ปฏิเสธไม่ได้ว่าองค์กรในโลกยุคปัจจุบันขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและความรวดเร็วในการให้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคโควิด-19 เราก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าทุกองค์กรล้วนต้องปรับกระบวนการทำงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

Twilio ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารของอเมริกาได้สำรวจผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจภายในองค์กรกว่า 2,569 ราย เกี่ยวกับการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนการทำงานให้เป็นรูปแบบดิจิทัล หรือ Digital Transformation พบว่า 97% เชื่อว่าการระบาดครั้งใหญ่นี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็น Digital Transformation โดย 95% บอกว่าพวกเขากำลังมองหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อจะให้บริการกับลูกค้า โดยที่ 79% ยังบอกอีกว่า โควิด-19 เป็นแรงกระตุ้นทำให้หน่วยงานของพวกเขาเพิ่มงบประมาณสำหรับ Digital Transformation อีกด้วย

นั่นหมายความว่าหลายองค์กรมั่นใจว่า Digital Transformation จะเป็นรูปแบบที่ทำให้การทำงานสามารถเดินหน้าฝ่ามรสุมของสถานการณ์โรคระบาดครั้งนี้ได้

Digitization, Digitalization, Digital Transformation

ในกระแสของคำว่า Digital Transformation ยังมีคำว่า Digitization และ Digitalization รวมอยู่ด้วย ทุกคำมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการพัฒนาองค์กรให้กลายเป็นดิจิทัล แต่ความหมายของทั้งสามคำนั้นมีการแตกต่างในกระบวนการทำงานอยู่

Digitization และ Digitalization กลายมาเป็น Digital Transformation

สองคำนี้ถึงแม้จะฟังดูใกล้กัน แต่ความจริงนั้นมีความหมายแตกต่างกันออกไปอย่างชัดเจน Digitization หรือกระบวนการทำให้เป็นดิจิทัล คือการเปลี่ยนแปลงข้อมูล “รูปแบบกายภาพ” เป็น “รูปแบบดิจิทัล” เช่น การแปลงเอกสารในกระดาษให้เป็นรูปแบบดิจิทัล กลายเป็นระบบไฟล์ที่สามารถจัดเก็บอย่างสะดวก

แต่ Digitalization คือการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานแบบอนาล็อกให้กลายเป็นดิจิทัล ยกตัวอย่างเช่น หากเรามีข้อมูลบนแผ่นกระดาษแล้วแปลงมาเป็นไฟล์ PDF จะเป็นกระบวนการ Digitization และถ้าหากเราแชร์ไฟล์ PDF ดังกล่าวผ่านในคลาวด์ที่เชื่อมโยงกับแผนกอื่นๆ ในที่ทำงาน กระบวนการนี้ก็คือการ Digitalization นั่นเอง

และเมื่อเรานำข้อมูลดิจิทัลมาวิเคราะห์ จนพัฒนาเป็นกลยุทธ์เพื่อเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานขององค์กรโดยใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย นั่นก็คือ Digital Transformation

ดังนั้น Digital Transformation ไม่ใช่กระบวนการทำงานอย่างเดียว จะเริ่มตั้งแต่การกำหนดกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับองค์กร และบุคลากรจะต้องมีทักษะใหม่ๆ ที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานสู่ดิจิทัลให้ได้

ผลงาน Digital Transformation ในเอกชน

เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2021 รถไฟไร้คนขับได้เริ่มเปิดใช้ครั้งแรกที่เมืองฮัมบูร์ก เยอรมนี โดยระบบรถไฟไร้คนขับนี้สามารถวิ่งบนรางรถไฟร่วมกับรถไฟขบวนอื่นๆ ที่ใช้คนควบคุม โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัท Siemens และ Deutsche Bahn ผู้ให้บริการรถไฟของเยอรมนี โดยรถไฟขบวนนี้สามารถขนส่งผู้โดยสารได้มากถึง 30% และลดการใช้พลังงานได้ถึง 30%

ความโดดเด่นของระบบรถไฟอัตโนมัตินี้อยู่ที่ระบบทุกอย่างเป็น Digitalization ใช้ระบบจัดการเดินรถไฟอัตโนมัติ (Automatic Train Operation – ATO) ระบบนี้จะควบคุมรถไฟ โดยได้รับข้อมูลเกี่ยวกับตารางเดินรถ, คำสั่งสัญลักษณ์ต่างๆ, การจำกัดความเร็วรถไฟแบบดิจิทัลผ่านเซ็นเซอร์และกล่องสัญญาณ

ไม่ใช่แค่การให้บริการด้านคมนาคมที่ Siemens ปรับเปลี่ยนมาดำเนินการกระบวนการทำงานให้เป็นดิจิทัล พวกเขายังร่วมมือกับ BioNTech เปลี่ยนโรงงานให้กลายเป็นสถานที่ผลิตวัคซีน mRNA เพื่อป้องกันโควิด-19 โดยสามารถลดระยะเวลาจาก 1 ปีให้เหลือเพียง 5 เดือนได้ด้วยระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยี

Digitalization

งานดังกล่าวรวมไปถึงการเก็บข้อมูลแบบดิจิทัลที่ไม่ใช้กระดาษ การชั่งน้ำหนักอัตโนมัติแทนการใช้คนจัดการ นอกจากนี้ Siemens ยังใช้เทคโนโลยี Digital twins เพื่อทำแบบจำลองดิจิทัลในการวิเคราะห์จำลองสถานการณ์แบบเรียลไทม์ ทำให้ลดระยะเวลาในการตัดสินใจหาโมเดลที่ดีที่สุดในการผลิตวัคซีนที่มีคุณภาพ ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้จากการเปลี่ยนเป็น Digital Transformation

