กรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ หรือ DGF Review

มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนการจัดธรรมภิบาลข้อมูลภายในหน่วยงาน โดยนำหลักการทางทฤษฎีและแนวคิดที่สำคัญจากกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เวอร์ชัน 1.0 มาปรับปรุงเพื่อให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน และเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้งานจากหน่วยงานภาครัฐมากขึ้น โดยยังคงใจความสำคัญของทฤษฎีและหลักการสำคัญไว้ และได้เพิ่มเติมแนวปฏิบัติการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เพื่อช่วยสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐให้สามารถนำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐไปปฏิบัติจริงได้ จึงมุ่งเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐให้กับหน่วยงานภาครัฐ ไปที่กลุ่มผู้ปฏิบัติงานภาครัฐประเภท “กลุ่ม Non-IT” หรือ กลุ่มแผนและนโยบาย ผู้ปฏิบัติงานภาคสนาม นักวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้เข้าใจธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐมากขึ้น และสามารถนำกรอบไปประยุกต์ขับเคลื่อนการจัดธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐภายในหน่วยงาน ให้ข้อมูลมีคุณภาพ สามารถนำไปบูรณาการเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่น (Data integration) เปิดเผยข้อมูลสู่ประชาชน (Open data) และ วิเคราะห์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ (Data analytics) นำไปสู่ การตัดสินใจเชิงนโยบายบนพื้นฐานของข้อมูล บริการที่มีคุณภาพ สะดวกรวดเร็ว และมั่นคงปลอดภัย นวัตกรรมจากข้อมูล เป้าหมายเพื่อ ข้อมูลที่ถูกต้อง ส่งผลต่อความพึงพอใจสำหรับภาคธุรกิจและประชาชน และยกระดับการบริหารงานและการให้บริการประชาชนสำหรับหน่วยงานของรัฐผลต่อเนื่องไปยังการนําข้อมูลไปใช้และส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ใช้ข้อมูลในทุกภาคส่วนต่อเนื่องกันไป

ในการปรับปรุง มรด. 6 : 2566 ฉบับนี้ได้ดำเนินการเพิ่มเติมคำนิยามสำคัญ เพื่อให้หน่วยงานสามารถศึกษาได้อย่างมีความเข้าใจความหมายมากยิ่งขึ้น เช่น “หน่วยงานของรัฐ” “ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ” “ยุทธศาสตร์ด้านข้อมูล” เป็นต้น และเพิ่มกรณีศึกษาเพื่อเป็นแนวปฏิบัติการขับเคลื่อนธรรมาภิบาลข้อมูล เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานใช้เป็นตัวอย่างและเกิดการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐในระดับหน่วยงานมากยิ่งขึ้น โดย มรด. ฉบับนี้จึงได้แบ่งสาระสำคัญออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย

ส่วนที่ 1 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล ยังคงเนื้อหาของกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เวอร์ชั่น 1 เป็นหลัก โดยการปรับปรุง แก้ไข ข้อมูลบางส่วนเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น

ส่วนที่ 2 แนวปฏิบัติ เป็นการจัดทำเนื้อหาขึ้นใหม่ เพื่อเป็นแนวทางในการนำมาตรฐานมาขับเคลื่อนภายในหน่วยงาน ต้องการนำเสนอการทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐให้ใกล้เคียงกับสถานการณ์ในปัจจุบันในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

การประกาศมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล (มรด.)

เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2566 รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ และเสนอต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา

โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศฉบับนี้ได้ที่เว็บไซต์ www.ratchakitcha.soc.go.th หรือที่เว็บไซต์ https://standard.dga.or.th

เอกสารหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ

เอกสารประกอบมาตรฐานฯ

ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ30/08/2023
เอกสารประกอบ มรด. 6 : 2566 ว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ30/08/2023

