กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.) ได้ดำเนินการจัดทำ “มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (e-Correspondence System Interoperability Standard)” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นมาตรฐานกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานภาครัฐที่มีระบบสารสนเทศที่แตกต่างกันได้อย่างอัตโนมัติ (Cross Platforms Interconnection) ด้วยการสร้างความสอดคล้องให้ชื่อรายการข้อมูลการกำหนดโครงสร้างของข้อมูลในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์และรูปแบบของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ตลอดจนกระบวนการในการเชื่อมโยงระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์อันจะช่วยลดระยะเวลาและขั้นตอนในการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายธีรวัฒน์ โรจนไพฑูรย์
คุณณพิชญา เทพรอด ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ได้เข้าร่วมประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการบริหารจัดการและป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่า 19 ณ สำนักงาน กสทช. และได้สาธิตการเข้าใช้ระบบ “BKK HI Care” ให้แก่ อธิบดีกรมควบคุมโรค โฆษก และรองโฆษก ศบค. ตลอดจนสื่อมวลชน ได้รับทราบข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากการใช้งานระบบนี้
โดยระบบ “BKK HI Care” จะเข้ามาช่วยแพทย์ พยาบาล ในการติดตามและดูแลผู้ป่วย (สีเขียว) ที่กักตัวที่บ้าน (Home Isolation) หรือที่ชุมชน (Community Isolation) ได้อย่างใกล้ชิด ตลอดจนผู้ป่วยสามารถรายงานและรับคำแนะนำการรักษาที่ถูกต้องจากแพทย์และพยาบาล โดยความร่วมมือระหว่าง กรุงเทพมหานคร สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
การดําเนินงานด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) ของประเทศไทย โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ชื่อเดิมกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) เพื่อมุ่งเน้นสู่การบรรลุเป้าหมายสําคัญของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Milestones) กล่าวคือ ได้กําหนดให้ส่วนราชการต่างๆ ต้องมีเว็บไซต์ เพื่อให้บริการตามภารกิจและนําเสนอข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน รวมทั้งการมีปฏิสัมพันธ์กับประชาชน ตามหลักการที่กล่าวว่า “ที่เดียว ทันใด ทั่วไทย ทุกเวลาทั่วถึงเท่าเทียม และธรรมาภิบาล” นั้น เพื่อให้การพัฒนาเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และยกระดับความสามารถของการให้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐก้าวไปสู่ระดับความสามารถในเรื่องการบูรณาการ และเพิ่มประสิทธิภาพ การให้บริการ รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประชาชน หน่วยงานราชการ และหน่วยงานธุรกิจ ภาครัฐ ให้สามารถก้าวไปสู่จุดหมายของการบูรณาการเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Connected Government) ที่สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง
จากการสํารวจเพื่อจัดอันดับการพัฒนา e-Government กลุ่มประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ (United Nations e-Government Readiness) ในรายงาน United Nations E-Government Survey 2012 พบว่า ประเทศไทยจัดอยู่ในลําดับที่ 92 จากจํานวนประเทศสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ ซึ่งปี ค.ศ. 2010 ไทยจัดอยู่ในลําดับที่ 76 และปี ค.ศ. 2008 ไทยจัดอยู่ในลําดับที่ 64 นั่นย่อมแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่จะต้องแก้ไขปรับปรุง และพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสามารถที่จะยืนอยู่บนเวทีโลกได้อย่างภาคภูมิ และเพื่อให้รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยก้าวไปสู้การเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Connected Government) โดยยึดเอาประชาชนเป็นศูนย์กลางและให้ประชาชนมีส่วนร่วมผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Participation)
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) (ชื่อเดิมสํานักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.)) จึงได้พัฒนา “มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ (Government Website Standard)” เพื่อเป็นมาตรฐานให้หน่วยงานภาครัฐได้นําไปปรับปรุงและพัฒนาระบบการให้บริการผ่านเว็บไซต์ของภาครัฐอันจะช่วยยกระดับการพัฒนา e-Government ให้ก้าวหน้าสู่ระดับมาตรฐานสากลต่อไป โดยเนื้อหาเอกสารเล่มนี้ กล่าวถึงองค์ประกอบของเนื้อหาเว็บไซต์ (Contents) คุณลักษณะของเว็บไซต์ภาครัฐที่ควรมี (Recommended Features) รวมถึงแนวทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information Security) ซึ่งได้รวบรวมและประมวลจาก กฎหมายระเบียบ ข้อบังคับในประเทศที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และข้อกําหนดองค์การสหประชาชาติ (United Nations) ในการจัดอันดับการพัฒนา e-Government ของกลุ่มประเทศสมาชิก ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในระดับนานาชาติ (International Best Practice)
