หากกล่าวถึงคำว่า “ภูมิศาสตร์” เราอาจจะนึกถึงข้อมูลแผนที่ หรือการแสดงพื้นที่ต่างๆ ซึ่งปัจจุบันข้อมูลเหล่านี้ได้เปลี่ยนรูปแบบจากแผ่นกระดาษมาเป็นข้อมูลผ่านหน้าจอทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ได้ง่ายขึ้น ซึ่งเรียกกันว่า ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS)

Geographic Information System : GIS

ตำราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์ที่จัดทำโดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ได้ให้ความหมายของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ว่าเป็นระบบสารสนเทศที่นำเอาข้อมูล ทางด้านภูมิศาสตร์มารวบรวมจัดเก็บสามารถสืบค้นข้อมูลและปรับปรุงข้อมูลหรือนำมาวิเคราะห์เพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจ เช่น การวางแผน ใช้ทรัพยากรธรรมชาติการวิเคราะห์แหล่งน้ำหรือแม้กระทั่งการค้นหาสถานที่ต่างๆ ตัวอย่างที่เราคุ้นเคยก็คงจะเป็นการใช้ Google Maps เพื่อค้นหาเส้นทางซึ่งก็ถือเป็นการใช้ระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์เช่นกัน

เมื่อข้อมูลพื้นที่มีหลากหลายรูปแบบและมีหน่วยงานรับผิดชอบที่แตกต่างกันการจะเชื่อมโยงข้อมูลเข้า
ด้วยกันต้องมีการกำหนดมาตรฐานเพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้งานได้ด้วยคุณภาพเดียวกันหนึ่งในนั้นคือการใช้ GML – Geography Markup Language เป็นภาษาที่เขียนขึ้นเพื่อติดต่อสื่อสารข้อมูลภูมิศาสตร์ ระหว่างเครื่องผ่านเครือข่ายให้เข้าใจตรงกัน

Geography Markup Language – GML

ก่อนที่จะอธิบายถึง GML เพื่อมองให้เห็นภาพได้ชัดเจน เราจะมาทำความรู้จักกับ XML ที่เป็นภาษาต้นแบบของ GML กัน

เทคโนโลยีนั้นมาพร้อมกับแพลตฟอร์มที่มากมาย  การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็มีภาษาที่ได้รับความนิยมหลากหลาย ดังนั้นหากต้องการให้ทุกภาษาทำงานร่วมกันได้ เราจึงต้องมีตัวกลางเพื่อจัดเก็บและส่งต่อข้อมูล ให้ข้อมูลที่ได้รับนั้นตรงกัน นั่นคือหน้าที่ของ XML

XML ย่อมาจาก eXtensible Markup Language เป็นภาษาหนึ่งที่ใช้ในการกำหนดรูปแบบและเก็บข้อมูลและส่งต่อให้ภาษาอื่นได้เข้าใจตรงกัน โดยคล้ายคลึงกับ HTML ที่จะใช้ แท็ก (Tag) ในการกำหนดรูปแบบหรือโครงสร้างได้เอง ซึ่งมีความสะดวกเพราะเป็นภาษาที่ทั้งคนและเครื่องต่างก็สามารถอ่านได้เข้าใจ

GML เกิดขึ้นจากรูปแบบของ XML จึงมีความคล้ายคลึงกัน แต่เป็นการกำหนดค่าลักษณะด้านภูมิศาสตร์โดยเฉพาะ เช่น การอธิบายพื้นที่ของผิวโลก ทำให้สามารถรับและส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายได้อย่างง่ายดาย ตัวอย่างการนำไปใช้งาน เช่น บริการจัดส่งอาหารถึงบ้าน ที่ใช้ข้อมูลแผนที่ที่อยู่ใน Web Service มาวิเคราะห์พื้นที่จัดส่ง และกำหนดระยะเวลาการจัดส่งอาหารให้ถึงมือผู้รับได้อย่างรวดเร็ว GML ถูกกำหนดมาตรฐานโดย Open Geospatial Consortium ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนามาตรฐานของการให้บริการด้านการกำหนดพื้นที่ต่างๆ เป็นผู้กำหนดมาตรฐาน GML และเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2000

