ความเป็นมาและวัตถุประสงค์
ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการบริหารจัดการ การบูรณาการข้อมูลภาครัฐ การทำงานให้มีความสอดคล้องกัน การเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างมั่นคงปลอดภัยและมีธรรมาภิบาล และตามมาตรฐาน 8 ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐต้องประกอบด้วยอย่างน้อยดังนี้ การมีระบบบริหาร การมีกระบวนการจัดการและคุ้มครองข้อมูลที่ครบถ้วน ตั้งแต่การจัดทำ การจัดเก็บ การจำแนกหมวดหมู่ การประมวลผลหรือใช้ข้อมูล การปกปิดหรือเปิดเผยข้อมูล การตรวจสอบ และการทำลาย และประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารจัดการข้อมูล (Data Management) เพื่อเป็นกลไกในการกำหนดทิศทาง ควบคุม และทวนสอบการบริหารจัดการข้อมูล และเป็นแนวทางให้หน่วยงานได้ดำเนินการบริหารจัดการข้อมูลตามนโยบาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่ได้กำหนดไว้
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. ได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานการบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐ เป็นเครื่องมือเพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานมีการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล ประกอบด้วย
- มรด. 6 : 2566 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ฉบับปรับปรุง: แนวปฏิบัติ (Data Governance Review) เพื่อเป็นกรอบภาพรวมในการขับเคลื่อนการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลของหน่วยงาน
- มรด. 3-1 : 2565 และ มรด. 3-2 : 2565 (GD Catalog Guideline & Register) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดทำ Metadata
- มรด. 4-1 : 2565 และ มรด. 4-2 : 2565 (Data Policy & Guideline) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดทำแนวนโยบายและแนวปฏิบัติการจัดการข้อมูล
- มรด. 5 : 2565 (Data Quality) เพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินคุณภาพข้อมูลภาครัฐ
- มสพร. 8-2565 (Data Classification) เพื่อเป็นเครื่องมือเพื่อพิจารณาระดับชั้นข้อมูล
- มสพร. 1-2566 (GD Catalog Guideline V. 2.0) เพื่อเป็นเครื่องมือในการพิจารณาเลือกใช้สัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูล
ท่านสามารถดาวโหลดเครื่องมือได้ ดังนี้