มสพร-12

มาตรฐานสํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล เรื่อง ข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

     มาตรฐานนี้กล่าวถึงข้อกำหนดของชื่อข้อมูลและโครงสร้างข้อมูล สำหรับใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (Land and Building Tax) ระหว่างหน่วยงาน โดยมาตรฐานแต่ละเรื่องจะประกอบด้วยชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลแต่ละชนิดจะมีไฟล์สคีมา XSD และ ตัวอย่างข้อมูลในรูปแบบ XML และ JSON ตัวอย่างข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เช่น ข้อมูลประเมินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ข้อมูลผู้ถือกรรมสิทธิ์ ข้อมูลการชําระภาษี ข้อมูลประเภทเอกสารสิทธิ ข้อมูลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเอกสารสิทธิ ข้อมูลภาษีห้องชุด ฯลฯ มาตรฐานชุดนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้หน่วยงานสามารถนำไปใช้ในการออกแบบ Web Application Programming Interface (Web API) ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ภายใต้ชื่อฟิลด์ข้อมูลและโครงสร้างข้อมูลแบบเดียวกัน

การประกาศมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (มสพร.)

   เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 นางไอรดา เหลืองวิไล รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ได้ลงนามในประกาศสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เลขที่ ม 1/2567 เรื่อง มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ด้านความหมายข้อมูล เรื่องข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (THAILAND GOVERNMENT INFORMATION EXCHANGE STANDARD, SERIES: SEMANTIC, PART 4: LAND AND BUILDING TAX DATA) เพื่อยึดถือเป็นทางปฏิบัติภายในสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และเป็นข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงานรัฐต่อไป

เอกสารมาตรฐาน TGIX Semantic เรื่องข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

เอกสารประกอบมาตรฐานฯ

ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
ประกาศ มสพร. ม 1/2567 ว่าด้วยมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล เรื่องข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง06/03/2024
มสพร. 12-2567 มาตรฐานสํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล เรื่องข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง06/03/2024
สรุปมาตรฐาน มสพร. 12-2567 มาตรฐานสํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล เรื่องข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง06/03/2024
ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ เอกสารและไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล เรื่องข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คืออะไร

     มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (Thailand Government Information Exchange: TGIX) ประกอบด้วย กลุ่มมาตรฐานด้านการเชื่อมโยงข้อมูล (Linkage Standards) และกลุ่มมาตรฐานด้านความหมายข้อมูล (Semantic Standards) โดยมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (Land and Building Tax) จัดอยู่ในกลุ่มมาตรฐานด้านความหมายข้อมูล ข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (Land and Building Tax) เป็นกลุ่มข้อมูลขยาย (Extend Data) ที่บ่งบอกถึงปีภาษีที่ดิน ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน ที่ตั้งเอกสารสิทธิที่ดิน จำนวนภาษีที่ดินที่ต้องชำระ และมีการอ้างอิงถึงมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (มสพร.) ที่ประกาศไปก่อนหน้า เช่น ข้อมูลบุคคล ข้อมูลนิติบุคคล และข้อมูลสถานที่-ที่อยู่ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการพัฒนามาตรฐานข้อมูลที่ดินและสิ่งปลูกสร้างขึ้น เพื่อนำไปใช้ร่วมกับข้อมูลด้านอื่นต่อไป

    เพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกันในการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้อ้างอิงแนวทางในการพัฒนาตามมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วย กรอบแนวทางการพัฒนามาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ทางสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ซึ่งมีหน้าที่อำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติงานในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จึงขอความอนุเคราะห์ท่านร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างมาตรฐานดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและปรับปรุงต่อไป โดยสามารถตอบแบบแสดงความคิดเห็นกลับมาภายใน วันจันทร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2567

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ

    ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ในมาตรา 13 ระบุว่า   เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินและการให้บริการประชาชน ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลที่มีการจัดทำและครอบครองตามที่หน่วยงานของรัฐแห่งอื่นร้องขอ ที่จะเกิดการบูรณาการร่วมกัน และ มาตรา 15 ระบุว่า ให้มีศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลและทะเบียนดิจิทัลระหว่างหน่วยงานของรัฐ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในการให้บริการประชาชนผ่านระบบดิจิทัล และดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้

