สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA จัดงานการประชุมชี้แจงมาตรฐานการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ ครั้งที่ 2 โดยมี นายวิบูลย์ ภัทรพิบูล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เป็นประธานกล่าวเปิดงานและปาฐกถาเรื่อง “Digitized Data for Open Data” เพื่อให้หน่วยงานรัฐรับทราบถึงมาตรฐานและข้อเสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐที่ DGA และสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นฝ่ายเลขานุการร่วมคณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ดำเนินการจัดทำแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ เมื่อ 29 มีนาคม 2564 ณ โรงแรม ทีเค. พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ


โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ มาร่วมตอบคำถามว่า บัญชีข้อมูล (Data Catalog) ทำไมต้องทำ? ทำอย่างไร? ทำแล้วได้อะไร? เริ่มจาก

นางกาญจนา มังกโรทัย นักพัฒนาระบบราชการชำนาญการพิเศษ สำนักงาน ก.พ.ร. บรรยายหัวข้อ แนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและองค์การมหาชน ประจำปี 2564 “การพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data)” ดร. อุรัชฎา เกตุพรหม ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนามาตรฐานดิจิทัล DGA บรรยายหัวข้อ ‘มาตรฐานการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ’  และ ดร. มนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายเดตาโซลูชันส์ภาครัฐ บรรยายหัวข้อ ‘Data Governance to Data-driven Organization





และในช่วงบ่ายมีการเสวนาในหัวข้อ ‘Law & Regulation for Government Open Data’ โดย นายเฉลิมพล เลียบทวี นิติกรชำนาญการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ นางสาวธัญลักษณ์ กริตาคม นักการข่าวชำนาญการ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ นายพีรพัฒ โชคสุวัฒนสกุล คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ดร.มนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม เป็นผู้ดำเนินรายการ




ต่อเนื่องด้วย นายทรงพล ใหม่สาลี ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศยุทธศาสตร์ภาครัฐ สำนักงานสถิติแห่งชาติ บรรยายหัวข้อ ‘Agency Data Catalog vs. GD Catalog’ 

ทั้งนี้ จะมีการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) ตามตัวชี้วัด ก.พ.ร. ปีงบประมาณ 2564 ในวันที่ 30-31 มีนาคม 2564 โดยมี นางสาววันเพ็ญ พูลวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ กล่าวเปิดงาน และปาฐกถาเรื่อง “GD Catalog for Open Data” และต่อเนื่องด้วยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มาบรรยายลงลึกเนื้อหาเพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ ดังนี้ 

  • การวิเคราะห์กระบวนงานขององค์กรและความสัมพันธ์ของข้อมูลกับกระบวนงาน โดย ผศ.ดร.สุภาภรณ์ เกียรติสิน และทีมวิทยากร มหาวิทยาลัยมหิดล
  • การจัดทำตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมินขั้นต้นและขั้นกลาง (มาตรฐาน) โดย นางกาญจนา ภู่มาลี ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการระบบสถิติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ
  • เกณฑ์การประเมิน (เป้าหมายขั้นสูง) การจัดทำข้อมูลเปิด (Open Data) ตามประเภทข้อมูล โดย ดร.มนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายเดตาโซลูชั่นภาครัฐ DGA
  • สาธิตการนำชุดข้อมูลและคำอธิบายข้อมูล (Metadata) เข้าสู่ระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) และการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบบัญชีข้อมูลกลางภาครัฐ (GD Catalog) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์กฤษฎา บุศรา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คลิกเพื่อรับชมย้อนหลัง

