เอกสารมาตรฐาน :

ไฟล์เอกสาร

2. ประกาศ สพร. ที่ 18-2564 เรื่อง มสพร. Data Policy&Guildeline_20220222

30/03/2565
87

แนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ

บัญชีข้อมูล (Data Catalog) : ทำไมต้องทำ ทำอย่างไร ทำแล้วได้อะไร?

     ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันประเทศไทยมีความตื่นตัวเรื่องข้อมูล อย่างกว้างขวางในทุกภาคส่วน ภาครัฐและภาคเอกชนเริ่มปรับตัวและเตรียมพร้อมเข้าสู่ยุคของการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ จึงมีความต้องการใช้ประโยชน์ข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การเลือกใช้ข้อมูลและการสืบค้นหาแหล่งข้อมูลสำหรับวิเคราะห์หรือให้บริการมีความซับซ้อนและยุ่งยาก อย่างไรก็ดี หน่วยงานภาครัฐยังขาดการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงาน มีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล และผู้ใช้ข้อมูลที่มีอยู่หลากหลายกลุ่มทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม รวมถึงประชาชนทั่วไป ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการจัดทำบัญชีข้อมูลอันประกอบด้วยรายการข้อมูลและคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐให้มีมาตรฐาน มีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาระบบข้อมูลที่สำคัญของภาครัฐเพื่อประโยชน์ในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน และบูรณาการข้อมูลของหน่วยงานของรัฐอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการพัฒนาศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     การจัดทำบัญชีข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ช่วยให้ผู้ใช้ข้อมูลในหน่วยงานสามารถใช้บริการผ่านระบบสารสนเทศในการสืบค้น ร้องขอ เข้าถึงแหล่งที่มา ทราบถึงประเภท รูปแบบข้อมูล และเพื่อรวบรวมให้เป็นบัญชีข้อมูลภาครัฐหรือ Government Data Catalog : GD Catalog เสมือนสมุดหน้าเหลือง (Yellow Pages) ทำให้ผู้ใช้ข้อมูลสามารถใช้ประโยชน์ข้อมูลสำคัญของภาครัฐทั้งหมดได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อน รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดการติดตามและกำกับดูแลการจัดการข้อมูลตลอดทั้งวงจรชีวิต สามารถบูรณาการ และใช้ประโยชน์ข้อมูลข้ามหน่วยงานได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

เอกสารมาตรฐาน :

     1. มาตรฐานของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ (มสพร. 1-2564)

(ใหม่) งานประชาพิจารณ์ร่างข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล

Data-Driven Policy วัฒนธรรมใหม่ของหน่วยงานภาครัฐ

     เพื่อกำหนดนโยบายข้อมูลหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับผู้มีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลต่าง ๆ ภายในหน่วยงาน สำหรับให้ผู้ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามนโยบายหรือกฎเกณฑ์ได้อย่างถูกต้อง และสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อันจะนำไปสู่การบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐอย่างเป็นระบบ รวมทั้งสนับสนุนการจัดทำบัญชีข้อมูลหน่วยงานให้ได้มาตรฐานและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สอดคล้องตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
     คณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ สพร. ได้จัดทำร่างข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล (Recommendation for Writing Data Management Policy and Guideline) เพื่อเป็นคู่มือการใช้งานเอกสารแม่แบบนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล (Data Management Policy and Guideline Template) ให้หน่วยงานภาครัฐใช้เป็นตัวอย่างในการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูลของหน่วยงาน ซึ่งจะเป็นกรอบแนวทางและแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการข้อมูลให้มีความมั่นคงปลอดภัย มีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งเพื่อให้ข้อมูลของหน่วยงานมีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของผู้ใช้งาน และสามารถนำไปบูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     ดังนั้น เพื่อให้ร่างข้อเสนอแนะฯ มีความเหมาะสมกับการนําไปใช้งานได้จริงและเป็นประโยชน์กับหน่วยงานของท่าน จึงขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและปรับปรุงให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์และประกาศใช้ต่อไป โดยสามารถตอบแบบแสดงความคิดเห็นกลับมาภายในวันศุกร์ที่ 16 กันยายน 2564 (ศึกษารายละเอียดและดาวน์โหลดเอกสารตามที่แนบมานี้)