การดําเนินงานด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) ของประเทศไทย โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ชื่อเดิมกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) เพื่อมุ่งเน้นสู่การบรรลุเป้าหมายสําคัญของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Milestones) กล่าวคือ ได้กําหนดให้ส่วนราชการต่างๆ ต้องมีเว็บไซต์ เพื่อให้บริการตามภารกิจและนําเสนอข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน รวมทั้งการมีปฏิสัมพันธ์กับประชาชน ตามหลักการที่กล่าวว่า “ที่เดียว ทันใด ทั่วไทย ทุกเวลาทั่วถึงเท่าเทียม และธรรมาภิบาล” นั้น เพื่อให้การพัฒนาเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และยกระดับความสามารถของการให้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐก้าวไปสู่ระดับความสามารถในเรื่องการบูรณาการ และเพิ่มประสิทธิภาพ การให้บริการ รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประชาชน หน่วยงานราชการ และหน่วยงานธุรกิจ ภาครัฐ ให้สามารถก้าวไปสู่จุดหมายของการบูรณาการเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Connected Government) ที่สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง
จากการสํารวจเพื่อจัดอันดับการพัฒนา e-Government กลุ่มประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ (United Nations e-Government Readiness) ในรายงาน United Nations E-Government Survey 2012 พบว่า ประเทศไทยจัดอยู่ในลําดับที่ 92 จากจํานวนประเทศสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ ซึ่งปี ค.ศ. 2010 ไทยจัดอยู่ในลําดับที่ 76 และปี ค.ศ. 2008 ไทยจัดอยู่ในลําดับที่ 64 นั่นย่อมแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่จะต้องแก้ไขปรับปรุง และพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสามารถที่จะยืนอยู่บนเวทีโลกได้อย่างภาคภูมิ และเพื่อให้รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยก้าวไปสู้การเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Connected Government) โดยยึดเอาประชาชนเป็นศูนย์กลางและให้ประชาชนมีส่วนร่วมผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Participation)
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) (ชื่อเดิมสํานักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.)) จึงได้พัฒนา “มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ (Government Website Standard)” เพื่อเป็นมาตรฐานให้หน่วยงานภาครัฐได้นําไปปรับปรุงและพัฒนาระบบการให้บริการผ่านเว็บไซต์ของภาครัฐอันจะช่วยยกระดับการพัฒนา e-Government ให้ก้าวหน้าสู่ระดับมาตรฐานสากลต่อไป โดยเนื้อหาเอกสารเล่มนี้ กล่าวถึงองค์ประกอบของเนื้อหาเว็บไซต์ (Contents) คุณลักษณะของเว็บไซต์ภาครัฐที่ควรมี (Recommended Features) รวมถึงแนวทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information Security) ซึ่งได้รวบรวมและประมวลจาก กฎหมายระเบียบ ข้อบังคับในประเทศที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และข้อกําหนดองค์การสหประชาชาติ (United Nations) ในการจัดอันดับการพัฒนา e-Government ของกลุ่มประเทศสมาชิก ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในระดับนานาชาติ (International Best Practice)
ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ DGA Contact Center โทร : 0 2612 6000 หรือ อีเมล : contact@dga.or.th
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA โดย สถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล หรือ TDGA จัด LIVE TALK การเสวนาใน หัวข้อ Data Governance กับการนำไปใช้ในหน่วยงานภาครัฐ โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนา ดังนี้ คุณชิษณุพงศ์ ธนูทอง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รศ.นพ.ชลธิป พงศ์สกุล ผู้ช่วยคณบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผศ.ดร.วีระยุทธ พิมพาภรณ์ รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและพัฒนาองค์กร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อาจารย์สืบศักดิ์ สืบภักดี ผู้บริหารโครงการ ฝ่ายพัฒนานวัตกรรมและผู้ประกอบการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ พ.ต.อ.สรร มั่นเมืองรยา รองผู้บังคับการปราบปราม ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO) กองบังคับการปราบปราม มาแชร์ประสบการณ์ตรงของในการนำกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลไปปฏิบัติจริง โดยมี ดร.อุรัชฎา เกตุพรหม ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนามาตรฐานดิจิทัล สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เป็นผู้ดำเนินรายการ
ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมเสวนาเป็นผู้เข้าร่วมการอบรมโครงการฝึกอบรมเพื่อสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลของหน่วยงานรัฐ โดย TDGA ระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ที่ผ่านมา ซึ่งหลังจากการอบรมวิทยากรทุกท่านนำความรู้ด้านการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐกลับไปปรับใช้กับหน่วยงานแล้ว จึงได้นำประสบการณ์มาแชร์ถึงแนวปฏิบัติในการนำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐไปบริหารจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้อย่างไรบ้าง สำหรับผู้ที่พลาดชมสามารถรับชมการเสวนาย้อนหลังได้ที่ลิงก์วีดีโอนี้