ทำไมภาครัฐควรให้ความสำคัญกับคุณภาพข้อมูล

โลกในปัจจุบันถูกผลักดันและเติบโตด้วยการขับเคลื่อนของดิจิทัล ข้อมูลกลายเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่ามากที่สุดขององค์กร การประกอบธุรกิจและกระบวนการทำงานต่าง ๆ ของทุกภาคส่วนล้วนพึ่งพา และอาศัยข้อมูลในการสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ประกอบกับกระแสของข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data ที่ทุกภาคส่วนกำลังให้ความสนใจและมีการตื่นตัวเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ เนื่องจากประโยชน์ที่ได้รับจากการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ จะช่วยในการดำเนินงานในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำความเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการในด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น รวมถึงประเทศไทยที่ภาครัฐมีนโยบายที่เตรียมพร้อมเข้าสู่ยุคของการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อประกอบการตัดสินใจ (Data Driven Decision) และการดำเนินงานของหน่วยงาน (Insight to Operation) การวิเคราะห์สถานการณ์ วางแผนยุทธศาสตร์ แก้ไขปัญหา ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน และการให้บริการภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล ดังนั้น เพื่อให้ข้อมูลที่มีอยู่สามารถนำมาวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ได้ หน่วยงานภาครัฐควรตระหนักถึงความสำคัญของการควบคุมและบริหารจัดการคุณภาพข้อมูล และจำเป็นต้องมีการวัดผลการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อให้หน่วยงานของรัฐมีข้อมูลที่มีคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปยังการนําข้อมูลไปใช้และส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ใช้ข้อมูลในทุกภาคส่วนต่อเนื่องกันไป

หลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลฉบับนี้ จะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐมีความเข้าใจแนวคิดการประเมินคุณภาพข้อมูลที่ถูกต้องตรงกัน และมีเครื่องมือสำหรับการประเมินคุณภาพข้อมูลเบื้องต้นด้วยตนเอง โดยแบ่งออกเป็น แบบตรวจประเมินคุณภาพ (DQA Checklist) เพื่อตรวจสอบกระบวนการเตรียมข้อมูลที่มีคุณภาพ และ แบบประเมินคุณภาพข้อมูลด้วยตนเอง (DQA Self-Assessment) เพื่อวัดผลลัพธ์ข้อมูล (Data Output) ตามมิติคุณภาพข้อมูล รวมทั้งแบบตรวจประเมินการควบคุมและติดตามคุณภาพข้อมูล (Data Quality Monitoring and Control Checklist) ตามกระบวนการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ซึ่งจะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถตรวจสอบและควบคุมการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ และสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ อันจะนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการให้บริการประชาชนต่อไป

การประกาศมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล (มรด.)

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ได้ลงลงนามในประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จำนวน 3 ฉบับ เสนอต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งประกาศฉบับนี้ ประกอบด้วย

1.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐและแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 2 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 3-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ และ มรด. 3-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ

2.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 2 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 4-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายการบริหารจัดการข้อมูล และ มรด. 4-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล

3.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 1 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 5 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ

โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศฉบับนี้ได้ที่เว็บไซต์ www.ratchakitcha.soc.go.th หรือที่เว็บไซต์ https://standard.dga.or.th

เอกสารหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ

มรด. 5 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ

เอกสารประกอบมาตรฐานฯ

ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ24/03/2023
เอกสารประกอบ มรด. 5 : 2565 ว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ24/03/2023

Data-driven Organization วัฒนธรรมใหม่ของหน่วยงานภาครัฐ

เนื่องจากหน่วยงานภาครัฐต้องมีการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการให้บริการประชาชน โดยมุ่งสู่การเป็นหน่วยงานภาครัฐที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล Data-driven Organization ด้วยการมีนโยบาย/แนวปฏิบัติด้านข้อมูลภายในองค์กรเพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการบริหารจัดการข้อมูลของหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้ประโยชน์ข้อมูลได้สูงสุด

ข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล (Recommendation for Writing Data Management Policy and Guideline) จะเป็นคู่มือการใช้งานเอกสารแม่แบบนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล (Data Management Policy and Guideline Template) เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐใช้เป็นตัวอย่างในการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูลของหน่วยงาน ซึ่งจะเป็นกรอบแนวทางและแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการข้อมูลให้มีความมั่นคงปลอดภัย มีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งเพื่อให้ข้อมูลของหน่วยงานมีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของผู้ใช้งาน และสามารถนำไปบูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การประกาศมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล (มรด.)

