สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA จัดงานรับฟังความคิดเห็นต่อร่างข้อเสนอแนะแนวทางการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ โดยมี ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน พร้อมเสวนาเรื่อง “ทำไมต้องทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ” ร่วมกับ นางสาววันเพ็ญ พูลวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ ผศ. ดร. ภุชงค์ อุทโยภาศ ประธานกรรมการจัดทำร่างมาตรฐานข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ภายใต้พ.ร.บ.การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 และ นางสาวสุรุ่งลักษณ์ เมฆะอำนวยชัย รองเลขาธิการ ก.พ.ร ร่วมเสวนาในช่วงเช้า เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2563 ณ โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ สุขุมวิท 20

และมีการเสวนาต่อเนื่องโดยมี นายทรงพล ใหม่สาลี ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศยุทธศาสตร์ภาครัฐ สำนักงานสถิติแห่งชาติ นายมารุต บูรณรัช ผู้แทนศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และนางสาวอุรัชฎา เกตุพรหม ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนามาตรฐานดิจิทัล DGA ในหัวข้อเรื่อง “บัญชีข้อมูลภาครัฐทำอย่างไร ทำแล้วได้อะไร”

พร้อมนำเสนอเรื่อง “ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐและการใช้บริการ” และ เรื่อง “(ร่าง) แนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ” โดยในช่วง LIVE มีผู้เข้าร่วมฟังบรรยายและส่งคำถามผ่านโซเชียลมีเดียด้วยความสนใจอย่างต่อเนื่อง

สำหรับผู้ที่พลาดชม สามารถรับชมย้อนหลังได้ที่

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.dga.or.th/th/profile/2193/ และดาวน์โหลดเอกสารประกอบการเสวนาได้ที่ https://www.dga.or.th/upload/download/file_255e494ca32eeae34ad9aa6252901662.pdf

อย่าลืม!! ตอบแบบแสดงความคิดเห็น กลับมาภายในวันจันทร์ที่ 11 มกราคม 2564 คลิกเลย https://forms.office.com/Pages/ResponsePage.aspx?id=Ocq5V3P1D0OnrA7143K1AfrvM9tSBV5FiFBTY2GyKrpUQTBIVDlMTUtDWFBLQVk5TlNVR0VJMlJPRy4u

     ด้วย สพร. มีหน้าที่อำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติงานในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 และแต่งตั้งคณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ มาดำเนินการร่างข้อเสนอแนะแนวทางการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ว่าด้วย แนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐได้ทราบถึงความสำคัญ แนวทาง และวิธีการจัดทำบัญชีข้อมูลของหน่วยงานอย่างเป็นระบบ และเอกสารข้อเสนอแนะแนวทางฯ ฉบับนี้ จะเป็นคู่มือสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องเชิงธุรกิจ (Non-Technical Team) และผู้ที่เกี่ยวข้องเชิงเทคนิค (Technical Team) ของหน่วยงาน เพื่อใช้ในการจัดทำบัญชีข้อมูลให้มีมาตรฐานของคำอธิบายข้อมูลหรือเมทาดาตา (Metadata) ที่มีความสอดคล้องกัน และสามารถรวบรวมเข้าสู่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐกลาง ตลอดจนสามารถให้บริการข้อมูลภาครัฐแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนต่อไป
     สำหรับการจัดงานรับฟังความคิดเห็นในวันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกท่านได้รับทราบมาตรฐานและข้อเสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐที่ได้จัดทำขึ้น เพื่อให้ทุกท่านได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นผ่านช่องทางต่างๆ ที่ได้มีประชาสัมพันธ์ไว้

เอกสารประกอบการจัดงาน :

    ลิงก์สำหรับดาวน์โหลดเอกสารประกอบการจัดงาน วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ที่นี้

ช่องทางการรับชมงาน :

     ลิงก์สำหรับรับชมงานย้อนหลัง     วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ ในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ

