เพื่อให้เข้าใจธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐมากขึ้น และสามารถนำกรอบไปประยุกต์ขับเคลื่อนการจัดธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐภายในหน่วยงาน ให้ข้อมูลมีคุณภาพ สามารถนำไปบูรณาการเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่น (Data integration) เปิดเผยข้อมูลสู่ประชาชน (Open data)
dga
ทำไมภาครัฐควรให้ความสำคัญกับคุณภาพข้อมูล
โลกในปัจจุบันถูกผลักดันและเติบโตด้วยการขับเคลื่อนของดิจิทัล ข้อมูลกลายเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่ามากที่สุดขององค์กร การประกอบธุรกิจและกระบวนการทำงานต่าง ๆ ของทุกภาคส่วนล้วนพึ่งพา และอาศัยข้อมูลในการสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ประกอบกับกระแสของข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data ที่ทุกภาคส่วนกำลังให้ความสนใจและมีการตื่นตัวเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ เนื่องจากประโยชน์ที่ได้รับจากการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ จะช่วยในการดำเนินงานในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำความเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการในด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น รวมถึงประเทศไทยที่ภาครัฐมีนโยบายที่เตรียมพร้อมเข้าสู่ยุคของการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อประกอบการตัดสินใจ (Data Driven Decision) และการดำเนินงานของหน่วยงาน (Insight to Operation) การวิเคราะห์สถานการณ์ วางแผนยุทธศาสตร์ แก้ไขปัญหา ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน และการให้บริการภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล ดังนั้น เพื่อให้ข้อมูลที่มีอยู่สามารถนำมาวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ได้ หน่วยงานภาครัฐควรตระหนักถึงความสำคัญของการควบคุมและบริหารจัดการคุณภาพข้อมูล และจำเป็นต้องมีการวัดผลการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อให้หน่วยงานของรัฐมีข้อมูลที่มีคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปยังการนําข้อมูลไปใช้และส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ใช้ข้อมูลในทุกภาคส่วนต่อเนื่องกันไป
หลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลฉบับนี้ จะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐมีความเข้าใจแนวคิดการประเมินคุณภาพข้อมูลที่ถูกต้องตรงกัน และมีเครื่องมือสำหรับการประเมินคุณภาพข้อมูลเบื้องต้นด้วยตนเอง โดยแบ่งออกเป็น แบบตรวจประเมินคุณภาพ (DQA Checklist) เพื่อตรวจสอบกระบวนการเตรียมข้อมูลที่มีคุณภาพ และ แบบประเมินคุณภาพข้อมูลด้วยตนเอง (DQA Self-Assessment) เพื่อวัดผลลัพธ์ข้อมูล (Data Output) ตามมิติคุณภาพข้อมูล รวมทั้งแบบตรวจประเมินการควบคุมและติดตามคุณภาพข้อมูล (Data Quality Monitoring and Control Checklist) ตามกระบวนการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ซึ่งจะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถตรวจสอบและควบคุมการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ และสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ อันจะนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการให้บริการประชาชนต่อไป
การประกาศมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล (มรด.)
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ได้ลงลงนามในประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จำนวน 3 ฉบับ เสนอต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งประกาศฉบับนี้ ประกอบด้วย
1.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐและแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 2 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 3-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ และ มรด. 3-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ
2.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 2 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 4-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายการบริหารจัดการข้อมูล และ มรด. 4-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล
3.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 1 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 5 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ
โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศฉบับนี้ได้ที่เว็บไซต์ www.ratchakitcha.soc.go.th หรือที่เว็บไซต์ https://standard.dga.or.th
เอกสารหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ
เอกสารประกอบมาตรฐานฯ
ไฟล์เอกสาร | วันที่นำเข้า | ลิงก์ดาวน์โหลด |
---|---|---|
ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ | 24/03/2023 | |
เอกสารประกอบ มรด. 5 : 2565 ว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ | 24/03/2023 |
Data-driven Organization วัฒนธรรมใหม่ของหน่วยงานภาครัฐ
เนื่องจากหน่วยงานภาครัฐต้องมีการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการให้บริการประชาชน โดยมุ่งสู่การเป็นหน่วยงานภาครัฐที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล Data-driven Organization ด้วยการมีนโยบาย/แนวปฏิบัติด้านข้อมูลภายในองค์กรเพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการบริหารจัดการข้อมูลของหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้ประโยชน์ข้อมูลได้สูงสุด
ข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล (Recommendation for Writing Data Management Policy and Guideline) จะเป็นคู่มือการใช้งานเอกสารแม่แบบนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล (Data Management Policy and Guideline Template) เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐใช้เป็นตัวอย่างในการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูลของหน่วยงาน ซึ่งจะเป็นกรอบแนวทางและแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการข้อมูลให้มีความมั่นคงปลอดภัย มีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งเพื่อให้ข้อมูลของหน่วยงานมีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของผู้ใช้งาน และสามารถนำไปบูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การประกาศมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล (มรด.)