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ได้ลงลงนามในประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จำนวน 3 ฉบับ เสนอต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งประกาศฉบับนี้ ประกอบด้วย

1.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐและแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 2 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 3-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ และ มรด. 3-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ

2.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 2 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 4-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายการบริหารจัดการข้อมูล และ มรด. 4-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล

3.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 1 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 5 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ

โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศฉบับนี้ได้ที่เว็บไซต์ www.ratchakitcha.soc.go.th หรือที่เว็บไซต์ https://standard.dga.or.th

เอกสารข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล

มรด. 4-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายการบริหารจัดการข้อมูล

มรด. 4-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล

เอกสารประกอบมาตรฐานฯ

ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล24/03/2023
เอกสารประกอบ มรด. 4-1 : 2565 และ มรด. 4-2 : 2565 ว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล24/03/2023
เอกสารประกอบ มรด. 4-1 : 2565 Data Management Policy Template (word)29/05/2023
เอกสารประกอบ มรด. 4-2: 2565 Data Management Guideline Template (word)29/05/2023

ความสำคัญในการจัดระดับชั้นและแบ่งปันข้อมูลภาครัฐบัญชีข้อมูล (Data Catalog) : ทำไมต้องทำ ทำอย่างไร ทำแล้วได้อะไร?

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันประเทศไทยมีความตื่นตัวเรื่องข้อมูล อย่างกว้างขวางในทุกภาคส่วน ภาครัฐและภาคเอกชนเริ่มปรับตัวและเตรียมพร้อมเข้าสู่ยุคของการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ จึงมีความต้องการใช้ประโยชน์ข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การเลือกใช้ข้อมูลและการสืบค้นหาแหล่งข้อมูลสำหรับวิเคราะห์หรือให้บริการมีความซับซ้อนและยุ่งยาก อย่างไรก็ดี หน่วยงานภาครัฐยังขาดการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงาน มีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล และผู้ใช้ข้อมูลที่มีอยู่หลากหลายกลุ่มทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม รวมถึงประชาชนทั่วไป ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการจัดทำบัญชีข้อมูลอันประกอบด้วยรายการข้อมูลและคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐให้มีมาตรฐาน มีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาระบบข้อมูลที่สำคัญของภาครัฐเพื่อประโยชน์ในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน และบูรณาการข้อมูลของหน่วยงานของรัฐอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการพัฒนาศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำนัการจัดทำบัญชีข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ช่วยให้ผู้ใช้ข้อมูลในหน่วยงานสามารถใช้บริการผ่านระบบสารสนเทศในการสืบค้น ร้องขอ เข้าถึงแหล่งที่มา ทราบถึงประเภท รูปแบบข้อมูล และเพื่อรวบรวมให้เป็นบัญชีข้อมูลภาครัฐหรือ Government Data Catalog : GD Catalog เสมือนสมุดหน้าเหลือง (Yellow Pages) ทำให้ผู้ใช้ข้อมูลสามารถใช้ประโยชน์ข้อมูลสำคัญของภาครัฐทั้งหมดได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อน รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดการติดตามและกำกับดูแลการจัดการข้อมูลตลอดทั้งวงจรชีวิต สามารถบูรณาการ และใช้ประโยชน์ข้อมูลข้ามหน่วยงานได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

การประกาศมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล (มรด.)

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ได้ลงลงนามในประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จำนวน 3 ฉบับ เสนอต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งประกาศฉบับนี้ ประกอบด้วย

1.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐและแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 2 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 3-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ และ มรด. 3-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ

2.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 2 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 4-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายการบริหารจัดการข้อมูล และ มรด. 4-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล

3.) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ ฯ มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล 1 ฉบับ ประกอบด้วย มรด. 5 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ

โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศฉบับนี้ได้ที่เว็บไซต์ www.ratchakitcha.soc.go.th หรือที่เว็บไซต์ https://standard.dga.or.th

เอกสารข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐและแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ

มรด. 3-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ

มรด. 3-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ

เอกสารประกอบมาตรฐานฯ

ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐและแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ24/03/2023
เอกสารประกอบ มรด. 3-1 : 2565 และ มรด. 3-2 : 2565 ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐและแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ24/03/2023
ความสำคัญของ Digital ID ถามตอบ ความเป็นมาของการพัฒนามาตรฐาน Digital ID การประกาศในราชกิจจานุเบกษา ไฟล์เอกสาร