ตามที่ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2563 เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะเพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ในการเข้าถึงข้อมูล และกำหนดแนวทางและมาตรฐานให้หน่วยงานของรัฐจัดส่งหรือเชื่อมโยงข้อมูลดังกล่าวเปิดเผยแก่ประชาชน ณ ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Government Data of Thailand) ที่เว็บไซต์ data.go.th

ข้อมูลเปิดภาครัฐคืออะไร

ข้อมูลเปิดภาครัฐ คือ “ข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเปิดเผยต่อสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลที่สามารถเข้าถึงและใช้ได้อย่างเสรี ไม่จำกัดแพลตฟอร์ม ไม่เสียค่าใช้จ่าย เผยแพร่ ทำซ้ำ หรือใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จำกัดวัตถุประสงค์” หรือสรุปได้ว่า คือ ข้อมูลภาครัฐที่ผ่านกระบวนการจัดลำดับชั้นความลับของข้อมูลแล้วว่าเป็น “ข้อมูลสาธารณะ” ผู้ใช้งานสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้งาน วิเคราะห์ หรือดัดแปลงได้ตามความต้องการ

ทำไมจึงต้องเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ

การดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน ข้อมูลถือเป็นกุญแจสำคัญที่นำมาใช้สนับสนุนการดำเนินการกิจการต่าง ๆ รวมไปถึงการพัฒนาประเทศในทิศทางต่าง ๆ เช่น นำมาใช้ในการสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจ และสังคมดิจิทัลให้กับทุกภาคส่วน รวมถึงการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาบริการหรือ ต่อยอดนวัตกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลภาครัฐ ซึ่งมีข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำมาพัฒนาประเทศได้อย่างมหาศาล ดังนั้น ข้อมูลภาครัฐจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม และการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูล จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนประเทศ

ไฟล์เอกสาร

ราชกิจจานุเบกษา_ประกาศคกกพัฒนารัฐบาลดิจิทัล การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ

26/09/2564
18

(ร่าง) Draft High Value Datasets Quick Guide eBook

26/09/2564
9

(ร่าง) Open Data Process Quick Guide eBook

26/09/2564
6

ตามที่ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2563 เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะเพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ในการเข้าถึงข้อมูล และกำหนดแนวทางและมาตรฐานให้หน่วยงานของรัฐจัดส่งหรือเชื่อมโยงข้อมูลดังกล่าวเปิดเผยแก่ประชาชน ณ ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Government Data of Thailand) ที่เว็บไซต์ data.go.th

ข้อมูลเปิดภาครัฐคืออะไร

ข้อมูลเปิดภาครัฐ คือ “ข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเปิดเผยต่อสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลที่สามารถเข้าถึงและใช้ได้อย่างเสรี ไม่จำกัดแพลตฟอร์ม ไม่เสียค่าใช้จ่าย เผยแพร่ ทำซ้ำ หรือใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จำกัดวัตถุประสงค์” หรือสรุปได้ว่า คือ ข้อมูลภาครัฐที่ผ่านกระบวนการจัดลำดับชั้นความลับของข้อมูลแล้วว่าเป็น “ข้อมูลสาธารณะ” ผู้ใช้งานสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้งาน วิเคราะห์ หรือดัดแปลงได้ตามความต้องการ

ทำไมจึงต้องเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ

การดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน ข้อมูลถือเป็นกุญแจสำคัญที่นำมาใช้สนับสนุนการดำเนินการกิจการต่าง ๆ รวมไปถึงการพัฒนาประเทศในทิศทางต่าง ๆ เช่น นำมาใช้ในการสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจ และสังคมดิจิทัลให้กับทุกภาคส่วน รวมถึงการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาบริการหรือ ต่อยอดนวัตกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลภาครัฐ ซึ่งมีข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำมาพัฒนาประเทศได้อย่างมหาศาล ดังนั้น ข้อมูลภาครัฐจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม และการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูล จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนประเทศ

ไฟล์เอกสาร

ราชกิจจานุเบกษา_ประกาศคกกพัฒนารัฐบาลดิจิทัล การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ

