7 Jul 64

EN กฎกระทรวง กำหนดเงินค่าทดแทนอื่นนอกจากค่าที่ดิน พ.ศ. ๒๕๖๔

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๓๘ วรรคสองแห่งพระรำชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๖๒ นายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
355
10 Jun 64

EN กฎกระทรวง กำหนดราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินที่เวนคืน พ.ศ. ๒๕๖๔

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๒๐ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๖๒ นายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงไว้
248
7 Apr 64

EN DGA MOU 3 หน่วยงาน สสส. สวน. และกทม. เดินหน้าพัฒนาคุณภาพชีวิตยุคดิจิทัลไลฟ์ ในโครงการพัฒนาด้านการบริหารงานแบบใช้ร่วมกันขององค์กร ต้นแบบบริการร่วมการพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก เยาวชน และครอบครัวด้วยดิจิทัล (Seamless Shared Service)

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนานโยบาย (สวน.) และกรุงเทพมหานคร (กทม.) ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนาต้นแบบบริการร่วมระหว่างหน่วยบริการพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก เยาวชน และครอบครัวด้วยดิจิทัล (Seamless Transaction Services)” ซึ่งในปีแรกนี้ เป็นชานชาลา/แพลตฟอร์มการเรียนรู้ร่วมและส่งต่อบริการร่วมกันของ 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มผู้ให้บริการจาก ศบส. 45 ร่มเกล้า คุณครูจากศูนย์เด็กเล็ก และโรงเรียน กลุ่มผู้รับบริการที่เป็นเด็กเยาวชนและครอบครัว และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับเขต คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก ที่เป็นกลไกร่วมจัดการบริการ ซึ่งจะพัฒนาเป็นต้นแบบนวัตกรรมระบบดิจิทัลที่เป็นจริงได้ของเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และทดสอบการขยายผลในพื้นที่อื่นๆ ของกรุงเทพมหานคร เพื่อเดินหน้าโครงการต้นแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตยุคดิจิทัลไลฟ์ เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2563 ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล กล่าวว่า DGA ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นสำคัญมาโดยตลอด จึงมีความยินดีที่ได้มีความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญทางด้านเด็กและเยาวชน ทั้งกรุงเทพมหานคร กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนานโยบาย เพื่อร่วมกันพัฒนาประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ให้เป็นต้นแบบบริการทางสังคมในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก เยาวชนและครอบครัวที่ครอบคลุมและต่อเนื่อง รวมทั้งพร้อมที่จะร่วมพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และแก้ไขปัญหาข้อมูลที่มีปริมาณมหาศาลที่หลากหลายและซับซ้อน อีกทั้งถูกจัดเก็บอยู่ในหลายหน่วยงานโดยมีมาตรฐานการจัดเก็บข้อมูลที่ต่างกัน และมีกฎระเบียบที่ไม่เอื้อต่อการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานในเชิงปฏิบัติ ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องคำนึงถึงเงื่อนไขด้านความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล นอกจากนี้ ยังขาดมาตรฐานการจัดเก็บข้อมูลเด็ก เยาวชนและแนวทางการใช้ฐานข้อมูลเฉพาะครอบครัว ผู้ปกครอง สำหรับใช้วางแผนชีวิตของเด็กและเยาวชนโดยครอบครัว เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาฐานข้อมูลเฉพาะบุคคล จึงจำเป็นต้องเพิ่มบริการการเชื่อมโยงข้อมูล ให้เพียงพอต่อการพัฒนาภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล อันจะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เด็ก เยาวชนและครอบครัว ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ ดังนั้นการออกแบบในการจัดวางบริการแบบ Shared-Service ก็คือการทำให้เกิดการใช้ประโยชน์ร่วมกันจากทรัพยากรเทคโนโลยี และการเชื่อมโยงข้อมูลดิจิทัลของหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และต่อยอดขยายเป็น Open Data กับทาง กทม. และ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิ์ของเด็กและเยาวชน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับภาครัฐ (GovTech) ไปสู่ความเป็นรัฐบาลดิจิทัลต่อไป” นพ.