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) พร้อมด้วย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, สมาคมธนาคารไทย, สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ, บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด, กรมสรรพากร, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, กรมที่ดิน, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลภาครัฐ” ตั้งเป้ายกระดับการให้บริการดิจิทัลภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ มีความมั่นคงปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจในการทำธุรกรรมออนไลน์กับภาครัฐได้สะดวกยิ่งขึ้น พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยให้สามารถก้าวเข้าสู่โลกยุคใหม่ในยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ
ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล หรือ สพร. เปิดเผยว่า “โครงการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลภาครัฐ” นับเป็นโครงการสำคัญตามเป้าประสงค์ในยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (พ.ศ.2561-2580) และแผนการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์ในการบริหารงานภาครัฐ และยกระดับการให้บริการประชาชน ลดภาระในการติดต่อหรือใช้บริการจากภาครัฐ เพราะที่ผ่านมาการให้บริการของภาครัฐแก่ประชาชนและภาคธุรกิจ หรือการให้บริการของภาคธุรกิจแก่ประชาชน ประกอบด้วยขั้นตอนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนที่มีความซ้ำซ้อน สิ้นเปลืองทั้งเวลาและทรัพยากร เกิดภาระต่อผู้มีหน้าที่ในการตรวจสอบความถูกต้องและยืนยันตัวตน ก่อให้เกิดความไม่สะดวกและเกิดภาระต่อผู้ใช้บริการ
รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มาประยุกต์ใช้กับการให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ ทาง สพร. จึงได้วางโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ “ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลภาครัฐ” ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้การทำธุรกรรมออนไลน์ กับภาครัฐ อย่างรวดเร็วและมั่นคงปลอดภัยตามมาตรฐานสากล โดยทั้ง 9 หน่วยงานที่ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ สพร. ในวันนี้ ต่างเห็นพ้องต้องกันถึงความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลภาครัฐ เพื่อร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลกลาง สำหรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลภาครัฐ รวมไปถึงสนับสนุนให้หน่วยงานผู้ใช้บริการสามารถนำแพลตฟอร์มดิจิทัลกลางดังกล่าวไปใช้ในการบริหารงาน และให้บริการประชาชนตามภารกิจของแต่ละหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในท้ายที่สุด” ผอ.สพร. กล่าวสรุป
นางสาวอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบบริหารงานภาครัฐออนไลน์เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการประชาชนเป็นสำคัญมาโดยตลอด จึงพร้อมร่วมมือกับ “โครงการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลภาครัฐ” และเป็นอีกหนึ่งหัวเรือใหญ่ในการขับเคลื่อนงานนี้ โดยสำนักงาน ก.พ.ร. จะเป็นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนการวางแผน ขับเคลื่อน ประสานงานให้หน่วยงานผู้ใช้บริการสามารถนำระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลมาใช้ในการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐ ตลอดจนสนับสนุนการติดตาม ประเมินผล และการรวบรวมปัญหาอุปสรรคของหน่วยงานผู้ใช้บริการ เพื่อให้สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
นายกอบศักดิ์ ดวงดี เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ทางสมาคมพร้อมให้การสนับสนุนธนาคารพาณิชย์ไทยที่เป็นสมาชิกของสมาคมธนาคารไทย ในการเข้าร่วมโครงการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลภาครัฐ เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของธนาคารในการเข้าถึงบริการทางดิจิทัลของหน่วยงานผู้ให้บริการ และหน่วยงานภาครัฐอื่นในอนาคตได้ ทั้งนี้เพราะทางสมาคมฯ ได้พิจารณาแล้วว่าโครงการมีวัตถุประสงค์อันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างยิ่ง และ Digital ID มีศักยภาพในการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สำคัญกับหน่วยงานต่าง ๆ ตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงใดๆที่จะเกิดขึ้นในการทำธุรกรรม ส่งผลให้ประชาชนเกิดความเชื่อถือในการทำธุรกรรมออนไลน์มากขึ้นด้วย
นายฉัตรชัย ศิริไล ประธานกรรมการสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาสมาคมฯ ได้สนับสนุนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลมาโดยตลอด ซึ่งภาคธนาคารโดยเฉพาะสถาบันการเงินของรัฐมีความพร้อมอย่างยิ่งที่จะให้ความร่วมมือกับทุกหน่วยงานเพื่อให้ประชาชนสามารถทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการลงนามข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ สมาคมฯ พร้อมให้การสนับสนุนธนาคารของสถาบันการเงินของรัฐที่เป็นสมาชิกของสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ในการเข้าร่วมโครงการ เพื่อให้บริการเป็น Identity Provider หรือผู้ทำหน้าที่สำคัญในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน และเป็นผู้รับลงทะเบียนยืนยันการพิสูจน์ตัวตนให้กับผู้ที่จะขอใช้ข้อมูลต่อไป
