EN DGA จัดงานประชุมชี้แจงมาตรฐานการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ ครั้งที่ 1 เตรียมพร้อมหน่วยงานรัฐรับ ‘ตัวชี้วัดการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล Data Catalog เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open data)’ ปี 2564


สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA โดย ดร. สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เป็นประธานกล่าวเปิดงานประชุมชี้แจงมาตรฐานการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ ครั้งที่ 1 พร้อมปาฐกถาเรื่อง Digitized Data for Open Data” เพื่อให้หน่วยงานรัฐทราบถึง ‘ตัวชี้วัดการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล Data Catalog เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open data)’ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดใหม่ในปี 2564 เพื่อเตรียมความพร้อมภาครัฐให้สามารถปรับตัวเข้าสู่ยุคของการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐจึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการจัดทำบัญชีข้อมูลเพื่อช่วยให้ผู้ใช้ข้อมูลในหน่วยงานสามารถใช้บริการผ่านระบบสารสนเทศในการสืบค้น ร้องขอ เข้าถึงแหล่งที่มา ทราบถึงประเภท รูปแบบข้อมูล ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มติให้สำนักงานสถิติแห่งชาติจัดทำระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐของประเทศหรือ Government Data Catalog : GD Catalog และระบบนามานุกรม (Directory services) ที่เป็นเสมือนสมุดหน้าเหลือง (Yellow Pages) สำหรับภาครัฐ พร้อมทำหน้าที่รวบรวมบัญชี

ข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐมาขึ้นทะเบียนไว้ที่ระบบ GD Catalog เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ประโยชน์ข้อมูลสำคัญของภาครัฐทั้งหมดได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อน รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดการติดตามและกำกับดูแลการจัดการข้อมูลตลอดทั้งวงจรชีวิต สามารถบูรณาการ และใช้ประโยชน์ข้อมูลข้ามหน่วยงานได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ DGA ซึ่งมีหน้าที่อำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติงานในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 และแต่งตั้งคณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ ซึ่งมี DGA และสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นฝ่ายเลขานุการร่วม มาดำเนินการจัดทำ แนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ และด้วย DGA มีวิสัยทัศน์ “นำรัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล” จึงได้ประกาศมาตรฐานของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ เลขที่ มสพร. 1 – 2564 ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2564 เพื่อเป็นประโยชน์ให้หน่วยงานภาครัฐอื่นนำมาตรฐานไปใช้อ้างอิงและเป็นแนวทางในการจัดทำบัญชีข้อมูลของหน่วยงานให้สอดคล้องตามแนวทางประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ และมาตรฐานคำอธิบายข้อมูลหรือเมทาดาตา (Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ ที่มีความสอดคล้องกัน และสามารถรวบรวมเข้าสู่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐกลาง ตลอดจนสามารถให้บริการข้อมูลภาครัฐแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนต่อไป







ทั้งนี้ ภายในงานได้รับเกียรติจาก นางสาวณฐิณี สงกุมาร ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) มาบรรยายถึง แนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของจังหวัดประจำปี 2564 เรื่อง “การพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data)” ต่อเนื่องด้วย ดร. อุรัชฎา เกตุพรหม ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนามาตรฐานดิจิทัล DGA มาบรรยายเรื่อง ‘มาตรฐานการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ’ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจถึงแนวทางมาตรฐานการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐได้ง่ายขึ้น พร้อมนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการจัดทำระบบ GD Catalog ในหน่วยงานได้




สำหรับในช่วงบ่าย มีวิทยากรผู้รู้มาร่วมเสวนาในหัวข้อ ‘Law & Regulation for Government Open Data’ ได้แก่ นายเฉลิมพล เลียบทวี นิติกรชำนาญการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ นางสาวธัญลักษณ์ กริตาคม นักการข่าวชำนาญการ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ นางสาวฐิติรัตน์  ทิพย์สัมฤทธิ์กุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมี ดร.อุรัชฎา เกตุพรหม ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนามาตรฐานดิจิทัล DGA เป็นผู้ดำเนินรายการ และต่อเนื่องด้วย การบรรยายในหัวข้อ ‘Agency Data Catalog vs. GD Catalog’ โดย นายทรงพล ใหม่สาลี ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศยุทธศาสตร์ภาครัฐ สำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นวิทยากร สำหรับการจัดประชุมฯ นี้มีหน่วยงานส่วนราชการที่เลือกตัวชี้วัด ของ สำนักงาน ก.พ.ร. ตอบรับเข้าร่วมอบรม 200 คน โดย DGA แบ่งจัดการประชุมเป็น 2 ครั้ง คือ ในวันที่ 23 และ 29 มีนาคม 2564 ณ โรงแรม ทีเค. พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ




คลิกเพื่อรับชม LIVE งานประชุมชี้แจงมาตรฐานการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ ครั้งที่ 1

ช่วงเช้า

ช่วงบ่าย

Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save