ 25 มิถุนายน 2567 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ ให้แต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะด้านการขับเคลื่อนตามนโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก (Cloud First Policy) เพื่อให้การจัดทำแนวทางการขับเคลื่อนตามนโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก และให้คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเป็นผู้ดำเนินการกำหนดรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการใช้คลาวด์ การออกประกาศเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนาระบบบริหารจัดการความต้องการและจัดหาคลาวด์ กำกับดูแลสร้างระบบนิเวศและจัดซื้อจัดจ้าง ตามกรอบนโยบายที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งกรอบกฎหมายของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต่อไป ซึ่งในคราวการประชุมคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 มีการปรับปรุงการจัดทำมาตรฐานฯ และเสนอให้มีการจัดทำกรอบแนวทางการบริหารจัดการคลาวด์ภาครัฐตามนโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก และเพื่อให้ภาครัฐมีกรอบแนวทางดำเนินการได้ตามนโยบายรัฐบาล จึงได้มีการจัดทำ (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง กรอบแนวทางการบริหารจัดการคลาวด์ภาครัฐตามนโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก และได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) จัดทำมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ มสพร. 3 ฉบับ ได้แก่

  1. แนวทางด้านความต้องการการใช้คลาวด์ – (ร่าง) มสพร. x-256x มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวทางการใช้คลาวด์ตามนโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก เวอร์ชัน 1.0
  2. แนวทางการจำแนกประเภทข้อมูลสำหรับใช้บริการคลาวด์ – (ร่าง) มสพร. x-256x มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวทางการจำแนกประเภทข้อมูลสำหรับใช้บริการคลาวด์ ตามนโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก เวอร์ชัน 1.0
  3. แนวทางการกำหนดมาตรฐานบริการผู้ให้บริการคลาวด์ – (ร่าง) มสพร. x-256x มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวทางการกำหนดมาตรฐานผู้ให้บริการคลาวด์ ตามนโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก เวอร์ชัน 1.0

เพื่อให้การพัฒนามาตรฐานเป็นไปตามกระบวนการ สพร. จึงขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นต่อ (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง กรอบแนวทางการบริหารจัดการคลาวด์ภาครัฐตามนโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก และ (ร่าง) มาตรฐาน ทั้ง 3 ฉบับ โดยสามารถศึกษาเอกสาร และแสดงความเห็นผ่านระบบกลางทางกฎหมาย (Law Portal) ในระหว่างวันที่ 3 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม 2568 และเข้าร่วมงานประชุมรับฟังความคิดเห็นในรูปแบบออนไลน์ (Microsoft Teams) ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 13.00 – 16.00 น. โดยท่านสามารถดาวน์โหลด เอกสาร แบบฟอร์ม และ Link ที่เกี่ยวข้อง ตามตารางด้านล่าง

เอกสารและลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

รายการวันที่นำเข้าลิงก์/ดาวน์โหลด
1 (ร่าง) มสพร. x-256x มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวทางการใช้คลาวด์ตามนโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก เวอร์ชัน 1.028/01/2568
2. (ร่าง) มสพร. x-256x มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวทางการจำแนกประเภทข้อมูลสำหรับใช้บริการคลาวด์ ตามนโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก เวอร์ชัน 1.028/01/2568
3. (ร่าง) มสพร. x-256x มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวทางการกำหนดมาตรฐานผู้ให้บริการคลาวด์ ตามนโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก เวอร์ชัน 1.0 28/01/2568
4. (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง กรอบแนวทางการบริหารจัดการคลาวด์ภาครัฐตามนโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก31/01/2568
5. ลิงก์แสดงความเห็นผ่านระบบกลางทางกฎหมาย (Law Portal) 28/01/2568
6. แบบสำรวจความเห็นฯ (แบบออฟไลน์)28/01/2568
7. คำชี้แจงการสำรวจความคิดเห็นและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล28/01/2568
8. กำหนดการประชาพิจารณ์28/01/2568
9. แบบตอบรับลงทะเบียนเข้าร่วมงาน (ออนไลน์)28/01/2568
10. ลิงก์เข้าร่วมงาน (MS-Teams Conference)28/01/2568
11. เอกสารนำเสนอสำหรับงานรับฟังความคิดเห็นฯ (สำหรับเผยแพร่)19/02/2568