15/09/2564
664

เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ในการเข้าถึงข้อมูล และกำหนดแนวทางและมาตรฐานให้หน่วยงานของรัฐ
จัดส่งหรือเชื่อมโยงข้อมูลดังกล่าวเปิดเผยแก่ประชาชน ณ ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ

กำหนดให้มีธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐเพื่อเป็นหลักการและแนวทางในการดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าว อันจะนำไปสู่การพัฒนาระบบข้อมูลที่สำคัญของภาครัฐเพื่อประโยชน์ในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน และบูรณาการ
ข้อมูลของหน่วยงานของรัฐอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการพัฒนาศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตามที่ คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบต่อแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560 – 2565) และแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2559 – 2561) เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2559 ที่ผ่านมา เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งประเด็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม คือ ยุทธศาสตร์ที่ 4 ปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล และยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ประกอบกับการปรับเปลี่ยนสู่รัฐบาลดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐนั้น มีความจำเป็นต้องยกระดับการให้บริการให้มีประสิทธิภาพในหลายมิติไปพร้อม ๆ กัน โดยหนึ่งในมิติที่รัฐบาลกำลังให้ความสำคัญและมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาคือ มิติด้านข้อมูล ตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2560 ได้สั่งการให้สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA ขับเคลื่อนการดำเนินงานในเรื่องการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อให้บุคลากรของหน่วยงานภาครัฐสามารถวิเคราะห์ออกแบบและตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลจริง ลดการพึ่งความรู้สึกหรือข้อมูลปรุงแต่ง ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการปฏิบัติงานและสร้างความเชื่อมโยงในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐกันเอง (Connected and Open Government) จึงได้มีการนำหลักการของธรรมาภิบาลข้อมูล Data Governance มาเป็นกลไกในการกำหนดทิศทาง ควบคุม และทวนสอบการบริหารจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ บนพื้นฐานความมั่นคงปลอดภัยและความมีคุณภาพของข้อมูล เพื่อให้การได้มาและการนำไปใช้ข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน รักษาความเป็นส่วนบุคคล และสามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคงปลอดภัย

เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ตามกฎหมายและข้อสั่งการดังกล่าว สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลภาครัฐ (Thailand Digital Government Academy: TDGA) ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA จัดโครงการอบรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้ด้านทักษะดิจิทัล ในหัวข้อ “การประยุกต์ใช้งานกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภายในหน่วยงานภาครัฐ (Data Governance Framework : DGF)” อย่างต่อเนื่องเป็น รุ่นที่ 4 แล้ว เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจกรอบธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance Framework) ระหว่างวันที่ 11-25 ตุลาคม 2562 ณ โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ โฮเต็ล กรุงเทพฯ

และช่วงบ่ายอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การประยุกต์ใช้งานกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภายในหน่วยงานภาครัฐ” โดย นางสาวอัญชลี โพธิ์อ่อน และคณะผู้ช่วยวิทยากร หัวหน้าทีมมาตรฐานดิจิทัล DGA

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA เดินหน้าออกกฎหมายรองภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 หรือ พ.ร.บ.รัฐบาลดิจิทัล หลังมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา เพื่อเร่งสปีดขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกฎหมายฉบับนี้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด DGA จึงได้จัดงาน “รับฟังเพื่อแสดงความคิดเห็นและรับทราบ (ร่าง) มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ พ.ศ. …” ขึ้นเพื่อบรรลุเป้าหมายการบริหารงานภาครัฐและการจัดทำบริการสาธารณะเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนได้อย่างตรงใจมากที่สุด