นางสาวสุธีรา ศรีไพบูลย์ รักษาการประธานกรรมการบริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด กล่าวว่า ภารกิจหลักของ NDID คือการเป็น Platform การพิสูจน์และยืนยันตัวตน ซึ่งมีจุดกำเนิดมาจากทางภาครัฐและต่อมาจัดตั้งเป็นบริษัท เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับความไว้วางใจเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือครั้งนี้ ขอเพิ่มเติมด้วยว่าหลักการทำงานของการพิสูจน์และยืนยันตัวบุคคลครือข่ายนี้จะเป็นเหมือนถนนที่เชื่อมบริการต่างๆ ไว้ด้วยกัน แต่ NDID ไม่ได้เก็บข้อมูลใดๆ ข้อมูลจะยังคงอยู่ในที่เก็บข้อมูลเดิมหรือหน่วยงานต่างๆ โดยประชาชนในฐานะเจ้าของข้อมูลมีสิทธิเลือกที่จะส่งข้อมูลของตนเอง ส่งผลให้กระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนมีความรวดเร็ว ถูกต้อง ปลอดภัยและน่าเชื่อถือภายใต้มาตรฐานตามสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ถือเป็นการยกระดับการทำธุรกรรมทางดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะนำไปสู่การต่อยอดบริการต่างๆ รวมถึงในครั้งนี้ที่ได้ต่อยอดมาถึง “บริการดิจิทัลภาครัฐ” ที่ภาครัฐได้นำ NDID มาใช้ให้บริการประชาชน เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้ใช้บริการที่เปลี่ยนไป
ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า กรมสรรพากรมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในระบบการให้บริการด้านภาษี เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการและผู้เสียภาษีสามารถทำธุรกรรมภาษีได้ง่าย ช่วยลดต้นทุนและให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล การลงนามบันทึกข้อตกลงฯ การนำระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลภาครัฐในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายธรรมาภิบาลข้อมูลของกรมสรรพากร พ.ศ.2563 (Data Governance) ซึ่งจะช่วยคุ้มครองการเข้าถึงข้อมูลและการใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร เช่น My Tax Account (การตรวจสอบรายการค่าลดหย่อนและสิทธิประโยชน์ทางภาษี) การยื่นแบบฯ และชำระภาษี การสอบถามข้อมูลการขอคืนภาษี เป็นต้น ทั้งนี้ กรมสรรพากร ยังคงมุ่งมั่นทำให้บริการอิเล็กทรอนิกส์มีความง่ายตามความต้องการใช้งานของผู้ประกอบการ ผู้เสียภาษี และมีมาตรฐานระดับสากล
นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาแม้จะเป็นช่วงที่เพิ่งผ่านสถานการณ์โควิด-19 (Covid-19) แต่ยังคงมีธุรกิจจัดตั้งใหม่ในเดือนกรกฎาคม 2563 มากถึง 5,667 ราย แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของภาคธุรกิจที่ยังคงมีพลังขับเคลื่อนไปเรื่อย ๆ ดังนั้น บริการภาครัฐก็ต้องไม่หยุดพัฒนาเช่นกัน ปัจจุบันบริการของกรมฯ ที่ให้บริการแก่ภาคธุจกิจเข้าสู่ระบบออนไลน์หมดแล้ว จึงกล่าวได้ว่ากรมฯ มีความพร้อมมากในเข้าร่วมนำระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล มาใช้บริหารงานและบริการประชาชนตามข้อตกลงที่ได้ร่วมลงนามกันในครั้งนี้ โดยคาดว่าบริการที่จะนำร่องในเร็ววันนี้ ได้แก่ ระบบจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration)
นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีกรมที่ดิน เปิดเผยว่า ที่ผ่านมากรมที่ดินได้ดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ที่เน้นการพัฒนาสู่รัฐบาลดิจิทัลมาอย่างต่อเนื่อง ได้มีการปรับปรุงการให้บริการประชาชนผ่านระบบออนไลน์ในหลายระบบ อาทิ แอปพลิเคชัน Landsmap ที่พัฒนาร่วมกับ DGA ระบบ E-LandsAnnouncement โดยที่กรมฯ คาดหวังให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม ในการขอข้อมูล ตลอดจนการดำเนินการในหลายๆเรื่องกับทางกรมฯ ประชาชนจำเป็นต้องมีการยืนยันตัวตนเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล ดังนั้น วันนี้กรมที่ดินจึงได้เข้าร่วมเป็นหน่วยงานนำร่องในโครงการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลภาครัฐ โดยคาดหวังว่าประชาชนได้ใช้บริการออนไลน์ของกรมฯ อย่างสะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น
นายสินชัย ต่อวัฒนกิจกุล ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เปิดเผยว่า ความท้าทายของงานด้านสาธารณสุขวันนี้คือต้องรวดเร็ว ควบคู่กับความสะดวกและปลอดภัย สป.สช.มีความพยายามในการลดความแออัดในโรงพยาบาลมาโดยตลอด เน้นให้บริการออนไลน์ให้มากขึ้น ลดเวลารอรับยาให้น้อยลง ที่สำคัญคือต้องลดระยะห่างทางสังคมด้วย ซึ่งเรื่องนี้จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยเสริม และการยืนยันตัวตนทางดิจิทัลก่อนทำธุรกรรมใดๆ จะเป็นอีกก้าวสำคัญของการให้บริการออนไลน์ที่สะดวกสบายแก่ประชาชน ทั้งนี้ บริการที่ สป.สช. คาดว่าจะได้นำร่องมาใช้ในเร็ววันนี้ ได้แก่ การลงทะเบียนเปลี่ยนหน่วยบริการ ผ่านMobile Application , การพิสูจน์ตัวตนและการยืนยันตัวบุคคลในเข้ารับบริการที่หน่วยบริการผ่านระบบ smart card และ Mobile Application
นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา กล่าวว่า “กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้ร่วมทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลภาครัฐ ในการสนับสนุนการนำระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลมาใช้ในการบริหารงานและการให้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักเรียน นักศึกษา ผู้กู้ยืม และสถานศึกษาในการเข้าถึงบริการด้านการกู้ยืม โดยกองทุนมุ่งมั่นที่จะยกระดับการบริหารงาน และการให้บริการให้มีความรวดเร็วและปลอดภัย โดยแพลตฟอร์ม Digital ID จะนำมาใช้กับระบบกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาแบบดิจิทัล (Digital Student Loan Fund System – DSL) เพื่อตอบสนองการปฏิบัติงานของกองทุน ทั้งกระบวนการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านช่องทาง Web Application และ Mobile Application ประกอบด้วย 3 ระบบงาน ได้แก่ ระบบการบริหารหนี้ (Debt Management System – DMS) และระบบการดำเนินคดีและบังคับคดี (Litigation and Enforcement Management System – LES) ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงระบบการจัดการการให้กู้ยืม (Loan Origination System – LOS) ซึ่งจะเปิดให้บริการในปีการศึกษา 2564