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ได้ลงลงนามในประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จำนวน 3 ฉบับ เสนอต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งประกาศฉบับนี้ ประกอบด้วย
1.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐและแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 2 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 3-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ และ มรด. 3-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ
2.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 2 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 4-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายการบริหารจัดการข้อมูล และ มรด. 4-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล
3.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 1 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 5 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ
โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศฉบับนี้ได้ที่เว็บไซต์ www.ratchakitcha.soc.go.th หรือที่เว็บไซต์ https://standard.dga.or.th
เอกสารข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล
เอกสารประกอบมาตรฐานฯ
ความสำคัญในการจัดระดับชั้นและแบ่งปันข้อมูลภาครัฐบัญชีข้อมูล (Data Catalog) : ทำไมต้องทำ ทำอย่างไร ทำแล้วได้อะไร?
ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันประเทศไทยมีความตื่นตัวเรื่องข้อมูล อย่างกว้างขวางในทุกภาคส่วน ภาครัฐและภาคเอกชนเริ่มปรับตัวและเตรียมพร้อมเข้าสู่ยุคของการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ จึงมีความต้องการใช้ประโยชน์ข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การเลือกใช้ข้อมูลและการสืบค้นหาแหล่งข้อมูลสำหรับวิเคราะห์หรือให้บริการมีความซับซ้อนและยุ่งยาก อย่างไรก็ดี หน่วยงานภาครัฐยังขาดการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงาน มีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล และผู้ใช้ข้อมูลที่มีอยู่หลากหลายกลุ่มทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม รวมถึงประชาชนทั่วไป ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการจัดทำบัญชีข้อมูลอันประกอบด้วยรายการข้อมูลและคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐให้มีมาตรฐาน มีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาระบบข้อมูลที่สำคัญของภาครัฐเพื่อประโยชน์ในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน และบูรณาการข้อมูลของหน่วยงานของรัฐอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการพัฒนาศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำนัการจัดทำบัญชีข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ช่วยให้ผู้ใช้ข้อมูลในหน่วยงานสามารถใช้บริการผ่านระบบสารสนเทศในการสืบค้น ร้องขอ เข้าถึงแหล่งที่มา ทราบถึงประเภท รูปแบบข้อมูล และเพื่อรวบรวมให้เป็นบัญชีข้อมูลภาครัฐหรือ Government Data Catalog : GD Catalog เสมือนสมุดหน้าเหลือง (Yellow Pages) ทำให้ผู้ใช้ข้อมูลสามารถใช้ประโยชน์ข้อมูลสำคัญของภาครัฐทั้งหมดได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อน รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดการติดตามและกำกับดูแลการจัดการข้อมูลตลอดทั้งวงจรชีวิต สามารถบูรณาการ และใช้ประโยชน์ข้อมูลข้ามหน่วยงานได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
การประกาศมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล (มรด.)
