แนวทางการจัดทำข้อมูลนิรนาม

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เล็งเห็นว่าการจัดทำข้อมูลนิรนามเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือในยุคสมัยที่ข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตและการทำงานของเราในชีวิตประจำวัน ตลอดถึงการขับเคลื่อนองค์กรให้ดำเนินไปยังเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ดังนั้นการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่เหมาะสมในการทำให้ข้อมูลเป็นข้อมูลนิรนามจะช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ละเมิดสิทธิ์และความเป็นส่วนตัวของบุคคล และเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่หน่วยงานภาครัฐรวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนถึงการใช้ข้อมูลของภาครัฐ จึงได้จัดทำมาตรฐานฉบับนี้ขึ้นซึ่งประกอบไปด้วย 5 บท ดังนี้

  • บทที่ 1 บทนำ กล่าวถึง ความเป็นมา วัตถุประสงค์ของการจัดทำข้อมูลนิรนาม ขอบข่าย คำนิยาม และ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เห็นถึงความจำเป็นในการจัดทำข้อมูลนิรนาม เหมาะสำหรับผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงาน
  • บทที่ 2 แนวคิดในการจัดทำข้อมูลนิรนาม กล่าวถึง ความสำคัญของการจัดทำข้อมูลนิรนาม แนวคิดและอธิบายถึงวิธีการจัดทำข้อมูลนิรนามโดยสังเขป เพื่อช่วยสร้างความเข้าใจต่อภาพรวมและพื้นฐานในการจัดข้อมูลนิรนาม เหมาะสำหรับผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ทั่วไป
  • บทที่ 3 กระบวนการจัดทำข้อมูลนิรนาม กล่าวถึง การพิจารณาข้อมูลมีหลักการอย่างไร การขจัดข้อมูลระบุตัวตน หลักเกณฑ์การจัดทำข้อมูลนิรนาม โดยมีหลักเกณฑ์การพิจารณาและข้อเสนอแนะเพื่อให้เพื่อเป็นแนวทางให้แก่เจ้าของข้อมูลใช้ในการประกอบการพิจารณาเพื่อจัดทำข้อมูลนิรนามได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยงและมาตรการจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้เห็นถึงกระบวนการจัดข้อมูลนิรนามที่เป็นขั้นตอน เหมาะสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านข้อมูล
  • บทที่ 4 ภาคผนวก (เครื่องมือ Open Source) กล่าวถึง เครื่องมือการจัดทำข้อมูลนิรนามเบื้องต้นโดยการใช้โปรแกรม Microsoft Excel รายการเครื่องมือการจัดทำข้อมูลนิรนามเชิงพาณิชย์ และกรณีศึกษาการจัดทำข้อมูลนิรนามของสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) กรณีศึกษาการจัดทำข้อมูลนิรนามของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้มีความเข้าใจต่อการจัดทำข้อมูลนิรนามและการใช้เครื่องมือต่าง ๆ เหมาะสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านข้อมูลและเจ้าหน้าที่ทั่วไป
  • บทที่ 5 บรรณานุกรม เป็นการรวบรวมแหล่งที่มาที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดทำมาตรฐานฉบับนี้

ทั้งนี้กระบวนการในการจัดทำข้อมูลนิรนามอาจมีความซับซ้อน จึงจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และดำเนินการอย่างระมัดระวังสูงสุดในการดำเนินการ

การประกาศมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (มสพร.)

เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2567 นางไอรดา เหลืองวิไล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ได้ลงนามในประกาศสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เลขที่ ม 5/2567 เรื่อง มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวทางการจัดทำข้อมูลนิรนาม หรือ มสพร. 14-2567 เพื่อประกาศใช้สำหรับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และเป็นข้อเสนอแนะให้กับหน่วยงานภาครัฐให้สามารถนำไปปฏิบัติใช้ตามแนวทางและตัวอย่างต่อไป

เอกสารมาตรฐานแนวทางจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ

เอกสารประกอบมาตรฐานฯ

ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
ประกาศ สพร. ม 5/2567 มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวทางการจัดทำข้อมูลนิรนาม24/9/2024
เอกสารประกอบ มสพร. 14-2567 ว่าด้วยแนวทางการจัดทำข้อมูลนิรนาม24/9/2024

การบูรณาการข้อมูลเปิดเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล

ข้อมูลถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการดำเนินงาน เพื่อนำมาใช้ในการสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจ และสังคมดิจิทัลให้กับทุกภาคส่วน รวมถึงการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาบริการหรือ ต่อยอดนวัตกรรมต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันภาครัฐได้มีการเปิดเผยข้อมูล ผ่าน data.go.th ที่รู้จักกันในนาม “ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ” โดยพบว่ามีจำนวนชุดข้อมูลเปิดเป็นจำนวนมาก ซึ่งก่อให้เกิดการบูรณาการข้อมูลร่วมกันในหลากหลายมิติ ทั้งในระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันและระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชน เน้นการยกระดับไปสู่ความร่วมมือกัน แสวงหาความคิดริเริ่มและสร้างนวัตกรรม แสดงถึงความโปร่งใสของการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาสังคมโดยการใช้ข้อมูลเปิดที่สำคัญในการวางแผนและการดำเนินการในสาขาต่าง ๆ สร้างประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการเข้าถึงข้อมูล รวมถึงสนับสนุนให้ภาคเอกชนและภาคประชาชนนำข้อมูลที่เปิดเผยไปสร้างนวัตกรรมและบริการเพื่อยกระดับการพัฒนาประเทศ

ในปี 2563 คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ได้มีการประกาศ มรด.-12001:2563 เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ ซึ่งครอบรอบระยะเวลา 3 ปีในการทบทวนมาตรฐานฉบับนี้ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงเสนอยกเลิก มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 1.0 และจัดทำมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.0 ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการเปิดเผยให้สอดคล้องกับกฎหมาย และกรอบธรรมาภิบาลข้อมูล สร้างความรู้ความเข้าใจ ความมั่นใจในการเปิดเผยข้อมูลให้เพิ่มมากขึ้น อันประกอบด้วยการกำหนดขั้นตอน รูปแบบ และกลไกต่าง ๆ เช่น การคัดเลือกชุดข้อมูลในการเปิดเผย การควบคุมคุณภาพของข้อมูล วิธีการและช่องทางในการเปิดเผยข้อมูล ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูล ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น และมุ่งเน้นการนำข้อมูลเปิดไปใช้ในการสร้างประโยชน์ในหลากหลายมิติ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนในทุกภาคส่วนสามารถที่จะเข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพของประเทศ ได้โดยง่ายและตลอดเวลา โดยมีกรอบการปรับปรุง ดังนี้

  • บทที่ 1 บทนำ เพิ่มมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี พ.ศ. 2556 เรื่อง แนวทางการยกระดับการให้บริการประชาชนผ่านบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ
  • บทที่ 2 กรอบแนวคิดที่เกี่ยวข้อง มีการปรับปรุงภาพ ประเภทและความสัมพันธ์ของข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
  • บทที่ 3 ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ มีการเพิ่มคุณลักษณะของชุดข้อมูลที่เป็น Machine Readable มีการปรับปรุงมิติคุณภาพข้อมูลให้สอดคล้องกับ มรด. 5 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ
  • บทที่ 4 กระบวนการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ มีการปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับมรด. 6 : 2566 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ รวมถึงมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเพิ่มแหล่งอ้างอิงการกำหนดรูปแบบของชุดข้อมูลเปิดในแต่ละประเภท
  • บทที่ 5 การบริหารจัดการศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ คงไว้ตามหลักการเดิม
  • บทที่ 6 การนำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์ มีการเพิ่มกรณีศึกษาหน่วยงานที่จัดทำข้อมูลเปิดและยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเปิด
  • บทที่ 7 ภาคผนวก เพิ่มการประกาศรายชื่อชุดข้อมูล Master Data ตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2566 – 2570 และปรับปรุงคำอธิบายชุดข้อมูลให้เป็นปัจจุบันและมีความละเอียดเพิ่มมากขึ้น
  • บทที่ 8 บรรณานุกรม เป็นการรวบรวมแหล่งที่มาที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดทำมาตรฐานฉบับนี้

การประกาศมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล (มรด.)

เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2567 รองนายกรัฐมนตรี นายพิชัย ชุณหวชิร ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.0 และเสนอต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา

โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศฉบับนี้ได้ที่เว็บไซต์ www.ratchakitcha.soc.go.th หรือที่เว็บไซต์ https://standard.dga.or.th

เอกสาร มรด. 8 : 2567 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.0

ดาวนโหลด มรด. 8 : 2567 ว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.0

เอกสารประกอบมาตรฐานฯ

ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.023/09/2024PDF-Document-icon
เอกสารประกอบ มรด. 8 : 2567 ว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.023/09/2024PDF-Document-icon
มาตรฐานเว็บไซต์ 3.0
ประกาศมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ เวอ์ชัน 3.0

สืบเนื่องจากสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ซึ่งปัจจุบันคือ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ได้จัดทำมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ เวอร์ชัน ๒.๐ เพื่อเป็นมาตรฐานให้หน่วยงานภาครัฐได้นําไปปรับปรุงและพัฒนาระบบการให้บริการผ่านเว็บไซต์ของภาครัฐ โดยได้ประกาศใช้เป็นแนวทางการพัฒนาเว็บไซต์ให้กับหน่วยงานภาครัฐมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามีการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของมาตรฐาน และเทคโนโลยีต่าง ๆ ดังนั้น เพื่อให้เนื้อหาในเอกสารมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐมีความสอดคล้องกับกฎหมาย มาตรฐาน และ เทคโนโลยี จึงเห็นควรปรับปรุงมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐเป็น เวอร์ชัน ๓.๐ เพื่อยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติภายในของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และเป็นข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงานรัฐต่อไป

การประกาศมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (มสพร.)

เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566 นายสุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)  ได้ลงนามในประกาศสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เลขที่ ม 5/2566 เรื่อง มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ เวอร์ชัน 3.0 เพื่อประกาศใช้สำหรับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และเป็นการสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ได้นำไปใช้เป็นข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงานรัฐต่อไป

เอกสารมาตรฐานฯ

ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ เวอร์ชัน 3.029/09/2566
รายการตรวจสอบ (Checklist) สิ่งที่หน่วยงานควรดำเนินการเมื่อมีการจัดทำเว็บไซต์หลักหน่วยงานของรัฐ ประกอบมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ เวอร์ชัน 3.0 (มสพร. 11-2566)29/09/2566

การขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data Driven) ด้วยการจัดทำบัญชีข้อมูล