ภาครัฐกับการเป็นรัฐบาลดิจิทัล

เพื่อตอบสนองการให้บริการของประชาชนและภาคธุรกิจที่ต้องการความรวดเร็วและทันสมัย จึงได้เกิดพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า พรบ.รัฐบาลดิจิทัล เพื่อช่วยลดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อนของหน่วยงานรัฐ ลดขั้นตอนการให้บริการด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้

พรบ.รัฐบาลดิจิทัล กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้สอดคล้องกับการกำหนดหลักเกณฑ์พัฒนามาตรฐาน ซึ่งกำหนดไว้ดังนี้

  • ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance for Government)
  • การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Government Data)
  • การจัดทำกระบวนการหรือการดำเนินงานทางดิจิทัล (Digitalization)
  • การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital Identity: ID)
  • การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัล (Data Exchange)

จะเห็นว่าการทำ Digitalization เป็นหนึ่งในก้าวที่สำคัญสำหรับการเริ่มต้นการเป็นรัฐบาลดิจิทัล ซึ่งปัจจุบันหลายหน่วยงานเริ่มเปิดให้ใช้บริการแล้ว ยกตัวอย่างเว็บไซต์ศูนย์กลางบริการภาครัฐสำหรับประชาชน (GovChannel) ที่เป็นศูนย์กลางการเข้าถึงข้อมูลและบริการสำหรับประชาชน โดยใช้งานได้ที่ https://www.govchannel.go.th/

อ้างอิง

https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/page/opdc.pdf
https://onde.go.th/assets/portals/1/files/620425-Government%20Gazette.PDF
https://www.forbes.com/sites/johnkoetsier/2020/09/10/97-of-executives-say-covid-19-sped-up-digital-transformation/?sh=753a14647997

https://www.forbes.com/sites/jasonbloomberg/2018/04/29/digitization-digitalization-and-digital-transformation-confuse-them-at-your-peril/?sh=3a6163d42f2c https://www.fastcompany.com/90737945/from-automated-trains-to-vaccine-production-siemens-is-changing-the-world-with-digitalization?partner=rss&utm_source=rss&utm_medium=feed&utm_campaign=rss+fastcompany&utm_content=rss

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ เอกสารการรับฟังความคิดเห็น งานประชุมรับฟังความคิดเห็น เอกสารประกอบงานประชุมฯ

LINK การจัดงานประชุมรับฟังความคิดเห็นฯ ออนไลน์ (MS Team) วันอังคารที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๕.๓๐ น. ขอเชิญเข้าร่วมการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อแนวปฏิบัติการลงลายมืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ (Guideline on E-Signature for Government Official)

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๑๒ (๒) กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดทำกระบวนการหรือการดำเนินงานทางดิจิทัลเพื่อการบริหารราชการแผ่นดินและการให้บริการประชาชน กระบวนการหรือการดำเนินงานทางดิจิทัลนั้น ต้องทำงานร่วมกันได้ตามมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด เพื่อให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นได้ ประกอบกับความตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้มีการลงลายมือชื่อ หรือกำหนดผลทางกฎหมายกรณีที่ไม่มีการลงลายมือชื่อไว้ ให้ถือว่าได้มีการลงลายมือชื่อแล้ว ถ้า (๑) ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ และสามารถแสดงเจตนาของเจ้าของลายมือชื่อเกี่ยวกับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และ (๒) ใช้วิธีการในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (ข) วิธีการอื่นใดที่สามารถยืนยันตัวเจ้าของลายมือชื่อและสามารถแสดงเจตนาของเจ้าของลายมือชื่อตาม (๑) ได้ด้วยวิธีการนั้นเองหรือประกอบกับพยานหลักฐานอื่น

ในการนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้บรรลุวัตถุประสงค์ตามกฎหมายข้างต้นและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาบริการภาครัฐที่หน่วยงานของรัฐต้องการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้มีความมั่นคงปลอดภัยและน่าเชื่อถือ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. จึงจัดทำแนวปฏิบัติการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อใช้เป็นแนวทางการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์และสามารถเลือกใช้วิธีการการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมกับการเข้าใช้บริการภาครัฐเสนอต่อคณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยภาครัฐ และคณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำแนวปฏิบัติฯ ไปจัดทำประชาพิจารณ์ ฝ่ายพัฒนามาตรฐานดิจิทัลภาครัฐจึงได้กำหนดการ
ประชาพิจารณ์ต่อแนวปฏิบัติการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ระหว่างวันที่ ๒๙ เมษายน – ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕ และจัดงานรับฟังความคิดเห็นต่อแนวปฏิบัติฯ ดังกล่าวในรูปแบบออนไลน์ผ่านช่องทางประชาสัมพันธ์ของสำนักงานฯ ในวันอังคารที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๕.๓๐ น.

