เพื่อกำหนดนโยบายข้อมูลหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับผู้มีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลต่างๆ ภายในหน่วยงาน สำหรับให้ผู้ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามนโยบายหรือกฎเกณฑ์ได้อย่างถูกต้อง และสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อันจะนำไปสู่การบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐอย่างเป็นระบบ รวมทั้งสนับสนุนการจัดทำบัญชีข้อมูลหน่วยงานให้ได้มาตรฐานและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สอดคล้องตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล
กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดทำคำอธิบาย ชุดข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐและบัญชีข้อมูลให้มีความถูกต้อง ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน ดังนั้น หน่วยงานของรัฐจึงจำเป็นต้องดำเนินการจัดทำบัญชีข้อมูลและขึ้นทะเบียนกับระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐกลางที่ได้มาตรฐานและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สอดคล้องตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ สามารถบูรณาการ ให้บริการ และใช้ประโยชน์ข้อมูลข้ามหน่วยงานได้อย่างเป็นระบบ
ความสำคัญของ Digital ID
ประเทศไทยสามารถรับมือกับสถานการณ์โควิด-๑๙ (Covid-19) ได้เป็นอย่างดีจากความสามารถในการปรับตัวของคนไทยทุกคน หน่วยงานรัฐจำเป็นที่จะต้องหาช่องทางอำนวยความสะดวกในการทำงานให้ประชาชน เร่งรัดการทำงานให้เข้ากับวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ติดต่อกันทางออนไลน์ได้สะดวกและรวดเร็ว ดังนั้น หน่วยงานรัฐจึงต้องมีการให้บริการออนไลน์เพิ่มขึ้น โดยก่อนที่จะเข้าถึงบริการออนไลน์ ประชาชนต้องทำการพิสูจน์และยืนยันตัวตนเพื่อเข้าใช้บริการก่อน ซึ่งการที่หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานมีการจัดทำขั้นตอน และวิธีการพิสูจน์และยืนยันตัวตน เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำให้ประชาชนเข้าใจและตอบรับการเปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย และ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้งานอย่างเหมาะสม มีความมั่นคงปลอดภัยในการดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน สร้างความมั่นใจและทำให้ประชาชนติดต่อกับภาครัฐทางออนไลน์ได้สะดวกยิ่งขึ้น
ถาม – ตอบ เกี่ยวกับมาตรฐาน Digital ID
ความเป็นมาของการพัฒนามาตรฐาน Digital ID
ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒ ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการบริหารงานและการจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบและช่องทางดิจิทัล โดยมีการบริหารจัดการและการบูรณาการข้อมูลภาครัฐและการทำงานให้มีความสอดคล้องกันและเชื่อมโยง เข้าด้วยกันอย่างมั่นคงปลอดภัย โดยที่มาตรา ๑๒ (๒) กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดทำกระบวนการ หรือการดำเนินงานทางดิจิทัลนั้นต้องทำงานร่วมกันได้ ประกอบมาตรา ๑๒ (๔) จัดให้มีระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลเพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกในการบริการประชาชน ซึ่งมีมาตรฐานและแนวทางที่สอดคล้องกันตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด
โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. มีหน้าที่อำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลมอบหมายให้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานและหลักเกณฑ์การจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล ว่าด้วยเรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทยโดยมีการดำเนินงานตามกระบวนการมาอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
- สิงหาคม ๒๕๖๓ ประกาศเวียนร่างมาตรฐาน (Committee Draft for Vote : CDV) เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแสดงความคิดเห็น (บันทึกการประชุมรับฟังความคิดเห็นฯ เมื่อวันพุธที่ 26 สิงหาคม 2563 9.00-10.00 น. ทาง Facebook และ Youtube Live)
- กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ร่างมาตรฐานฯ (Final Draft National Standard : FDNS1) ผ่านความเห็นชอบคณะอนุกรรมการสถาปัตยกรรมและมาตรฐานการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
- พฤษภาคม ๒๕๖๔ ร่างมาตรฐานฯ (Final Draft National Standard : FDNS2) ผ่านความเห็นชอบคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
- กันยายน ๒๕๖๔ รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย ได้ลงลงนามในประกาศมาตรฐานและหลักเกณฑ์การจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัลว่าด้วยเรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๔
การประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๔ รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ได้ลงลงนามในประกาศมาตรฐานและหลักเกณฑ์การจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัลฯ เสนอต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา ซึ่งประกาศฉบับนี้ ประกอบด้วย
๑. มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล [มรด. ๑-๑ : ๒๕๖๔] [DGS 1-1 : 2564] ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวนกาและการดำเนินงานทางดิจิทัล เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ – ภาพรวม (เวอร์ชั่น ๑.๐)
DIGITALIZATION : DIGITAL ID – OVERVIEW(version 1.0)
๒. มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล [มรด. ๑-๒ : ๒๕๖๔] [DGS 1-2 : 2564] ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ – การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลสำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย (เวอร์ชั่น ๑.๐)
DIGITALIZATION : DIGITAL ID – IDENTITY PROOFING AND AUTHENTICATION(version 1.0)
โดยมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ทั้ง ๒ ฉบับนี้ ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวณการและการดำเนินงานทางดิจิทัลสำหรับระบบที่ให้บริการภาครัฐ อธิบายถึงภาพรวม ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ของการใช้งานดิจิทัลไอดีเกี่ยวกับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลสำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย เกี่ยวกับระบบการให้บริการภาครัฐตามกลุ่มการให้บริการ ที่จะต้องคำนึงถึงความมั่นคงปลอดภัยในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ซึ่งพิจารณาจากระดับความเข้มงวดในกระบวนการพิสูจน์ตัวตนหรือระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี (Identity Assurance Level : IAL) และระดับความเข้มงวดในกระบวนการยืนยันตัวตนหรือระดับความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน (Authenticator Assurance Level : AAL) เพื่อช่วยลดโอกาสของการพิสูจน์และยืนยันตัวตนผิดพลาดสำหรับประกอบการบริหารจัดการความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในแต่ละกลุ่มการให้บริการภาครัฐ ซึ่งประกอบด้วย
๑) กลุ่มการให้บริการข้อมูลพื้นฐำน (Emerging Services) คือ การให้บริการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทั่วไป
๒) กลุ่มการให้บริการข้อมูลที่มีการปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการ (Enhanced Services) คือ การให้บริการข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานของรัฐในรูปแบบการสื่อสารทางเดียวหรือสองทางกับผู้ใช้บริการ เช่น การรับแจ้งเรื่องร้องเรียน ข้อเสนอแนะ หรือแสดงความคิดเห็น ผ่านทางเว็บไซต์หรือช่องทางให้บริการข่าวสารข้อมูลอื่น
๓) กลุ่มการให้บริการธุรกรรม (Transactional Services) การให้บริการธุรกรรมของหน่วยงานของรัฐซึ่งมีผลผูกพันทางกฎหมาย เช่น การอนุญาต การจดทะเบียน หรือการดาเนินการใด ๆ กับหน่วยงานของรัฐ
๔) กลุ่มการให้บริการธุรกรรมที่เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน (Connected Services) คือ การให้บริการธุรกรรมที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานเข้าด้วยกัน และมีผลผูกพันทางกฎหมาย เช่น การขอรับบริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว
อย่างไรก็ตาม ในบทเฉพาะกาลของประกาศฉบับนี้ได้กำหนดมิให้มาตรฐานฉบับนี้กับกับผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน ผู้ให้บริการภาครัฐ และแหล่งให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ จนกว่าพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศฉบับนี้ได้ที่เว็บไซต์ www.ratchakitcha.soc.go.th หรือที่เว็บไซต์ www.dga.or.th
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้หน่วยงานภาครัฐสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานดังกล่าว สพร. จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาเครื่องมือประมวลผลอัตโนมัติสำหรับการประเมินความเสี่ยงเพื่อใช้พิสูจน์และยืนยันตัวตน สำหรับบริการภาครัฐ (Assessment Tool for Government Digital ID) โดยผลลัพธ์จากการประมวลผลอัตโนมัติจะแนะนำระดับความน่าเชื่อถือที่เหมาะสม ว่าบริการที่ได้ประเมินความเสี่ยงด้วยเครื่องมือฯ ควรจะกำหนดระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี (Identity Assurance Level: IAL) และระดับความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน (Authenticator Assurance Level: AAL) อยู่ในระดับใด อนึ่ง วิธีการ ขั้นตอน และข้อกำหนดแต่ละระดับความน่าเชื่อถือ ท่านสามารถศึกษาได้จากมาตรฐานฯ ข้างต้น