รองนายกฯ สมคิดไฟเขียว (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลฯ 3 ปี

จากการประชุมคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2562 ณ ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล โดย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการ พร้อมด้วยนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง และนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และคณะกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีมติที่ประชุม 4 เรื่องสำคัญเพื่อสร้างรากฐานรัฐบาลสู่ Open & Connected Government ดังนี้

  1. เห็นชอบหลักการ (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 – 2565
  2. เตรียมยกเลิกการขอสำเนาฯ จากประชาชน ภายในปี 2563 
  3. เปิดมาตรการระยะสั้นและระยะยาวเดินหน้าโครงการนำร่องศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จของภาครัฐ (One – Stop Service) ซึ่งเป็นช่องทางดิจิทัลในการเข้าถึงบริการรัฐ ณ จุดเดียว (Digital Government Service) เพื่อรองรับการให้บริการประชาชน (Citizen Platform) ผู้ประกอบการ (Business Platform) และชาวต่างชาติ (Foreigner Platform)

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เปิดเผยว่า รัฐบาลพร้อมฝ่าคลื่น Digital Disruption ด้วยการเร่งเดินหน้าตามมติที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ครั้งที่ 1/2562 ทั้งในเรื่องของการมองอนาคตประเทศผ่าน (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 – 2565 โดย สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA ที่เป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นเกี่ยวกับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล การลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชน ด้วยการตั้งเป้าให้หน่วยงานราชการต้องยกเลิกเรียกสำเนาฯ โดยเฉพาะสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านให้ได้ภายในปี 2563 ซึ่งก็จะเป็นไปตามแผนการดำเนินงานที่รัฐบาลวางเอาไว้ในการผลักดันให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลของส่วนราชการเข้ากับศูนย์ข้อมูลต่างๆ อาทิ Linkage Center ของกรมการปกครอง Government Data Exchange (GDX) ของ DGA ข้อมูลการนำเข้าส่งออกเชื่อมโยงกับระบบ National Single Window (NSW) ของกรมศุลกากร เป็นต้น และสิ่งที่สามารถสร้าง Value มากที่สุดในยุคนี้คือ “ข้อมูล” รัฐบาลจึงกำหนดให้มีการนำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance) มาเป็นแกนสำคัญในการประยุกต์ใช้ Big Data ภาครัฐที่มีอยู่มหาศาลเพื่อเพิ่ม Effectiveness ของนโยบายในการพัฒนาประเทศระยะยาว

“ทั้งนี้มาตรการในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานรัฐคือ ให้ส่วนราชการที่จำเป็นต้องใช้เอกสารที่ออกโดยหน่วยงานภาครัฐเชื่อมโยงข้อมูลเอกสารดังกล่าวจากศูนย์เชื่อมโยงที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะข้อมูลที่มีความพร้อมสูง ได้แก่ ข้อมูลทะเบียนราษฎร และข้อมูลนิติบุคคลด้วย นอกจากนี้ เมื่อทุกหน่วยงานเชื่อมโยงข้อมูลมาที่ศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางภาครัฐ (Government Data Exchange: GDX) เรียบร้อยแล้ว โครงการที่จะเกิดขึ้นตามมาแน่นอน คือ โครงการนำร่องศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จของภาครัฐ (One – Stop Service) ที่ คกก. DG เห็นชอบมาตรการระยะสั้นและระยะยาวตามที่ DGA เสนอเพื่อรองรับการให้บริการประชาชน (Citizen Platform) ผู้ประกอบการ (Business Platform) โดยในปี 2563 ให้สำนักงาน ก.พ.ร. และ DGA ร่วมกันดำเนินการการเพื่อขยายจำนวนใบอนุญาตในระบบ Biz Portal จาก 40 ใบอนุญาต ใน 10 ธุรกิจ เป็น 78 ใบอนุญาต ใน 25 ธุรกิจ เพื่อให้บริการเบ็ดเสร็จแบบดิจิทัลเต็มรูปแบบครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายภายใต้แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 – 2565

