เพื่อเป็นแนวทางการเปิดเผยให้สอดคล้องกับกฎหมาย และกรอบธรรมาภิบาลข้อมูล สร้างความรู้ความเข้าใจ ความมั่นใจในการเปิดเผยข้อมูลให้เพิ่มมากขึ้น อันประกอบด้วยการกำหนดขั้นตอน รูปแบบ และกลไกต่าง ๆ โดยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น และมุ่งเน้นการนำข้อมูลเปิดไปใช้ในการสร้างประโยชน์ในหลากหลายมิติ ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพของประเทศ ได้โดยง่ายและตลอดเวลา

การบูรณาการข้อมูลเปิดเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล

ข้อมูลถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการดำเนินงาน เพื่อนำมาใช้ในการสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจ และสังคมดิจิทัลให้กับทุกภาคส่วน รวมถึงการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาบริการหรือ ต่อยอดนวัตกรรมต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันภาครัฐได้มีการเปิดเผยข้อมูล ผ่าน data.go.th ที่รู้จักกันในนาม “ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ” โดยพบว่ามีจำนวนชุดข้อมูลเปิดเป็นจำนวนมาก ซึ่งก่อให้เกิดการบูรณาการข้อมูลร่วมกันในหลากหลายมิติ ทั้งในระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันและระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชน เน้นการยกระดับไปสู่ความร่วมมือกัน แสวงหาความคิดริเริ่มและสร้างนวัตกรรม แสดงถึงความโปร่งใสของการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาสังคมโดยการใช้ข้อมูลเปิดที่สำคัญในการวางแผนและการดำเนินการในสาขาต่าง ๆ สร้างประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการเข้าถึงข้อมูล รวมถึงสนับสนุนให้ภาคเอกชนและภาคประชาชนนำข้อมูลที่เปิดเผยไปสร้างนวัตกรรมและบริการเพื่อยกระดับการพัฒนาประเทศ

ในปี 2563 คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ได้มีการประกาศ มรด.-12001:2563 เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ ซึ่งครอบรอบระยะเวลา 3 ปีในการทบทวนมาตรฐานฉบับนี้ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงเสนอยกเลิก มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 1.0 และจัดทำมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.0 ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการเปิดเผยให้สอดคล้องกับกฎหมาย และกรอบธรรมาภิบาลข้อมูล สร้างความรู้ความเข้าใจ ความมั่นใจในการเปิดเผยข้อมูลให้เพิ่มมากขึ้น อันประกอบด้วยการกำหนดขั้นตอน รูปแบบ และกลไกต่าง ๆ เช่น การคัดเลือกชุดข้อมูลในการเปิดเผย การควบคุมคุณภาพของข้อมูล วิธีการและช่องทางในการเปิดเผยข้อมูล ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูล ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น และมุ่งเน้นการนำข้อมูลเปิดไปใช้ในการสร้างประโยชน์ในหลากหลายมิติ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนในทุกภาคส่วนสามารถที่จะเข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพของประเทศ ได้โดยง่ายและตลอดเวลา โดยมีกรอบการปรับปรุง ดังนี้

  • บทที่ 1 บทนำ เพิ่มมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี พ.ศ. 2556 เรื่อง แนวทางการยกระดับการให้บริการประชาชนผ่านบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ
  • บทที่ 2 กรอบแนวคิดที่เกี่ยวข้อง มีการปรับปรุงภาพ ประเภทและความสัมพันธ์ของข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
  • บทที่ 3 ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ มีการเพิ่มคุณลักษณะของชุดข้อมูลที่เป็น Machine Readable มีการปรับปรุงมิติคุณภาพข้อมูลให้สอดคล้องกับ มรด. 5 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ
  • บทที่ 4 กระบวนการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ มีการปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับมรด. 6 : 2566 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ รวมถึงมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเพิ่มแหล่งอ้างอิงการกำหนดรูปแบบของชุดข้อมูลเปิดในแต่ละประเภท
  • บทที่ 5 การบริหารจัดการศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ คงไว้ตามหลักการเดิม
  • บทที่ 6 การนำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์ มีการเพิ่มกรณีศึกษาหน่วยงานที่จัดทำข้อมูลเปิดและยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเปิด
  • บทที่ 7 ภาคผนวก เพิ่มการประกาศรายชื่อชุดข้อมูล Master Data ตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2566 – 2570 และปรับปรุงคำอธิบายชุดข้อมูลให้เป็นปัจจุบันและมีความละเอียดเพิ่มมากขึ้น
  • บทที่ 8 บรรณานุกรม เป็นการรวบรวมแหล่งที่มาที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดทำมาตรฐานฉบับนี้

การประกาศมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล (มรด.)

เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2567 รองนายกรัฐมนตรี นายพิชัย ชุณหวชิร ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.0 และเสนอต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา

โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศฉบับนี้ได้ที่เว็บไซต์ www.ratchakitcha.soc.go.th หรือที่เว็บไซต์ https://standard.dga.or.th

เอกสาร มรด. 8 : 2567 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.0

ดาวนโหลด มรด. 8 : 2567 ว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.0

เอกสารประกอบมาตรฐานฯ

ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.023/09/2024PDF-Document-icon
เอกสารประกอบ มรด. 8 : 2567 ว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.023/09/2024PDF-Document-icon
ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ เครื่องมืือ และการใช้งาน

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการบริหารจัดการ การบูรณาการข้อมูลภาครัฐ การทำงานให้มีความสอดคล้องกัน การเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างมั่นคงปลอดภัยและมีธรรมาภิบาล และตามมาตรา 13 ระบุว่าเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินและการให้บริการประชาชน ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลที่มีการจัดทําและครอบครองตามที่หน่วยงานของรัฐแห่งอื่นร้องขอ เพื่อเกิดการบูรณาการ และเป็นไปตามมาตรฐานการเชืื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. ได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานการเชืื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ เพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานได้นำมาตรฐานการเชืื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (TGIX) ในการจัดทำหรือเรียกใช้บริการการเข้าถึงข้อมูล ในแต่ละหน่วยงาน ให้เป็นไปตามมาตรฐาน TGIX ประกอบด้วย

  1. มรด. 2-1:2565 มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัล ว่าด้วยเรื่อง กรอบแนวทางการพัฒนามาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมลูภาครัฐ
  2. มสพร. 4:2565 มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล เรื่องข้อมูลบุคคล (TGIX SEMANTIC: PERSON DATA)
  3. มสพร. 5:2565 มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล เรื่องข้อมูลนิติบุคคล (TGIX SEMANTIC: JURISTIC PERSON DATA)
  4. มสพร. 9-1:2566 มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐด้านความหมายข้อมูล เรื่อง ข้อมูลสถานที่-ที่อยู่ (TGIX SEMANTIC: LOCATION-ADDRESS DATA)
  5. มสพร. 9-2:2566 มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐด้านความหมายข้อมูล เรื่อง ข้อมูลสถานที่-ภูมิสารสนเทศ (TGIX SEMANTIC: LOCATION-GEOSPATIAL DATA)
  6. มสพร. 10-2566 มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านการเชื่อมโยงข้อมูล (TGIX LINKAGE) ทั้ง 6 ฉบับ
  7. มสพร. 12-2567 มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล เรื่อง ข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (TGIX SEMANTIC: LAND AND BUILDING TAX DATA)

ท่านสามารถเข้าถึงเครื่องมือประกอบการจัดทำมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ดังนี้

รายการเครื่องมือประกอบในการจัดทำมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ วันที่นำเข้า
1. เครื่องมือตรวจสอบมาตรฐาน TGIX Semantic (XML Validator) 01/06/2565
2. บริการทดสอบการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลบนสภาพแวดล้อมปิด TGIX-Linkage Sandbox 14/02/2566