ช่วงเช้า

ช่วงบ่าย

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนานโยบาย (สวน.) และกรุงเทพมหานคร (กทม.) ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนาต้นแบบบริการร่วมระหว่างหน่วยบริการพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก เยาวชน และครอบครัวด้วยดิจิทัล (Seamless Transaction Services)” ซึ่งในปีแรกนี้ เป็นชานชาลา/แพลตฟอร์มการเรียนรู้ร่วมและส่งต่อบริการร่วมกันของ 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มผู้ให้บริการจาก ศบส. 45 ร่มเกล้า คุณครูจากศูนย์เด็กเล็ก และโรงเรียน กลุ่มผู้รับบริการที่เป็นเด็กเยาวชนและครอบครัว และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับเขต คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก ที่เป็นกลไกร่วมจัดการบริการ ซึ่งจะพัฒนาเป็นต้นแบบนวัตกรรมระบบดิจิทัลที่เป็นจริงได้ของเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และทดสอบการขยายผลในพื้นที่อื่นๆ ของกรุงเทพมหานคร เพื่อเดินหน้าโครงการต้นแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตยุคดิจิทัลไลฟ์ เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2563 ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล กล่าวว่า DGA ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นสำคัญมาโดยตลอด จึงมีความยินดีที่ได้มีความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญทางด้านเด็กและเยาวชน ทั้งกรุงเทพมหานคร กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนานโยบาย เพื่อร่วมกันพัฒนาประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ให้เป็นต้นแบบบริการทางสังคมในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก เยาวชนและครอบครัวที่ครอบคลุมและต่อเนื่อง รวมทั้งพร้อมที่จะร่วมพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และแก้ไขปัญหาข้อมูลที่มีปริมาณมหาศาลที่หลากหลายและซับซ้อน อีกทั้งถูกจัดเก็บอยู่ในหลายหน่วยงานโดยมีมาตรฐานการจัดเก็บข้อมูลที่ต่างกัน และมีกฎระเบียบที่ไม่เอื้อต่อการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานในเชิงปฏิบัติ ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องคำนึงถึงเงื่อนไขด้านความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

นอกจากนี้ ยังขาดมาตรฐานการจัดเก็บข้อมูลเด็ก เยาวชนและแนวทางการใช้ฐานข้อมูลเฉพาะครอบครัว ผู้ปกครอง สำหรับใช้วางแผนชีวิตของเด็กและเยาวชนโดยครอบครัว เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาฐานข้อมูลเฉพาะบุคคล จึงจำเป็นต้องเพิ่มบริการการเชื่อมโยงข้อมูล ให้เพียงพอต่อการพัฒนาภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล อันจะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เด็ก เยาวชนและครอบครัว ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ ดังนั้นการออกแบบในการจัดวางบริการแบบ Shared-Service ก็คือการทำให้เกิดการใช้ประโยชน์ร่วมกันจากทรัพยากรเทคโนโลยี และการเชื่อมโยงข้อมูลดิจิทัลของหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และต่อยอดขยายเป็น Open Data กับทาง กทม. และ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิ์ของเด็กและเยาวชน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับภาครัฐ (GovTech) ไปสู่ความเป็นรัฐบาลดิจิทัลต่อไป”

นพ.ชวินทร์ ศิรินาค ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กทม.มีโรงเรียนในสังกัด 300 แห่ง มีนักเรียนกว่า 2 แสนคน มีศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนสังกัด กทม.ใน 50 เขต 298 ศูนย์ มีเด็ก 25,975 คน มีเด็กและเยาวชนที่อยู่ในครอบครัวที่เปราะบางในพื้นที่จำนวนมาก รายงานผลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในเขตกรุงเทพฯ จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติร่วมกับองค์การยูนิเซฟ  พบว่า เกือบ 1 ใน 6 (ร้อยละ 15.8) ของเด็กอายุ 0-17 ปี ไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อและแม่ ในชุมชนของกรุงเทพฯมีเด็กที่กำพร้าพ่อหรือแม่ หรือทั้งพ่อและแม่ ร้อยละ 3.6 และร้อยละ 0.4 ที่พ่อหรือแม่อย่างน้อย 1 คนอาศัยอยู่ต่างประเทศ และเด็กอายุ 1-14 ปี ในชุมชนของกรุงเทพฯ ร้อยละ 73.1 ถูกอบรมด้วยการทำร้ายจิตใจหรือร่างกายในช่วง 1 เดือนก่อนการสำรวจ

 ดังนั้น ต้นแบบบริการไร้ตะเข็บด้วยนวัตกรรมดิจิทัล จึงเป็นการพลิกโฉมบริการที่เคยแยกส่วนกันให้เกิดเป็นองค์รวม สามารถดูแลต่อเนื่องตลอดช่วงวัย ตั้งแต่ฝากครรภ์ เด็กแรกเกิด เข้าสู่ศูนย์เด็กเล็ก เด็กอนุบาล เด็กและเยาวชนในวัยเรียน จนถึงวัยรุ่น  อันเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพตามวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ประเทศไทย 20 ปี  และตามวิสัยทัศน์“มหานครสุขภาพดี ทุกชีวีแข็งแรง”

นางสาวณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. กล่าวว่า โครงการนี้มุ่งพัฒนาต้นแบบระบบการบริหารงานแบบใช้ร่วมกันของหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดบริการ (Shared Service) ทางสังคม สุขภาพ เศรษฐกิจ และการคุ้มครองสิทธิ์เด็ก เยาวชน และครอบครัวเปราะบาง นับเป็นการทำงานเชิงรุก กับเหตุปัจจัยต้นน้ำก่อนที่เด็กและเยาวชนจะเกิดปัญหาหรือวิกฤตในชีวิต ในขณะเดียวกันก็มีระบบดูแลช่วยเหลือส่งต่อเด็กและเยาวชนที่ตกอยู่ในภาวะวิกฤตด้วย ที่ผ่านมา สสส. ได้ดำเนินโครงการพัฒนารูปแบบการดูแลเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนของ กทม. 3 แห่ง คือ ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนแป้นรักษา และ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กพิทักษา โดยสนับสนุนการพัฒนารูปแบบการดูแลเด็กปฐมวัยของศูนย์ฯ เครื่องมือสำหรับพัฒนาคุณภาพศูนย์ฯ และพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครผู้ดูแลเด็ก ดังนั้น คาดหวังว่าผลงานนี้จะช่วยอุดช่องว่างการทำงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เยาวชน และครอบครัว เพราะมุ่งให้ทุกฝ่ายทำงานบนข้อมูลชุดเดียวกันของผู้ใช้บริการแบบไร้รอยต่อ

  นายธรรมรักษ์ การพิศิษฏ์ ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนานโยบาย (สวน.) กล่าวว่า ต้นแบบนี้ใช้เป็นพื้นที่เสริมศักยภาพการเรียนรู้ (Empower) ผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ และกลไกคณะกรรมการคุณภาพชีวิตระดับเขต (พชข.) และคณะกรรมการคุ้มครองเด็ก ให้มีความมุ่งมั่นในการเปลี่ยนผ่านระบบงานแบบดั้งเดิม ไปสู่ระบบงานแบบดิจิทัล เพื่อให้ ร่วมวางแผนขับเคลื่อน (Governance)

สถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล (TDGA) ภายใต้การดำเนินงานของ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA จัดพิธีปิดการอบรมและมอบใบประกาศนียบัตรให้กับผู้เข้าอบรมในโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) “ด้านการออกแบบและวางแผนการบริหารงานบุคลากรไปสู่ดิจิทัลสำหรับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย”ภายใต้หัวข้อ “การออกแบบและวางแผนการบริหารงานบุคลากรไปสู่ดิจิทัล” ด้วยการทำสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture : EA)

โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยสนับสนุนการดำเนินงานที่เป็นระบบ เชื่อมโยง ลดความซ้ำซ้อน สะดวก รวดเร็วต่อการให้บริการ และสร้างความคุ้มค่าต่อการลงทุน สำหรับผู้ปฏิบัติงานในกระบวนงานฝ่ายทรัพยากรบุคคล ของ กนอ. ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 การบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource Management : HRM) โดย นางสาวสุมัยญา อ่อนหวาน นักทรัพยากรบุคคล 7 และ นางสาวเจือจันทร์ แย้มหัตถา นักทรัพยากรบุคคล 7 นำเสนอระบบ HRIS มาบริหารจัดการครอบคลุมด้านฐานข้อมูลส่วนบุคคลพนักงาน การจัดทำระบบสวัสดิการและเงินเดือน การประเมินผลการปฏิบัติงาน และระบบการสรรหาบุคลากร (ภายใน-ภายนอก) มีข้อสอบแบบออนไลน์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน มีระบบตรวจข้อสอบอัตโนมัติ เพื่ออำนวยความสะดวกและลดขั้นตอนการบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคลและระยะเวลาการสรรหาบุคลากร

กลุ่มที่ 2 การพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Human Resource Development : HRD) โดย นางสาวฉัตราภรณ์ สุวรรณหิรัญพร นักทรัพยากรบุคคล 7 และ นายอิทธิพร ชัยสิทธิ์ นักทรัพยากรบุคคล 7 นำเสนอผลงาน ‘สมาร์ตออฟฟิศ ด้วยแนวคิด Digital’ พัฒนาระบบ HRIS จัดทำ Application สำหรับการพัฒนาบุคลากร ให้มีฟังก์ชันต่าง ๆ ครอบคลุมการใช้งาน ทั้งด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อช่วยลดการใช้แบบฟอร์มกระดาษ และลดขั้นตอนการทำงานของ User และ Admin ให้มีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