ถาม ตอบ ดิจิทัลไอดี
ถาม ตอบ ดิจิทัลไอดี

ความสำคัญของ Digital ID

          ประเทศไทยสามารถรับมือกับสถานการณ์โควิด-๑๙ (Covid-19) ได้เป็นอย่างดีจากความสามารถในการปรับตัวของคนไทยทุกคน หน่วยงานรัฐจำเป็นที่จะต้องหาช่องทางอำนวยความสะดวกในการทำงานให้ประชาชน เร่งรัดการทำงานให้เข้ากับวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ติดต่อกันทางออนไลน์ได้สะดวกและรวดเร็ว ดังนั้น หน่วยงานรัฐจึงต้องมีการให้บริการออนไลน์เพิ่มขึ้น โดยก่อนที่จะเข้าถึงบริการออนไลน์ ประชาชนต้องทำการพิสูจน์และยืนยันตัวตนเพื่อเข้าใช้บริการก่อน ซึ่งการที่หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานมีการจัดทำขั้นตอน และวิธีการพิสูจน์และยืนยันตัวตน เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำให้ประชาชนเข้าใจและตอบรับการเปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย และ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้งานอย่างเหมาะสม มีความมั่นคงปลอดภัยในการดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน สร้างความมั่นใจและทำให้ประชาชนติดต่อกับภาครัฐทางออนไลน์ได้สะดวกยิ่งขึ้น

ความเป็นมาของการพัฒนามาตรฐาน Digital ID

          ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒ ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการบริหารงานและการจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบและช่องทางดิจิทัล โดยมีการบริหารจัดการและการบูรณาการข้อมูลภาครัฐและการทำงานให้มีความสอดคล้องกันและเชื่อมโยง เข้าด้วยกันอย่างมั่นคงปลอดภัย โดยที่มาตรา ๑๒ (๒) กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดทำกระบวนการ หรือการดำเนินงานทางดิจิทัลนั้นต้องทำงานร่วมกันได้ ประกอบมาตรา ๑๒ (๔) จัดให้มีระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลเพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกในการบริการประชาชน ซึ่งมีมาตรฐานและแนวทางที่สอดคล้องกันตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด

          โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. มีหน้าที่อำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลมอบหมายให้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานและหลักเกณฑ์การจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล ว่าด้วยเรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทยโดยมีการดำเนินงานตามกระบวนการมาอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

  • กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ร่างมาตรฐานฯ (Final Draft National Standard : FDNS1) ผ่านความเห็นชอบคณะอนุกรรมการสถาปัตยกรรมและมาตรฐานการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
  • พฤษภาคม ๒๕๖๔ ร่างมาตรฐานฯ (Final Draft National Standard : FDNS2) ผ่านความเห็นชอบคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
  • กันยายน ๒๕๖๔ รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย ได้ลงลงนามในประกาศมาตรฐานและหลักเกณฑ์การจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัลว่าด้วยเรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๔

การประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ราชกิจจานุเบกษา ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัลว่าด้วยเรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย รายละเอียดตามเอกสารแนบ

เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๔ รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ได้ลงลงนามในประกาศมาตรฐานและหลักเกณฑ์การจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัลฯ เสนอต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา ซึ่งประกาศฉบับนี้ ประกอบด้วย

๑. มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล [มรด. ๑-๑ : ๒๕๖๔] [DGS 1-1 : 2564] ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวนกาและการดำเนินงานทางดิจิทัล เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ – ภาพรวม (เวอร์ชั่น ๑.๐)
DIGITALIZATION : DIGITAL ID – OVERVIEW(version 1.0)

๒. มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล [มรด. ๑-๒ : ๒๕๖๔] [DGS 1-2 : 2564] ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ – การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลสำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย (เวอร์ชั่น ๑.๐)
DIGITALIZATION : DIGITAL ID – IDENTITY PROOFING AND AUTHENTICATION(version 1.0)


          โดยมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ทั้ง ๒ ฉบับนี้ ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวณการและการดำเนินงานทางดิจิทัลสำหรับระบบที่ให้บริการภาครัฐ อธิบายถึงภาพรวม ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ของการใช้งานดิจิทัลไอดีเกี่ยวกับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลสำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย เกี่ยวกับระบบการให้บริการภาครัฐตามกลุ่มการให้บริการ ที่จะต้องคำนึงถึงความมั่นคงปลอดภัยในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ซึ่งพิจารณาจากระดับความเข้มงวดในกระบวนการพิสูจน์ตัวตนหรือระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี (Identity Assurance Level : IAL) และระดับความเข้มงวดในกระบวนการยืนยันตัวตนหรือระดับความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน (Authenticator Assurance Level : AAL) เพื่อช่วยลดโอกาสของการพิสูจน์และยืนยันตัวตนผิดพลาดสำหรับประกอบการบริหารจัดการความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในแต่ละกลุ่มการให้บริการภาครัฐ ซึ่งประกอบด้วย