ชวินทร์ ศิรินาค ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กทม.มีโรงเรียนในสังกัด 300 แห่ง มีนักเรียนกว่า 2 แสนคน มีศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนสังกัด กทม.ใน 50 เขต 298 ศูนย์ มีเด็ก 25,975 คน มีเด็กและเยาวชนที่อยู่ในครอบครัวที่เปราะบางในพื้นที่จำนวนมาก รายงานผลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในเขตกรุงเทพฯ จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติร่วมกับองค์การยูนิเซฟ  พบว่า เกือบ 1 ใน 6 (ร้อยละ 15.8) ของเด็กอายุ 0-17 ปี ไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อและแม่ ในชุมชนของกรุงเทพฯมีเด็กที่กำพร้าพ่อหรือแม่ หรือทั้งพ่อและแม่ ร้อยละ 3.6 และร้อยละ 0.4 ที่พ่อหรือแม่อย่างน้อย 1 คนอาศัยอยู่ต่างประเทศ และเด็กอายุ 1-14 ปี ในชุมชนของกรุงเทพฯ ร้อยละ 73.1 ถูกอบรมด้วยการทำร้ายจิตใจหรือร่างกายในช่วง 1 เดือนก่อนการสำรวจ  ดังนั้น ต้นแบบบริการไร้ตะเข็บด้วยนวัตกรรมดิจิทัล จึงเป็นการพลิกโฉมบริการที่เคยแยกส่วนกันให้เกิดเป็นองค์รวม สามารถดูแลต่อเนื่องตลอดช่วงวัย ตั้งแต่ฝากครรภ์ เด็กแรกเกิด เข้าสู่ศูนย์เด็กเล็ก เด็กอนุบาล เด็กและเยาวชนในวัยเรียน จนถึงวัยรุ่น  อันเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพตามวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ประเทศไทย 20 ปี  และตามวิสัยทัศน์“มหานครสุขภาพดี ทุกชีวีแข็งแรง” นางสาวณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. กล่าวว่า โครงการนี้มุ่งพัฒนาต้นแบบระบบการบริหารงานแบบใช้ร่วมกันของหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดบริการ (Shared Service) ทางสังคม สุขภาพ เศรษฐกิจ และการคุ้มครองสิทธิ์เด็ก เยาวชน และครอบครัวเปราะบาง นับเป็นการทำงานเชิงรุก กับเหตุปัจจัยต้นน้ำก่อนที่เด็กและเยาวชนจะเกิดปัญหาหรือวิกฤตในชีวิต ในขณะเดียวกันก็มีระบบดูแลช่วยเหลือส่งต่อเด็กและเยาวชนที่ตกอยู่ในภาวะวิกฤตด้วย ที่ผ่านมา สสส. ได้ดำเนินโครงการพัฒนารูปแบบการดูแลเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนของ กทม. 3 แห่ง คือ ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนแป้นรักษา และ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กพิทักษา โดยสนับสนุนการพัฒนารูปแบบการดูแลเด็กปฐมวัยของศูนย์ฯ เครื่องมือสำหรับพัฒนาคุณภาพศูนย์ฯ และพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครผู้ดูแลเด็ก ดังนั้น คาดหวังว่าผลงานนี้จะช่วยอุดช่องว่างการทำงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เยาวชน และครอบครัว เพราะมุ่งให้ทุกฝ่ายทำงานบนข้อมูลชุดเดียวกันของผู้ใช้บริการแบบไร้รอยต่อ   นายธรรมรักษ์ การพิศิษฏ์ ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนานโยบาย (สวน.) กล่าวว่า ต้นแบบนี้ใช้เป็นพื้นที่เสริมศักยภาพการเรียนรู้ (Empower) ผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ และกลไกคณะกรรมการคุณภาพชีวิตระดับเขต (พชข.) และคณะกรรมการคุ้มครองเด็ก ให้มีความมุ่งมั่นในการเปลี่ยนผ่านระบบงานแบบดั้งเดิม ไปสู่ระบบงานแบบดิจิทัล เพื่อให้ ร่วมวางแผนขับเคลื่อน (Governance)
169
7 Apr 64

EN TDGA จัดพิธีปิดการอบรมและมอบใบประกาศนียบัตร โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ด้านการออกแบบและวางแผนการบริหารงานบุคลากรไปสู่ดิจิทัลสำหรับ กนอ.”

สถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล (TDGA) ภายใต้การดำเนินงานของ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA จัดพิธีปิดการอบรมและมอบใบประกาศนียบัตรให้กับผู้เข้าอบรมในโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) “ด้านการออกแบบและวางแผนการบริหารงานบุคลากรไปสู่ดิจิทัลสำหรับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย”ภายใต้หัวข้อ “การออกแบบและวางแผนการบริหารงานบุคลากรไปสู่ดิจิทัล” ด้วยการทำสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture : EA) โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยสนับสนุนการดำเนินงานที่เป็นระบบ เชื่อมโยง ลดความซ้ำซ้อน สะดวก รวดเร็วต่อการให้บริการ และสร้างความคุ้มค่าต่อการลงทุน สำหรับผู้ปฏิบัติงานในกระบวนงานฝ่ายทรัพยากรบุคคล ของ กนอ. ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 การบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource Management : HRM) โดย นางสาวสุมัยญา อ่อนหวาน นักทรัพยากรบุคคล 7 และ นางสาวเจือจันทร์ แย้มหัตถา นักทรัพยากรบุคคล 7 นำเสนอระบบ HRIS มาบริหารจัดการครอบคลุมด้านฐานข้อมูลส่วนบุคคลพนักงาน การจัดทำระบบสวัสดิการและเงินเดือน การประเมินผลการปฏิบัติงาน และระบบการสรรหาบุคลากร (ภายใน-ภายนอก) มีข้อสอบแบบออนไลน์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน มีระบบตรวจข้อสอบอัตโนมัติ เพื่ออำนวยความสะดวกและลดขั้นตอนการบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคลและระยะเวลาการสรรหาบุคลากร กลุ่มที่ 2 การพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Human Resource Development : HRD) โดย นางสาวฉัตราภรณ์ สุวรรณหิรัญพร นักทรัพยากรบุคคล 7 และ นายอิทธิพร ชัยสิทธิ์ นักทรัพยากรบุคคล 7 นำเสนอผลงาน ‘สมาร์ตออฟฟิศ ด้วยแนวคิด Digital’ พัฒนาระบบ HRIS จัดทำ Application สำหรับการพัฒนาบุคลากร ให้มีฟังก์ชันต่าง ๆ ครอบคลุมการใช้งาน ทั้งด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อช่วยลดการใช้แบบฟอร์มกระดาษ และลดขั้นตอนการทำงานของ User และ Admin ให้มีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น กลุ่มที่ 3 การเงินและบัญชี (Finance and Accounting) โดย นางสาวณัฐชื่นทิพย์ แก้วพิทักษ์ นักบริหารการเงิน 9 และ นางสาวปานจันทร์ ต๊ะนางอย นักบริหารการเงิน 8 นำเสนอการพัฒนา Application มาช่วยอำนวยความสะดวกในการขอเบิกสวัสดิการต่าง ๆ เช่นค่ารักษาพยาบาล ใช้เป็นช่องทางอัปเดตข้อมูลและสวัสดิการให้แก่พนักงานให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย และรวดเร็วขึ้น อาทิ เกร็ดความรู้ด้านการเงินและสวัสดิการ การแจ้งงวดการจ่าย การแจ้งยอดสะสมค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น โดยมี นางไอรดา เหลืองวิไล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตรให้กับผู้ผ่านการอบรม และได้รับเกียรติจาก นางปนัดดา รุ่งเรืองศรี รองผู้ว่าการ (บริหาร) กนอ. กล่าวปิดและให้นโยบายแก่ผู้เข้ารับการอบรมในครั้งนี้ เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2564 ณ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
171
7 Apr 64

EN รองนายกฯ ดอน ปรมัตถ์วินัย กำชับทุกหน่วยงานเตรียมความพร้อมในการจัดทำแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลหลังแผนฯ ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเร็วๆ นี้ และให้ DGA เร่งพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล (Digital Literacy) ผ่านหลักสูตรอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ให้บุคลากรภาครัฐทั่วประเทศ พร้อมดันการใช้เอกสารสำคัญทางการศึกษาในรูปแบบดิจิทัล (Digital Transcript) ให้เริ่มใช้ปีการศึกษา 2563

นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2564 ณ ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พร้อมด้วย นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และคณะกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  โดยกำชับให้ทุกหน่วยงานเตรียมความพร้อมในการจัดทำแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 – 2565  หลังจากแผนฯ ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาแล้ว เพื่อขับเคลื่อนโครงการภายใต้แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลฯ ให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็ว  โดยที่ประชุมรับทราบว่ามีการจัดเตรียมงบประมาณบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล ประจำปี 2565 ไว้ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลฯ ด้วยแล้ว    ที่ประชุมยังมีมติให้ทุกหน่วยงานเร่งพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล (Digital Literacy) ระดับพื้นฐานอย่างเร่งด่วน โดยมอบหมายให้ สพร. จัดเตรียมเป็นหลักสูตร e-Learning เพื่อให้สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง ซึ่งจะเป็นการยกระดับทักษะด้านดิจิทัลของบุคลากรภาครัฐให้มีความพร้อมในการร่วมขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล โดยเริ่มจากการพัฒนาทักษะดิจิทัลแก่บุคลากรภาครัฐที่ยังขาดทักษะดิจิทัลที่จำเป็นในการทำงานเป็นลำดับแรกก่อน  ทั้งนี้ รองนายกฯ ดอนยังเน้นความสำคัญของการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของประชาชนทั่วไป เพื่อให้สามารถเข้าถึงและได้รับประโยชน์สูงสุดจากการบริการและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ผ่านระบบดิจิทัลของภาครัฐด้วย ที่ประชุมยังย้ำความสำคัญของการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน และบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ  โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงผลกระทบของการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เร่งให้ภาครัฐต้องปรับตัวสู่รัฐบาลดิจิทัลเร็วขึ้น  ซึ่งในขณะนี้หน่วยงานภาครัฐสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (Government Data Exchange Center: GDX)  โดยสำนักงาน ก.พ.ร. และ สพร. พร้อมช่วยแก้ปัญหาข้อจำกัด รองนายกฯ ดอนเน้นความสำคัญของการดำเนินตามแผนงานต่างๆ เพื่อผลักดันรัฐบาลดิจิทัล บนหลักของความโปร่งใส  ประสิทธิภาพ  ธรรมาภิบาลและความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล  ต้องมีการติดตามผลการดำเนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง  รวมทั้งพยายามเชื่อมโยงการดำเนินงานเพื่อพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกับวาระเพื่อการพัฒนาประเทศที่สำคัญอื่นๆ ของรัฐบาล อาทิ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model)  เพื่อประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะในยุคหลัง โควิด-19     ที่ประชุมได้รับทราบสถานะการดำเนินงานโครงการจัดทำเอกสารสำคัญทางการศึกษาในรูปแบบดิจิทัล (Digital Transcript) โดยมีมหาวิทยาลัยนำร่อง 9 แห่งที่พร้อมให้บริการ Digital Transcript แก่นิสิตนักศึกษาในปีการศึกษา 2563  ซึ่งที่ประชุมได้มอบหมายฝ่ายเลขานุการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขยายผลให้หน่วยงานของรัฐรับรู้ในเรื่องการนำ Digital Transcript ไปใช้ในหน่วยงานและให้ถือเสมือนเอกสารต้นฉบับหรือฉบับจริง เพราะเล็งเห็นประโยชน์ที่ทุกฝ่ายจะได้รับนอกจากอำนวยความสะดวกแก่นิสิต/นักศึกษา และประชาชน ช่วยป้องกันการปลอมแปลงวุฒิการศึกษา และลดภาระของหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเอกสารสำคัญทางการศึกษาแล้ว ยังเป็นการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลครั้งสำคัญของประเทศอีกด้วย ดร. สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล กล่าวเพิ่มเติมว่า สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ซึ่งมีหน้าที่ขับเคลื่อนและสนับสนุนการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล โดยได้ดำเนินโครงการในหลายด้าน เช่น การพัฒนาทักษะบุคลากรภาครัฐที่ผ่านการอบรมหลักสูตรดิจิทัลจากสถาบัน TDGA โดยในปี 2564 ตั้งเป้าหมายพัฒนาบุคลากรภาครัฐ จำนวน ​2 แสนคน และพัฒนาบุคลากรสายเทคโนโลยีสารสนเทศในเรื่องธรรมาภิบาลข้อมูล การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับด้านมาตรฐาน หลักเกณฑ์ ตาม พ.ร.บ. การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 สพร. ได้มีการดำเนินการคืบหน้าหลายเรื่อง เช่น การจัดทำกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐผ่านเว็บไซต์ data.go.th การจัดทำดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ และการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัล อาทิ บัญชีข้อมูลและคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัล Data Catalog / Metadata จัดทำ (ร่าง) แผนแม่บทพอร์ทัลกลาง เพื่อประชาชน ระยะ 3 ปี (Citizen Portal Roadmap) นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานหลายฝ่าย เช่น การเปิดศูนย์ปัญญาประดิษฐ์ภาครัฐ (AI) เพื่อให้เป็นแหล่งรวมผลงาน AI พร้อมใช้ เพื่อสร้างชุมชน AI ร่วมผลักดันหน่วยงานรัฐสร้างบริการเพื่อประชาชน การจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลภาครัฐ (DGTi) เป็นต้น โดยมุ่งดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์ “รัฐบาลดิจิทัล เปิดเผย เชื่อมโยง และร่วมกันสร้างบริการที่มีคุณค่าให้ประชาชน” เพื่อให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้ สังคมอยู่ได้ ในสถานการณ์ที่ทุกฝ่ายต้องร่วมด้วยช่วยกันในยุค New Normal นี้
102
7 Apr 64