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ประธานในพิธีฯ กล่าวว่า ในยุคดิจิทัลนี้ “ข้อมูล” จัดเป็นทรัพยากรที่สำคัญและมีค่ามาก ซึ่งหน่วยงานภาครัฐได้มีการจัดเก็บข้อมูลไว้มากมาย หากมีการบริหารจัดการข้อมูลเหล่านี้อย่างเป็นระบบด้วยธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐภายใต้พ.ร.บ.รัฐบาลดิจิทัลก็จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกหน่วยงานรัฐทั่วประเทศ และเมื่อนำข้อมูลที่มีค่าเหล่านั้นมาเปิดเผยสู่สาธารณะเพื่อให้ภาคประชาชนและภาคธุรกิจนำไปพัฒนาต่อยอดด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็จะช่วยสร้างรายได้สู่เศรษฐกิจและสังคมได้อย่างมหาศาล ดังจะเห็นได้จากโครงการ “ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ” ที่เว็บไซต์ Data.go.th มีการนำข้อมูลเปิดภาครัฐจากหน่วยงานต่าง ๆ มาให้ประชาชนดาวน์โหลดไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างมูลค่าทางด้านเศรษฐกิจและสังคมมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงระบบภาษีไปไหน หรือ เว็บไซต์ govspending.data.go.th ที่นำระบบข้อมูลการใช้จ่ายภาครัฐ (Thailand Government Spending) มาเปิดเผยในรูปแบบกราฟที่ดูเข้าใจง่ายและสร้างความโปร่งใสด้วยการเปิดเผยภาพรวมรายได้และข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐแก่ประชาชน เป็นต้น

ทั้งนี้ การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐนั้นไม่ใช่เพียงนำชุดข้อมูลที่มีออกมาเปิดเผยเท่านั้น จะต้องมีการสร้างสภาพแวดล้อมทั้งระบบของข้อมูลเปิดภาครัฐด้วย โดยทุกหน่วยงานต้องพร้อมจะเปิดเผยข้อมูล และข้อมูลที่เปิดเผยนั้นต้องมีคุณค่า มาตรฐาน และสามารถนำไปใช้งานต่อได้ทันที คาดว่าหลังจากนี้ทุกหน่วยงานจะมีแนวทางในการจัดเตรียมเนื้อหาสำหรับเปิดเผยข้อมูลได้สอดคล้องกับกฎหมายรองฉบับนี้มากยิ่งขึ้น

นางไอรดา เหลืองวิไล รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล กล่าวว่า ในมาตรา 17 ของพ.ร.บ.รัฐบาลดิจิทัลฉบับนี้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดทำข้อมูลที่ต้องเปิดเผยตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ โดยต้องให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และสามารถนำไปเผยแพร่ ใช้ประโยชน์ หรือพัฒนาบริการและนวัตกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ได้ ดังนั้น DGA ซึ่งมีหน้าที่จัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์เพื่อเสนอคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ได้จัดทำ (ร่าง) มาตรฐาน และหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ พ.ศ. …. ขึ้นเพื่อให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนดไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม

สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลภาครัฐ (Thailand Digital Government Academy: TDGA) ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA จัดโครงการอบรมพร้อมพิธีปิดโครงการอบรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้และการอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “การประยุกต์ใช้งานกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภายในหน่วยงานภาครัฐ (Data Governance Framework : DGF)” รุ่นที่ 3 สำหรับหน่วยงานภาครัฐ โดยในช่วงเช้า ได้รับเกียรติจากนายศักดิ์ เสกขุนทด ผู้ทรงคุณวุฒิด้าน Digital Transformation บรรยายเรื่อง “แนวทางการจัดทำข้อมูลและกระบวนงานภาครัฐให้เป็นดิจิทัล”

สำหรับในช่วงบ่ายอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เรื่อง “Data Policy” โดย นางสาวอัญชลี โพธิ์อ่อน หัวหน้าทีมมาตรฐานดิจิทัล DGA โดยผู้เข้าร่วมอบรมแต่ละทีมโชว์ไอเดียกันอย่างเข้มข้นพร้อมนำไปใช้งานจริง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ท่านสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องและอำนวยความสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ รวมถึงช่วยให้เราปรับปรุงการนำเสนอเนื้อหาตรงตามความต้องการของท่าน โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ประกาศการใช้คุกกี้ และ ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่าข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า