นอกจาก GML ยังมีมาตรฐานอื่นๆ เช่น GeoJSON ที่ใช้โครงสร้างแบบ JavaScript Object Notation หรือ JSON ซึ่งมีจุดเด่นคือ เป็นรูปแบบภาษาที่มีความซับซ้อนน้อยกว่า XML จึงสามารถรองรับข้อมูลปริมาณมากได้ดีกว่า ในอนาคตอาจจะมีการรองรับและใช้งาน GeoJSON มากยิ่งขึ้น

CityGML ก็เป็นอีกมาตรฐานสำหรับการแสดงภาพโครงสร้าง 3 มิติ ทำให้ภาพแผนที่เรียบๆ ดูมีชีวิตชีวาขึ้นมา โดยสามารถนำมาสร้างเป็น Digital Twin ที่เป็นแนวคิดการสร้างเมืองจำลองขึ้นในแผนที่ สำหรับการตรวจสอบหรือจำลองสถานการณ์ให้เห็นภาพ ตัวอย่างเช่นการทำ Digital Twin เชื่อมต่อเข้ากับเซนเซอร์และ Internet of Things (IoT) เพื่อวัดค่ามลพิษในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น

กำหนดมาตรฐาน เพื่อให้ใช้งานได้ร่วมกัน

หน่วยงานในประเทศไทยต่างมีความตื่นตัวในการรวบรวมข้อมูลภูมิศาสตร์ แต่หากข้อมูลเหล่านั้นมีความแตกต่างทางรูปแบบ และไม่มีคุณภาพที่เหมาะสม ยังไม่สามารถเชื่อมโยงกันได้ จะทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในการทำงาน อาจทำให้เกิดการสูญเสียงบประมาณ เสียเวลา และเสียบุคลากรโดยไม่จำเป็น จึงได้มีการกำหนดมาตรฐานภูมิสารสนเทศขึ้น เพื่อกำหนดวิธีการ เครื่องมือ หรือวิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูล การสำรวจ การจัดหา ประมวลผล วิเคราะห์ การเข้าถึง การนำเสนอ และการรับ-ส่ง ข้อมูลภูมิศาสตร์/ภูมิสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล

ประกาศราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ได้ประกาศให้กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ – ภาษาจีเอ็มแอล (GML) เป็นมาตรฐานที่ใช้ร่วมกัน โดยยึดตาม ISO 19136 : 2007 Geographic Information – Geography Markup Language (GML) เพื่อเป็นการกำหนดให้ทุกหน่วยงานได้ปฏิบัติงานด้านภูมิศาสตร์ตามมาตรฐานนี้ โดยถือเป็น 1 ใน 25 มาตรฐานที่ได้มีการประกาศมาตรฐานภูมิสารสนเทศในประเทศไทย

ตัวอย่างการนำภูมิสารสนเทศมาใช้เพื่อให้บริการในประเทศไทย

ระบบรายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ฉุกเฉิน (ระบบต้นแบบ) http://gistdaportal.gistda.or.th/pmoc/nusais/

เป็นระบบที่รวบรวมข้อมูลฉุกเฉินที่สำคัญมารวมอยู่ในที่เดียว ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์เฝ้าระวังโรคโควิด-19 สถานการณ์แหล่งน้ำและการเพาะปลูกพืชฤดูฝน สถานการณ์วาตภัยและอุทกภัย สถานการณ์หมอกควันและไฟป่า และสถานการณ์อุบัติภัยต่างๆ ถือเป็นระบบต้นแบบที่มีการรวมข้อมูลจากหลายหน่วยงานภาครัฐเข้าด้วยกัน

สรุป

GML ถือเป็นส่วนหนึ่งของการทำภูมิสารสนเทศที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในยุคที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างง่ายดายจากที่บ้าน เมื่อมีการกำหนดมาตรฐานเพื่อส่งต่อข้อมูลจากหลายๆ หน่วยงานเข้าด้วยกัน จะช่วยให้ลดความซ้ำซ้อนของงาน ลดปัญหาความยุ่งยากในการเข้าถึงข้อมูล และจะทำให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์ในการนำภูมิสารสนเทศมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาหรือเตรียมพร้อมต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