ประชาสัมพันธ์ ร่าง มรด. การจัดระดับชั้นและการแบ่งปันข้อมูล
ประชาสัมพันธ์ ร่าง มรด. การจัดระดับชั้นและการแบ่งปันข้อมูลภาครัฐ
เอกสารและลิงก์ที่เกี่ยวข้อง ลิงก์สำหรับเข้าร่วมงานประชาพิจารณ์

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) มีหน้าที่อำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลมอบหมาย และดำเนินการร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ เสนอคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 และแต่งตั้งคณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานการบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐ เพื่อศึกษาและจัดทำมาตรฐานและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ จึงมีการประกาศสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เลขที่ ม 1/2565 เรื่อง มสพร. 8-2565 มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดระดับชั้นข้อมูลและแบ่งปันข้อมูลภาครัฐ เพื่อประกาศใช้สำหรับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล และเป็นการสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ได้นำไปใช้เป็นตัวอย่างหรือแนวปฏิบัติต่อไป ซึ่งปัจจุบันการประกาศครบ 3 ปี ประกอบกับการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 ได้แถลงนโยบาย “Go Cloud First” ต่อรัฐสภา มีการกำหนดกรอบแนวทางการบริหารจัดการคลาวด์ภาครัฐ จึงเป็นเหตุสมควรให้นำ มสพร. 8-2565 มาทบทวนและปรับปรุงเพื่อยกระดับมาตรฐานให้เป็นสากลมากยิ่งขึ้น เพื่อนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้กับหน่วยงานของรัฐต่อไป

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) จึงได้จัดทำเอกสาร (ร่าง) มรด. X : 256X มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดระดับชั้นและการแบ่งปันข้อมูลภาครัฐ เวอร์ชัน 1.0 ฉบับ PRD ฉบับนี้ขึ้น เพื่อใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาประกอบการใช้ดุลพินิจของเจ้าของข้อมูล (Data Owner) ในการกำหนดระดับชั้นข้อมูลสำหรับทุกชุดข้อมูล (Dataset) ที่แลกเปลี่ยนกันได้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท ซึ่งรวมถึงข้อมูลข่าวสารลับในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานภาครัฐ โดยจะไม่ครอบคลุมเอกสารที่เป็นกระดาษทุกประเภท เพื่อเป็นเครื่องมือประกอบการกำหนดระดับชั้นข้อมูล สามารถกำหนดการเข้าถึงและใช้งานข้อมูลและกำกับดูแลข้อมูลที่มีความอ่อนไหวหรือข้อมูลที่มีระดับชั้นความลับอย่างเหมาะสมเพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล รวมทั้งกำหนดนโยบายการแบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐโดยไม่ขัดต่อข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลร่วมกันในการพัฒนาบริการและนวัตกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในด้านต่าง ๆ

ซึ่งคณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัลภาครัฐ และคณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ได้ให้ความเห็นชอบให้ (ร่าง) มรด. X : 256X มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดระดับชั้นและการแบ่งปันข้อมูลภาครัฐ เวอร์ชัน 1.0 ฉบับ PRD เวียนให้หน่วยงานภาครัฐเพื่อให้ความคิดเห็น โดยขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นผ่าน ระบบกลางทางกฎหมาย (http://law.go.th) ในระหว่างวันที่ 3 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม 2568 โดยท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารเพื่อแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

เอกสารและลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

รายการวันที่นำเข้าลิงก์ /ดาวน์โหลด
1. (ร่าง) มรด. X : 256X มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดระดับชั้นและการแบ่งปันข้อมูลภาครัฐ เวอร์ชัน 1.024/ุ1/2568
2. แบบสำรวจความคิดเห็นฯ (ออนไลน์)24/ุ1/2568
3. แบบสำรวจความคิดเห็นฯ (ออฟไลน์)24/ุ1/2568
4. คำชี้แจงการสำรวจความคิดเห็นและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล24/ุ1/2568



แนวทางการจัดทำข้อมูลนิรนาม

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เล็งเห็นว่าการจัดทำข้อมูลนิรนามเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือในยุคสมัยที่ข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตและการทำงานของเราในชีวิตประจำวัน ตลอดถึงการขับเคลื่อนองค์กรให้ดำเนินไปยังเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ดังนั้นการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่เหมาะสมในการทำให้ข้อมูลเป็นข้อมูลนิรนามจะช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ละเมิดสิทธิ์และความเป็นส่วนตัวของบุคคล และเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่หน่วยงานภาครัฐรวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนถึงการใช้ข้อมูลของภาครัฐ จึงได้จัดทำมาตรฐานฉบับนี้ขึ้นซึ่งประกอบไปด้วย 5 บท ดังนี้

  • บทที่ 1 บทนำ กล่าวถึง ความเป็นมา วัตถุประสงค์ของการจัดทำข้อมูลนิรนาม ขอบข่าย คำนิยาม และ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เห็นถึงความจำเป็นในการจัดทำข้อมูลนิรนาม เหมาะสำหรับผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงาน
  • บทที่ 2 แนวคิดในการจัดทำข้อมูลนิรนาม กล่าวถึง ความสำคัญของการจัดทำข้อมูลนิรนาม แนวคิดและอธิบายถึงวิธีการจัดทำข้อมูลนิรนามโดยสังเขป เพื่อช่วยสร้างความเข้าใจต่อภาพรวมและพื้นฐานในการจัดข้อมูลนิรนาม เหมาะสำหรับผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ทั่วไป
  • บทที่ 3 กระบวนการจัดทำข้อมูลนิรนาม กล่าวถึง การพิจารณาข้อมูลมีหลักการอย่างไร การขจัดข้อมูลระบุตัวตน หลักเกณฑ์การจัดทำข้อมูลนิรนาม โดยมีหลักเกณฑ์การพิจารณาและข้อเสนอแนะเพื่อให้เพื่อเป็นแนวทางให้แก่เจ้าของข้อมูลใช้ในการประกอบการพิจารณาเพื่อจัดทำข้อมูลนิรนามได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยงและมาตรการจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้เห็นถึงกระบวนการจัดข้อมูลนิรนามที่เป็นขั้นตอน เหมาะสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านข้อมูล
  • บทที่ 4 ภาคผนวก (เครื่องมือ Open Source) กล่าวถึง เครื่องมือการจัดทำข้อมูลนิรนามเบื้องต้นโดยการใช้โปรแกรม Microsoft Excel รายการเครื่องมือการจัดทำข้อมูลนิรนามเชิงพาณิชย์ และกรณีศึกษาการจัดทำข้อมูลนิรนามของสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) กรณีศึกษาการจัดทำข้อมูลนิรนามของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้มีความเข้าใจต่อการจัดทำข้อมูลนิรนามและการใช้เครื่องมือต่าง ๆ เหมาะสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านข้อมูลและเจ้าหน้าที่ทั่วไป
  • บทที่ 5 บรรณานุกรม เป็นการรวบรวมแหล่งที่มาที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดทำมาตรฐานฉบับนี้

ทั้งนี้กระบวนการในการจัดทำข้อมูลนิรนามอาจมีความซับซ้อน จึงจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และดำเนินการอย่างระมัดระวังสูงสุดในการดำเนินการ

การประกาศมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (มสพร.)

เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2567 นางไอรดา เหลืองวิไล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ได้ลงนามในประกาศสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เลขที่ ม 5/2567 เรื่อง มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวทางการจัดทำข้อมูลนิรนาม หรือ มสพร. 14-2567 เพื่อประกาศใช้สำหรับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และเป็นข้อเสนอแนะให้กับหน่วยงานภาครัฐให้สามารถนำไปปฏิบัติใช้ตามแนวทางและตัวอย่างต่อไป

เอกสารมาตรฐานแนวทางจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ

ดาวน์โหลด มสพร. 14-2567 ว่าด้วยแนวทางการจัดทำข้อมูลนิรนาม

เอกสารประกอบมาตรฐานฯ

ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
ประกาศ สพร. ม 5/2567 มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวทางการจัดทำข้อมูลนิรนาม24/9/2024
เอกสารประกอบ มสพร. 14-2567 ว่าด้วยแนวทางการจัดทำข้อมูลนิรนาม24/9/2024

เพื่อเป็นแนวทางการเปิดเผยให้สอดคล้องกับกฎหมาย และกรอบธรรมาภิบาลข้อมูล สร้างความรู้ความเข้าใจ ความมั่นใจในการเปิดเผยข้อมูลให้เพิ่มมากขึ้น อันประกอบด้วยการกำหนดขั้นตอน รูปแบบ และกลไกต่าง ๆ โดยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น และมุ่งเน้นการนำข้อมูลเปิดไปใช้ในการสร้างประโยชน์ในหลากหลายมิติ ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพของประเทศ ได้โดยง่ายและตลอดเวลา

การบูรณาการข้อมูลเปิดเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล

ข้อมูลถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการดำเนินงาน เพื่อนำมาใช้ในการสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจ และสังคมดิจิทัลให้กับทุกภาคส่วน รวมถึงการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาบริการหรือ ต่อยอดนวัตกรรมต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันภาครัฐได้มีการเปิดเผยข้อมูล ผ่าน data.go.th ที่รู้จักกันในนาม “ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ” โดยพบว่ามีจำนวนชุดข้อมูลเปิดเป็นจำนวนมาก ซึ่งก่อให้เกิดการบูรณาการข้อมูลร่วมกันในหลากหลายมิติ ทั้งในระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันและระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชน เน้นการยกระดับไปสู่ความร่วมมือกัน แสวงหาความคิดริเริ่มและสร้างนวัตกรรม แสดงถึงความโปร่งใสของการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาสังคมโดยการใช้ข้อมูลเปิดที่สำคัญในการวางแผนและการดำเนินการในสาขาต่าง ๆ สร้างประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการเข้าถึงข้อมูล รวมถึงสนับสนุนให้ภาคเอกชนและภาคประชาชนนำข้อมูลที่เปิดเผยไปสร้างนวัตกรรมและบริการเพื่อยกระดับการพัฒนาประเทศ

ในปี 2563 คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ได้มีการประกาศ มรด.-12001:2563 เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ ซึ่งครอบรอบระยะเวลา 3 ปีในการทบทวนมาตรฐานฉบับนี้ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงเสนอยกเลิก มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 1.0 และจัดทำมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.0 ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการเปิดเผยให้สอดคล้องกับกฎหมาย และกรอบธรรมาภิบาลข้อมูล สร้างความรู้ความเข้าใจ ความมั่นใจในการเปิดเผยข้อมูลให้เพิ่มมากขึ้น อันประกอบด้วยการกำหนดขั้นตอน รูปแบบ และกลไกต่าง ๆ เช่น การคัดเลือกชุดข้อมูลในการเปิดเผย การควบคุมคุณภาพของข้อมูล วิธีการและช่องทางในการเปิดเผยข้อมูล ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูล ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น และมุ่งเน้นการนำข้อมูลเปิดไปใช้ในการสร้างประโยชน์ในหลากหลายมิติ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนในทุกภาคส่วนสามารถที่จะเข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพของประเทศ ได้โดยง่ายและตลอดเวลา โดยมีกรอบการปรับปรุง ดังนี้