รายการเอกสาร แบบฟอร์ม ไฟล์แนบ หรือลิ้งค์ที่เกี่ยวข้องประเภทวันที่นำเข้าลิ้งค์ดาวน์โหลด
1. แบบฟอร์มสำรวจแสดงความคิดเห็นฯ 30/04/2564
2. ร่างแนวปฏิบัติการลงลายมืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ 30/04/2564
3. คำชี้แจงการสำรวจความคิดเห็นและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล30/04/2565

ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงร่างมาตรฐานฯ ให้มีความเหมาะสมกับบริการภาครัฐมากยิ่งขึ้น จึงขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นฯ ผ่านระบบออนไลน์ ภายในวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕

งานประชุมรับฟังความคิดเห็น

การจัดงานประชุมรับฟังความคิดเห็นฯ ออนไลน์ (MS Team) วันอังคารที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๕.๓๐ น. ขอเชิญเข้าร่วมการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อแนวปฏิบัติการลงลายมืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ (Guideline on E-Signature for Government Official)

รายการเอกสาร แบบฟอร์ม ไฟล์แนบ หรือลิ้งค์ที่เกี่ยวข้องประเภทวันที่นำเข้าลิ้งค์ดาวน์โหลด
1. แบบฟอร์มลงทะเบียนเข้าร่วมงานประชุมเพื่อรับฟังความเห็นฯ 30/4/2565
2. (ร่าง) กำหนดการจัดงานประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็น30/04/2565
3. Link เข้าร่วมการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นฯ (MS Team)30/04/2565
4. เอกสารประกอบการนำเสนอ (Power Point)15/04/2565

วันที่ 21 – 22 กุมภาพันธ์ 2565  ผ่านระบบการประชุมออนไลน์

รายการเอกสาร แบบฟอร์ม ไฟล์แนบ หรือลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง ประเภท วันที่นำเข้า ลิ้งค์ดาวน์โหลด
1.เครื่องมือฯ-ผู้ประเมิน-version-1.3.7 16/02/2565
2.คู่มือการใช้เครื่องมือฯ-ผู้ประเมิน-version-1.3.7 16/02/2565
3.ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลฯ และมาตรฐานฯ ดิจิทัลไอดี16/02/2565
4.เอกสารการนำเสนอประกอบการอบรม16/02/2565

เมื่อวันที่ 25 และ 29 ตุลาคม 2564 ดร.อุรัชฎา เกตุพรหม ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนามาตรฐานดิจิทัล สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมและเปิดการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็น (Focus Group) สำหรับการจัดทำร่างแนวปฏิบัติการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ (Guideline on e-Signature for Government Official) ผ่านระบบประชุมทางไกลแบบออนไลน์ หรือ โปรแกรม Zoom ร่วมกับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกรณีศึกษาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (e-Saraban) และกรณีศึกษาระบบออกใบรับรองผลการศึกษา (Digital Transcript) โดย สพร. ร่วมกับบริษัท Finema ที่ปรึกษาโครงการได้เรียนเชิญผู้เข้าร่วมจากทั้ง 20 กระทรวง 15 หน่วยงาน และ 15 มหาวิทยาลัย

การจัดทำร่างแนวปฏิบัติการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์มีความมั่นคงปลอดภัยและน่าเชื่อถือได้ โดยกำหนดแนวปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องลงลายมือชื่อให้มีวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมาย และเพื่อให้เกิดหลักฐานที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ อีกทั้ง สามารถแสดงเจตนาของเจ้าของลายมือชื่อเกี่ยวกับข้อความที่ได้ลงลายมือชื่อไว้  

สาระสำคัญของร่างแนวปฏิบัติการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ กล่าวถึงภาพรวมการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย กฎหมาย มาตรฐาน คุณสมบัติและการเลือกใช้ประเภทลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องและมีความเหมาะสมกับการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงแนวทางของระบบลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นกรณีศึกษาในปัจจุบันด้วย

ซึ่งตลอดระยะเวลาของการจัดงานมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมและตั้งข้อซักถามจำนวนมาก ทำให้บรรยากาศของการจัดงานเป็นไปอย่างคึกคักและได้ความรู้มากมาย สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงร่างแนวปฏิบัติการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน และสำหรับบริการภาครัฐ ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย

ปฏิเสธไม่ได้เลยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อปี 2563 ที่ผ่านมานี้ ได้ทำให้คนทั้งโลกต้องปรับตัวไปสู่ยุควิถีชีวิตใหม่ (New Normal) กันเร็วขึ้นที่จะต้อง ติดต่อกันผ่านทางออนไลน์แทนเป็นหลักและด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เองก็ได้ส่งผลกระทบต่อหน่วยงาน ภาครัฐด้วยเช่นกัน ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งปรับตัวให้ทันกับยุค New Normal อย่างรวดเร็ว ด้วยการ เพิ่มช่องทางการให้บริการเป็นแบบออนไลน์เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนได้อย่างทันท่วงที ซึ่งสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) หรือ DGA ในฐานะเป็นหน่วยงานกลางของรัฐบาลดิจิทัลจึงได้ มีมาตรฐาน (Standard) ต่างๆ ที่จะช่วยให้ปรับเปลี่ยนภาครัฐกลายเป็นรัฐบาลดิจิทัลได้อย่างมีระบบ และยั่งยืน ซึ่งมาตรฐานของรัฐบาลดิจิทัลในวันนี้มีอะไรกันแล้วบ้าง ติดตามได้ในบทความนี้

มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ณ วันนี้

ตั้งแต่ DGA เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 จนกระทั่งถึงวันนี้ได้มีมาตรฐานเกิดขึ้นมามากมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนช่วยสำคัญที่สนับสนุนให้ภาครัฐสามารถเข้าสู่ New Normal ได้รวดเร็วขึ้น โดยมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลจากทาง DGA ณ วันนี้ มีดังต่อไปนี้

  • ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance for Government)
  • แผนแม่บทพอร์ทัลกลางเพื่อประชาชน ระยะ 3 ปี (Citizen Portal Roadmap)
  • มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Government Data of Thailand)
  • ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ (Digital ID)
  • มาตรฐานการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog Guideline)

