มาตรสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ (มสพร. 6)

20 กันยายน 2567 สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ได้ประกาศมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 6 เรื่อง การรับและจ่ายเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริการภาครัฐ (มสพร. 6-6) เป็นฉบับล่าสุด ซึ่งเป็นฉบับที่ 2 ต่อจาก ส่วนที่ 5 เรื่อง หลักเกณฑ์และการประเมินระดับวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริการภาครัฐ (มสพร. 6-5) ที่ประกาศไปเมื่อ มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา

ซึ่งมาตรฐาน 2 ฉบับที่ประกาศในปีงบประมาณ 2567 ตามข้างต้นนั้น อยู่ภายใต้มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ (มสพร. 6) เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานตามมาตรา 6 และมาตรา 19 แห่ง พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ที่ให้มีการกำหนดวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งรวมถึงมาตรฐาน ที่หน่วยงานของรัฐจะต้องใช้และปฏิบัติให้สอดคล้องกันและเชื่อมโยงถึงกันได้ โดยให้จัดแบ่งวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นระยะเริ่มต้นและระยะต่อ ๆ ไป โดย คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในคราวประชุมเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 จึงจำเป็นต้องพัฒนาแนวปฏิบัติพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดทำกระบวนการและการให้บริการ ในรูปแบบดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐ ให้เป็นไปตามกฎหมาย มาตรฐาน แนวปฏิบัติ แนวทางการดำเนินงาน และ ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้อง

โดยมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (มสพร.) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ (มสพร. 6) ในระยะแรก (2566) ได้มีการประกาศมาตรฐานออกมา ทั้งหมด 4 ส่วน และในระยะต่อมา (2567) ได้มีการประกาศเพิ่มเติม 2 ส่วน โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. ส่วนที่ 1 เรื่อง ภาพรวม (มสพร. 6-1 : 2566) อธิบายภาพรวมของการจัดทำกระบวนการทางดิจิทัลสำหรับการ “ขออนุญาต” หมายความรวมถึง ขอรับใบอนุญาต ขออนุมัติ ขอจดทะเบียน ขอขึ้นทะเบียน ขอแจ้ง ขอจดแจ้ง ขออาชญาบัตร ขอการรับรอง ขอความเห็นชอบ ขอความเห็น ขอให้พิจารณา ขออุทธรณ์ ร้องทุกข์ หรือร้องเรียน ขอให้ดำเนินการ ขอรับเงิน ขอรับสวัสดิการ และขอรับบริการอื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ มิได้ครอบคลุมกระบวนการดำเนินงานอื่นภายในหน่วยงานของรัฐ และข้อมูลทางเทคนิคของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
  2. ส่วนที่ 2 เรื่อง มาตรฐานอ้างอิง (มสพร. 6-2 : 2566) รวบรวมมาตรฐานประเทศที่ภาครัฐสามารถใช้อ้างอิงในการปฏิบัติ หรือจัดทำบริการในรูปแบบดิจิทัล ในระดับ ต่างๆ ซึ่งได้นำเสนอไว้ใน มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ ส่วนที่ 1 ภาพรวม และ ได้ปรับปรุงจากมาตรฐาน สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐภาพรวม (มสพร. 6 2565) เวอร์ชัน 1.0 ทั้งนี้ข้อมูลที่นำเสนอ ในมาตรฐานฉบับนี้ ไม่ครอบคลุม กฎหมาย มาตรฐาน และแนวปฏิบัติ ทั้งหมด ของประเทศไทย และสากล ควรมีการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย และผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการตามรายละเอียดของแนวปฏิบัติฉบับนี้
  3. ส่วนที่ 3 เรื่อง วิธีการระดับเริ่มต้น (มสพร. 6-3 : 2566) เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่มีข้อจำกัดทางด้านบุคลากรและงบประมาณสามารถให้บริการประชาชนด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ซึ่ง มาตรฐานฉบับนี้ จะครอบคลุมการใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (อีเมล) และ สื่อสังคมออนไลน์ (แอปพลิเคชัน LINE Official)
  4. ส่วนที่ 4 เรื่อง วิธีการระดับมาตรฐาน (มสพร. 6-4 : 2566) เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่มีความต้องการที่จะยกระดับการให้บริการประชาชนจากระดับเริ่มต้น มาเป็นในรูปแบบของ e-Service ซึ่งอาจเป็นเว็บแอปพลิเคชัน ( Web Application) หรือ แอปพลิเคชันสำหรับโทรศัพท์มือถือ ( Mobile Application) หรือ บริการภายใต้แพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Service Platform) เช่น บริการในแอปพลิเคชันทางรัฐ เป็นต้น
  5. ส่วนที่ 5 เรื่องหลักเกณฑ์และการประเมินระดับวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริการภาครัฐ (มสพร. 6-5 : 2567) เพื่อตอบสนองความต้องการหน่วยงานในการจัดระดับบริการโดยใช้หลักเกณฑ์และขั้นตอนในการประเมินที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เมื่อมีการจัดทำหรือปรับปรุงบริการโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ระดับต้น ระดับมาตรฐาน และระดับสูงซึ่งมีแนวทางปฏิบัติและการใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดหลักเกณฑ์ให้ชัดเจน เพื่ออำนวยความสะดวกในการประเมินระดับของวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริการด้วยตนเอง (Self-assessment) สามารถทราบความจำเป็นในการยกระดับวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการและเพื่อให้หน่วยงานสามารถวางแผนเตรียมความพร้อม ทั้งด้านงบประมาณและบุคลากรได้ต่อไป
  6. ส่วนที่ 6 เรื่อง การรับและจ่ายเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริการภาครัฐ (มสพร. 6-6 : 2567) เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานของรัฐสามารถยกระดับกระบวนการ การรับ และ จ่ายเงิน ให้เป็นวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามระดับความพร้อมของหน่วยงานได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับกฎ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวปฏิบัติต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาะ และความมั่นคงปลอดภัยในการให้บริการ

การประกาศมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (มสพร. 6-6 : 2567)

เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567 นางไอรดา เหลือวิไล รองผู้อำนวยการ รักษาการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ได้ลงนามในประกาศสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เลขที่ ม 3/2567 เรื่อง มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 6 เรื่อง การรับและจ่ายเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริการภาครัฐ เพื่อประกาศใช้สำหรับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และเป็นการสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ได้นำไปใช้เป็นตัวอย่างหรือแนวปฏิบัติต่อไป

การประกาศมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (มสพร. 6-5 : 2567)

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2567 นางไอรดา เหลือวิไล รองผู้อำนวยการ รักษาการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ได้ลงนามในประกาศสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เลขที่ ม 2/2567 เรื่อง มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 5 เรื่อง หลักเกณฑ์และการประเมินระดับวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริการภาครัฐ เพื่อประกาศใช้สำหรับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และเป็นการสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ได้นำไปใช้เป็นตัวอย่างหรือแนวปฏิบัติต่อไป

การประกาศมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (มสพร. 6-1 : 2566 ถึง มสพร. 6-4 : 2566)

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566 นายสุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)  ได้ลงนามในประกาศสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เลขที่ ม 3/2566 เรื่อง มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ(GUIDELINES FOR DIGITAL GOVERNMENT PROCESS) เพื่อประกาศใช้สำหรับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และเป็นการสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ได้นำไปใช้เป็นตัวอย่างหรือแนวปฏิบัติต่อไป ซึ่งประกอบด้วยมาตรฐานจำนวน 4 ฉบับ มสพร. 6-1 : 2566, มสพร. 6-2 : 2566, มสพร. 6-3 : 2566 และ มสพร. 6-4 : 2566

เอกสารมาตรฐานฯ

ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
ประกาศ สพร. 3/2566 มสพร.ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ22/08/2566
เอกสารประกอบ มสพร. 6-2566 ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ22/08/2566
มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการ
ทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 1 เรื่อง ภาพรวม เลขที่ มสพร. 6-1 : 2566
22/08/2566
มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการ
ทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 2 เรื่อง มาตรฐานอ้างอิง เลขที่ มสพร. 6-2 : 2566
22/08/2566
มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการ
ทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 3 เรื่อง วิธีการระดับเริ่มต้น เลขที่ มสพร. 6-3 : 2566
22/08/2566
มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการ
ทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 4 เรื่อง วิธีการระดับมาตรฐาน เลขที่ มสพร. 6-4 : 2566
22/08/2566
ประกาศ สพร 2/2567 มสพร.ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 5 เรื่อง หลักเกณฑ์และการประเมินระดับวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริการภาครัฐ เลขที่ มสพร. 6-5 : 256707/06/2567
มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการ
ทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 5 เรื่อง หลักเกณฑ์และการประเมินระดับวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับบริการภาครัฐ เลขที่ มสพร. 6-5 : 2567
07/06/2567
เครื่องมือแบบประเมินด้วยตนเอง(Self-assessment) สำหรับใช้ร่วมกับ มสพร. 6-5 : 256707/06/2567
มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการ
ทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 6 เรื่อง การรับและจ่ายเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริการภาครัฐ เลขที่ มสพร. 6-6 : 2567
20/09/2567
เอกสารประกอบ มสพร. 6-6 : 2567 20/09/2567

มาตรสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวแฏิบัติกระการทางดิจิทัลภาครัฐ (มสพร. 6)