เอกสารประกอบการจัดงาน :

      ลิงก์สำหรับดาวน์โหลดเอกสาร ที่นี้

ช่องทางการรับชมงาน : ลิงก์สำหรับรับชมงานย้อนหลัง

    วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2564

งานชี้แจงมาตรฐานของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ (มสพร. 1-2564)

     ด้วย สพร. มีวิสัยทัศน์ “นำรัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล” จึงได้ประกาศมาตรฐานของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ เลขที่ มสพร. 1 – 2564 ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2564 เพื่อเป็นประโยชน์ให้หน่วยงานภาครัฐอื่นนำมาตรฐานไปใช้อ้างอิงและเป็นแนวทางในการจัดทำบัญชีข้อมูลของหน่วยงานให้สอดคล้องตามแนวทางประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ และมาตรฐานคำอธิบายข้อมูลหรือเมทาดาตา (Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ ที่มีความสอดคล้องกัน และสามารถรวบรวมเข้าสู่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐกลาง ตลอดจนสามารถให้บริการข้อมูลภาครัฐแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนต่อไป
     สำหรับการจัดงานรับฟังความคิดเห็นในวันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกท่านได้รับทราบมาตรฐานและข้อเสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐที่ได้จัดทำขึ้น และเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน ตลอดจนสามารถพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) ตามตัวชี้วัด ก.พ.ร. ปีงบประมาณ 2564

เอกสารประกอบการจัดงาน : ลิงก์สำหรับดาวน์โหลดเอกสารประกอบการจัดงาน

     วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564 ที่นี้
     วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2564 ที่นี้

ช่องทางการรับชมงาน : ลิงก์สำหรับรับชมงานย้อนหลัง

      วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564 ช่วงเช้า / ช่วงบ่าย
      วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2564 ช่วงเช้า / ช่วงบ่าย

งานรับฟังร่างความคิดเห็นต่อร่างข้อเสนอแนะแนวทางการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ

     ด้วย สพร. มีหน้าที่อำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติงานในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 และแต่งตั้งคณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ มาดำเนินการร่างข้อเสนอแนะแนวทางการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ว่าด้วย แนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐได้ทราบถึงความสำคัญ แนวทาง และวิธีการจัดทำบัญชีข้อมูลของหน่วยงานอย่างเป็นระบบ และเอกสารข้อเสนอแนะแนวทางฯ ฉบับนี้ จะเป็นคู่มือสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องเชิงธุรกิจ (Non-Technical Team) และผู้ที่เกี่ยวข้องเชิงเทคนิค (Technical Team) ของหน่วยงาน เพื่อใช้ในการจัดทำบัญชีข้อมูลให้มีมาตรฐานของคำอธิบายข้อมูลหรือเมทาดาตา (Metadata) ที่มีความสอดคล้องกัน และสามารถรวบรวมเข้าสู่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐกลาง ตลอดจนสามารถให้บริการข้อมูลภาครัฐแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนต่อไป
     สำหรับการจัดงานรับฟังความคิดเห็นในวันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกท่านได้รับทราบมาตรฐานและข้อเสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐที่ได้จัดทำขึ้น เพื่อให้ทุกท่านได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นผ่านช่องทางต่างๆ ที่ได้มีประชาสัมพันธ์ไว้

เอกสารประกอบการจัดงาน :

    ลิงก์สำหรับดาวน์โหลดเอกสารประกอบการจัดงาน วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ที่นี้

ช่องทางการรับชมงาน :