Data Governance for Government

สินทรัพย์ที่สำคัญในโลกยุคปัจจุบันนั่นก็คือ “ข้อมูล” และภาครัฐเองก็ได้ให้ความสำคัญในการ จัดเก็บและนำเอาข้อมูลมาเพื่อช่วยสนับสนุนและขับเคลื่อนประเทศในหลาย ๆ ด้าน รวมทั้งเชิงนโยบาย ทางเศรษฐกิจหรือด้านสังคมดิจิทัล หากแต่ในหลาย ๆ หน่วยงานภาครัฐต้องประสบปัญหาและอุปสรรคที่ เกี่ยวข้องกับข้อมูลมากมาย จึงส่งผลให้ทาง DGA ออกมาเป็นกรอบมาตรฐานที่จะช่วยนำทางให้กับ หน่วยงานภาครัฐสามารถยึดเป็นแนวทางปฏิบัติที่จะทำให้สามารถสร้าง “ข้อมูลที่ดี” ที่มีทั้งเรื่องความ ปลอดภัย (Security) ความเป็นส่วนตัว (Privacy) และมีคุณภาพ (Quality) ให้เกิดขึ้นได้ภายในองค์กรของ ภาครัฐในยุค New Normal ได้อย่างยั่งยืน

Citizen Portal Roadmap

แผนแม่บทพอร์ทัลกลางเพื่อประชาชน ระยะ 3 ปี หรือ Citizen Portal Roadmap นั้นถือเป็นแผนการรวบรวมงานบริการของภาครัฐจากหลาย ๆ หน่วยงานสำหรับประชาชนมาบูรณาการไว้ ให้อยู่ในแหล่งเดียวกัน เพื่อให้สามารถบริการผ่านช่องทางออนไลน์ได้อย่างสะดวกและครบถ้วน ซึ่งแผนแม่ บทนี้จะกลายเป็นมาตรฐานการให้บริการของภาครัฐในยุค New Normal นี้

โดยแผนแม่บทระยะ 3 ปีนี้จะเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ไปจนถึงปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 ระยะที่ภาครัฐจะเริ่มทยอยพัฒนาและปรับเปลี่ยนการบริการต่างๆ ให้กลาย เป็นระบบดิจิทัล ทำให้บริการเข้าถึงประชาชนได้มากขึ้นอีกทั้งยังช่วยลดการแพร่ระบาดของไวรัส
COVID-19 ได้อีกด้วย แผนแม่บทนี้จึงเป็นการวางรากฐานการให้บริการประชาชนของประเทศไปสู่ มาตรฐานระดับสากลได้ต่อไป

Open Government Data of Thailand

การเปิดข้อมูลเปิดภาครัฐได้มีมาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะออกมาเมื่อปี พ.ศ.2563 ที่ผ่านมาเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลของภาครัฐ ที่สามารถเปิดเผยสู่สาธารณะได้ โดยประชาชนสามารถนำข้อมูลไปใช้งานได้อย่างเสรี ไม่จำกัดวัตถุประสงค์ และไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใดจึงทำให้ผู้ใช้งานข้อมูลสามารถนำไปวิเคราะห์หรือดัดแปลงได้ตามที่ต้องการ โดยมีศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Government Data of Thailand) อยู่ที่เว็บไซต์ data.go.th

นอกจากเรื่องข้อมูลเปิดของภาครัฐที่ได้ทำให้ยกระดับมาตรฐานของข้อมูลเปิดภาครัฐขึ้นมาเป็นมาตรฐานสากลมากขึ้นแล้ว ยังมีบริการศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (Government Data Exchange Center : GDX) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยสนับสนุนให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐให้มี มาตรฐานและมีความมั่นคงปลอดภัย และทำให้สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย มาตรฐานและ แพลตฟอร์มเหล่านี้เองจะเป็นส่วนที่ช่วยสนับสนุนให้ภาครัฐสามารถต่อยอดไปสู่การให้บริการในลักษณะ One Stop Service ได้ต่อไปในยุค New Normal นี้

Digital ID

Digital ID อาจเรียกได้ว่ากำลังจะกลายเป็นมาตรฐานใหม่สำหรับภาครัฐในยุค New Normal นี้เลยทีเดียว ด้วยบริการภาครัฐที่กำลังปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบออนไลน์มากขึ้นเรื่อย ๆ ตามแผนแม่บท Citizen Portal Roadmap ทำให้การพิสูจน์ตัวตน (Authentication) และยืนยันตัวตน (Identity Verification) ก่อนอนุญาตให้เข้าใช้บริการได้นั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญภาครัฐจึงต้องมีมาตรฐานวิธีการ พิสูจน์ยืนยันตัวตนให้เป็นรูปแบบเดียวกันเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าใจและตอบสนองต่อการเปลี่ยน แปลงได้อย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ ในประเทศไทยอาจเรียกได้ว่ามีการใช้งาน Digital ID มาระยะหนึ่งแล้ว อย่างเช่น โครงการ ชิมช้อปใช้อันเป็นที่รู้จักกันดีนั้นได้มีการผสานระบบ Digital ID เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการใช้งานไว้เป็น ที่เรียบร้อยแล้ว หรือการทำธุรกรรมออนไลน์ร่วมกับสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่จะมีการให้ยืนยันตัวตนผ่าน Digital ID ได้เลย เป็นต้น

