>>> คลิกเพื่อลงทะเบียนหน่วยงาน

>>> คลิกเพื่อใส่ข้อเสนอแนะต่อร่างมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านการเชื่อมโยงข้อมูล เรื่องสถาปัตยกรรมอ้างอิง

>>> คลิกเพื่อใส่ข้อเสนอแนะต่อร่างมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านการเชื่อมโยงข้อมูล เรื่องข้อกำหนด 5 ด้าน

>>> คลิกเพื่อ download ไฟล์ร่างมาตรฐาน ไฟล์แบบสอบถาม และเอกสารที่เกีี่ยวข้อง

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ

ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ในมาตรา 13 ระบุว่าเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินและการให้บริการประชาชน ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลที่มีการจัดทำและครอบครองตามที่หน่วยงานของรัฐแห่งอื่นร้องขอ ที่จะเกิดการบูรณาการร่วมกัน และ มาตรา 15 ระบุว่า ให้มีศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลและทะเบียนดิจิทัลระหว่างหน่วยงานของรัฐ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในการให้บริการประชาชนผ่านระบบดิจิทัล และดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้

  1. กำหนดนโยบายและมาตรฐานเกี่ยวกับการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลให้ความเห็นชอบ
  2. ประสานและให้ความช่วยเหลือแก่หน่วยงานของรัฐในการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลระหว่างกัน รวมทั้งกำกับติดตามให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปในแนวทางและมาตรฐานเดียวกันตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด
  3. จัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐ และจัดเก็บบันทึกหลักฐานของการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัล
  4. เรื่องอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลมอบหมาย

มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านการเชื่อมโยงข้อมูล (Thailand Government Information Exchange, Series: Linkage Standard) คืออะไร

กลุ่มมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (Thailand Government Information Exchange: TGIX) ประกอบด้วยมาตรฐาน 2 กลุ่ม ได้แก่ มาตรฐานฯ ด้านการเชื่อมโยงข้อมูล (Linkage Standard) ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับเทคนิค และ มาตรฐานฯ ด้านความหมายข้อมูล (Semantic Standard) ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับความหมาย

มาตรฐานที่จัดทำประชาพิจารณ์ในครั้งนี้เป็นกลุ่มมาตรฐานฯ ด้านการเชื่อมโยงข้อมูล ว่าด้วยเรื่องของสถาปัตยกรรมการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ที่มีลักษณะการเชื่อมโยง 3 รูปแบบ ได้แก่ 

  1. การเชื่อมโยงและการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในกลุ่ม TGIX (TGIX Intra-DX) เป็นมาตรฐานสถาปัตยกรรมสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สมาชิกในกลุ่มดำเนินการตามมาตรฐาน TGIX มีรายละเอียดของส่วนประกอบต่างๆ ตลอดจนขั้นตอนการทำงานของแต่ละส่วนประกอบ และแนวทางการดำเนินการตามมาตรฐานฯ ของหน่วยงานเจ้าของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. การเชื่อมโยงและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกลุ่ม TGIX (TGIX Inter-DX) เป็นมาตรฐานสถาปัตยกรรมสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกลุ่มที่ดำเนินการตามาตรฐาน TGIX มีรายละเอียดของส่วนประกอบต่างๆ ตลอดจนขั้นตอนการทำงานของแต่ละส่วนประกอบ และแนวทางการดำเนินการตามมาตรฐานฯ ของหน่วยงานเจ้าของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
  3. การเชื่อมโยงและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกลุ่ม TGIX กับ กลุ่ม Data Exchange อื่นๆ ของประเทศที่มีการใช้งานอยู่ตามภาคส่วน (Federated DX) เป็นมาตรฐานสถาปัตยกรรมสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกลุ่มที่ดำเนินการตามาตรฐาน TGIX กับกลุ่มที่ใช้มาตรฐานอื่นๆ มีรายละเอียดของส่วนประกอบต่างๆ ตลอดจนขั้นตอนการทำงานของแต่ละส่วนประกอบ และแนวทางการดำเนินการตามมาตรฐานฯ ของหน่วยงานเจ้าของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

นอกจากนี้ยังมีมาตรฐานย่อยในส่วนขององค์ประกอบของสถาปัตยกรรมข้างต้นจะกล่าวถึง (1) การบริหารจัดการ Authentication และ Access Control และ บัญชีผู้ใช้งาน Accounting (2) การบริหารจัดการ Token และ Session (3) โปรโตคอล (Protocol) สำหรับการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูล (4) ความมั่นคงปลอดภัย (Security) และการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) (5) การบันทึกล็อก (Logging) และการติดตาม (Monitoring) (6) การกำหนด namespace ของระบบ

ทางสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ซึ่งมีหน้าที่อำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติงานในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จึงขอความอนุเคราะห์ท่านร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วย มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านการเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและปรับปรุงต่อไป โดยสามารถตอบแบบแสดงความคิดเห็นกลับมาภายใน วันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2565

ข้อกฏหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 มาตรา 12 (2) กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดทำกระบวนการหรือการดำเนินงานทางดิจิทัลเพื่อการบริหารราชการแผ่นดินและการให้บริการประชาชน กระบวนการหรือการดำเนินงานทางดิจิทัลนั้นต้องทำงานร่วมกันได้ตามมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด เพื่อให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นได้ ประกอบมาตรา 12 (4) จัดให้มีระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล และตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 หมวด 3/1 ระบบการพิสูจน์และการยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อกำกับดูแลการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลให้มีความน่าเชื่อถือและปลอดภัย

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. ได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานและหลักเกณฑ์การจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล ว่าด้วยเรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย เสนอต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล และเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2564 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัลว่าด้วยเรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย

และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้หน่วยงานภาครัฐสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานดังกล่าว สพร. จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาเครื่องมือประมวลผลอัตโนมัติสำหรับการประเมินความเสี่ยงเพื่อใช้พิสูจน์และยืนยันตัวตน สำหรับบริการภาครัฐ (Assessment Tool for Government Digital ID) โดยผลลัพธ์จากการประมวลผลอัตโนมัติจะแนะนำระดับความน่าเชื่อถือที่เหมาะสม ว่าบริการที่ได้ประเมินความเสี่ยงด้วยเครื่องมือฯ ควรจะกำหนดระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี (Identity Assurance Level: IAL) และระดับความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน (Authenticator Assurance Level: AAL) อยู่ในระดับใด อนึ่ง วิธีการ ขั้นตอน และข้อกำหนดแต่ละระดับความน่าเชื่อถือ ท่านสามารถศึกษาได้จากมาตรฐานฯ ข้างต้น

ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงเครื่องมือฯ ให้มีความเหมาะสมกับบริการภาครัฐมากยิ่งขึ้น จึงขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นฯ ผ่านระบบออนไลน์ ภายในวันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565

การจัดการคุณภาพข้อมูล

ข้อมูลที่ดีเพื่อการตัดสินใจที่ดีกว่า

โลกในปัจจุบันถูกผลักดันและเติบโตด้วยการขับเคลื่อนของดิจิทัล ข้อมูลกลายเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่ามากที่สุดขององค์กร การประกอบธุรกิจและกระบวนการทำงานต่าง ๆ ของทุกภาคส่วนล้วนพึ่งพา และอาศัยข้อมูลในการสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ประกอบกับกระแสของข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data ที่ทุกภาคส่วนกำลังให้ความสนใจ เนื่องจากประโยชน์ที่ได้รับจากการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ จะช่วยในการดำเนินงานในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำความเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการในด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่ส่วนมากพบว่าข้อมูลที่มีไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ และองค์กรส่วนใหญ่อาจยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับคุณภาพของข้อมูล (Data Quality) ที่จะนำมาใช้ในทุกมิติ จึงทำให้ไม่อาจใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่ได้อย่างสูงสุด

จึงเป็นเหตุผลหลักที่หน่วยงานภาครัฐควรตระหนักถึงความสำคัญของการควบคุมและบริหารจัดการคุณภาพข้อมูล จัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลและบริหารจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐได้เริ่มจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลและบัญชีข้อมูล (Data Catalog) ทั้งในระดับองค์กรและระดับประเทศ รวมทั้งกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูลของหน่วยงานที่มีความคืบหน้าในระดับหนึ่ง อันจะนำไปสู่การบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐอย่างเป็นระบบ รวมทั้งสนับสนุนการจัดทำบัญชีข้อมูลหน่วยงานให้ได้มาตรฐานและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สอดคล้องตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ จึงจำเป็นต้องมีการวัดผลการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อให้หน่วยงานของรัฐมีข้อมูลที่มีคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปยังการนําข้อมูลไปใช้และส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ใช้ข้อมูลในทุกภาคส่วนต่อเนื่องกันไป