     ลิงก์สำหรับรับชมงานย้อนหลัง     วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ข้อมูลเป็นกุญแจสำคัญยิ่งในการดำเนินกิจการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในภาครัฐหรือภาคเอกชนรวม ไปถึงการนำข้อมูลไปใช้พัฒนาประเทศในทิศทางต่างๆ ตั้งแต่การใช้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อน เศรษฐกิจ ไปจนถึงการใช้ข้อมูลเพื่อพัฒนาบริการหรือต่อยอดนวัตกรรมต่าง ๆ หากแต่ในปัจจุบัน ยังมีข้อจำกัดการใช้ข้อมูลของภาครัฐ เนื่องจากข้อมูลส่วนใหญ่ของภาครัฐยังถูกจัดเก็บอยู่ภายในหน่วยงานหรือ ระหว่างหน่วยงานเป็นหลัก ซึ่งนับเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การพัฒนาประเทศชะลอตัว

ด้วยเหตุนี้เองจึงมีความจำเป็นที่ต้องเปิดให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงข้อมูลภาครัฐเพื่อการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้าสู่ประเทศไทย 4.0 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เป็นผู้พัฒนาศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Government Data of Thailand) ที่เปิดให้ภาคเอกชน และภาคประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลเปิดภาครัฐได้ทางเว็บไซต์ Data.go.th

“ข้อมูลเปิดภาครัฐ” คืออะไร?

ข้อมูลเปิดภาครัฐ คือ ข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเปิดเผยต่อสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วย ข้อมูลข่าวสารของราชการในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลที่สามารถเข้าถึงและใช้ได้อย่างเสรี ไม่จำกัดแพลตฟอร์ม ไม่เสียค่าใช้จ่าย เผยแพร่ ทำซ้ำ หรือใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จำกัดวัตถุประสงค์

ข้อมูลเปิดภาครัฐจัดว่าเป็นข้อมูลสาธารณะจากภาครัฐที่ผู้ใช้งานสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้งาน วิเคราะห์ หรือดัดแปลงได้อย่างอิสระตามความต้องการ โดยเป็นข้อมูลสมบูรณ์ ผ่านการอัปเดตเป็นข้อมูล ปัจจุบันจากแหล่งข้อมูลโดยตรง มีโครงสร้างที่สามารถนำไปใช้งานต่อได้พร้อมเปิดให้เข้าถึงได้ง่ายและใช้ งานได้ตลอดเวลาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงข้อมูล

ทำไมต้องมีข้อมูลเปิดภาครัฐ

การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐนับว่าเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับทั้งหน่วยงานของรัฐและผู้ใช้ข้อมูล โดยหน่วยงานของรัฐสามารถเปิดเผยข้อมูลผ่านแพลตฟอร์ม Open Government Data ซึ่งเป็น ศูนย์รวมข้อมูลส่วนกลางเพื่อให้ผู้ใช้เรียกดูข้อมูลได้จากแหล่งเดียวกัน ทำให้แต่ละหน่วยงานไม่ต้องจัดสรรงบใหม่เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มของตนเองอีกทั้งยังสามารถป้องกันการเกิดข้อมูลที่ซ้ำซ้อนและผิดพลาดได้ ด้วยความสามารถของ API ในการเชื่อมข้อมูลที่เปิดเผยอยู่แล้ว ทั้งนี้ ทุกภาคส่วนก็จะได้รับประโยชน์จากข้อมูลเปิดภาครัฐได้ โดยแยกเป็น 3 ข้อ ดังนี้