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการบริหารจัดการ การบูรณาการข้อมูลภาครัฐ การทำงานให้มีความสอดคล้องกัน การเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างมั่นคงปลอดภัยและมีธรรมาภิบาล และตามมาตรฐาน 8 ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐต้องประกอบด้วยอย่างน้อยดังนี้  การมีระบบบริหาร การมีกระบวนการจัดการและคุ้มครองข้อมูลที่ครบถ้วน ตั้งแต่การจัดทำ การจัดเก็บ การจำแนกหมวดหมู่ การประมวลผลหรือใช้ข้อมูล การปกปิดหรือเปิดเผยข้อมูล การตรวจสอบ และการทำลาย และประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารจัดการข้อมูล (Data Management) เพื่อเป็นกลไกในการกำหนดทิศทาง ควบคุม และทวนสอบการบริหารจัดการข้อมูล และเป็นแนวทางให้หน่วยงานได้ดำเนินการบริหารจัดการข้อมูลตามนโยบาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่ได้กำหนดไว้

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. ได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานการบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐ เป็นเครื่องมือเพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานมีการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล ประกอบด้วย

  1. มรด. 6 : 2566 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ (Data Governance Review) เพื่อเป็นกรอบภาพรวมในการขับเคลื่อนการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลของหน่วยงาน
  2. มรด. 3-1 : 2565 และ มรด. 3-2 : 2565 (GD Catalog Guideline & Register) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดทำ Metadata
  3. มรด. 4-1 : 2565 และ มรด. 4-2 : 2565 (Data Policy & Guideline) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดทำแนวนโยบายและแนวปฏิบัติการจัดการข้อมูล
  4. มรด. 5 : 2565 (Data Quality) เพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินคุณภาพข้อมูลภาครัฐ
  5. มสพร. 8-2565 (Data Classification) เพื่อเป็นเครื่องมือเพื่อพิจารณาระดับชั้นข้อมูล
  6. มสพร. 1-2566 (GD Catalog Guideline V. 2.0) เพื่อเป็นเครื่องมือในการพิจารณาเลือกใช้สัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูล

ท่านสามารถดาวโหลดเครื่องมือได้ ดังนี้

Data Policy & Guideline Template

2.25 MB 310 Downloads

GD Catalog Tool

144.13 KB 265 Downloads

Data Quality Tool

133.16 KB 244 Downloads

Data Classification Template

622.55 KB 322 Downloads
    มรด. 6 : 2566

    กรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ หรือ DGF Review

    มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนการจัดธรรมภิบาลข้อมูลภายในหน่วยงาน โดยนำหลักการทางทฤษฎีและแนวคิดที่สำคัญจากกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เวอร์ชัน 1.0 มาปรับปรุงเพื่อให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน และเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้งานจากหน่วยงานภาครัฐมากขึ้น โดยยังคงใจความสำคัญของทฤษฎีและหลักการสำคัญไว้ และได้เพิ่มเติมแนวปฏิบัติการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เพื่อช่วยสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐให้สามารถนำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐไปปฏิบัติจริงได้ จึงมุ่งเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐให้กับหน่วยงานภาครัฐ ไปที่กลุ่มผู้ปฏิบัติงานภาครัฐประเภท “กลุ่ม Non-IT” หรือ กลุ่มแผนและนโยบาย ผู้ปฏิบัติงานภาคสนาม นักวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้เข้าใจธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐมากขึ้น และสามารถนำกรอบไปประยุกต์ขับเคลื่อนการจัดธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐภายในหน่วยงาน ให้ข้อมูลมีคุณภาพ สามารถนำไปบูรณาการเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่น (Data integration) เปิดเผยข้อมูลสู่ประชาชน (Open data) และ วิเคราะห์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ (Data analytics) นำไปสู่ การตัดสินใจเชิงนโยบายบนพื้นฐานของข้อมูล บริการที่มีคุณภาพ สะดวกรวดเร็ว และมั่นคงปลอดภัย นวัตกรรมจากข้อมูล เป้าหมายเพื่อ ข้อมูลที่ถูกต้อง ส่งผลต่อความพึงพอใจสำหรับภาคธุรกิจและประชาชน และยกระดับการบริหารงานและการให้บริการประชาชนสำหรับหน่วยงานของรัฐผลต่อเนื่องไปยังการนําข้อมูลไปใช้และส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ใช้ข้อมูลในทุกภาคส่วนต่อเนื่องกันไป