อ้างอิง

http://learn.gistda.or.th/2017/04/04/ข้อมูล-data-กิจกรรมที่นำไปส/

https://www.w3.org/Mobile/posdep/GMLIntroduction.html

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/168/T_0014.PDF

https://ngis.go.th/wp-content/uploads/2019/03/2.presentation.pdf
https://docs.fileformat.com/gis/gml/

http://learn.gistda.or.th/wp-content/uploads/book/Space%20techology%20and%20GEO-informatics.pdf  https://developer.ibm.com/tutorials/yaml-basics-and-usage-in-kubernetes/

ดาวน์โหลด มสพร. 5-2565 ประกาศ-สพร.-ที่-7-2565-เรื่อง-มาตรฐานฯ ด้านความหมายข้อมูล – ข้อมูลนิติบุคคล

เอกสารประกอบมาตรฐานฯ

ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
มสพร. 5-2565 ประกาศ-สพร.-ที่-7-2565-ข้อมูลนิติบุคคล19/10/2022
ไฟล์ประกอบมาตรฐาน ฯ19/04/2022
เอกสารประกอบข้อมูลนิติบุคคล19/04/2022
ดาวน์โหลด มสพร. 4-2565 ประกาศ-สพร.-ที่-8-2565-เรื่อง-มาตรฐานฯ ด้านความหมายข้อมูล – ข้อมูลบุคคล

เอกสารประกอบมาตรฐานฯ

ไฟล์เอกสารวันที่นำเข้าลิงก์ดาวน์โหลด
มสพร.4-2565 ประกาศ-สพร.-ที่-8-2565-ข้อมูลบุคคล19/10/2022
ไฟล์ประกอบมาตรฐาน ฯ19/04/2022
เอกสารประกอบข้อมูลบุคคล28/10/2022

ต่อเนื่องด้วยการนำเสนอเรื่อง “(ร่าง) มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วย กรอบแนวทางการพัฒนามาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ” โดย ผศ.ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานคณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ นายนิพนธ์ กิจเกตุก้อง ศูนย์บริการวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ น.ส. เยาวภา วงศ์มาสา บริษัท อัฟวาแลนท์ จำกัด ดำเนินการเสวนาโดย ผศ. ดร. เจษฎา ขจรฤทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญ ทีมมาตรฐานดิจิทัล สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)

สำหรับกรอบแนวทาง TGIX ฉบับนี้ เป็นแนวทางการดำเนินงานในการพัฒนากลุ่มมาตรฐานเพื่อใช้ในการสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลระหว่างหน่วยงานของรัฐ เกิดการบูรณาการข้อมูลร่วมกันผ่านศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลาง เกิดมาตรฐานการทำงานร่วมกันของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน อันนำไปสู่การให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงนำไปสู่การลดต้นทุนในการพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลของหน่วยงานอีกด้วย ดังนั้น จึงขอความอนุเคราะห์ทุกท่านร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและปรับปรุงต่อไป โดยสามารถตอบแบบแสดงความคิดเห็น กลับมาภายใน วันอังคารที่ 27 สิงหาคม 2564

กรอบแนวทางการพัฒนามาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (Thailand Government Information eXchange :TGIX) คืออะไร

     กรอบแนวทางฉบับนี้กล่าวถึงแนวทางการดำเนินงานในการพัฒนากลุ่มมาตรฐานเพื่อใช้ในการสนับสนุนภาครัฐให้เกิดการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลระหว่างหน่วยงานของรัฐ เกิดการบูรณาการข้อมูลร่วมกันผ่านศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลาง เกิดมาตรฐานการทำงานร่วมกันของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน อันนำไปสู่การให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงนำไปสู่การลดต้นทุนในการพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลของหน่วยงานอีกด้วย

    ทั้งนี้มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ประกอบด้วยมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนข้อมูล จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่