  • บทที่ 1 บทนำ เพิ่มมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี พ.ศ. 2556 เรื่อง แนวทางการยกระดับการให้บริการประชาชนผ่านบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ
  • บทที่ 2 กรอบแนวคิดที่เกี่ยวข้อง มีการปรับปรุงภาพ ประเภทและความสัมพันธ์ของข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
  • บทที่ 3 ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ มีการเพิ่มคุณลักษณะของชุดข้อมูลที่เป็น Machine Readable มีการปรับปรุงมิติคุณภาพข้อมูลให้สอดคล้องกับ มรด. 5 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ
  • บทที่ 4 กระบวนการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ มีการปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับมรด. 6 : 2566 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ รวมถึงมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเพิ่มแหล่งอ้างอิงการกำหนดรูปแบบของชุดข้อมูลเปิดในแต่ละประเภท
  • บทที่ 5 การบริหารจัดการศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ คงไว้ตามหลักการเดิม
  • บทที่ 6 การนำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์ มีการเพิ่มกรณีศึกษาหน่วยงานที่จัดทำข้อมูลเปิดและยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเปิด
  • บทที่ 7 ภาคผนวก เพิ่มการประกาศรายชื่อชุดข้อมูล Master Data ตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2566 – 2570 และปรับปรุงคำอธิบายชุดข้อมูลให้เป็นปัจจุบันและมีความละเอียดเพิ่มมากขึ้น
  • บทที่ 8 บรรณานุกรม เป็นการรวบรวมแหล่งที่มาที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดทำมาตรฐานฉบับนี้

การประกาศมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล (มรด.)

เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2567 รองนายกรัฐมนตรี นายพิชัย ชุณหวชิร ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.0 และเสนอต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา

โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศฉบับนี้ได้ที่เว็บไซต์ www.ratchakitcha.soc.go.th หรือที่เว็บไซต์ https://standard.dga.or.th

เอกสาร มรด. 8 : 2567 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.0

ดาวนโหลด มรด. 8 : 2567 ว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.0

เอกสารประกอบมาตรฐานฯ

ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.023/09/2024PDF-Document-icon
เอกสารประกอบ มรด. 8 : 2567 ว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.023/09/2024PDF-Document-icon

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

วิธีการทางเทคโนโลยีดิจิทัลในการประยุกต์ใช้มาตรฐาน การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล (กรณีประยุกต์ใช้มาตรฐานฯ ข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) กล่าวถึงอะไร

    สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) มีหน้าที่อำนวยการ และสนับสนุนการปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลมอบหมาย และดำเนินการร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ เสนอคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 และแต่งตั้งคณะทำงานเทคนิค ด้านมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ เพื่อสนับสนุนการร่างมาตรฐานและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดทำระบบศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางภาครัฐ รวมถึงแนวปฏิบัติ คู่มือ เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันภายใต้มาตรฐานเดียวกัน โดยได้จัดทำ (ร่าง) มสพร. x – 256x มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยวิธีการทางเทคโนโลยีดิจิทัลในการประยุกต์ใช้มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล (กรณีประยุกต์ใช้มาตรฐานฯ ข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐานฯ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2567 ได้มีมติเห็นชอบให้นำร่างมาตรฐานไปจัดทำประชาพิจารณ์ต่อไป

มาตรฐานฯ ฉบับนี้ เป็นการประยุกต์ใช้มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล เรื่อง ข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (Land and Building Tax) ครอบคลุมถึงองค์ประกอบ และโครงสร้างของข้อมูลที่ใช้อธิบายถึง “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” ในชุดข้อมูลที่สำคัญเช่น ข้อมูลประเมินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ข้อมูลผู้ถือกรรมสิทธิ์ ข้อมูลการชำระภาษี ข้อมูลภาษีห้องชุด ข้อมูลหน้าสำรวจของเอกสารสิทธิ ซึ่งจะนำไปใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน พร้อมทั้งแนวทางการประยุกต์ใช้มาตรฐาน โดยมีเครื่องมือในการสนับสนุนการพัฒนาระบบสำหรับผู้ที่สนใจ โดยมีแนวทางและหลักการที่สอดคล้องกับมาตรฐาน ทั้งคำนิยามและวิธีการแลกเปลี่ยน ตามที่ระบุในมาตรฐาน