ปัจจุบัน ระบบของกองทุนรองรับผู้ใช้งานผ่านช่องทาง Web App จำนวนมากกว่า 5 ล้านคน และ ผ่าน Mobile App “กยศ. Connect” ประมาณ 1.3 ล้านคน สำหรับความร่วมมือการใช้งาน Digital ID กับ สพร. จะเริ่มทดสอบการใช้ผ่าน Web App ก่อน และขยายการใช้เพิ่มเติมในช่องทาง Mobile App ต่อไป โดยมั่นใจว่าระบบงานจะรองรับการให้บริการทุกภาคส่วนให้ได้รับความสะดวกและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน” ผู้จัดการกองทุนฯ กล่าวในที่สุด
สำหรับพิธีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลภาครัฐนั้น มีกำหนดจัดขึ้นในวันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ.2563 เวลา 10.00 – 12.00 น. ณ ห้องจามจุรี 1-2 ชั้น M โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส กรุงเทพฯ โดยภายในงานนอกจากจะมีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือของหน่วยงานพันธมิตรทั้ง 10 หน่วยแล้ว ยังจัดให้มีการแถลงข่าวในหัวข้อ “ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลภาครัฐ (Digital ID) ก้าวสำคัญของบริการออนไลน์ภาครัฐในยุค New Normal” เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจในการขับเคลื่อนบริการดิจิทัลภาครัฐไทยให้พร้อมก้าวเข้าสู่โลกในยุคดิจิทัลอีกด้วย
รับชมบรรยากาศลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือได้ที่ Facebook >> https://bit.ly/33sVSPZ
ปัจจุบัน หน่วยงานภาครัฐเพิ่มช่องทางอำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการภาครัฐผ่านออนไลน์ได้หลากหลายบริการมากขึ้น เพื่อรองรับกับวิถีชีวิตใหม่ โดยก่อนที่จะเข้าถึงบริการออนไลน์ ประชาชนต้องทำการพิสูจน์และยืนยันตัวตนเพื่อเข้าใช้บริการก่อน ซึ่งการที่หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานมีการจัดทำขั้นตอน และวิธีการพิสูจน์และยืนยันตัวตน เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำให้ประชาชนเข้าใจและตอบรับการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายขึ้น ช่วยให้เกิดการนำเทคโนโลยีมาใช้งานอย่างเหมาะสม มีความมั่นคงปลอดภัยในการดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน สร้างความมั่นใจและทำให้ประชาชนติดต่อกับภาครัฐทางออนไลน์ได้สะดวกยิ่งขึ้น
ดังนั้น หน่วยงานรัฐจึงจำเป็นที่จะต้องมีมาตรฐานการพิสูจน์และยืนยันตัวตนสำหรับบริการภาครัฐ มีรายละเอียดตามเอกสารที่ได้จัดทำขึ้น โดย คณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562
ทางสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA จึงได้จัดงาน Live ผ่านช่องทาง Facebook และ Youtube ภายใต้ชื่อ DGA Thailand หัวข้อการประชุมรับฟังความคิดเห็น (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลในหัวข้อ มาตรฐานและหลักเกณฑ์การจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล ว่าด้วย เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐสำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย ฉบับ Committee Draft for Vote (CDV) เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา
โดย ดร. สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุม พร้อมนำเสนอเรื่อง “ความสำคัญของ Digitalization ที่นำไปสู่ Digital Government” และ เรื่อง “DGA กับการพัฒนาระบบ Digital ID”
ทั้งนี้ ดร. สุพจน์ ได้กล่าวในการเปิดการประชุมว่า “เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล สพร. มียุทธศาสตร์หลักในการขับเคลื่อนประเทศโดยเฉพาะเรื่องของข้อมูลที่ต้องทำให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล รวมถึงการปรับเปลี่ยนกระบวนการหรือยกระดับการทำงานและการให้บริการประชาชน ที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลและมีการทำงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐเข้าด้วยกัน ผ่านการพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มสำหรับการให้บริการตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ เพื่อนำไปสู่รัฐบาลดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบและพลิกโฉมการให้บริการภาครัฐ เปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต (Life Style) ของประชาชนสู่วิถีปกติใหม่ (New Normal) ที่ประชาชนสามารถเข้าใช้บริการภาครัฐ จากที่ไหนและเมื่อไหร่ก็ได้
ดังนั้นสิ่งแรกที่อยากให้เกิดคือ Digital ID & Signature Common Platform เพราะ “Digital ID คือกุญแจสำคัญที่จะเปิดประตูสู่บริการภาครัฐออนไลน์” การใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับภาครัฐ ถือเป็นมิติใหม่ในการเข้าสู่บริการต่าง ๆ ของภาครัฐ ทำให้ประชาชนสามารถใช้ดิจิทัลไอดีเพื่อเข้ารับบริการได้หลากหลายเพียงใช้แค่ไอดีเดียว ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่น่าเชื่อถือ มีความมั่นคงปลอดภัยและรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ รวมถึงมีการบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีธรรมาภิบาล เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการเข้ารับบริการภาครัฐผ่านทางออนไลน์ได้ดียิ่งขึ้น ทั้งหมดทั้งมวลนี้จะเกิดขึ้นได้ต้องมีการกำหนดมาตรฐาน เพื่อให้การดำเนินการดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐเป็นมาตรฐานเดียวกัน