  1. ภาครัฐ: การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐเป็นการส่งเสริมให้เกิดธรรมาภิบาลและเป็นการผลักดันให้เกิดการบูรณาการการใช้ประโยชน์จากข้อมูลร่วมกัน สร้างความโปร่งใสในการบริหารประเทศ เพื่อแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน โดยหน่วยงานต่างๆ ของรัฐสามารถนำข้อมูลไปใช้วางแผนเชิงนโยบายและปรับปรุงการให้บริการสาธารณะได้
  2. ภาคเอกชน: เมื่อหน่วยงานเอกชนเข้าถึงข้อมูลเปิดภาครัฐได้ องค์กรต่างๆ ก็สามารถนำ ข้อมูลดังกล่าวไปต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจส่งเสริมการขับเคลื่อนนวัตกรรมจากข้อมูลในยุคที่ใช้ข้อมูลขับเคลื่อนธุรกิจ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของ ประเทศด้วย
  3. ภาคประชาชน: การเปิดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลเปิดภาครัฐได้นับเป็นการเสริมสร้างการมี ส่วนร่วม ทำให้ประชาชนได้รับบริการดิจิทัลภาครัฐที่ดีขึ้นโดยสามารถเข้าถึงและใช้ ประโยชน์จากข้อมูลเปิดภาครัฐแบบดิจิทัลรวมถึงสามารถนำข้อมูลไปพัฒนาหรือต่อยอด นวัตกรรมต่างๆ ได้

โดยสรุปแล้ว

การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐอย่างมีธรรมาภิบาลจะช่วยให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารประเทศ ช่วยสร้างคุณค่าให้กับสังคมและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและช่วยสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาประเทศ ทั้งหมดนี้เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้าใจถึงสถานการณ์และแนวทางการแก้ไข ปัญหาต่างๆ ที่มีความซับซ้อน ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเชิงรุกเน้นการยกระดับไปสู่ความร่วมมือใน การพัฒนาประเทศต่อไป

ในยุคที่เรียกได้ว่าเป็น Digital Transformationที่องค์กรต้องขับเคลื่อนด้วยข้อมูลจึงทำให้เกิด วลีที่เปรียบเทียบว่า “Data is an asset” หรือ “ข้อมูลเปรียบเสมือนทรัพย์สิน” ส่งผลให้หลายๆ องค์กรได้พยายามสร้างระบบต่างๆเพื่อจัดเก็บข้อมูลที่ต้องการใช้งานภายในองค์กรขึ้นมามากมาย หากแต่เชื่อว่าหลายคนมักจะต้องพบกับปัญหาไม่ว่าจะเป็นกรณีที่มีข้อมูลมากมายในองค์กรแต่การนำเอามาใช้งานข้อมูลนั้นทำได้ยากเหลือเกินหรืออาจจะมีข้อมูลอยู่หลายชุดจนทำให้เกิดความซ้ำซ้อนสับสนว่าควรจะต้องหยิบเอาชุดใดไปใช้งานจึงจะถูกต้อง และบางทีอาจจะมีข้อมูลอยู่มากมายแต่ใช้จริงๆ ได้เพียงแค่ส่วนเดียวเท่านั้น เพราะไม่รู้ถึงที่มาของข้อมูล และไม่มีอะไรมาอธิบายว่าข้อมูลนั้นเก็บอย่างไร ความหมายคืออะไร ต้องใช้อย่างไร และไม่ได้เก็บเป็นมาตรฐานเดียวกันอีกด้วย เป็นต้น

สาเหตุของปัญหาดังกล่าวนี้ส่วนหนึ่งอาจเกิดได้จากการที่เราไม่ได้ดำเนินการตามวิธีการ
ธรรมาภิบาลข้อมูล หรือ Data Governance ก็เป็นได้ แม้ว่าใครหลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินคำว่า Data Governance หรือธรรมาภิบาลข้อมูลมาบ้างแล้ว หากแต่หลักการจริง ๆ เป็นอย่างไร มีปัจจัยอะไรบ้างที่จะต้องพิจารณา รวมทั้งวิธีการที่จะทำให้เกิด Data Governance ได้นั้นจะต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง บทความนี้มีสรุปไว้ให้แล้ว ง่ายนิดเดียว

ข้อมูลมีกี่รูปแบบ

ก่อนจะไปจัดธรรมาภิบาลข้อมูล ต้องเข้าใจก่อนว่าข้อมูลที่มีอยู่นั้นเป็นประเภทอะไรบ้าง ซึ่งในโลกยุคปัจจุบันข้อมูลได้ถูกแบ่งออกมาเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