Government Data Catalog

จากความตื่นตัวเรื่องข้อมูลที่มีมากขึ้นในทุกภาคส่วน จึงทำให้เกิดชุดข้อมูลของภาครัฐที่เปิด สาธารณะออกมาเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้การเลือกใช้ข้อมูลและการสืบค้นหาชุดข้อมูลนั้น เกิดความซับซ้อนและยุ่งยากมากขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าหากไม่ได้มีการจัดการอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ทาง DGA มีการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐหรือ Government Data Catalog (GD Catalog) ที่เป็นระบบเพื่อช่วยให้สามารถสืบค้น และเข้าถึงแหล่งที่มาของข้อมูล ประเภทและรูปแบบของ ข้อมูลที่จะทำให้ผู้ใช้งานข้อมูลสามารถเข้าใจและใช้ประโยชน์จากชุดข้อมูลได้สูงสุดและสะดวกรวดเร็ว

บทสรุป

มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลต่างๆ ที่ทาง DGA ได้มีการออกแบบ และได้พัฒนาขึ้นมาเหล่านี้เอง ที่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนให้ภาครัฐของประเทศไทยกำลังค่อยๆ ปรับตัวไปสู่ New Normal มากขึ้นเรื่อย ๆ ที่จะทำให้เกิดมาตรฐานเทียบเท่ากับระดับสากล และทำให้เกิดการขับเคลื่อนด้วย “ข้อมูล” ได้อย่างยั่งยืน

เมื่อกล่าวถึงการติดต่อกับราชการ หลายๆ คนอาจมีภาพจำในอดีตและชุดความคิดที่ว่าต้องเตรียมเอกสารต่าง ๆ มากมาย ไม่เพียงแค่เอกสารฉบับจริงเท่านั้นแต่ยังต้องเตรียมสำเนาเอกสาร ไปด้วย ยิ่งถ้าต้องไปติดต่อกับหน่วยงานราชการอื่นมากกว่าหนึ่งหน่วยงานแล้ว ประชาชนเองก็ต้องรับภาระจัดเตรียมสำเนาอีกชุดเพื่อขอรับบริการจากหน่วยงานภาครัฐนั้นๆ ด้วย ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดความยุ่งยากวุ่นวายในการจัดเตรียมเอกสารรวมถึงความล่าช้าในการดำเนินการตรวจสอบสำเนาให้ตรงกับเอกสารต้นฉบับด้วยแล้ว ยังเป็นการสิ้นเปลืองกระดาษที่ใช้เพียงครั้งเดียวโดยใช่เหตุ

ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงต้องการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของระบบราชการให้เท่าทันโลก
ยุคดิจิทัลและเปลี่ยนผ่านไปสู่ประเทศไทย 4.0 ด้วยการมอบนโยบายแนวทางการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาล ดิจิทัล จึงเป็นที่มาของ “โครงการยกเลิกสำเนาเอกสาร (No Copy)” โดยความร่วมมือของสำนักงานคณะ กรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) หรือ DGA

ยกเลิกสำเนาแล้ว ราชการทำงานอย่างไร?

ในด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาไปสู่รัฐบาลดิจิทัลตามนโยบายประเทศไทย 4.0 นั้น ระบบ ราชการได้ปรับปรุงกระบวนการทำงานด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการและการให้บริการจากเดิมที่ข้อมูลต่าง ๆ ถูกจัดเก็บแยกในแต่ละหน่วยงานเพียงเพื่อใช้ประโยชน์แค่ภายในหน่วยงานนั้น ๆ ก็ได้มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐระหว่างกันอันเป็นฐานรากสำคัญในการพัฒนาระบบราชการ 4.0 เพื่อยกระดับรัฐบาลไปสู่การเป็น “รัฐบาลแห่งการเชื่อมโยงและเปิดเผย” (Open and Connected Government)

เมื่อหน่วยงานภาครัฐยกเลิกการเรียกสำเนาเอกสารจากประชาชนจึงมีความจำเป็นต้องเรียกดูข้อมูลดิจิทัลของประชาชนผ่านระบบบริการเชื่อมโยงข้อมูลบุคคลและข้อมูลนิติบุคคลจากศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางภาครัฐ หรือ Government Data Exchange (GDX) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มระบบการรับส่งข้อมูล เอกสารและทะเบียนดิจิทัลภาครัฐ โดยได้รับการออกแบบให้มีมาตรฐานและความมั่นคงปลอดภัย สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง รองรับการขยายหรือเพิ่มเติมการเชื่อมโยงจากหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ให้เป็นไปตามธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance)

ด้วยคุณสมบัติการแบ่งปันข้อมูล (Data Sharing) ให้กับส่วนราชการอื่น ๆ และการเชื่อมโยงข้อมูล (Data Link) ที่เข้าถึงได้ผ่านแพลตฟอร์ม GDX นั้นก็สามารถตัดความจำเป็นในการใช้สำเนาเอกสาร เพื่อติดต่อกับหน่วยงานราชการได้เพราะหน่วยงานราชการสามารถเรียกดูข้อมูลดิจิทัลของประชาชนได้จากระบบ GDX ในขณะที่แต่ละหน่วยงานเจ้าของข้อมูลยังคงจัดเก็บและดูแลข้อมูลเอกสารทะเบียนดิจิทัล ได้เช่นเดิม และสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและทะเบียนดิจิทัลระหว่างหน่วยงานของรัฐได้เรียกได้ว่า สะดวกทั้งประชาชนผู้เข้ารับบริการและเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการด้วย

GDX จึงนับว่าเป็นฐานในการต่อยอดไปสู่การพัฒนาบริการดิจิทัลภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จ หรือ One Stop Service (OSS) ที่สมบูรณ์ได้และเป็นเครื่องมือสำคัญที่นำไปสู่การยกระดับทุกหน่วยงานภาครัฐ ในการก้าวเข้าสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่มีธรรมาภิบาลข้อมูลและมีความมั่นคงปลอดภัย

ยกเลิกสำเนาแล้วดีอย่างไร?