กลุ่มที่ 3 การเงินและบัญชี (Finance and Accounting) โดย นางสาวณัฐชื่นทิพย์ แก้วพิทักษ์ นักบริหารการเงิน 9 และ นางสาวปานจันทร์ ต๊ะนางอย นักบริหารการเงิน 8 นำเสนอการพัฒนา Application มาช่วยอำนวยความสะดวกในการขอเบิกสวัสดิการต่าง ๆ เช่นค่ารักษาพยาบาล ใช้เป็นช่องทางอัปเดตข้อมูลและสวัสดิการให้แก่พนักงานให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย และรวดเร็วขึ้น อาทิ เกร็ดความรู้ด้านการเงินและสวัสดิการ การแจ้งงวดการจ่าย การแจ้งยอดสะสมค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น

โดยมี นางไอรดา เหลืองวิไล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตรให้กับผู้ผ่านการอบรม และได้รับเกียรติจาก นางปนัดดา รุ่งเรืองศรี รองผู้ว่าการ (บริหาร) กนอ. กล่าวปิดและให้นโยบายแก่ผู้เข้ารับการอบรมในครั้งนี้ เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2564 ณ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2564 ณ ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พร้อมด้วย นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และคณะกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  โดยกำชับให้ทุกหน่วยงานเตรียมความพร้อมในการจัดทำแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 – 2565  หลังจากแผนฯ ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาแล้ว เพื่อขับเคลื่อนโครงการภายใต้แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลฯ ให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็ว  โดยที่ประชุมรับทราบว่ามีการจัดเตรียมงบประมาณบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล ประจำปี 2565 ไว้ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลฯ ด้วยแล้ว   

ที่ประชุมยังมีมติให้ทุกหน่วยงานเร่งพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล (Digital Literacy) ระดับพื้นฐานอย่างเร่งด่วน โดยมอบหมายให้ สพร. จัดเตรียมเป็นหลักสูตร e-Learning เพื่อให้สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง ซึ่งจะเป็นการยกระดับทักษะด้านดิจิทัลของบุคลากรภาครัฐให้มีความพร้อมในการร่วมขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล โดยเริ่มจากการพัฒนาทักษะดิจิทัลแก่บุคลากรภาครัฐที่ยังขาดทักษะดิจิทัลที่จำเป็นในการทำงานเป็นลำดับแรกก่อน  ทั้งนี้ รองนายกฯ ดอนยังเน้นความสำคัญของการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของประชาชนทั่วไป เพื่อให้สามารถเข้าถึงและได้รับประโยชน์สูงสุดจากการบริการและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ผ่านระบบดิจิทัลของภาครัฐด้วย

ที่ประชุมยังย้ำความสำคัญของการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน และบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ  โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงผลกระทบของการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เร่งให้ภาครัฐต้องปรับตัวสู่รัฐบาลดิจิทัลเร็วขึ้น  ซึ่งในขณะนี้หน่วยงานภาครัฐสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (Government Data Exchange Center: GDX)  โดยสำนักงาน ก.พ.ร. และ สพร. พร้อมช่วยแก้ปัญหาข้อจำกัด

รองนายกฯ ดอนเน้นความสำคัญของการดำเนินตามแผนงานต่างๆ เพื่อผลักดันรัฐบาลดิจิทัล บนหลักของความโปร่งใส  ประสิทธิภาพ  ธรรมาภิบาลและความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล  ต้องมีการติดตามผลการดำเนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง  รวมทั้งพยายามเชื่อมโยงการดำเนินงานเพื่อพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกับวาระเพื่อการพัฒนาประเทศที่สำคัญอื่นๆ ของรัฐบาล อาทิ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model)  เพื่อประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะในยุคหลัง
โควิด-19    

ที่ประชุมได้รับทราบสถานะการดำเนินงานโครงการจัดทำเอกสารสำคัญทางการศึกษาในรูปแบบดิจิทัล (Digital Transcript) โดยมีมหาวิทยาลัยนำร่อง 9 แห่งที่พร้อมให้บริการ Digital Transcript แก่นิสิตนักศึกษาในปีการศึกษา 2563  ซึ่งที่ประชุมได้มอบหมายฝ่ายเลขานุการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขยายผลให้หน่วยงานของรัฐรับรู้ในเรื่องการนำ Digital Transcript ไปใช้ในหน่วยงานและให้ถือเสมือนเอกสารต้นฉบับหรือฉบับจริง เพราะเล็งเห็นประโยชน์ที่ทุกฝ่ายจะได้รับนอกจากอำนวยความสะดวกแก่นิสิต/นักศึกษา และประชาชน ช่วยป้องกันการปลอมแปลงวุฒิการศึกษา และลดภาระของหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเอกสารสำคัญทางการศึกษาแล้ว ยังเป็นการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลครั้งสำคัญของประเทศอีกด้วย