  1. ข้อมูลที่มีโครงสร้าง (Structured Data) คือข้อมูลที่มีนิยามโครงสร้างข้อมูลไว้อย่างชัดเจน ทำให้ง่ายในการสืบค้น พร้อมใช้งานต่อยอดได้ทันที ตัวอย่างเช่น ฐานข้อมูล (Database) ที่เป็นตาราง หรือไฟล์รูปแบบ Spreadsheet อย่างเช่นไฟล์ Excel หรือ Comma-Separated Values (CSV) เป็นต้น
  2. ข้อมูลกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Data) คือข้อมูลที่มีโครงสร้างระดับหนึ่ง อาจเป็นลำดับชั้น (Hierarchy) โดยนิยามโครงสร้างมาประกอบด้วย อย่างเช่น ไฟล์ Extensible Markup Language (XML) หรือ Javascript Object Notation (JSON) หรือเว็บเพจต่าง ๆ
  3. ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) คือข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน และไม่ได้มีนิยามโครงสร้างข้อมูลแต่อย่างใด อย่างเช่น เอกสารกระดาษ รูปภาพ วีดีโอ เสียง ข้อความยาว ๆ บนโลกโซเชียลเน็ตเวิร์ก

ก่อนที่จะทำ Data Governance นั้น เราจำเป็นต้องเข้าใจก่อนว่าภายในองค์กรของเรามีข้อมูล ประเภทใดบ้าง เพื่อที่จะจัดการข้อมูลในแต่ละชนิดได้อย่างถูกวิธีแล้วจึงจะสามารถนำมาบูรณา การร่วมกันต่อยอด อย่างการทำ Big Data Analytics หรือหา insight บางอย่างภายในข้อมูลที่มีได้

อะไรคือ Data Governance

คำว่า “ธรรมาภิบาลข้อมูล”หรือ “Data Governance” นั้นถ้าเป็นภาษาทางการนั้นคือการ กำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบในการบริหารจัดการข้อมูล ว่ากันตั้งแต่การจัดทำ การจัดเก็บ การจำแนกหมวดหมู่ การประมวลผลหรือใช้ข้อมูล การเปิดเผยข้อมูล การตรวจสอบ รวมถึงการทำลาย พร้อมกับการกำหนดมาตรการในการควบคุมและพัฒนาคุณภาพของข้อมูลให้มีความถูกต้อง พร้อมใช้ และทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบันรวมทั้งกฎเกณฑ์ต่างๆในการอนุญาตให้เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ชัดเจนมีมาตรการความมั่นคงปลอดภัย และไม่ให้มีข้อมูลส่วนบุคคลถูกละเมิดเกิดขึ้น

หากพูดเป็นหลักการภาพรวมที่ทำให้เข้าใจง่ายขึ้น Data Governance นั่นคือ แนวคิดและ กระบวนการบริหารจัดการข้อมูล (Data Management) ให้เป็นไปตามวงจรชีวิตของข้อมูล (Data Life Cycle) อย่างมีระบบที่จะทำให้มีมาตรฐานอย่างเช่นนิยามและโครงสร้างข้อมูลที่มีความชัดเจนเพื่อให้ สามารถนำไปใช้งานต่อยอดได้อย่างสะดวก รวมทั้งมีความชัดเจนว่าใครเป็นเจ้าของข้อมูล ผู้ดูแลข้อมูล และใครมีสิทธิเข้าถึงได้บ้างนั่นเอง

Data Governance Framework

Data Governance นั้นถือได้ว่าเป็นส่วนที่สำคัญในการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อให้เกิดการขับ เคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูลที่ดีได้อย่างยั่งยืน และเป็นแนวทางที่จะช่วยให้สามารถกำหนดทิศทาง ควบคุม ให้ข้อมูลมีคุณภาพที่ดี เป็นขั้นตอนที่จะทำให้ข้อมูลภายในองค์กรดีขึ้นได้ แต่ทั้งนี้การจัดทำ Data Governance นั้นไม่ได้มีรูปแบบที่ตายตัวชัดเจน ดังนั้น ทาง DGA จึงได้กำหนด Data Governance Framework ขึ้นมาเพื่อให้เป็นหลักยึดได้ง่ายขึ้นว่าจะต้องมีปัจจัยใดบ้างเป็นสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงและ พิจารณา อันได้แก่