EN DGA เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการกับ สำนักงานปลัดกระทรวง อว. เรื่อง ข้อมูลที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนการกำหนดมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา

ดร. สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ได้รับเชิญจาก สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ข้อมูลที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนการกำหนดมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา พร้อมด้วย นายณัฐวัชร์ วรนพกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล และ ดร. มนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายเดตาโซลูชันส์ภาครัฐ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) โดยร่วมอภิปรายในหัวข้อ ‘แนวทางการจัดทำข้อมูลมาตรฐานอุดมศึกษาและการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยที่เกี่ยวข้อง’ ให้แก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สป.อว. ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ณ สำนักงานปลัดกระทรวง อว. เพื่อให้บุคลากรใน สป.อว. มีความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำข้อมูลมาตรฐานการอุดมศึกษา ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการจัดทำข้อมูลด้านมาตรฐานการอุดมศึกษา สามารถกำหนดแนวทางการดำเนินการต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนและได้ข้อมูลเป็นประโยชน์ รวมทั้งเข้าใจแนวทางในการเชื่อมโยงข้อมูลจากสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่กำหนด เกิดการบูรณาการและลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินการต่าง ๆ ต่อไป
92
7 Apr 64

EN สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดพิธีรับพระราชทานปฏิทินหลวง พุทธศักราช 2564 พร้อมด้วยผู้บริหารในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี

นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีรับพระราชทานปฏิทินหลวง พุทธศักราช 2564 ของหน่วยงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยผู้บริหารของหน่วยงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 22 หน่วยงาน และผู้บริหารของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 14 ท่าน ในการนี้ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) โดย คุณณพิชญา เทพรอด ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เข้าร่วมพิธีดังกล่าว ณ อาคารสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
153
7 Apr 64

EN DGA จัดประชุมหารือ เพื่อให้ความเห็นและข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการข้อมูลลับทางราชการในรูปแบบดิจิทัล

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA จัดประชุมหารือ เพื่อให้ความเห็นและข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการข้อมูลลับทางราชการในรูปแบบดิจิทัล โดยมี รศ. ธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ ประธานคณะทำงาน นายพัชโรดม ลิมปิษเฐียร ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการจัดทำร่างมาตรฐานฯ พร้อมด้วยคณะที่ปรึกษา ดร. สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ผศ. ภุชงค์ อุทโยภาศ คณะผู้บริหารสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) นายวิบูลย์ ภัทรพิบูล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ดร. มนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายเดตาโซลูชันส์ภาครัฐ DGA  และคณะทำงานจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กองบัญชาการตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ณ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
177
12 Mar 63

EN ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ

กำหนดให้มีธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐเพื่อเป็นหลักการและแนวทางในการดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าว อันจะนำไปสู่การพัฒนาระบบข้อมูลที่สำคัญของภาครัฐเพื่อประโยชน์ในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน และบูรณาการข้อมูลของหน่วยงานของรัฐอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการพัฒนาศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
14
Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save