พร้อมรองรับการยืนยันตัวตนด้วย Digital ID การยื่นคำขอ การอนุมัติ/อนุญาต การออกใบอนุญาต การชำระค่าธรรมเนียมแบบ e-Payment การออกใบอนุญาตแบบ e-Licensing และติดตามสถานะของการขออนุญาตได้ด้วย และให้หน่วยงานที่มีหน้าที่อนุมัติ/อนุญาต และมีช่องทางการยื่นขอใบอนุญาตผ่าน Biz Portal ได้แล้ว ใช้ระบบ Biz Portal หรือ เว็บไซต์ biz.govchannel.go.th เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการให้บริการแก่ผู้ประกอบการในการยื่นขอใบอนุญาตแบบ One Stop Service ภายใน 3 เดือน และดำเนินการเชื่อมโยงระบบงานที่เกี่ยวข้องเข้ากับระบบ Biz Portal ในปี 2563 และให้หน่วยงานที่มีศูนย์ให้บริการร่วมในภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความพร้อม เริ่มนำระบบ Biz Portal มาอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการทั่วประเทศในการยื่นขอใบอนุญาตสำหรับประเภทธุรกิจหรือใบอนุญาตที่ให้บริการผ่านระบบ Biz Portal ได้แล้ว ภายใน 6 เดือน โดยกำลังอยู่ระหว่างการศึกษาเรื่องการลดค่าธรรมเนียมประมาณ 30-50% เมื่อประชาชนมาใช้บริการผ่าน Biz Portal และอีกช่องทางการอำนวยความสะดวกคือ การให้บริการชาวต่างชาติ (Foreigner Platform) สามารถรายงานตัว 90 วัน ผ่านแอปพลิเคชันโดยตรงกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้ทุกที่ทั่วประเทศ และสำหรับมติในที่ประชุมวันนี้ท่านรองนายกรัฐมนตรีสมคิดเน้นย้ำเพิ่มเติมว่า ให้เริ่มที่การพัฒนาบุคลากรภาครัฐก่อน โดยเฉพาะ CIO ของทุกกระทรวงให้เปลี่ยนบทบาทหน้าที่แบบเดิมสู่ Digital Transformation ให้ได้อย่างแท้จริง โดยเน้นการปรับโครงสร้างพร้อมให้นำคนที่มีความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลมาร่วมงานมากขึ้นเพื่อให้แผนพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ที่วางไว้มีก้าวหน้าขึ้นได้อย่างรวดเร็ว” รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองกล่าว

ทั้งนี้ คกก. DG มีเป้าหมายสำคัญในการปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่รัฐบาลดิจิทัลภายใน 3 ปี ดังนี้

  • จัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐภายใน 3 ปี
  • ยกระดับทักษะดิจิทัลที่จำเป็นของคนภาครัฐภายใน 3 ปี
  • ข้อมูลดิจิทัลภายใน 3 ปี
  • ปรับบริการให้เป็นดิจิทัลภายใน 3 ปี
  • เกิดศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (GDX)
  • เกิด Digital Platforms สำหรับบริการทุกภาคส่วน
  • ไม่ใช้สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านภายใน 1 ปี
  • เกิดบริการ One Stop Service สำหรับทุกภาคส่วน
  • เปิดเผยข้อมูลภาครัฐภายใน 3 ปี
  • สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนผ่าน e-Participation
  • การใช้ Data Analytic เพื่อใช้ประโยชน์ข้อมูลดิจิทัล

ซึ่งการดำเนินงานตาม (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 – 2565 ทั้งหมดนี้จะเป็น Digital Transformation ในการเดินหน้าสร้างรากฐานสู่ Open & Connected Government และการมีแผน Digitize เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานให้ทุกกระทรวงมุ่งสู่รัฐบาลดิจิทัลในที่สุด

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ท่านสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องและอำนวยความสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ รวมถึงช่วยให้เราปรับปรุงการนำเสนอเนื้อหาตรงตามความต้องการของท่าน โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ประกาศการใช้คุกกี้ และ ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่าข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า