วัตถุประสงค์หลักของการรยกเลิกสำเนาเอกสารราชการ อาทิ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน จากประชาชนผู้มาใช้บริการนั้น ก็เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้มาใช้บริการ กับหน่วยงานภาครัฐเป็นสำคัญโดยประชาชนสามารถติดต่อกับหน่วยงานราชการได้โดยไม่ต้องเตรียมสำเนาเอกสารราชการใด ๆ อีกต่อไป

นอกจากจะเป็นการลดภาระของประชาชนเมื่อต้องติดต่อขอรับบริการจากหน่วยงานราชการแล้ว ยังเอื้อต่อการดำเนินงานของระบบราชการ ที่ช่วยลดความซับซ้อนของกระบวนการ ขั้นตอน ระยะเวลา เกี่ยวกับการอนุญาต การทำธุรกรรมต่าง ๆ กับภาครัฐให้มีความสะดวกรวดเร็ว ง่ายดายและคล่องตัวยิ่งขึ้นด้วย อีกทั้งยังลดค่าใช้จ่ายจากกระดาษสำเนาเอกสารที่ไม่จำเป็นบริหารจัดเก็บข้อมูลของประชาชนได้ อย่างเป็นระบบที่มั่นคงปลอดภัยยิ่งขึ้น และเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานรัฐ เพื่อให้การทำธุรกรรมกับภาครัฐง่ายและรวดเร็วมากขึ้นด้วย

ที่ผ่านมาเราอาจคุ้นชินกับการใช้บัตรประชาชนในการยืนยันตัวตนก่อนการทำธุรกรรมใดๆ กับทั้งภาครัฐและเอกชน แต่ทุกวันนี้เรามีอีกสิ่งที่เรียกว่า Digital Identity หรือ Digital ID สำหรับใช้ในการยืนยันตัวตนแทนบัตรประชาชนแล้ว Digital ID จะดีกว่าบัตรประชาชนอย่างไร? ในอนาคตเราจะนำไปใช้งานได้อย่างไรบ้าง? ประชาชนจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง? มาพบกับคำตอบของคำถามเหล่านี้ในบทความนี้กันได้เลยครับ

Digital ID คืออะไร?

ในการทำธุรกรรมใดๆ ก็ตาม เรามักต้องมีการยืนยันตัวตนเพื่อให้อีกฝ่ายมั่นใจได้ว่าเราคือบุคคลเดียวกับที่เราระบุจริงๆ เพื่อให้การทำธุรกรรมเหล่านั้นมีผลและเชื่อถือได้ ซึ่งที่ผ่านมานั้น เราก็มักใช้บัตรประชาชนในการยืนยันตัวตน โดยมีเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการในการทำธุรกรรมนั้นๆ ตรวจสอบบัตรประชาชนของเรา ไม่ว่าจะเป็นเพียงแค่การตรวจสอบว่าใบหน้าของเราเหมือนกับในบัตรประชาชน หรือการนำบัตรไปตรวจสอบข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมก็ตาม ซึ่งในที่นี้ บัตรประชาชนนั้นก็คือเป็น Identity หรือเครื่องมือระบุยืนยันตัวตนของเรานั่นเอง

อย่างไรก็ดี การใช้บัตรประชาชนยืนยันตัวตนนี้ก็มีปัญหามาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปลอมแปลงบัตรประชาชน หรือการฉ้อโกงในรูปแบบต่างๆ ที่ทำให้เห็นได้ชัดว่าบัตรประชาชนนั้นไม่เพียงพอต่อการใช้ยืนยันตัวตนอีกต่อไป

จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ทั้งบริการจากภาครัฐและเอกชนนั้นต่างก็ถูกเปลี่ยนไปอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ส่งผลให้ต้องเกิดการพัฒนาเทคโนโลยี Digital ID ขึ้นมา เพื่อให้สามารถใช้ทำการระบุยืนยันตัวตนบนโลกดิจิทัลได้อย่างถูกต้องแม่นยำและมั่นคงปลอดภัย ในขณะที่ยังสามารถนำไปใช้ทดแทนบัตรประชาชนเพื่อทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้นด้วย

สำหรับในประเทศไทยนั้นได้มีการผลักดันเทคโนโลยี Digital ID มาได้ระยะหนึ่งแล้ว และมีการใช้งานจริงทั้งในหน่วยงานภาครัฐ, สถาบันการเงิน, ผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์ และอื่นๆ อีกมากมาย ทำให้ท้ายที่สุดแล้วประชากรไทยส่วนใหญ่นั้นจะต้องมี Digital ID เพื่อใช้ในการระบุยืนยันตัวตนบนโลกออนไลน์ และนำไปใช้ในการทำธุรกรรมต่างๆ หรือแม้แต่การเข้ารับบริการหรือสวัสดิการจากภาครัฐเอง ก็จะสามารถใช้ Digital ID ได้ทั้งหมดเช่นกัน

ตัวอย่างการใช้งาน Digital ID ในประเทศไทย

การใช้งาน Digital ID ในประเทศไทยนั้นมีกรณีการใช้งานที่เกิดขึ้นจริงแล้วอย่างหลากหลาย เช่น