  • Policy & Standard คือนโยบายต่างๆ และมาตรฐานในการจัดเก็บข้อมูล โดยจะต้อง มีการจัดทำเอกสารนิยามต่างๆ เพื่ออธิบายข้อมูลให้มีความชัดเจน อย่างเช่น เอกสาร พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) การใส่คำอธิบายของข้อมูลหรือชนิดข้อมูล เป็นต้น
  • Privacy & Compliance คือการกำหนดนโยบายความเป็นส่วนตัวและการอนุญาตให้ใช้ งานข้อมูลดังกล่าว การจัดลำดับชั้นความลับของข้อมูล
  • Role & Responsibility คือการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบในการดูแลข้อมูล ใครต้องทำอะไรในข้อมูลชุดนั้นๆ บ้าง อย่างเช่น ใครเป็นเจ้าของข้อมูล (Data Owner) ใครเป็นผู้ใช้ข้อมูล (Data User) หรือผู้สนับสนุนข้อมูล (Data Supporter)
  • Process คือกระบวนการในการบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีระบบ วิธีการจัดการกับข้อมูล แต่ละประเภท เพื่อให้พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา และให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน
  • Guideline คือแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่จะทำให้กระบวนการภายในทั้งหลายไปใน แนวทางเดียวกัน

เป้าหมายของการทำ Data Governance

สำหรับการทำ Data Governance นั้น เป้าหมายที่สำคัญที่สุดคือการทำให้เกิด “ข้อมูลที่ดี” ภายในองค์กร ซึ่งข้อมูลที่ดีนั้นมี 3 องค์ประกอบสำคัญด้วยกัน ได้แก่

  • Data Security ข้อมูลจะต้องมีความปลอดภัย สามารถรักษาความลับข้อมูลได้ (Confidentiality) มีการกำหนดสิทธิว่าใครแก้ไขได้บ้าง (Integrity) และมีการสำรอง ข้อมูลไว้เผื่อกรณีเกิดปัญหาต้องกู้คืนข้อมูล (Availability)
  • Data Privacy ข้อมูลจะต้องมีการปกป้องความเป็นส่วนบุคคล โดยต้องมีการขออนุญาต (consent) จากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเสมอ
  • Data Quality ข้อมูลจะต้องมีคุณภาพ มีความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน มีมาตรฐานเดียวกัน ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้

ส่วนที่ยากสุดใน 3 องค์ประกอบนั้นคือ Data Quality เนื่องด้วยคำว่าคุณภาพที่ดีนั้นอาจเรียก ได้ว่าไม่ได้มีอะไรบอกชัดเจนนักว่าอะไรเรียกว่า “มีคุณภาพ” จึงถือว่า Data Quality เป็นงานที่มีมิติ ซับซ้อน จึงต้องใช้ความละเอียดรอบคอบในระดับสูง ถึงจะสามารถประเมินได้ว่ามีคุณภาพจริงหรือไม่ ซึ่ง Data Governance Framework ได้มีแนวทางในการตรวจสอบเพื่อการประเมินผล 6 องค์ประกอบ ให้พิจารณาด้วยกัน ได้แก่

  • ความถูกต้อง (Accuracy)
  • ความครบถ้วน (Completeness)
  • ความสอดคล้องกัน (Consistency)
  • ความเป็นปัจจุบัน (Timeliness)
  • ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (Relevancy)
  • ความพร้อมใช้ (Availability)