    (1) กำหนดนโยบายและมาตรฐานเกี่ยวกับการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลให้ความเห็นชอบ
    (2) ประสานและให้ความช่วยเหลือแก่หน่วยงานของรัฐในการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลระหว่างกัน รวมทั้งกำกับติดตามให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปในแนวทางและมาตรฐานเดียวกันตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด
    (3) จัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐ และจัดเก็บบันทึกหลักฐานของการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัล
    (4) เรื่องอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลมอบหมาย

เอกสารและไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

เอกสาร และไฟล์ประเภทวันที่นำเข้าดาวน์โหลด
1. ร่างมาตรฐานฯ ด้านความหมายข้อมูล เรื่องข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง20/12/2566
2. ไฟล์ประกอบมาตรฐาน (XSD, XML, JSON)20/12/2566
3. คำชี้แจงการสำรวจความคิดเห็นและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล20/12/2566
4. แบบสำรวจความเห็นต่อ (ร่าง) มาตรฐานฯ ด้านความหมายข้อมูล เรื่องข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง20/12/2566
5. แบบสำรวจความเห็นต่อ (ร่าง) มาตรฐานฯ ด้านความหมายข้อมูล เรื่องข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ออนไลน์)20/12/2566
6. กำหนดการประชาพิจารณ์20/12/2566
7. แบบตอบรับลงทะเบียนเข้าร่วมงาน (ออนไลน์)20/12/2566
8. ลิงก์เข้าร่วมงาน (MSTeams Conference)20/12/2566
9.เอกสารนำเสนอสำหรับงานรับฟังความคิดเห็นฯ_(สำหรับเผยแพร่)10/01/2567
10.เอกสารนำเสนอของกรมที่ดิน สำนักงานรับฟังความคิดเห็นฯ_(สำหรับเผยแพร่)10/01/2567

มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล เรื่องข้อมูลสถานที่-ที่อยู่ และ ข้อมูลสถานที่-ภูมิสารสนเทศ คืออะไร

มาตรฐานทั้งสองชุดนี้กล่าวถึงข้อกำหนดของชื่อข้อมูลและโครงสร้างข้อมูล สำหรับใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลพื้นฐานของที่อยู่ (Address) และภูมิสารสนเทศ (Geospatial) ระหว่างหน่วยงาน โดยมาตรฐานแต่ละเรื่องจะประกอบด้วยชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลแต่ละชนิดจะมีไฟล์สคีมา XSD และ ตัวอย่างข้อมูลในรูปแบบ XML และ JSON ตัวอย่างข้อมูลสถานที่-ที่อยู่ เช่น ข้อมูลที่อยู่ ข้อมูลจังหวัด ข้อมูลอำเภอ ข้อมูลตำบล ข้อมูลถนน ข้อมูลรหัสไปรษณีย์ ฯลฯ ตัวอย่างข้อมูลสถานที่-ภูมิสารสนเทศ เช่น ข้อมูลพอยท์ ข้อมูลไลน์สตริง ข้อมูลโพลิกอน ฯลฯ มาตรฐานชุดนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้หน่วยงานสามารถนำไปใช้ในการออกแบบ Web Application Programming Interface (Web API) ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายใต้ชื่อฟิลด์ข้อมูลและโครงสร้างข้อมูลแบบเดียวกัน

การประกาศมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (มสพร.)

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 นายสุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)  ได้ลงนามในประกาศสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เลขที่ ม 1/2566 เรื่อง มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐด้านความหมายข้อมูล เรื่อง ข้อมูล สถานที่-ที่อยู่ (THAILAND GOVERNMENT INFORMATION EXCHANGE STANDARD, SERIES: SEMANTIC, PART 3-1: LOCATION- ADDRESS DATA) (มสพร. 9-1:2566) และ เรื่อง ข้อมูลสถานที่-ภูมิสารสนเทศ (PART 3-2: LOCATION- GEOSPATIAL DATA) (มสพร. 9-2:2566) เพื่อประกาศใช้สำหรับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และเป็นการสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ได้นำไปใช้เป็นตัวอย่างหรือแนวปฏิบัติต่อไป