  • การทำธุรกรรมภาษีร่วมกับกรมสรรพากร เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการและผู้เสียภาษีสามารถทำธุรกรรมภาษีได้ง่าย ช่วยลดต้นทุนและให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลด้วยการใช้ Digital ID
  • การทำธุรกรรมออนไลน์ร่วมกับสถาบันการเงิน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการทำธุรกรรมออนไลน์มากขึ้น และทำให้ธุรกรรมหลายส่วนที่เคยต้องไปทำที่สาขาของธนาคาร สามารถทำผ่านระบบออนไลน์ได้ด้วยการยืนยันตัวตนผ่าน Digital ID
  • กรมการปกครอง ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ยืนยันความน่าเชื่อถือของข้อมูลบุคคล เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ สามารถใช้งาน Digital ID ได้อย่างมั่นใจ
  • โครงการชิมช้อปใช้ ที่มีการผสานระบบของ Digital ID เป็นส่วนหนึ่งของการใช้งานอยู่แล้ว

สำหรับแผนการในอนาคตนั้นก็เริ่มมีโครงการจำนวนมากที่เผยถึงการนำ Digital ID ไปใช้งาน เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่เตรียมเปิดให้ระบบจดทะเบียนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้ Digital ID ได้, กรมที่ดินที่จะนำ Digital ID ไปใช้ยืนยันตัวตนของผู้ใช้งานในการดำเนินการภายในระบบออนไลน์ต่างๆ ของกรม, สปสช. ที่เตรียมเปิดให้มีการลงทะเบียนเปลี่ยนหน่วยบริการและเข้ารับบริการด้วย Digital ID และกยศ. ที่เตรียมผสานระบบ Digital ID มาใช้กับระบบกองทุนและธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

จากความต้องการใช้งาน Digital ID ของบริการหน่วยงานภาครัฐที่หลากหลาย การมีมาตรฐานใช้งานร่วมกันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะนอกจากจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพ และความมั่นคงปลอดภัยของบริการภาครัฐให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับแล้ว ยังช่วยลดความซ้ำซ้อนการพิสูจน์และยืนยันตัวตน ทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกไม่ต้องลงทะเบียนหรือจดจำ Digital ID สำหรับแต่ละบริการ โดยท่านสามารถรับข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐาน Digital ID เพิ่มเติมได้จาก – มาตรฐานและหลักเกณฑ์การจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัลว่าด้วยเรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย (Digital ID)

ความสำคัญของ Digital ID ถามตอบ ความเป็นมาของการพัฒนามาตรฐาน Digital ID การประกาศในราชกิจจานุเบกษา ไฟล์เอกสาร

ความสำคัญของ Digital ID

          ประเทศไทยสามารถรับมือกับสถานการณ์โควิด-๑๙ (Covid-19) ได้เป็นอย่างดีจากความสามารถในการปรับตัวของคนไทยทุกคน หน่วยงานรัฐจำเป็นที่จะต้องหาช่องทางอำนวยความสะดวกในการทำงานให้ประชาชน เร่งรัดการทำงานให้เข้ากับวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ติดต่อกันทางออนไลน์ได้สะดวกและรวดเร็ว ดังนั้น หน่วยงานรัฐจึงต้องมีการให้บริการออนไลน์เพิ่มขึ้น โดยก่อนที่จะเข้าถึงบริการออนไลน์ ประชาชนต้องทำการพิสูจน์และยืนยันตัวตนเพื่อเข้าใช้บริการก่อน ซึ่งการที่หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานมีการจัดทำขั้นตอน และวิธีการพิสูจน์และยืนยันตัวตน เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำให้ประชาชนเข้าใจและตอบรับการเปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย และ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้งานอย่างเหมาะสม มีความมั่นคงปลอดภัยในการดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน สร้างความมั่นใจและทำให้ประชาชนติดต่อกับภาครัฐทางออนไลน์ได้สะดวกยิ่งขึ้น

ความเป็นมาของการพัฒนามาตรฐาน Digital ID

          ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒ ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการบริหารงานและการจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบและช่องทางดิจิทัล โดยมีการบริหารจัดการและการบูรณาการข้อมูลภาครัฐและการทำงานให้มีความสอดคล้องกันและเชื่อมโยง เข้าด้วยกันอย่างมั่นคงปลอดภัย โดยที่มาตรา ๑๒ (๒) กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดทำกระบวนการ หรือการดำเนินงานทางดิจิทัลนั้นต้องทำงานร่วมกันได้ ประกอบมาตรา ๑๒ (๔) จัดให้มีระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลเพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกในการบริการประชาชน ซึ่งมีมาตรฐานและแนวทางที่สอดคล้องกันตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด

          โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. มีหน้าที่อำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลมอบหมายให้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานและหลักเกณฑ์การจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล ว่าด้วยเรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทยโดยมีการดำเนินงานตามกระบวนการมาอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

  • กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ร่างมาตรฐานฯ (Final Draft National Standard : FDNS1) ผ่านความเห็นชอบคณะอนุกรรมการสถาปัตยกรรมและมาตรฐานการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
  • พฤษภาคม ๒๕๖๔ ร่างมาตรฐานฯ (Final Draft National Standard : FDNS2) ผ่านความเห็นชอบคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
  • กันยายน ๒๕๖๔ รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย ได้ลงลงนามในประกาศมาตรฐานและหลักเกณฑ์การจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัลว่าด้วยเรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๔

การประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ราชกิจจานุเบกษา ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัลว่าด้วยเรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย รายละเอียดตามเอกสารแนบ

เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๔ รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ได้ลงลงนามในประกาศมาตรฐานและหลักเกณฑ์การจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัลฯ เสนอต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา ซึ่งประกาศฉบับนี้ ประกอบด้วย