๑) กลุ่มการให้บริการข้อมูลพื้นฐำน (Emerging Services) คือ การให้บริการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทั่วไป

๒) กลุ่มการให้บริการข้อมูลที่มีการปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการ (Enhanced Services) คือ การให้บริการข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานของรัฐในรูปแบบการสื่อสารทางเดียวหรือสองทางกับผู้ใช้บริการ เช่น การรับแจ้งเรื่องร้องเรียน ข้อเสนอแนะ หรือแสดงความคิดเห็น ผ่านทางเว็บไซต์หรือช่องทางให้บริการข่าวสารข้อมูลอื่น

๓) กลุ่มการให้บริการธุรกรรม (Transactional Services) การให้บริการธุรกรรมของหน่วยงานของรัฐซึ่งมีผลผูกพันทางกฎหมาย เช่น การอนุญาต การจดทะเบียน หรือการดาเนินการใด ๆ กับหน่วยงานของรัฐ

๔) กลุ่มการให้บริการธุรกรรมที่เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน (Connected Services) คือ การให้บริการธุรกรรมที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานเข้าด้วยกัน และมีผลผูกพันทางกฎหมาย เช่น การขอรับบริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว

          อย่างไรก็ตาม ในบทเฉพาะกาลของประกาศฉบับนี้ได้กำหนดมิให้มาตรฐานฉบับนี้กับกับผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน ผู้ให้บริการภาครัฐ และแหล่งให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ จนกว่าพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศฉบับนี้ได้ที่เว็บไซต์ www.ratchakitcha.soc.go.th หรือที่เว็บไซต์ www.dga.or.th  

เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้หน่วยงานภาครัฐสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานดังกล่าว สพร. จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาเครื่องมือประมวลผลอัตโนมัติสำหรับการประเมินความเสี่ยงเพื่อใช้พิสูจน์และยืนยันตัวตน สำหรับบริการภาครัฐ (Assessment Tool for Government Digital ID) โดยผลลัพธ์จากการประมวลผลอัตโนมัติจะแนะนำระดับความน่าเชื่อถือที่เหมาะสม ว่าบริการที่ได้ประเมินความเสี่ยงด้วยเครื่องมือฯ ควรจะกำหนดระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี (Identity Assurance Level: IAL) และระดับความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน (Authenticator Assurance Level: AAL) อยู่ในระดับใด อนึ่ง วิธีการ ขั้นตอน และข้อกำหนดแต่ละระดับความน่าเชื่อถือ ท่านสามารถศึกษาได้จากมาตรฐานฯ ข้างต้น

เครื่องมือประมวลอัตโนมัติสำหรับการประเมินความเสี่ยงเพื่อใช้ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน สำหรับบริการภาครัฐ (Assessment Tool for Government Digital ID) พร้อมคู่มือ

ไฟล์เอกสาร

ราชกิจจานุเบกษา_ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัลว่าด้วยเรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย

17/10/2564
315

[มรด. ๑-๑ : ๒๕๖๔] [DGS 1-1 : 2564] ประกาศเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2564 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ – ภาพรวม (เวอร์ชั่น ๑.๐) DIGITALIZATION : DIGITAL ID – OVERVIEW (version 1.0)

18/10/2564
312

[มรด. ๑-๒ : ๒๕๖๔] [DGS 1-2 : 2564] ประกาศเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2564 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ – การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลสำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย (เวอร์ชั่น ๑.๐) DIGITALIZATION : DIGITAL ID – IDENTITY PROOFING AND AUTHENTICATION (version 1.0)

18/10/2564
246

มาตรฐานและหลักเกณฑ์การจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัลว่าด้วยเรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย (Digital ID)(มรด.1-1:2564 และ มรด. 1-2:2564)

15/09/2564
2895

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ท่านสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องและอำนวยความสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ รวมถึงช่วยให้เราปรับปรุงการนำเสนอเนื้อหาตรงตามความต้องการของท่าน โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ประกาศการใช้คุกกี้ และ ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่าข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า