จะเห็นได้ว่าการทำ Data Governance นั้นไม่ได้ยากนักหากเข้าใจในหลักการและเป้าหมายที่ จะได้ออกมาจากการดำเนินการ นอกจากนี้ การจะสร้าง Data Governance ให้เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืนนั้น ไม่ใช่หน้าที่ของแผนก IT ภายในองค์กรหรือใครคนใดคนหนึ่งเพียงเท่านั้น หากแต่เป็นภารกิจของคนทุกคน ภายในองค์กรหรือทุกระดับชั้นในธุรกิจที่จะต้องร่วมมือกันดำเนินการตามธรรมาภิบาลที่ได้มีการกำหนด
และตกลงร่วมกันไว้แล้ว ซึ่งต้องทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จึงจะส่งผลให้เกิด Data Governance ที่จะทำให้ข้อมูลนั้นมีคุณภาพและองค์กรจะสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วย
ข้อมูลได้ โดยแท้จริง

Data-Driven Policy วัฒนธรรมใหม่ของหน่วยงานภาครัฐ

     เพื่อกำหนดนโยบายข้อมูลหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับผู้มีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลต่าง ๆ ภายในหน่วยงาน สำหรับให้ผู้ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามนโยบายหรือกฎเกณฑ์ได้อย่างถูกต้อง และสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อันจะนำไปสู่การบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐอย่างเป็นระบบ รวมทั้งสนับสนุนการจัดทำบัญชีข้อมูลหน่วยงานให้ได้มาตรฐานและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สอดคล้องตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
     คณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ สพร. ได้จัดทำร่างข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล (Recommendation for Writing Data Management Policy and Guideline) เพื่อเป็นคู่มือการใช้งานเอกสารแม่แบบนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล (Data Management Policy and Guideline Template) ให้หน่วยงานภาครัฐใช้เป็นตัวอย่างในการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูลของหน่วยงาน ซึ่งจะเป็นกรอบแนวทางและแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการข้อมูลให้มีความมั่นคงปลอดภัย มีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งเพื่อให้ข้อมูลของหน่วยงานมีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของผู้ใช้งาน และสามารถนำไปบูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     ดังนั้น เพื่อให้ร่างข้อเสนอแนะฯ มีความเหมาะสมกับการนําไปใช้งานได้จริงและเป็นประโยชน์กับหน่วยงานของท่าน จึงขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและปรับปรุงให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์และประกาศใช้ต่อไป โดยสามารถตอบแบบแสดงความคิดเห็นกลับมาภายในวันศุกร์ที่ 16 กันยายน 2564 (ศึกษารายละเอียดและดาวน์โหลดเอกสารตามที่แนบมานี้)

เอกสารมาตรฐาน :

     1. มาตรฐานของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ (มสพร. 1-2564)

เอกสารประกอบการจัดงาน :

      ลิงก์สำหรับดาวน์โหลดเอกสาร ที่นี้

ช่องทางการรับชมงาน : ลิงก์สำหรับรับชมงานย้อนหลัง

    วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ข้อมูลจัดเป็นทรัพย์สินที่สำคัญในการดำเนินงานของหน่วยงาน ภาครัฐจึงได้ให้ความสำคัญกับการนำข้อมูลมาใช้สนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลให้กับทุกภาคส่วน แต่ในปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐยังประสบกับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาเชิงนโยบายและปฏิบัติ ทั้งในเรื่องความซ้ำซ้อนของข้อมูลความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล (เช่น การรักษาความลับ การเข้าถึงข้อมูล การรักษาความเป็นส่วนบุคคล) คุณภาพของข้อมูล (เช่น ความถูกต้อง ความครบถ้วน ความเป็นปัจจุบัน) การเปิดเผยข้อมูล (เช่น หน่วยงานเจ้าของข้อมูลไม่อนุญาตให้เข้าถึงข้อมูล กระบวนการขอใช้ข้อมูลซับซ้อนและใช้เวลานาน ข้อมูลไม่อยู่ในรูปแบบที่ใช้งานต่อได้ง่าย) และยังไม่มีการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ประเด็นปัญหาและอุปสรรคเหล่านี้อาจเป็นผลมาจากการบริหารจัดการข้อมูลที่ไม่ครอบคลุมและไม่ชัดเจนของหน่วยงาน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้หน่วยงานภาครัฐมีมาตรการและแนวปฏิบัติในธรรมาภิบาลข้อมูลและบริหารจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