๑. มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล [มรด. ๑-๑ : ๒๕๖๔] [DGS 1-1 : 2564] ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวนกาและการดำเนินงานทางดิจิทัล เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ – ภาพรวม (เวอร์ชั่น ๑.๐)
DIGITALIZATION : DIGITAL ID – OVERVIEW(version 1.0)

๒. มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล [มรด. ๑-๒ : ๒๕๖๔] [DGS 1-2 : 2564] ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ – การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลสำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย (เวอร์ชั่น ๑.๐)
DIGITALIZATION : DIGITAL ID – IDENTITY PROOFING AND AUTHENTICATION(version 1.0)


          โดยมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ทั้ง ๒ ฉบับนี้ ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวณการและการดำเนินงานทางดิจิทัลสำหรับระบบที่ให้บริการภาครัฐ อธิบายถึงภาพรวม ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ของการใช้งานดิจิทัลไอดีเกี่ยวกับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลสำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย เกี่ยวกับระบบการให้บริการภาครัฐตามกลุ่มการให้บริการ ที่จะต้องคำนึงถึงความมั่นคงปลอดภัยในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ซึ่งพิจารณาจากระดับความเข้มงวดในกระบวนการพิสูจน์ตัวตนหรือระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี (Identity Assurance Level : IAL) และระดับความเข้มงวดในกระบวนการยืนยันตัวตนหรือระดับความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน (Authenticator Assurance Level : AAL) เพื่อช่วยลดโอกาสของการพิสูจน์และยืนยันตัวตนผิดพลาดสำหรับประกอบการบริหารจัดการความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในแต่ละกลุ่มการให้บริการภาครัฐ ซึ่งประกอบด้วย

๑) กลุ่มการให้บริการข้อมูลพื้นฐำน (Emerging Services) คือ การให้บริการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทั่วไป

๒) กลุ่มการให้บริการข้อมูลที่มีการปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการ (Enhanced Services) คือ การให้บริการข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานของรัฐในรูปแบบการสื่อสารทางเดียวหรือสองทางกับผู้ใช้บริการ เช่น การรับแจ้งเรื่องร้องเรียน ข้อเสนอแนะ หรือแสดงความคิดเห็น ผ่านทางเว็บไซต์หรือช่องทางให้บริการข่าวสารข้อมูลอื่น

๓) กลุ่มการให้บริการธุรกรรม (Transactional Services) การให้บริการธุรกรรมของหน่วยงานของรัฐซึ่งมีผลผูกพันทางกฎหมาย เช่น การอนุญาต การจดทะเบียน หรือการดาเนินการใด ๆ กับหน่วยงานของรัฐ

๔) กลุ่มการให้บริการธุรกรรมที่เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน (Connected Services) คือ การให้บริการธุรกรรมที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานเข้าด้วยกัน และมีผลผูกพันทางกฎหมาย เช่น การขอรับบริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว

          อย่างไรก็ตาม ในบทเฉพาะกาลของประกาศฉบับนี้ได้กำหนดมิให้มาตรฐานฉบับนี้กับกับผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน ผู้ให้บริการภาครัฐ และแหล่งให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ จนกว่าพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศฉบับนี้ได้ที่เว็บไซต์ www.ratchakitcha.soc.go.th หรือที่เว็บไซต์ www.dga.or.th  

เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้หน่วยงานภาครัฐสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานดังกล่าว สพร. จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาเครื่องมือประมวลผลอัตโนมัติสำหรับการประเมินความเสี่ยงเพื่อใช้พิสูจน์และยืนยันตัวตน สำหรับบริการภาครัฐ (Assessment Tool for Government Digital ID) โดยผลลัพธ์จากการประมวลผลอัตโนมัติจะแนะนำระดับความน่าเชื่อถือที่เหมาะสม ว่าบริการที่ได้ประเมินความเสี่ยงด้วยเครื่องมือฯ ควรจะกำหนดระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี (Identity Assurance Level: IAL) และระดับความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน (Authenticator Assurance Level: AAL) อยู่ในระดับใด อนึ่ง วิธีการ ขั้นตอน และข้อกำหนดแต่ละระดับความน่าเชื่อถือ ท่านสามารถศึกษาได้จากมาตรฐานฯ ข้างต้น

เครื่องมือประมวลอัตโนมัติสำหรับการประเมินความเสี่ยงเพื่อใช้ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน สำหรับบริการภาครัฐ (Assessment Tool for Government Digital ID) พร้อมคู่มือ

ดาวน์โหลด

ไฟล์เอกสาร

ราชกิจจานุเบกษา_ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัลว่าด้วยเรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย

17/10/2564
348

[มรด. ๑-๑ : ๒๕๖๔] [DGS 1-1 : 2564] ประกาศเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2564 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ – ภาพรวม (เวอร์ชั่น ๑.๐) DIGITALIZATION : DIGITAL ID – OVERVIEW (version 1.0)

18/10/2564
346

[มรด. ๑-๒ : ๒๕๖๔] [DGS 1-2 : 2564] ประกาศเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2564 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ – การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลสำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย (เวอร์ชั่น ๑.๐) DIGITALIZATION : DIGITAL ID – IDENTITY PROOFING AND AUTHENTICATION (version 1.0)

18/10/2564
273

มาตรฐานและหลักเกณฑ์การจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัลว่าด้วยเรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย (Digital ID)(มรด.1-1:2564 และ มรด. 1-2:2564)

15/09/2564
3201

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ท่านสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องและอำนวยความสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ รวมถึงช่วยให้เราปรับปรุงการนำเสนอเนื้อหาตรงตามความต้องการของท่าน โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ประกาศการใช้คุกกี้ และ ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่าข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า