สำหรับการจัดงานรับฟังความคิดเห็นในวันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกท่านได้รับทราบมาตรฐานและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐที่ได้จัดทำขึ้น เพื่อให้ทุกท่านได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นผ่านช่องทางต่างๆ ที่ได้มีประชาสัมพันธ์ไว้”
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA ร่วมกับ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. ในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการเปิดเผยข้อมูลด้านน้ำ ตามหลักการธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) บนระบบ Open Data” ณ ห้องบัญชาการ ชั้น 2 สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)
โดยความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อเป็นการพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการเผยแพร่ข้อมูลด้านน้ำอันเป็นสาธารณประโยชน์บนระบบ Open Data ที่ผ่านการดำเนินการตามหลักการธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) และระบบเชื่อมโยงชุดข้อมูลระหว่างกัน ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันตามยุทธศาสตร์ชาติภายใต้แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศ
ทั้งนี้ นายสุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “DGA เล็งเห็นว่าข้อมูลที่เกี่ยวกับน้ำของประเทศ มีมากมายมหาศาล การนำข้อมูลเหล่านี้มาเปิดเผยให้เป็น Open Government Data เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยช์ต่อไปในอนาคต จึงเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็น
DGA จึงได้ร่วมมือกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการเปิดเผยข้อมูลด้านน้ำ ตามหลักการธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) บนระบบ Open Data ขึ้น ขอขอบคุณทางสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) ที่ยินดีมาร่วมงานกับ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ในโครงการพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการเปิดเผยข้อมูลด้านน้ำ ตามหลักการธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) บนระบบ Open Data
ทั้งนี้ DGA มีบทบาทในการสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการบริหารงานและการจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบและช่องทางดิจิทัล ที่มีการบริหารจัดการและการบูรณาการข้อมูลภาครัฐและการทำงานให้มีความสอดคล้องกันและเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างมั่นคงปลอดภัยและมีธรรมาภิบาล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและอำนวยความสะดวกในการให้บริการและการเข้าถึงของประชาชน จึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมทั้งบุคลากร กระบวนการทำงานและเพิ่มศักยภาพในการติดตาม การวิเคราะห์เชิงลึกแบบ Data Analytics โดยใช้ข้อมูลระดับจุลภาค และ การวิจัย เพื่อให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และความท้าทายใหม่ๆ
ซึ่งที่ผ่านมา DGA ได้จัดทำประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมา และ หน่วยงานภาครัฐได้รับทราบและตระหนักถึงความสำคัญของการทำธรรมาภิบาลข้อมูลในหน่วยงาน
และคนไทยทุกคนทราบดีว่า ข้อมูลน้ำเป็นข้อมูลสำคัญของประเทศ ซึ่งในยุค New Normal นี้ทุกคนคงทราบแล้วว่า ข้อมูลเป็นทรัพยากรรูปแบบใหม่ (Data is a new asset) ที่ควรตระหนักถึงความสำคัญ และกำกับดูแลไม่ต่างจากทรัพย์สินอื่นๆ ขององค์กร แต่หน่วยงานภาครัฐส่วนใหญ่อาจยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับคุณภาพของข้อมูล (Data Quality) ที่จะนำมาใช้ในทุกมิติ ทำให้ไม่อาจใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่ได้อย่างสูงสุด ดังนั้น จึงจำเป็นต้องให้หน่วยงานภาครัฐมีมาตรการและแนวปฏิบัติในธรรมาภิบาลข้อมูลและบริหารจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งการทำธรรมาภิบาลข้อมูลได้สำเร็จนั้น จะต้องได้รับการร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งผู้บริหารและระดับปฏิบัติการ ต้องมีการวางนโยบายไปพร้อมๆ กัน และสิ่งสำคัญคือ ความสามารถในการจัดการข้อมูลขององค์กรย่อมชี้วัดไปถึงการสร้างความสำเร็จอื่นๆ ได้ รวมถึงความสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้เต็มที่อย่างที่ควรจะเป็น
ดังนั้น เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์ของแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 – 2565 รัฐบาลดิจิทัล เปิดเผย เชื่อมโยง และร่วมกันสร้างบริการที่มีคุณค่าให้ประชาชน
“รัฐบาลที่ดี จะต้องขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data Driven Government) และมีการบริการจัดการตามธรรมาภิบาลข้อมูล เพื่อให้มีข้อมูลที่มีคุณภาพ มีแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ และให้หน่วยงานระดับนโยบายได้นำข้อมูลไปประกอบการจัดทำและติดตามงานด้านนโยบายที่เหมาะสม”
ในโอกาสนี้ ผมขอใช้โอกาสในการสร้างความร่วมมือนี้เป็นจุดเริ่มต้นเพื่อหาแนวทางขับเคลื่อนธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐให้เกิดผลได้อย่างเป็นรูปธรรมร่วมกัน และ จากความร่วมมือนี้เราจะช่วยกันดำเนินงานเพื่อข้อมูลน้ำของประเทศไทย”