    ในการปรับปรุง มรด. 6 : 2566 ฉบับนี้ได้ดำเนินการเพิ่มเติมคำนิยามสำคัญ เพื่อให้หน่วยงานสามารถศึกษาได้อย่างมีความเข้าใจความหมายมากยิ่งขึ้น เช่น “หน่วยงานของรัฐ” “ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ” “ยุทธศาสตร์ด้านข้อมูล” เป็นต้น และเพิ่มกรณีศึกษาเพื่อเป็นแนวปฏิบัติการขับเคลื่อนธรรมาภิบาลข้อมูล เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานใช้เป็นตัวอย่างและเกิดการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐในระดับหน่วยงานมากยิ่งขึ้น โดย มรด. ฉบับนี้จึงได้แบ่งสาระสำคัญออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย

    ส่วนที่ 1 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล ยังคงเนื้อหาของกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เวอร์ชั่น 1 เป็นหลัก โดยการปรับปรุง แก้ไข ข้อมูลบางส่วนเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น

    ส่วนที่ 2 แนวปฏิบัติ เป็นการจัดทำเนื้อหาขึ้นใหม่ เพื่อเป็นแนวทางในการนำมาตรฐานมาขับเคลื่อนภายในหน่วยงาน ต้องการนำเสนอการทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐให้ใกล้เคียงกับสถานการณ์ในปัจจุบันในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

    การประกาศมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล (มรด.)

    เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2566 รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ และเสนอต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา

    โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศฉบับนี้ได้ที่เว็บไซต์ www.ratchakitcha.soc.go.th หรือที่เว็บไซต์ https://standard.dga.or.th

    เอกสาร มรด. 6 : 2566 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ

    ดาวน์โหลด มรด. 6 : 2566 กรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ

    เอกสารประกอบมาตรฐานฯ

    ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
    ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ30/08/2023
    เอกสารประกอบ มรด. 6 : 2566 ว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ30/08/2023

    เพื่อให้เข้าใจธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐมากขึ้น และสามารถนำกรอบไปประยุกต์ขับเคลื่อนการจัดธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐภายในหน่วยงาน ให้ข้อมูลมีคุณภาพ สามารถนำไปบูรณาการเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่น (Data integration) เปิดเผยข้อมูลสู่ประชาชน (Open data)

    ทำไมภาครัฐควรให้ความสำคัญกับคุณภาพข้อมูล

    โลกในปัจจุบันถูกผลักดันและเติบโตด้วยการขับเคลื่อนของดิจิทัล ข้อมูลกลายเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่ามากที่สุดขององค์กร การประกอบธุรกิจและกระบวนการทำงานต่าง ๆ ของทุกภาคส่วนล้วนพึ่งพา และอาศัยข้อมูลในการสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ประกอบกับกระแสของข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data ที่ทุกภาคส่วนกำลังให้ความสนใจและมีการตื่นตัวเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ เนื่องจากประโยชน์ที่ได้รับจากการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ จะช่วยในการดำเนินงานในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำความเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการในด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น รวมถึงประเทศไทยที่ภาครัฐมีนโยบายที่เตรียมพร้อมเข้าสู่ยุคของการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อประกอบการตัดสินใจ (Data Driven Decision) และการดำเนินงานของหน่วยงาน (Insight to Operation) การวิเคราะห์สถานการณ์ วางแผนยุทธศาสตร์ แก้ไขปัญหา ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน และการให้บริการภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล ดังนั้น เพื่อให้ข้อมูลที่มีอยู่สามารถนำมาวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ได้ หน่วยงานภาครัฐควรตระหนักถึงความสำคัญของการควบคุมและบริหารจัดการคุณภาพข้อมูล และจำเป็นต้องมีการวัดผลการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อให้หน่วยงานของรัฐมีข้อมูลที่มีคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปยังการนําข้อมูลไปใช้และส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ใช้ข้อมูลในทุกภาคส่วนต่อเนื่องกันไป

    หลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลฉบับนี้ จะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐมีความเข้าใจแนวคิดการประเมินคุณภาพข้อมูลที่ถูกต้องตรงกัน และมีเครื่องมือสำหรับการประเมินคุณภาพข้อมูลเบื้องต้นด้วยตนเอง โดยแบ่งออกเป็น แบบตรวจประเมินคุณภาพ (DQA Checklist) เพื่อตรวจสอบกระบวนการเตรียมข้อมูลที่มีคุณภาพ และ แบบประเมินคุณภาพข้อมูลด้วยตนเอง (DQA Self-Assessment) เพื่อวัดผลลัพธ์ข้อมูล (Data Output) ตามมิติคุณภาพข้อมูล รวมทั้งแบบตรวจประเมินการควบคุมและติดตามคุณภาพข้อมูล (Data Quality Monitoring and Control Checklist) ตามกระบวนการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ซึ่งจะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถตรวจสอบและควบคุมการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ และสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ อันจะนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการให้บริการประชาชนต่อไป

    การประกาศมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล (มรด.)

    เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ได้ลงลงนามในประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จำนวน 3 ฉบับ เสนอต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งประกาศฉบับนี้ ประกอบด้วย

    1.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐและแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 2 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 3-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ และ มรด. 3-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ

    2.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 2 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 4-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายการบริหารจัดการข้อมูล และ มรด. 4-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล

    3.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 1 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 5 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ

    โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศฉบับนี้ได้ที่เว็บไซต์ www.ratchakitcha.soc.go.th หรือที่เว็บไซต์ https://standard.dga.or.th

    เอกสารหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ

    มรด. 5 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ

    เอกสารประกอบมาตรฐานฯ

    ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
    ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ24/03/2023
    เอกสารประกอบ มรด. 5 : 2565 ว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ24/03/2023

    Data-driven Organization วัฒนธรรมใหม่ของหน่วยงานภาครัฐ

    เนื่องจากหน่วยงานภาครัฐต้องมีการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการให้บริการประชาชน โดยมุ่งสู่การเป็นหน่วยงานภาครัฐที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล Data-driven Organization ด้วยการมีนโยบาย/แนวปฏิบัติด้านข้อมูลภายในองค์กรเพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการบริหารจัดการข้อมูลของหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้ประโยชน์ข้อมูลได้สูงสุด

    ข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล (Recommendation for Writing Data Management Policy and Guideline) จะเป็นคู่มือการใช้งานเอกสารแม่แบบนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล (Data Management Policy and Guideline Template) เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐใช้เป็นตัวอย่างในการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูลของหน่วยงาน ซึ่งจะเป็นกรอบแนวทางและแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการข้อมูลให้มีความมั่นคงปลอดภัย มีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งเพื่อให้ข้อมูลของหน่วยงานมีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของผู้ใช้งาน และสามารถนำไปบูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    การประกาศมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล (มรด.)

    เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ได้ลงลงนามในประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จำนวน 3 ฉบับ เสนอต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งประกาศฉบับนี้ ประกอบด้วย

    1.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐและแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 2 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 3-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ และ มรด. 3-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ

    2.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 2 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 4-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายการบริหารจัดการข้อมูล และ มรด. 4-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล

    3.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 1 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 5 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ

    โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศฉบับนี้ได้ที่เว็บไซต์ www.ratchakitcha.soc.go.th หรือที่เว็บไซต์ https://standard.dga.or.th

    เอกสารข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล

    มรด. 4-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายการบริหารจัดการข้อมูล

    มรด. 4-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล

    เอกสารประกอบมาตรฐานฯ

    ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
    ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล24/03/2023
    เอกสารประกอบ มรด. 4-1 : 2565 และ มรด. 4-2 : 2565 ว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล24/03/2023
    เอกสารประกอบ มรด. 4-1 : 2565 Data Management Policy Template (word)29/05/2023
    เอกสารประกอบ มรด. 4-2: 2565 Data Management Guideline Template (word)29/05/2023

    ความสำคัญในการจัดระดับชั้นและแบ่งปันข้อมูลภาครัฐบัญชีข้อมูล (Data Catalog) : ทำไมต้องทำ ทำอย่างไร ทำแล้วได้อะไร?

    ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันประเทศไทยมีความตื่นตัวเรื่องข้อมูล อย่างกว้างขวางในทุกภาคส่วน ภาครัฐและภาคเอกชนเริ่มปรับตัวและเตรียมพร้อมเข้าสู่ยุคของการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ จึงมีความต้องการใช้ประโยชน์ข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การเลือกใช้ข้อมูลและการสืบค้นหาแหล่งข้อมูลสำหรับวิเคราะห์หรือให้บริการมีความซับซ้อนและยุ่งยาก อย่างไรก็ดี หน่วยงานภาครัฐยังขาดการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงาน มีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล และผู้ใช้ข้อมูลที่มีอยู่หลากหลายกลุ่มทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม รวมถึงประชาชนทั่วไป ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการจัดทำบัญชีข้อมูลอันประกอบด้วยรายการข้อมูลและคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐให้มีมาตรฐาน มีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาระบบข้อมูลที่สำคัญของภาครัฐเพื่อประโยชน์ในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน และบูรณาการข้อมูลของหน่วยงานของรัฐอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการพัฒนาศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    สำนัการจัดทำบัญชีข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ช่วยให้ผู้ใช้ข้อมูลในหน่วยงานสามารถใช้บริการผ่านระบบสารสนเทศในการสืบค้น ร้องขอ เข้าถึงแหล่งที่มา ทราบถึงประเภท รูปแบบข้อมูล และเพื่อรวบรวมให้เป็นบัญชีข้อมูลภาครัฐหรือ Government Data Catalog : GD Catalog เสมือนสมุดหน้าเหลือง (Yellow Pages) ทำให้ผู้ใช้ข้อมูลสามารถใช้ประโยชน์ข้อมูลสำคัญของภาครัฐทั้งหมดได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อน รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดการติดตามและกำกับดูแลการจัดการข้อมูลตลอดทั้งวงจรชีวิต สามารถบูรณาการ และใช้ประโยชน์ข้อมูลข้ามหน่วยงานได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

    การประกาศมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล (มรด.)

    เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ได้ลงลงนามในประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จำนวน 3 ฉบับ เสนอต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งประกาศฉบับนี้ ประกอบด้วย

    1.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐและแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 2 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 3-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ และ มรด. 3-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ

    2.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 2 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 4-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายการบริหารจัดการข้อมูล และ มรด. 4-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล

    3.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 1 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 5 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ

    โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศฉบับนี้ได้ที่เว็บไซต์ www.ratchakitcha.soc.go.th หรือที่เว็บไซต์ https://standard.dga.or.th

    เอกสารข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐและแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ

    มรด. 3-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ

    มรด. 3-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ

    เอกสารประกอบมาตรฐานฯ

    ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
    ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐและแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ24/03/2023
    เอกสารประกอบ มรด. 3-1 : 2565 และ มรด. 3-2 : 2565 ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐและแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ24/03/2023

    เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ท่านสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องและอำนวยความสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ รวมถึงช่วยให้เราปรับปรุงการนำเสนอเนื้อหาตรงตามความต้องการของท่าน โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ประกาศการใช้คุกกี้ และ ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)

    ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    ยอมรับทั้งหมด
    จัดการความเป็นส่วนตัว
    • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
      เปิดใช้งานตลอด

      คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

    • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

      คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่าข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

    • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

      คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

    • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

      คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

    บันทึกการตั้งค่า