ISO 8000:61-2016 Data Quality Management แนวทางการจัดการคุณภาพข้อมูล เริ่มตั้งแต่การวางแผน การควบคุม การประกันคุณภาพ และปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นเรื่องของกระบวนการภายในองค์กร โดยต้องมีผู้รับผิดชอบ และเกณฑ์การตรวจสอบชี้วัด รวมถึงแนวทางการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกระบวนการทำให้ข้อมูลมีคุณภาพจะถูกแบ่งออกเป็นหมายเลขจำนวนมาก ซึ่ง ISO เรียกว่าส่วน (Past) จะประกอบด้วย คุณภาพข้อมูลทั่วไป (General data quality: Parts 0-99), คุณภาพข้อมูลที่สำคัญ (Master data quality: Parts 100-199), คุณภาพข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการ (Transactional data quality: Pasts 200-299), คุณภาพข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ (Product data quality: Parts 300-399)

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) มีหน้าที่อำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลมอบหมาย และดำเนินการร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ เสนอคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 และแต่งตั้งคณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานการบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐ ได้จัดทำร่างหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูล เพื่อเป็นกรอบการประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ และเครื่องมือสำหรับการประเมินคุณภาพข้อมูลเบื้องต้น เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐใช้เป็นตัวอย่างในการตรวจสอบและควบคุมการจัดการข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ สามารถนำไปใช้ประกอบการวิเคราะห์และตัดสินใจในเชิงนโยบายและการดำเนินงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มคุณค่าในการให้บริการภาครัฐ และต่อยอดการพัฒนาของประเทศในมิติต่าง ๆ ได้ ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้ข้อมูลภาครัฐ

จึงขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อให้ร่างหลักเกณฑ์ฯ มีความเหมาะสมกับการนําไปใช้งานได้จริงและเป็นประโยชน์กับหน่วยงานของท่าน โดยสามารถตอบแบบแสดงความคิดเห็นกลับมาภายในวันพฤหสบดีที่ 16 ธันวาคม 2564  (ศึกษารายละเอียดและดาวน์โหลดเอกสารตามที่แนบมานี้)

เอกสารประกอบการจัดงาน: ลิงก์สำหรับดาวน์โหลดเอกสาร

  1. ร่างหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ
  2. แบบแสดงความคิดเห็นต่อร่างหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ
  3. กำหนดการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็น
  4. แบบตอบรับเข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็น

ช่องทางเข้าร่วม: สามารถเข้าร่วมงานผ่านการถ่ายทอดสดออนไลน์ (Live Streaming) ทาง Facebook DGA Thailand  ลิงก์สำหรับเข้าร่วมงาน https://www.facebook.com/DGAThailand

WORLD STANDARDS DAY

          ท่านทราบหรือไม่ว่า ในวันที่ 14 ตุลาคมของทุกปี สมาชิกของ IC, ISO และ ITU จะเฉลิมฉลองวันมาตรฐานโลก ซึ่งเป็นวิธีการแสดงความเคารพต่อความพยายามในการทำงานร่วมกันของผู้เชี่ยวชาญหลายพันคนทั่วโลก ที่ได้พัฒนาข้อตกลงทางเทคนิคด้วยสมัครใจและได้รับการตีพิมพ์เป็นมาตรฐานสากล

          ซึ่งวันมาตรฐานโลกปี 2564 นี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ “our shared vision for a better world ” ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม https://www.iso.org/world-standards-day.html

การพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data)

เอกสารรายละเอียดตัวชี้วัดการพัฒนาองค์การสู่ดิจิทัล (น้ำหนักร้อยละ 15) ปี 2564

ความเป็นมา

     ด้วย คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๐ รับทราบการดำเนินการเกี่ยวกับข้อเสนอแนะเพื่อการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ตามมาตรา ๒๖๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เรื่องการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินและการบริการประชาชนด้วยระบบดิจิทัลและร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยรัฐบาลดิจิทัล พ.ศ. …. ที่เสนอโดยสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และได้มอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย คณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน คณะที่ ๓ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.) (ปัจจุบันคือสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.)) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เร่งรัดการพิจารณาขับเคลื่อนการดำเนินการตามข้อเสนอแนะเพื่อการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ซึ่ง สรอ. ก.พ.ร. และ ดศ. ได้ดำเนินการขับเคลื่อนร่างพระราชบัญญัติร่วมกับคณะกรรมการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วน

     ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๑ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ได้จัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยรัฐบาลดิจิทัล พ.ศ. …. เพื่อนำข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นต่างๆ ไปประกอบการเสนอร่างพระราชบัญญัติต่อคณะรัฐมนตรี โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๑ อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยรัฐบาลดิจิทัล พ.ศ. …. และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของหน่วยงานต่างๆ ไปประกอบการพิจารณาด้วย  ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) เพื่อพิจารณาร่างกฎหมาย ทั้งนี้ คณะกรรมการได้มีการเปลี่ยนชื่อร่างกฎหมายจาก “ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยรัฐบาลดิจิทัล พ.ศ. ….” เป็น “ร่างพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ….”

     สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ ๑๙/๒๕๖๒ เป็นพิเศษ เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. …. และได้ลงมติวาระที่ ๓ เห็นสมควรประกาศใช้ร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายต่อไป พร้อมทั้งได้เห็นชอบข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ ฯ และมีมติให้ส่งข้อสังเกตดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

     เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศให้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒ ใช้บังคับมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๒ เป็นต้นไป

ไฟล์เอกสาร

0

เวลาติดต่อหน่วยงานภาครัฐ หลายๆ คนคงเคยมีคำถามสงสัยในใจกันมาก่อนว่า ทำไมเราถึงต้องนำเอกสารหลักฐานข้อมูลของเราส่งให้แต่ละหน่วยงานด้วยตนเอง ทั้งๆ ที่ภาครัฐเองก็น่าจะมีข้อมูลของเราครบถ้วนอยู่แล้ว? ทำไมหน่วยงานภาครัฐจึงไม่สามารถแบ่งปันข้อมูลระหว่างกันได้?

เพื่อตอบโจทย์เหล่านี้ให้กับภาคประชาชนและกำหนดให้หน่วยงานภาครัฐต้องพัฒนาระบบกลางขึ้นมาแก้ไขปัญหาเหล่านี้ พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒ หรือ พรบ.DG จึงถูกร่างขึ้นมาเพื่อเปลี่ยนแปลงการทำงานของหน่วยงานภาครัฐทั้งหมด ให้ก้าวสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างเต็มตัว และสามารถทำงานร่วมกันแบบบูรณาการได้อย่างสมบูรณ์ในอนาคต

รัฐบาลดิจิทัล: เป้าหมายสู่การดำเนินงานภาครัฐ ที่บูรณาการข้อมูลและขั้นตอนจากทุกหน่วยงานเข้าด้วยกัน

ที่ผ่านมาประชาชนชาวไทยทุกท่านน่าจะได้เห็นความพยายามของหลายๆ หน่วยงานที่ได้ทำการพัฒนาระบบเว็บไซต์หรือ Mobile Application ขึ้นมาให้บริการประชาชนกันบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งในโครงการเหล่านี้เอง หน่วยงานรัฐหลายๆ แห่งก็ได้เริ่มมีประสบการณ์ในการพัฒนาบริการดิจิทัลกันมากขึ้น และพบกับอุปสรรคสำคัญ คือการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหลายหน่วยงานเข้าด้วยกันนั่นเอง

ประเด็นนี้ถือว่ามีความสำคัญไม่น้อย เพราะแรกเริ่มเดิมทีนั้นหน่วยงานภาครัฐมีการดำเนินงานโดยใช้เอกสารกระดาษกันเป็นหลักมาตั้งแต่อดีต จนกระทั่งเมื่อเทคโนโลยี IT เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น หลายๆ หน่วยงานก็เริ่มนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาประยุกต์ใช้งานกันภายใน ทำให้ระบบบริหารจัดการกระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นบนเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น

อย่างไรก็ดี ปัญหาประการถัดมาที่เกิดขึ้นก็คือการที่แต่ละหน่วยงานนั้นต่างเร่งพัฒนาบริการดิจิทัลของตนเองด้วยแนวคิดที่แตกต่างกันออกไป ทำให้แต่ละระบบถูกออกแบบมาด้วยแนวทางที่แตกต่างกัน มีการจัดเก็บและนำข้อมูลมาใช้งานที่แตกต่างกัน ทำให้การนำข้อมูลของหน่วยงานต่างแห่งมาใช้งานนั้นเป็นไปได้ยาก อีกทั้งยังไม่มีมาตรฐานกลางที่ชัดเจนถูกระบุขึ้นมา