shutterstock_1087890701

เพื่อให้การได้มาและการนำไปใช้ข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน มั่นคงปลอดภัย รักษาความเป็นส่วนบุคคล และสามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคงปลอดภัยได้จริง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance for Government) จึงถูกจัดทำขึ้น เพื่อกำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้มีส่วนได้เสียในการบริหารจัดการข้อมูล โดยประกอบด้วย สภาพแวดล้อมของธรรมาภิบาลข้อมูล กฎเกณฑ์หรือนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกับข้อมูล บทบาทและความรับผิดชอบในธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ กระบวนการธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ และการวัดการดำเนินการและความสำเร็จของธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ กล่าวคือ บุคคลที่ได้รับบทบาทในธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ จะมีหน้าที่ในการกำหนดขอบเขต กฎเกณฑ์ และนโยบายข้อมูลที่ใช้ในกระบวนการธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เพื่อควบคุมและตรวจสอบการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ตั้งแต่การสร้าง การจัดเก็บ การประมวลผล การใช้ การเผยแพร่จนถึงการทำลาย โดยกฎเกณฑ์และนโยบายข้อมูลต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมองค์กรของแต่ละหน่วยงาน การวัดผลการดำเนินการช่วยให้เห็นระดับการดำเนินการของธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ซึ่งส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินการหรือคุณภาพของข้อมูล

ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐจะเป็นแนวทางให้หน่วยงานภาครัฐ ทั้งส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานของรัฐรูปแบบใหม่ นำไปปรับใช้ให้เข้ากับลักษณะเฉพาะของแต่ละหน่วยงานเพื่อให้สามารถปรับตัวตามบริบทที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ DGA Contact Center โทร : 0 2612 6060 หรือ อีเมล : contact@dga.or.th

ไฟล์เอกสาร

ราชกิจจานุเบกษา_ประกาศคกกพัฒนารัฐบาลดิจิทัล-ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ

14/09/2564
739

     ด้วย สพร. มีวิสัยทัศน์ “นำรัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล” จึงได้ประกาศมาตรฐานของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ เลขที่ มสพร. 1 – 2564 ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2564 เพื่อเป็นประโยชน์ให้หน่วยงานภาครัฐอื่นนำมาตรฐานไปใช้อ้างอิงและเป็นแนวทางในการจัดทำบัญชีข้อมูลของหน่วยงานให้สอดคล้องตามแนวทางประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ และมาตรฐานคำอธิบายข้อมูลหรือเมทาดาตา (Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ ที่มีความสอดคล้องกัน และสามารถรวบรวมเข้าสู่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐกลาง ตลอดจนสามารถให้บริการข้อมูลภาครัฐแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนต่อไป
     สำหรับการจัดงานรับฟังความคิดเห็นในวันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกท่านได้รับทราบมาตรฐานและข้อเสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐที่ได้จัดทำขึ้น และเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน ตลอดจนสามารถพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) ตามตัวชี้วัด ก.พ.ร. ปีงบประมาณ 2564

เอกสารประกอบการจัดงาน : ลิงก์สำหรับดาวน์โหลดเอกสารประกอบการจัดงาน

     วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564 ที่นี้
     วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2564 ที่นี้

ช่องทางการรับชมงาน : ลิงก์สำหรับรับชมงานย้อนหลัง

      วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564 ช่วงเช้า / ช่วงบ่าย
      วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2564 ช่วงเช้า / ช่วงบ่าย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ท่านสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องและอำนวยความสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ รวมถึงช่วยให้เราปรับปรุงการนำเสนอเนื้อหาตรงตามความต้องการของท่าน โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ประกาศการใช้คุกกี้ และ ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่าข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า