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ที่ออกตามพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 โดยมีสาระสำคัญกำหนดให้มีธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐเพื่อเป็นหลักการและแนวทางในการดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าว อันจะนำไปสู่การพัฒนาระบบข้อมูลที่สำคัญของภาครัฐเพื่อประโยชน์ในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน และบูรณาการข้อมูลของหน่วยงานของรัฐอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการพัฒนาศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญเช่น
- ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการให้เป็นไปตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐแนบท้ายประกาศนี้ และจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐในระดับหน่วยงานให้สอดคล้องกับธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐด้วย
- ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐในระดับหน่วยงาน ต้องประกอบด้วยเนื้อหาอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
- การกำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการข้อมูลของหน่วยงาน
- การวางแผนการดำเนินงาน การปฏิบัติตามแผนการดำเนินงาน การตรวจสอบและการรายงานผลการดำเนินงาน และการปรับปรุงแผนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ระบบบริหารและกระบวนการจัดการข้อมูลมีประสิทธิภาพสามารถเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน และบูรณาการข้อมูลระหว่างกันทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน และคุ้มครองข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ
- การกำหนดมาตรการควบคุมและพัฒนาคุณภาพข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน มั่นคงปลอดภัย และไม่ถูกละเมิดความเป็นส่วนบุคคล รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงแลกเปลี่ยน บูรณาการ และใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การวัดผลการบริหารจัดการข้อมูล โดยอย่างน้อยประกอบด้วย การประเมินความพร้อมของธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐในระดับหน่วยงาน การประเมินคุณภาพข้อมูล และการประเมินความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล
- การจำแนกหมวดหมู่ของข้อมูล เพื่อกำหนดนโยบายข้อมูลหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับผู้มีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลต่าง ๆ ภายในหน่วยงาน สำหรับให้ผู้ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามนโยบายหรือกฎเกณฑ์ได้อย่างถูกต้อง และสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อันจะนาไปสู่การบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐอย่างเป็นระบบ
- การจัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐและบัญชีข้อมูลให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน
อ่านประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ได้ที่นี่
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2563 ณ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล พร้อมด้วย นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง และคณะกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมให้เร่งดำเนินการ 4 โครงการสำคัญ ได้แก่ 1. โครงการ DG Learning Platform 2. โครงการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลในพื้นที่ EEC 3. โครงการบูรณาการข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำและเศรษฐกิจฐานราก และ 4. การขับเคลื่อนการใช้ Digital ID ในภาครัฐ และมีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 – 2565 โดย สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA หลังจากผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนได้กำหนดเป้าหมายให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการเรื่องการปรับเปลี่ยนข้อมูลเป็นดิจิทัล การจัดทำข้อมูลเปิดภาครัฐ ภายใน 3 ปี และเร่งพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อรองรับการให้บริการกับ 3 กลุ่มสำคัญ คือ ภาคธุรกิจ ภาคประชาชน และชาวต่างประเทศ
นอกจากนี้ คกก. DG ได้แต่งตั้ง 2 อนุกรรมการเพิ่มเพื่อช่วยเสริมทัพการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ได้แก่ คณะอนุกรรมการสถาปัตยกรรม และมาตรฐานการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกเป็นประธาน และคณะอนุกรรมการผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ (GCIO) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธาน
ในการประชุมครั้งนี้ คกก. DG ได้อนุมัติมาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ ในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ โดยเร่งผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐเปิดเผยข้อมูลผ่านศูนย์กลางเปิดข้อมูลภาครัฐ ที่เว็บไซต์ data.go.th เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลเปิดภาครัฐได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สามารถนำไปเผยแพร่ ใช้ประโยชน์ หรือพัฒนาบริการและนวัตกรรมในรูปแบบต่าง ๆ นอกจากนี้ได้เสนอแนะแนวทางดำเนินโครงการบูรณาการข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำและเศรษฐกิจฐานราก โดยให้หารือกับเจ้าของ Platform อื่นๆ ด้วย พร้อมกำหนดนโยบายและมาตรฐานการใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่ และเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานสำคัญ อาทิ สภาพัฒน์ฯ ธกส. ธ.กรุงไทย ธ.ออมสิน อสม. ฯลฯ เพื่อให้รัฐบาลสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้ตรงจุดต่อไป โดยรองนายกรัฐมนตรีสมคิด กำชับให้ประสานหน่วยงานที่ยังไม่เปิดเผยข้อมูลให้เร่งดำเนินการแล้วเสร็จโดยเร็ว