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ได้ลงลงนามในประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จำนวน 3 ฉบับ เสนอต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งประกาศฉบับนี้ ประกอบด้วย
1.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐและแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 2 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 3-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ และ มรด. 3-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ
2.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 2 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 4-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายการบริหารจัดการข้อมูล และ มรด. 4-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล
3.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 1 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 5 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ
โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศฉบับนี้ได้ที่เว็บไซต์ www.ratchakitcha.soc.go.th หรือที่เว็บไซต์ https://standard.dga.or.th
เอกสารข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐและแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ
เอกสารประกอบมาตรฐานฯ
เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน มั่นคงปลอดภัย และไม่ถูกละเมิดความเป็นส่วนบุคคล รวมทั้งสามารถเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน บูรณาการ และใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการวัดผลการบริหารจัดการข้อมูล โดยอย่างน้อยประกอบด้วย การประเมินความพร้อมของธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐในระดับหน่วยงาน การประเมินคุณภาพข้อมูล และการประเมินความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล
เพื่อกำหนดนโยบายข้อมูลหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับผู้มีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลต่างๆ ภายในหน่วยงาน สำหรับให้ผู้ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามนโยบายหรือกฎเกณฑ์ได้อย่างถูกต้อง และสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อันจะนำไปสู่การบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐอย่างเป็นระบบ รวมทั้งสนับสนุนการจัดทำบัญชีข้อมูลหน่วยงานให้ได้มาตรฐานและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สอดคล้องตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดทำคำอธิบาย ชุดข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐและบัญชีข้อมูลให้มีความถูกต้อง ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน ดังนั้น หน่วยงานของรัฐจึงจำเป็นต้องดำเนินการจัดทำบัญชีข้อมูลและขึ้นทะเบียนกับระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐกลางที่ได้มาตรฐานและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สอดคล้องตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ สามารถบูรณาการ ให้บริการ และใช้ประโยชน์ข้อมูลข้ามหน่วยงานได้อย่างเป็นระบบ
สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลภาครัฐ หรือ TDGA ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA จัดอบรม รุ่นที่ 1 ครั้งที่ 3 จากทั้งหมด 5 รุ่น ในโครงการอบรมพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลให้หน่วยงานภาครัฐ เรื่อง “การประยุกต์ใช้งานกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภายในหน่วยงานภาครัฐ (Data Governance Framework : DGF)” ณ ห้อง Jubilee Ballroom ชั้น 11 โรงแรมเบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ โฮเต็ล
โครงการฝึกอบรม DGF นี้ มีการ Workshop ผู้เข้าร่วมอบรมแต่ละรุ่น จำนวน 3 วัน และวันนำเสนอผลงานจากตัวแทนแต่ละรุ่น จำนวนครึ่งวัน ซึ่งในช่วงเช้าวันอบรมวันสุดท้ายนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้ทรงคุณวุฒิด้านธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ และที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) มาบรรยายในหัวข้อ “Government One Stop Service” โดยกล่าวถึงความสำคัญของการจัดทำ Data Governance ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นในการประยุกต์ใช้งานกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลกับการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พร้อมทั้งยกตัวอย่าง Government One Stop Service ที่เกิดจากการบูรณาข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐที่ผ่านมา
ในช่วงบ่าย นางสาวอัญชลี โพธิ์อ่อน หัวหน้าทีมมาตรฐานดิจิทัล DGA บรรยายเรื่อง “การประยุกต์ใช้งานกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภายในหน่วยงานภาครัฐ” เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้หน่วยงานที่เข้าอบรมสามารถนำกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลของหน่วยงานตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และในช่วงบ่ายฝึกอบรมต่อ สำหรับการจัดทำ Data Policy เพื่อวางกรอบแนวทางการปฏิบัติการธรรมาภิบาลข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งคัดเลือกตัวแทนรุ่นที่ 1 เพื่อนำเสนอผลงานในวันปิดหลักสูตรต่อไป (วันที่ 24 ธันวาคม 2562) ทั้งนี้ หลักสูตร DGF มีการอบรมทั้งหมดจำนวน 5 รุ่น ซึ่งได้รับการตอบรับการเข้าอบรมจาก 24 หน่วยงาน ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, การประปานครหลวง, การประปาส่วนภูมิภาค, สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ, กรมการปกครอง, สำนักข่าวกรองแห่งขาติ, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, กรมที่ดิน, สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ, กรมพัฒนาที่ดิน, สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, กรมการพัฒนาชุมชน, กรมโยธาธิการและผังเมือง, กรมประชาสัมพันธ์, กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, กองทัพบก (กรมทหารสื่อสาร), กองทัพเรือ, กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทหารอากาศ, สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