ดร. สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล กล่าวเพิ่มเติมว่า สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ซึ่งมีหน้าที่ขับเคลื่อนและสนับสนุนการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล โดยได้ดำเนินโครงการในหลายด้าน เช่น การพัฒนาทักษะบุคลากรภาครัฐที่ผ่านการอบรมหลักสูตรดิจิทัลจากสถาบัน TDGA โดยในปี 2564 ตั้งเป้าหมายพัฒนาบุคลากรภาครัฐ จำนวน ​2 แสนคน และพัฒนาบุคลากรสายเทคโนโลยีสารสนเทศในเรื่องธรรมาภิบาลข้อมูล การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับด้านมาตรฐาน หลักเกณฑ์ ตาม พ.ร.บ. การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 สพร. ได้มีการดำเนินการคืบหน้าหลายเรื่อง เช่น การจัดทำกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐผ่านเว็บไซต์ data.go.th การจัดทำดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ และการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัล อาทิ บัญชีข้อมูลและคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัล Data Catalog / Metadata จัดทำ (ร่าง) แผนแม่บทพอร์ทัลกลาง เพื่อประชาชน ระยะ 3 ปี (Citizen Portal Roadmap)

นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานหลายฝ่าย เช่น การเปิดศูนย์ปัญญาประดิษฐ์ภาครัฐ (AI) เพื่อให้เป็นแหล่งรวมผลงาน AI พร้อมใช้ เพื่อสร้างชุมชน AI ร่วมผลักดันหน่วยงานรัฐสร้างบริการเพื่อประชาชน การจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลภาครัฐ (DGTi) เป็นต้น โดยมุ่งดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์ “รัฐบาลดิจิทัล เปิดเผย เชื่อมโยง และร่วมกันสร้างบริการที่มีคุณค่าให้ประชาชน” เพื่อให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้ สังคมอยู่ได้ ในสถานการณ์ที่ทุกฝ่ายต้องร่วมด้วยช่วยกันในยุค New Normal นี้

ดร. สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ได้รับเชิญจาก สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ข้อมูลที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนการกำหนดมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา พร้อมด้วย นายณัฐวัชร์ วรนพกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล และ ดร. มนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายเดตาโซลูชันส์ภาครัฐ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) โดยร่วมอภิปรายในหัวข้อ ‘แนวทางการจัดทำข้อมูลมาตรฐานอุดมศึกษาและการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยที่เกี่ยวข้อง’ ให้แก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สป.อว. ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ณ สำนักงานปลัดกระทรวง อว.

เพื่อให้บุคลากรใน สป.อว. มีความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำข้อมูลมาตรฐานการอุดมศึกษา ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการจัดทำข้อมูลด้านมาตรฐานการอุดมศึกษา สามารถกำหนดแนวทางการดำเนินการต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนและได้ข้อมูลเป็นประโยชน์ รวมทั้งเข้าใจแนวทางในการเชื่อมโยงข้อมูลจากสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่กำหนด เกิดการบูรณาการและลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินการต่าง ๆ ต่อไป

นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีรับพระราชทานปฏิทินหลวง พุทธศักราช 2564 ของหน่วยงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยผู้บริหารของหน่วยงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 22 หน่วยงาน และผู้บริหารของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 14 ท่าน

ในการนี้ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) โดย คุณณพิชญา เทพรอด ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เข้าร่วมพิธีดังกล่าว ณ อาคารสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA จัดประชุมหารือ เพื่อให้ความเห็นและข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการข้อมูลลับทางราชการในรูปแบบดิจิทัล โดยมี รศ. ธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ ประธานคณะทำงาน นายพัชโรดม ลิมปิษเฐียร ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการจัดทำร่างมาตรฐานฯ

พร้อมด้วยคณะที่ปรึกษา ดร. สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ผศ. ภุชงค์ อุทโยภาศ คณะผู้บริหารสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) นายวิบูลย์ ภัทรพิบูล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ดร. มนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายเดตาโซลูชันส์ภาครัฐ DGA  และคณะทำงานจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กองบัญชาการตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ณ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)

กำหนดให้มีธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐเพื่อเป็นหลักการและแนวทางในการดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าว อันจะนำไปสู่การพัฒนาระบบข้อมูลที่สำคัญของภาครัฐเพื่อประโยชน์ในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน และบูรณาการ
ข้อมูลของหน่วยงานของรัฐอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการพัฒนาศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save