ทั้งนี้ได้มีการเสนอความก้าวหน้ารัฐบาลดิจิทัลในประเด็นด้านอื่นๆ ดังนี้ ด้านนโยบาย รองนายกรัฐมนตรีสมคิดได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance for Government: DGF) เพื่อให้สามารถประกาศเป็นราชกิจจานุเบกษา ให้หน่วยงานภาครัฐระดับกระทรวง/กรม ดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาให้ข้อมูลของทุกหน่วยงานมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย สามารถนำไปใช้งานต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ นอกจากนี้ยังได้มีการแต่งตั้งอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล โดยให้ นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองเป็นประธาน
ด้านงบประมาณ มีการนำเสนอรายงานความก้าวหน้าแผนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ซึ่งสำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และ สพร. ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ ได้สรุปข้อเสนองบประมาณฯ ของแผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัลว่า มีหน่วยงานเสนอโครงการผ่านเกณฑ์การพิจารณาเบื้องต้น 49 โครงการ จาก 51 หน่วยงาน และมีกรอบงบประมาณฯ ที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 4,556 ล้านบาท ซึ่ง สพร. จะดำเนินการนำส่งให้สำนักงบประมาณพิจารณาต่อไป
ด้านโครงสร้างระบบ และการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลบุคลากรภาครัฐ ได้มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ (GCIO Committee) เป็นอนุกรรมการภายใต้ คกก. DG ตามข้อเสนอของ สำนักงาน กพ. และรายงานความก้าวหน้าการพัฒนาทักษะดิจิทัลกับผู้บริหารและบุคลากรภาครัฐแล้วกว่า 30,000 คน ผ่านหลักสูตรสำคัญ อาทิ DG CEO, e-GEP และ DTP เป็นต้น พร้อมเสนอโครงการยกระดับขีดความสามารถบุคลากรภาครัฐสู่ความเป็นดิจิทัล โดยความร่วมมือ ของ สำนักงาน กพ. สำนักงาน กพร. และ สพร. ผ่านรูปแบบ DG Learning Platform โดยจะมุ่งเน้นคนไอทีภาครัฐ เพื่อสร้างตลาดกลางการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น โดยจะมีการประเมินทักษะทั้งก่อนและหลังการเรียน และมีการให้แต้ม (reward) กับบุคลากรภาครัฐที่ผ่านการเข้าอบรมโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ด้วย
ด้านความก้าวหน้าโครงการสำคัญ ได้เตรียมพัฒนา One-Stop Service (OSS) สำหรับประชาชน โดยอยู่ระหว่างหารือรูปแบบการให้บริการ รวมทั้ง OSS สำหรับชาวต่างชาติ ที่จะพัฒนาบริการในรูปแบบ แอปพลิเคชัน ให้สามารถรายงานตัว 90 วัน กับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ได้ทุกที่ ทุกเวลา และเตรียมผลักดันแนวทางการใช้ Digital ID กับบริการของรัฐ รวมถึงแนวทางจัดทำ e-Wallet ร่วมกับกระทรวงการคลัง เพื่ออำนวยความสะดวกต่อประชาชน นอกจากนี้ มีประเด็นความคืบหน้าการเชื่อมโยงข้อมูลประชาชนผ่าน Linkage Center ของกรมการปกครอง ที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลแล้วมากกว่า 72 หน่วยงาน ให้บริการแล้ว 191 บริการ และมีจำนวนการเชื่อมข้อมูลมากกว่า 35 ล้านรายการ ทั้งนี้ยังมีการเชื่อมโยงข้อมูลผ่านศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางภาครัฐ (Government Data Exchange: GDX) ของ สพร. ทั้งข้อมูลนิติบุคคล ข้อมูลประชาชน และข้อมูลอื่น ๆ แล้วมากกว่า 60 ล้านรายการ เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนไม่ต้องใช้สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน รวมถึงลดการใช้เอกสารอื่น ๆ ที่ดำเนินการในรูปแบบดิจิทัลแทน
ดร. สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับโครงการริเริ่มใหม่ด้านการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล สพร. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเดินหน้า โครงการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลในพื้นที่ EEC เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการเชื่อมโยงระบบ Biz Portal กับ EEC OSS เข้าด้วยกัน พร้อมจัดทำระบบการจดจัดตั้งธุรกิจ 2 ภาษา และร่วมกับ NECTEC พัฒนา Chatbot รับเรื่องร้องเรียนเพื่อการบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น และเมื่อไม่นานนี้ สพร. ได้ร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เชื่อมต่อข้อมูลเพื่อให้รพ.และสถานพยาบาลสามารถเช็กประวัติการเดินทางผู้ป่วยที่เดินทางไปประเทศกลุ่มเสี่ยงแล้วตอบข้อซักถามไม่ชัดเจนได้ที่ เว็บไซต์ smarthealth.moph.go.th ทั้งนี้ ประธานฯ ได้มีข้อสั่งการให้สำนักงาน กพ. เตรียมการณ์ให้พร้อมในกรณีการระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19 อาทิ แนวทางการให้ข้าราชการทำงานผ่านออนไลน์ที่บ้าน การประชุมออนไลน์ เป็นต้น และให้คำนึงถึงประชาชนที่ต้องตกงานในช่วงการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19 ด้วย เช่น การเรียนผ่านออนไลน์ฟรีเพื่อพัฒนาทักษะให้สามารถหางานทำได้ง่ายขึ้น”
และทั้งหมดนี่คือมุ่งมั่นของรัฐบาลในการผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าของรัฐบาลดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรมที่ทุกภาคส่วนร่วมมือกันยกระดับการให้บริการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะภาครัฐได้โดยสะดวก ดังวิสัยทัศน์ “รัฐบาลดิจิทัล เปิดเผย เชื่อมโยง และร่วมกันสร้างบริการที่มีคุณค่าให้ประชาชน”