ในการนี้ สพร. ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นต่อ (ร่าง) มาตรฐานฯ โดยสามารถตอบแบบสำรวจความเห็นผ่านระบบออนไลน์ (Microsoft Forms) ในระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม – 7 สิงหาคม 2567 และเข้าร่วมงานประชุมรับฟังความคิดเห็นในรูปแบบออนไลน์ (Microsoft Teams) ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2567 เวลา 13.30 – 15.30 น. โดยท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารเพื่อแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

เอกสารและไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

รายการวันที่นำเข้าลิงก์ /ดาวน์โหลด
1. ร่างมาตรฐานฯ ด้านความหมายข้อมูล เรื่องวิธีการทางเทคโนโลยีดิจิทัลในการประยุกต์ใช้มาตรฐานฯ ข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (Land and Building Tax Data)11/06/2567
2. แบบสำรวจความเห็นต่อ (ร่าง) มาตรฐานฯ ด้านความหมายข้อมูล เรื่องวิธีการทางเทคโนโลยีดิจิทัลในการประยุกต์ใช้มาตรฐานฯ ข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (Land and Building Tax Data)(ออนไลน์)11/06/2567
3. แบบสำรวจความเห็นต่อ (ร่าง) มาตรฐานฯ ด้านความหมายข้อมูล เรื่องวิธีการทางเทคโนโลยีดิจิทัลในการประยุกต์ใช้มาตรฐานฯ ข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (Land and Building Tax Data) (ออฟไลน์) 11/06/256ึ7
4. คำชี้แจงการสำรวจความคิดเห็นและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล11/06/2567
5. กำหนดการประชาพิจารณ์11/06/2567
6. แบบตอบรับลงทะเบียนเข้าร่วมงาน (ออนไลน์)11/06/2567
7. ลิงก์เข้าร่วมงาน (MS-Teams Conference)11/06/2567
8. เอกสารนำเสนอสำหรับงานรับฟังความคิดเห็นฯ_(สำหรับเผยแพร่)24/07/2567
9. เอกสารนำเสนอสำหรับงานรับฟังความคิดเห็นฯ กรมที่ดิน (สำหรับเผยแพร่)06/08/2567

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการบริหารจัดการ การบูรณาการข้อมูลภาครัฐ การทำงานให้มีความสอดคล้องกัน การเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างมั่นคงปลอดภัยและมีธรรมาภิบาล และตามมาตรา 13 ระบุว่าเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินและการให้บริการประชาชน ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลที่มีการจัดทําและครอบครองตามที่หน่วยงานของรัฐแห่งอื่นร้องขอ เพื่อเกิดการบูรณาการ และเป็นไปตามมาตรฐานการเชืื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. ได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานการเชืื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ เพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานได้นำมาตรฐานการเชืื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (TGIX) ในการจัดทำหรือเรียกใช้บริการการเข้าถึงข้อมูล ในแต่ละหน่วยงาน ให้เป็นไปตามมาตรฐาน TGIX ประกอบด้วย

  1. มรด. 2-1:2565 มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัล ว่าด้วยเรื่อง กรอบแนวทางการพัฒนามาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมลูภาครัฐ
  2. มสพร. 4:2565 มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล เรื่องข้อมูลบุคคล (TGIX SEMANTIC: PERSON DATA)
  3. มสพร. 5:2565 มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล เรื่องข้อมูลนิติบุคคล (TGIX SEMANTIC: JURISTIC PERSON DATA)
  4. มสพร. 9-1:2566 มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐด้านความหมายข้อมูล เรื่อง ข้อมูลสถานที่-ที่อยู่ (TGIX SEMANTIC: LOCATION-ADDRESS DATA)
  5. มสพร. 9-2:2566 มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐด้านความหมายข้อมูล เรื่อง ข้อมูลสถานที่-ภูมิสารสนเทศ (TGIX SEMANTIC: LOCATION-GEOSPATIAL DATA)
  6. มสพร. 10-2566 มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านการเชื่อมโยงข้อมูล (TGIX LINKAGE) ทั้ง 6 ฉบับ
  7. มสพร. 12-2567 มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล เรื่อง ข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (TGIX SEMANTIC: LAND AND BUILDING TAX DATA)