เอกสารมาตรฐาน TGIX Semantic เรื่อง ข้อมูล สถานที่-ที่อยู่ และ เรื่อง ข้อมูล สถานที่-ภูมิสารสนเทศ

ดาวน์โหลด มสพร. 9-1:2566 เรื่องข้อมูลสถานที่-ที่อยู่ ดาวน์โหลด มสพร. 9-2:2566 ข้อมูลสถานที่-ภูมิสารสนเทศ

เอกสารประกอบมาตรฐานฯ

ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
ประกาศ มสพร. 9-1:2566 และ มสพร. 9-2:2566 เรื่องข้อมูลสถานที่-ที่อยู่ และข้อมูลสถานที่-ภูมิสารสนเทศ24/03/2023
เอกสารประกอบมาตรฐาน มสพร. 9-1:2566 และ มสพร. 9-2:256624/03/2023

Public Hearing Location(New logo)

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

ด้วยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) มีหน้าที่อำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลมอบหมาย และดำเนินการร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ เสนอคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ซึ่งมี สพร. เป็นเลขานุการ เพื่อศึกษาและจัดทำมาตรฐานและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ทั้งนี้ฝ่ายเลขานุการได้จัดทำโครงการทดสอบการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลตามมาตรฐาน TGIX-Linkage บนสภาพแวดล้อมจำลอง (Sandbox) ไว้เพื่อให้ทางหน่วยงานได้รับทราบในการพัฒนาระบบด้วยมาตรฐาน TGIX โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
(1) เพื่อให้หน่วยงานได้รับทราบ และทดสอบถึงการใช้งานตามมาตรฐาน TGIX ในการการประชุมเชิงปฏิบัติการ
(2) เพื่อความเข้าใจในการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐด้วยมาตรฐาน TGIX ทั้งหน่วยงานที่เป็นผู้ใช้ข้อมูล (Data Consumer) และหน่วยงานที่เป็นผู้ให้ข้อมูล (Data Provider)

กลุ่มเป้าหมาย

หน่วยงานภาครัฐที่ให้บริการแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนข้อมูลในปัจจุบัน หรืออยู่ระหว่างการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล

การเตรียมคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับการทำ TGIX Sandbox Workshop

  1. เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ที่มีพื้นที่การใช้งานเหลือไม่ต่ำกว่า 50 GB (แนะนำ 100 GB ขึ้นไป)
  2. ติดตั้ง nvm (Node Version Manager) เพื่อเลือกใช้งานรุ่นของ Node ได้สะดวก
    • Download จาก https://github.com/coreybutler/nvm-windows/releases
    • เปิดไฟล์นามสกุล exe เพื่อติดตั้ง ตามคำแนะนำของโปรแกรมการติดตั้งบนหน้าจอ
    • ไปที่เมนู Windows เลือก RUN และพิมพ์ “CMD” จากนั้นคลิก Enter
    • จะมีหน้าจอย่อยเปิดมา (สีดำๆ ) ให้พิมพ์คำสั่ง “node -v” ถ้าติดตั้งถูกต้องก็จะแสดงเลขรุ่นขึ้นมา (ควรจะเป็นรุ่น 17.0.1 ขึ้นไป แนะนำ 18.0.0 ขึ้นไป)
    • >> ขั้นตอนติดตั้งโดยละเอียด (คลิก)
  3. ติดตั้ง Postman แอปพลิเคชัน (ข้อแนะนำ แต่ไม่บังคับ)
    • Download ได้จาก https://www.postman.com/downloads/
    • เปิดไฟล์นามสกุล exe เพื่อติดตั้งตามคำแนะนำของโปรแกรมการติดตั้งบนหน้าจอ
    • เปิดแอป Postman ขึ้นมาเพื่อทดสอบว่าติดตั้งสำเร็จหรือไม่
  4. ติดตั้้ง VSCode แอปพลิเคชันสำหรับเปิดดูซอร์สโค้ด
    • สำหรับผู้ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพารุ่นไม่เกิน 7-8 ปี (ส่วนใหญ่) Download ไฟล์ ‘VSCodeUserSetup-x64-1.75.1.exe’ จาก https://code.visualstudio.com/docs/?dv=win64user
    • สำหรับผู้ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพารุ่นเก่า Download ไฟล์ ‘VSCodeUserSetup-ia32-1.75.1.exe’ จาก https://code.visualstudio.com/docs/?dv=win32user
    • เปิดไฟล์นามสกุล exe ที่ได้มาเพื่อติดตั้งตามคำแนะนำของโปรแกรมการติดตั้งบนหน้าจอ

เอกสารและไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

เอกสาร และไฟล์ประเภทดาวน์โหลด
1. ไฟล์ซอร์สโค้ดสำหรับเว็บแอปพลิเคชัน (สำหรับหน่วยงานผู้ใช้ข้อมูล หรือ Consumer)zip
2. ไฟล์ซอร์สโค้ดสำหรับโมบายล์แอปพลิเคชัน (สำหรับหน่วยงานผู้ใช้ข้อมูล หรือ Consumer)zip
*** หมายเหตุ : สำหรับรหัสผ่านที่ใช้ในการขยายไฟล์ zip จะจัดส่งไปให้ในช่องทางอีเมล

Public Hearing Location(New logo)

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ

ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ในมาตรา 13 ระบุว่าเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินและการให้บริการประชาชน ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลที่มีการจัดทำและครอบครองตามที่หน่วยงานของรัฐแห่งอื่นร้องขอ ที่จะเกิดการบูรณาการร่วมกัน และ มาตรา 15 ระบุว่า ให้มีศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลและทะเบียนดิจิทัลระหว่างหน่วยงานของรัฐ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในการให้บริการประชาชนผ่านระบบดิจิทัล และดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) กำหนดนโยบายและมาตรฐานเกี่ยวกับการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลให้ความเห็นชอบ
(2) ประสานและให้ความช่วยเหลือแก่หน่วยงานของรัฐในการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลระหว่างกัน รวมทั้งกำกับติดตามให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปในแนวทางและมาตรฐานเดียวกันตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด
(3) จัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐ และจัดเก็บบันทึกหลักฐานของการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัล
(4) เรื่องอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลมอบหมาย

มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล เรื่องข้อมูลสถานที่-ที่อยู่ และ ข้อมูลสถานที่-ภูมิสารสนเทศ คืออะไร

กลุ่มมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (Thailand Government Information Exchange: TGIX) ประกอบด้วยมาตรฐาน 2 กลุ่มได้แก่
(1) กลุ่มมาตรฐานด้านการเชื่อมโยงข้อมูล (TGIX-Linkage Standard)
(2) กลุ่มมาตรฐานด้านความหมายข้อมูล (TGIX-Semantic Standard)
ในมาตรฐานกลุ่มแรกจะเกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมของแพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนข้อมูล ในขณะที่มาตรฐานกลุ่มหลังจะเกี่ยวข้องกับชื่อข้อมูลและโครงสร้างข้อมูลที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล เรื่องข้อมูลสถานที่-ที่อยู่ และ ข้อมูลสถานที่-ภูมิสารสนเทศ นี้จัดอยู่ในมาตรฐานกลุ่มความหมายข้อมูล

ในรายละเอียดมาตรฐานทั้งสองชุดนี้กล่าวถึงข้อกำหนดของชื่อข้อมูลและโครงสร้างข้อมูล สำหรับใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลพื้นฐานของที่อยู่ (Address) และภูมิสารสนเทศ (Geospatial) ระหว่างหน่วยงาน โดยมาตรฐานแต่ละเรื่องจะประกอบด้วยชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลแต่ละชนิดจะมีไฟล์สคีมา XSD และ ตัวอย่างข้อมูลในรูปแบบ XML และ JSON ตัวอย่างข้อมูลสถานที่-ที่อยู่ เช่น ข้อมูลที่อยู่ ข้อมูลจังหวัด ข้อมูลอำเภอ ข้อมูลตำบล ข้อมูลถนน ข้อมูลรหัสไปรษณีย์ ฯลฯ ตัวอย่างข้อมูลสถานที่-ภูมิสารสนเทศ เช่น ข้อมูลพอยท์ ข้อมูลไลน์สตริง ข้อมูลโพลิกอน ฯลฯ มาตรฐานชุดนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้หน่วยงานสามารถนำไปใช้ในการออกแบบ Web Application Programming Interface (Web API) ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายใต้ชื่อฟิลด์ข้อมูลและโครงสร้างข้อมูลแบบเดียวกัน

เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงาน มาตรฐานด้านความหมายข้อมูลนี้อ้างอิงแนวทางในการพัฒนาตามมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วย กรอบแนวทางการพัฒนามาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ทางสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ซึ่งมีหน้าที่อำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติงานในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จึงขอความอนุเคราะห์ท่านร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างมาตรฐานดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและปรับปรุงต่อไป โดยสามารถตอบแบบแสดงความคิดเห็นกลับมาภายใน วันพุธ ที่ 30 พฤศจิกายน 2565

เอกสารและไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

เอกสาร และไฟล์ประเภทดาวน์โหลด
1. ร่างมาตรฐานฯ ด้านความหมายข้อมูล เรื่องข้อมูลสถานที่-ที่อยู่ pdf
2. ร่างมาตรฐานฯ ด้านความหมายข้อมูล เรื่องข้อมูลสถานที่-ภูมิสารสนเทศpdf
3. ไฟล์ประกอบมาตรฐาน (XSD, XML, JSON)zip
4. คำชี้แจงการสำรวจความคิดเห็นและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลpdf
5. แบบแสดงความคิดเห็นต่อร่างมาตรฐานdocx
6. ลิงก์แบบฟอร์มรับข้อเสนอแนะออนไลน์
7. ลิงก์ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน
8. ลิงก์เข้าร่วมงาน (MSTeams Conference)
9. เอกสารประกอบร่างมาตรฐานฯ ด้านความหมายข้อมูล เรื่องข้อมูลสถานที่-ที่อยู่ และข้อมูลสถานที่-ภูมิสารสนเทศpdf

กรอบแนวทางการพัฒนามาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (Thailand Government Information eXchange :TGIX) คืออะไร

     กรอบแนวทางฉบับนี้กล่าวถึงแนวทางการดำเนินงานในการพัฒนากลุ่มมาตรฐานเพื่อใช้ในการสนับสนุนภาครัฐให้เกิดการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลระหว่างหน่วยงานของรัฐ เกิดการบูรณาการข้อมูลร่วมกันผ่านศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลาง เกิดมาตรฐานการทำงานร่วมกันของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน อันนำไปสู่การให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงนำไปสู่การลดต้นทุนในการพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลของหน่วยงานอีกด้วย

    ทั้งนี้มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ประกอบด้วยมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนข้อมูล จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่

  1. กลุ่มมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านการเชื่อมโยงข้อมูล (Thailand Government Information Exchange – Linkage Standard) เป็นมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลระดับเทคนิคว่าด้วยเรื่องของสถาปัตยกรรมระบบแลกเปลี่ยนข้อมูล วิธีการเชื่อมต่อกับผู้เกี่ยวข้อง และระบบความมั่นคงปลอดภัย เป็นต้น
  2. กลุ่มมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล (Thailand Government Information Exchange – Semantic Standard) เป็นมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลระดับตัวข้อมูลว่าด้วยคำศัพท์ของข้อมูลที่ใช้แลกเปลี่ยน โครงสร้างข้อมูล และความหมายของข้อมูล เป็นต้น

    ด้วยเหตุนี้ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. ซึ่งมีหน้าที่อำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติงานในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จึงได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒” และแต่งตั้งคณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูล มาดำเนินการร่าง กรอบแนวทางการพัฒนามาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐได้ทราบถึงความสำคัญ แนวทาง วิธีการ และเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ

    ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ในมาตรา 13 ระบุว่าเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินและการให้บริการประชาชน ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลที่มีการจัดทำและครอบครองตามที่หน่วยงานของรัฐแห่งอื่นร้องขอ ที่จะเกิดการบูรณาการร่วมกัน และ มาตรา 15 ระบุว่า ให้มีศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลและทะเบียนดิจิทัลระหว่างหน่วยงานของรัฐ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในการให้บริการประชาชนผ่านระบบดิจิทัล และดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้

  1. กำหนดนโยบายและมาตรฐานเกี่ยวกับการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลให้ความเห็นชอบ
  2. ประสานและให้ความช่วยเหลือแก่หน่วยงานของรัฐในการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลระหว่างกัน รวมทั้งกำกับติดตามให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปในแนวทางและมาตรฐานเดียวกันตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด
  3. จัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐ และจัดเก็บบันทึกหลักฐานของการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัล
  4. เรื่องอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลมอบหมาย

ช่องทางการรับชมงาน :

    

ไฟล์เอกสาร

มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วย กรอบแนวทางการพัฒนามาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ

15/08/2022
485

ราชกิจจานุเบกษา_มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วย กรอบแนวทางการพัฒนามาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ

14/09/2022
339

>>> คลิกเพื่อลงทะเบียนหน่วยงาน

>>> คลิกเพื่อใส่ข้อเสนอแนะต่อร่างมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านการเชื่อมโยงข้อมูล เรื่องสถาปัตยกรรมอ้างอิง

>>> คลิกเพื่อใส่ข้อเสนอแนะต่อร่างมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านการเชื่อมโยงข้อมูล เรื่องข้อกำหนด 5 ด้าน

>>> คลิกเพื่อ download ไฟล์ร่างมาตรฐาน ไฟล์แบบสอบถาม และเอกสารที่เกีี่ยวข้อง

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ

ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ในมาตรา 13 ระบุว่าเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินและการให้บริการประชาชน ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลที่มีการจัดทำและครอบครองตามที่หน่วยงานของรัฐแห่งอื่นร้องขอ ที่จะเกิดการบูรณาการร่วมกัน และ มาตรา 15 ระบุว่า ให้มีศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลและทะเบียนดิจิทัลระหว่างหน่วยงานของรัฐ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในการให้บริการประชาชนผ่านระบบดิจิทัล และดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้

  1. กำหนดนโยบายและมาตรฐานเกี่ยวกับการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลให้ความเห็นชอบ
  2. ประสานและให้ความช่วยเหลือแก่หน่วยงานของรัฐในการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลระหว่างกัน รวมทั้งกำกับติดตามให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปในแนวทางและมาตรฐานเดียวกันตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด
  3. จัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐ และจัดเก็บบันทึกหลักฐานของการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัล
  4. เรื่องอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลมอบหมาย

มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านการเชื่อมโยงข้อมูล (Thailand Government Information Exchange, Series: Linkage Standard) คืออะไร

กลุ่มมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (Thailand Government Information Exchange: TGIX) ประกอบด้วยมาตรฐาน 2 กลุ่ม ได้แก่ มาตรฐานฯ ด้านการเชื่อมโยงข้อมูล (Linkage Standard) ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับเทคนิค และ มาตรฐานฯ ด้านความหมายข้อมูล (Semantic Standard) ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับความหมาย

มาตรฐานที่จัดทำประชาพิจารณ์ในครั้งนี้เป็นกลุ่มมาตรฐานฯ ด้านการเชื่อมโยงข้อมูล ว่าด้วยเรื่องของสถาปัตยกรรมการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ที่มีลักษณะการเชื่อมโยง 3 รูปแบบ ได้แก่ 