ด้วยมาตรา 6 และ มาตรา 19 แห่ง พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ให้มีการกำหนดวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งรวมถึงมาตรฐาน ที่หน่วยงานของ รัฐจะต้องใช้และปฏิบัติให้สอดคล้องกันและเชื่อมโยงถึงกันได้ โดยให้จัดแบ่งวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นระยะ เริ่มต้นและระยะต่อ ๆ ไป ซึ่ง คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในคราวประชุมเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 จึงจำเป็นต้องพัฒนาแนวปฏิบัติพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดทำกระบวนการและการให้บริการ ในรูปแบบดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐ ให้เป็นไปตามกฎหมาย มาตรฐาน แนวปฏิบัติ แนวทางการดำเนินงาน และ ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้อง โดยมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (มสพร.) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ (มสพร. 6) ในระยะแรก (2566) ได้มีการประกาศมาตรฐานออกมา ทั้งหมด 4 ส่วน โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. ส่วนที่ 1 เรื่องภาพรวม (มสพร. 6-1 : 2566) อธิบายภาพรวมของการจัดทำกระบวนการทางดิจิทัลสำหรับการ “ขออนุญาต” หมายความรวมถึง ขอรับใบอนุญาต ขออนุมัติ ขอจดทะเบียน ขอขึ้นทะเบียน ขอแจ้ง ขอจดแจ้ง ขออาชญาบัตร ขอการรับรอง ขอความเห็นชอบ ขอความเห็น ขอให้พิจารณา ขออุทธรณ์ ร้องทุกข์ หรือร้องเรียน ขอให้ดำเนินการ ขอรับเงิน ขอรับสวัสดิการ และขอรับบริการอื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ มิได้ครอบคลุมกระบวนการดำเนินงานอื่นภายในหน่วยงานของรัฐ และข้อมูลทางเทคนิคของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
  2. ส่วนที่ 2 เรื่องมาตรฐานอ้างอิง (มสพร. 6-2 : 2566) รวบรวมมาตรฐานประเทศที่ภาครัฐสามารถใช้อ้างอิงในการปฏิบัติ หรือจัดทำบริการในรูปแบบดิจิทัล ในระดับ ต่างๆ ซึ่งได้นำเสนอไว้ใน มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ ส่วนที่ 1 ภาพรวม และ ได้ปรับปรุงจากมาตรฐาน สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐภาพรวม (มสพร. 6 2565) เวอร์ชัน 1.0 ทั้งนี้ข้อมูลที่นำเสนอ ในมาตรฐานฉบับนี้ ไม่ครอบคลุม กฎหมาย มาตรฐาน และแนวปฏิบัติ ทั้งหมด ของประเทศไทย และสากล ควรมีการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย และผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการตามรายละเอียดของแนวปฏิบัติฉบับนี้
  3. ส่วนที่ 3 เรื่องวิธีการระดับเริ่มต้น (มสพร. 6-3 : 2566) เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่มีข้อจำกัดทางด้านบุคลากรและงบประมาณสามารถให้บริการประชาชนด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ซึ่ง มาตรฐานฉบับนี้ จะครอบคลุมการใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (อีเมล) และ สื่อสังคมออนไลน์ (แอปพลิเคชัน LINE Official)
  4. ส่วนที่ 4 เรื่องวิธีการระดับมาตรฐาน (มสพร. 6-4 : 2566) เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่มีความต้องการที่จะยกระดับการให้บริการประชาชนจากระดับเริ่มต้น มาเป็นในรูปแบบของ e-Service ซึ่งอาจเป็นเว็บแอปพลิเคชัน ( Web Application) หรือ แอปพลิเคชันสำหรับโทรศัพท์มือถือ ( Mobile Application) หรือ บริการภายใต้แพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Service Platform) เช่น บริการในแอปพลิเคชันทางรัฐ เป็นต้น

การประกาศมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (มสพร. 6-1 : 2566 ถึง มสพร. 6-4 : 2566)

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566 นายสุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)  ได้ลงนามในประกาศสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เลขที่ ม 3/2566 เรื่อง มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ(GUIDELINES FOR DIGITAL GOVERNMENT PROCESS) เพื่อประกาศใช้สำหรับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และเป็นการสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ได้นำไปใช้เป็นตัวอย่างหรือแนวปฏิบัติต่อไป

เอกสารมาตรฐานฯ

ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
ประกาศ สพร. 3/2566 มสพร.ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ22/08/2566
เอกสารประกอบ มสพร. 6-2566 ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ22/08/2566
มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการ
ทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 1 เรื่อง ภาพรวม เลขที่ มสพร. 6-1 : 2566
22/08/2566
มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการ
ทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 2 เรื่อง มาตรฐานอ้างอิง เลขที่ มสพร. 6-2 : 2566
22/08/2566
มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการ
ทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 3 เรื่อง วิธีการระดับเริ่มต้น เลขที่ มสพร. 6-3 : 2566
22/08/2566
มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการ
ทางดิจิทัลภาครัฐ – ส่วนที่ 4 เรื่อง วิธีการระดับมาตรฐาน เลขที่ มสพร. 6-4 : 2566
22/08/2566

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ท่านสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องและอำนวยความสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ รวมถึงช่วยให้เราปรับปรุงการนำเสนอเนื้อหาตรงตามความต้องการของท่าน โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ประกาศการใช้คุกกี้ และ ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่าข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า