ท่านสามารถเข้าถึงเครื่องมือประกอบการจัดทำมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ดังนี้

รายการเครื่องมือประกอบในการจัดทำมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ วันที่นำเข้า
1. เครื่องมือตรวจสอบมาตรฐาน TGIX Semantic (XML Validator) 01/06/2565
2. บริการทดสอบการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลบนสภาพแวดล้อมปิด TGIX-Linkage Sandbox 14/02/2566

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการบริหารจัดการ การบูรณาการข้อมูลภาครัฐ การทำงานให้มีความสอดคล้องกัน การเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างมั่นคงปลอดภัยและมีธรรมาภิบาล และตามมาตรฐาน 8 ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐต้องประกอบด้วยอย่างน้อยดังนี้  การมีระบบบริหาร การมีกระบวนการจัดการและคุ้มครองข้อมูลที่ครบถ้วน ตั้งแต่การจัดทำ การจัดเก็บ การจำแนกหมวดหมู่ การประมวลผลหรือใช้ข้อมูล การปกปิดหรือเปิดเผยข้อมูล การตรวจสอบ และการทำลาย และประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารจัดการข้อมูล (Data Management) เพื่อเป็นกลไกในการกำหนดทิศทาง ควบคุม และทวนสอบการบริหารจัดการข้อมูล และเป็นแนวทางให้หน่วยงานได้ดำเนินการบริหารจัดการข้อมูลตามนโยบาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่ได้กำหนดไว้

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. ได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานการบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐ เป็นเครื่องมือเพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานมีการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล ประกอบด้วย

  1. มรด. 6 : 2566 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ (Data Governance Review) เพื่อเป็นกรอบภาพรวมในการขับเคลื่อนการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลของหน่วยงาน
  2. มรด. 3-1 : 2565 และ มรด. 3-2 : 2565 (GD Catalog Guideline & Register) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดทำ Metadata
  3. มรด. 4-1 : 2565 และ มรด. 4-2 : 2565 (Data Policy & Guideline) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดทำแนวนโยบายและแนวปฏิบัติการจัดการข้อมูล
  4. มรด. 5 : 2565 (Data Quality) เพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินคุณภาพข้อมูลภาครัฐ
  5. มสพร. 8-2565 (Data Classification) เพื่อเป็นเครื่องมือเพื่อพิจารณาระดับชั้นข้อมูล
  6. มสพร. 1-2566 (GD Catalog Guideline V. 2.0) เพื่อเป็นเครื่องมือในการพิจารณาเลือกใช้สัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูล

ท่านสามารถดาวโหลดเครื่องมือได้ ดังนี้

Data Policy & Guideline Template

2.25 MB 386 Downloads

GD Catalog Tool

144.13 KB 310 Downloads

Data Quality Tool

133.16 KB 305 Downloads

Data Classification Template

622.55 KB 401 Downloads

    เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ท่านสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องและอำนวยความสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ รวมถึงช่วยให้เราปรับปรุงการนำเสนอเนื้อหาตรงตามความต้องการของท่าน โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ประกาศการใช้คุกกี้ และ ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)

    ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    ยอมรับทั้งหมด
    จัดการความเป็นส่วนตัว
    • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
      เปิดใช้งานตลอด

      คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

    • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

      คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่าข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

    • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

      คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

    • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

      คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

    บันทึกการตั้งค่า