  1. การเชื่อมโยงและการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในกลุ่ม TGIX (TGIX Intra-DX) เป็นมาตรฐานสถาปัตยกรรมสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สมาชิกในกลุ่มดำเนินการตามมาตรฐาน TGIX มีรายละเอียดของส่วนประกอบต่างๆ ตลอดจนขั้นตอนการทำงานของแต่ละส่วนประกอบ และแนวทางการดำเนินการตามมาตรฐานฯ ของหน่วยงานเจ้าของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. การเชื่อมโยงและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกลุ่ม TGIX (TGIX Inter-DX) เป็นมาตรฐานสถาปัตยกรรมสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกลุ่มที่ดำเนินการตามาตรฐาน TGIX มีรายละเอียดของส่วนประกอบต่างๆ ตลอดจนขั้นตอนการทำงานของแต่ละส่วนประกอบ และแนวทางการดำเนินการตามมาตรฐานฯ ของหน่วยงานเจ้าของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
  3. การเชื่อมโยงและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกลุ่ม TGIX กับ กลุ่ม Data Exchange อื่นๆ ของประเทศที่มีการใช้งานอยู่ตามภาคส่วน (Federated DX) เป็นมาตรฐานสถาปัตยกรรมสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกลุ่มที่ดำเนินการตามาตรฐาน TGIX กับกลุ่มที่ใช้มาตรฐานอื่นๆ มีรายละเอียดของส่วนประกอบต่างๆ ตลอดจนขั้นตอนการทำงานของแต่ละส่วนประกอบ และแนวทางการดำเนินการตามมาตรฐานฯ ของหน่วยงานเจ้าของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

นอกจากนี้ยังมีมาตรฐานย่อยในส่วนขององค์ประกอบของสถาปัตยกรรมข้างต้นจะกล่าวถึง (1) การบริหารจัดการ Authentication และ Access Control และ บัญชีผู้ใช้งาน Accounting (2) การบริหารจัดการ Token และ Session (3) โปรโตคอล (Protocol) สำหรับการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูล (4) ความมั่นคงปลอดภัย (Security) และการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) (5) การบันทึกล็อก (Logging) และการติดตาม (Monitoring) (6) การกำหนด namespace ของระบบ

ทางสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ซึ่งมีหน้าที่อำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติงานในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จึงขอความอนุเคราะห์ท่านร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วย มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านการเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและปรับปรุงต่อไป โดยสามารถตอบแบบแสดงความคิดเห็นกลับมาภายใน วันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2565

ข้อกฏหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 มาตรา 12 (2) กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดทำกระบวนการหรือการดำเนินงานทางดิจิทัลเพื่อการบริหารราชการแผ่นดินและการให้บริการประชาชน กระบวนการหรือการดำเนินงานทางดิจิทัลนั้นต้องทำงานร่วมกันได้ตามมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด เพื่อให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นได้ ประกอบมาตรา 12 (4) จัดให้มีระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล และตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 หมวด 3/1 ระบบการพิสูจน์และการยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อกำกับดูแลการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลให้มีความน่าเชื่อถือและปลอดภัย

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. ได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานและหลักเกณฑ์การจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล ว่าด้วยเรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย เสนอต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล และเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2564 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัลว่าด้วยเรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย

และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้หน่วยงานภาครัฐสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานดังกล่าว สพร. จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาเครื่องมือประมวลผลอัตโนมัติสำหรับการประเมินความเสี่ยงเพื่อใช้พิสูจน์และยืนยันตัวตน สำหรับบริการภาครัฐ (Assessment Tool for Government Digital ID) โดยผลลัพธ์จากการประมวลผลอัตโนมัติจะแนะนำระดับความน่าเชื่อถือที่เหมาะสม ว่าบริการที่ได้ประเมินความเสี่ยงด้วยเครื่องมือฯ ควรจะกำหนดระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี (Identity Assurance Level: IAL) และระดับความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน (Authenticator Assurance Level: AAL) อยู่ในระดับใด อนึ่ง วิธีการ ขั้นตอน และข้อกำหนดแต่ละระดับความน่าเชื่อถือ ท่านสามารถศึกษาได้จากมาตรฐานฯ ข้างต้น

ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงเครื่องมือฯ ให้มีความเหมาะสมกับบริการภาครัฐมากยิ่งขึ้น จึงขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นฯ ผ่านระบบออนไลน์ ภายในวันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ท่านสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องและอำนวยความสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ รวมถึงช่วยให้เราปรับปรุงการนำเสนอเนื้อหาตรงตามความต้องการของท่าน โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ประกาศการใช้คุกกี้ และ ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่าข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า