การขับเคลื่อนเรื่องข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้ความสำคัญเป็นอย่างสูง เป็นการปรับตัวเข้าสู่ยุคของการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ นำข้อมูลที่มีมาวิเคราะห์เพื่อประกอบการตัดสินใจ เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินงานของหน่วยงาน หน่วยงานภาครัฐจึงเล็งเห็นความจำเป็นในการดำเนินการจัดทำบัญชีข้อมูลอันประกอบด้วย รายการข้อมูล และคำอธิบายข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐให้มีมาตรฐาน มีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 และประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ข้อ 4 (6) นำไปสู่การพัฒนาระบบศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ Government Data Catalog : GD Catalog ซึ่งถือได้ว่าการจัดทำบัญชีข้อมูลถือเป็นหนึ่งการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล เพื่อให้หน่วยงานรัฐเกิดการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data Driven) โดยมีการจัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลหรือเมทาดาตา (Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ โดยให้ความสำคัญกับชุดข้อมูลที่พร้อมใช้ และเชื่อมต่อแบ่งปันข้อมูลชุดข้อมูลระหว่างหน่วยงานรัฐ จะนำไปสู่การวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสามารถให้บริการประชาชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในปี 2564 สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) จึงได้ทบทวนแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ เวอร์ชัน 1.0 ขึ้น เพื่อเป็นข้อเสนอแนะให้กับหน่วยงานภาครัฐสามารถนำไปศึกษาและปฏิบัติใช้ โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พบว่าหน่วยงานภาครัฐยังคงประสบปัญหาในการจัดทำบัญชีข้อมูลหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาเลือกชุดข้อมูล การจัดหมวดหมู่และระดับชั้นข้อมูล การเลือกใช้สัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูล ดังนั้นเพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานจัดทำบัญชีข้อมูล จึงนำมาสู่การปรับปรุง มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ เวอร์ชัน 2.0 ขึ้น ซึ่งมีการปรับปรุง 1) ปรับปรุงเนื้อหาให้สอดคล้องกับ มรด. 6 : 2566 ว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ เวอร์ชัน 2.0 ซึ่งเป็นกรอบแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูล เช่น การกำหนดยุทธศาสตร์ด้านข้อมูล แนวทางการจัดหมวดหมู่และระดับชั้นข้อมูล 2) ปรับปรุงคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) โดยการเพิ่มตัวเลือกรายชื่อองค์กร เพิ่มตัวเลือกรายการจัดหมวดหมู่ “ข้อมูลใช้ภายใน” และปรับปรุงรายการตัวเลือกสัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูล พร้อมเกณฑ์การพิจารณาการเลือกประเภทสัญญา และ 3) ปรับปรุงคำอธิบายข้อมูลทางเลือก (Optional Metadata) โดยการเพิ่มรายการระดับชั้นข้อมูล และเพิ่มตัวเลือกรายการเงื่อนไขการเข้าถึงข้อมูล พร้อมยกตัวอย่าง เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมต่อชุดข้อมูลของหน่วยงานต่อไป

การจัดทำบัญชีข้อมูลถือเป็นหนึ่งการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล เพื่อให้หน่วยงานรัฐเกิดการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data Driven) โดยมีการจัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลหรือเมทาดาตา (Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ โดยให้ความสำคัญกับชุดข้อมูลที่พร้อมใช้ และเชื่อมต่อแบ่งปันข้อมูลชุดข้อมูลระหว่างหน่วยงานรัฐ จะนำไปสู่การวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสามารถให้บริการประชาชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การประกาศมาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (มสพร.)

เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566 นายสุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ได้ลงนามในประกาศประกาศสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เลขที่ ม 4/2566 เรื่อง มสพร. 1-2566 มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ เพื่อประกาศใช้สำหรับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และเพื่อเป็นข้อเสนอแนะให้หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ได้นำไปใช้เป็นตัวอย่างหรือแนวปฏิบัติต่อไป

เอกสารมาตรฐานแนวทางจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ

ดาวน์โหลด มสพร. 1-2566 ว่าด้วยแนวทางจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ

เอกสารประกอบมาตรฐานฯ

ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
ประกาศ สพร. ม 1/2566 มสพร.ว่าด้วยแนวทางจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ18/9/2023
เอกสารประกอบ มสพร. 1-2566 ว่าด้วยแนวทางจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ18/9/2023
อกสาร ภาคผนวก ก การจัดทำ Metadata Standard18/9/2023
เอกสาร ภาคผนวก ข คำอธิบายรายการตัวเลือก18/9/2023
เอกสาร ภาคผนวก ค สัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมุูล18/9/2023
เครื่องมือการพิจารณาประเภทสัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูล18/9/2023

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ท่านสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องและอำนวยความสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ รวมถึงช่วยให้เราปรับปรุงการนำเสนอเนื้อหาตรงตามความต้องการของท่าน โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ประกาศการใช้คุกกี้ และ ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่าข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า