ด้วยเหตุนี้ พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒ หรือ พรบ.DG จึงเกิดขึ้นมาตอบโจทย์เหล่านี้โดยเฉพาะ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐไทยสามารถร่วมมือกันพัฒนาไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลได้อย่างเต็มตัว โดยมีการวางแผนระดับชาติและตั้งคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลขึ้นมา พร้อมมีสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลหรือ DGA เป็นหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินการตามประราชบัญญัติฉบับนี้ ด้วยแนวทางดังต่อไปนี้

1. กำหนดให้มีการทำ Data Governance หรือธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ด้วยการวางมาตรฐานในการจัดเก็บ รักษา อัปเดต บริหารจัดการ และการเปิดให้นำข้อมูลของแต่ละหน่วยงานมาใช้ร่วมกันได้ โดยข้อมูลเหล่านี้ต้องมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย พร้อมเปิดให้หน่วยงานต่างๆ มานำไปใช้งานได้ หรือเปิดให้ภาคเอกชนและประชาชนเข้าถึงได้ในส่วนที่เป็นข้อมูลสาธารณะ

2. กำหนดให้มีการจัดทำข้อมูลและบริการในแบบดิจิทัลหรือ Digitization เพื่อให้กระบวนการการให้บริการภาครัฐและการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ นั้นอยู่ในรูปแบบดิจิทัลให้สอดคล้องกัน รวมถึงมีการนำระบบการชำระเงินทางดิจิทัล (National e-Payment) สำหรับการชำระค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือค่าปรับมาใช้ และนำระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) มาใช้ภายในระบบต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและความมั่นคงปลอดภัยแก่ประชาชน

3. กำหนดให้มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลรูปแบบดิจิทัลหรือ Integration เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐแต่ละแห่งสามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันผ่านระบบดิจิทัลได้ด้วยรูปแบบของข้อมูลที่เป็นมาตรฐานและมีความมั่นคงปลอดภัย ลดความซ้ำซ้อนในกระบวนการร้องขอหรือจัดเก็บข้อมูลของแต่ละหน่วยงานลง และมีหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลเหล่านี้

4. กำหนดให้มีความร่วมมือเปิดบริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวหรือ One Stop Service เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการทำธุรกรรมใดๆ กับหน่วยงานภาครัฐ ให้สามารถเข้าถึงบริการและสวัสดิการภาครัฐให้ได้มากที่สุดภายในระบบเดียว ไม่ต้องลำบากติดต่อหลายหน่วยงานอย่างในอดีตอีกต่อไป

5. กำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล หรือ Open Government Data เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการทำงาน ประชาชนสามารถเข้าถึงและตรวจสอบการทำงานของภาครัฐได้ ไปจนถึงสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้งานต่อยอดในการดำเนินธุรกิจได้อย่างสะดวกจาก https://data.go.th/

6. กำหนดให้มีการพัฒนาทักษะทางด้านดิจิทัลของบุคลากรภาครัฐ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐกลายเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลแห่งอนาคตได้อย่างเข้มแข็ง

จะเห็นได้ว่าพระราชบัญญัติฉบับนี้มีเนื้อหาที่ครอบคลุมและชัดเจนถึงเป้าหมายของรัฐบาลดิจิทัล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งประชาชนที่จะสามารถเข้ารับบริการหรือสวัสดิการต่างๆ ได้อย่างสะดวก ง่ายดาย และมั่นคงปลอดภัยมากยิ่งขึ้น รวมถึงหน่วยงานภาครัฐเองที่หลังจากนี้จะสามารถร่วมมือทำงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ มาให้บริการแก่ภาคประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานมากยิ่งขึ้นด้วย

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดฉบับเต็ม สามารถศึกษาข้อมูลทั้งหมดได้ที่ พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ.2562

ข้อความอิเล็กทรอนิกส์สำหรับใบประมวลผลการศึกษา (Message Standard for Academic Transcript) เพื่อกำหนดโครงสร้างข้อมูลของข้อความอิเล็กทรอนิกส์สำหรับใบประมวลผลทางการศึกษาในรูปแบบ XML (Extensible Markup Language) เพื่อให้สถาบันการศึกษาใช้เป็นมาตรฐานประกอบการจัดทำข้อมูลในใบประมวลผลการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ท่านสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องและอำนวยความสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ รวมถึงช่วยให้เราปรับปรุงการนำเสนอเนื้อหาตรงตามความต้องการของท่าน โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ประกาศการใช้คุกกี้ และ ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่าข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า