  1. กลุ่มมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านการเชื่อมโยงข้อมูล (Thailand Government Information Exchange – Linkage Standard) เป็นมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลระดับเทคนิคว่าด้วยเรื่องของสถาปัตยกรรมระบบแลกเปลี่ยนข้อมูล วิธีการเชื่อมต่อกับผู้เกี่ยวข้อง และระบบความมั่นคงปลอดภัย เป็นต้น
  2. กลุ่มมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล (Thailand Government Information Exchange – Semantic Standard) เป็นมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลระดับตัวข้อมูลว่าด้วยคำศัพท์ของข้อมูลที่ใช้แลกเปลี่ยน โครงสร้างข้อมูล และความหมายของข้อมูล เป็นต้น

    ด้วยเหตุนี้ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. ซึ่งมีหน้าที่อำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติงานในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จึงได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒” และแต่งตั้งคณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูล มาดำเนินการร่าง กรอบแนวทางการพัฒนามาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐได้ทราบถึงความสำคัญ แนวทาง วิธีการ และเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ

    ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ในมาตรา 13 ระบุว่าเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินและการให้บริการประชาชน ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลที่มีการจัดทำและครอบครองตามที่หน่วยงานของรัฐแห่งอื่นร้องขอ ที่จะเกิดการบูรณาการร่วมกัน และ มาตรา 15 ระบุว่า ให้มีศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลและทะเบียนดิจิทัลระหว่างหน่วยงานของรัฐ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในการให้บริการประชาชนผ่านระบบดิจิทัล และดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้

  1. กำหนดนโยบายและมาตรฐานเกี่ยวกับการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลให้ความเห็นชอบ
  2. ประสานและให้ความช่วยเหลือแก่หน่วยงานของรัฐในการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลระหว่างกัน รวมทั้งกำกับติดตามให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปในแนวทางและมาตรฐานเดียวกันตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด
  3. จัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐ และจัดเก็บบันทึกหลักฐานของการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัล
  4. เรื่องอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลมอบหมาย

ช่องทางการรับชมงาน :

    

ไฟล์เอกสาร

ร่างมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วย กรอบแนวทางการพัฒนามาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ

28/09/2021
11

ข้อมูลจัดเป็นทรัพย์สินที่สำคัญในการดำเนินงานของหน่วยงาน ภาครัฐจึงได้ให้ความสำคัญกับการนำข้อมูลมาใช้สนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลให้กับทุกภาคส่วน แต่ในปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐยังประสบกับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาเชิงนโยบายและปฏิบัติ ทั้งในเรื่องความซ้ำซ้อนของข้อมูลความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล (เช่น การรักษาความลับ การเข้าถึงข้อมูล การรักษาความเป็นส่วนบุคคล) คุณภาพของข้อมูล (เช่น ความถูกต้อง ความครบถ้วน ความเป็นปัจจุบัน) การเปิดเผยข้อมูล (เช่น หน่วยงานเจ้าของข้อมูลไม่อนุญาตให้เข้าถึงข้อมูล กระบวนการขอใช้ข้อมูลซับซ้อนและใช้เวลานาน ข้อมูลไม่อยู่ในรูปแบบที่ใช้งานต่อได้ง่าย) และยังไม่มีการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ประเด็นปัญหาและอุปสรรคเหล่านี้อาจเป็นผลมาจากการบริหารจัดการข้อมูลที่ไม่ครอบคลุมและไม่ชัดเจนของหน่วยงาน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้หน่วยงานภาครัฐมีมาตรการและแนวปฏิบัติในธรรมาภิบาลข้อมูลและบริหารจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

เพื่อให้การได้มาและการนำไปใช้ข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน มั่นคงปลอดภัย รักษาความเป็นส่วนบุคคล และสามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคงปลอดภัยได้จริง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance for Government) จึงถูกจัดทำขึ้น เพื่อกำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้มีส่วนได้เสียในการบริหารจัดการข้อมูล โดยประกอบด้วย สภาพแวดล้อมของธรรมาภิบาลข้อมูล กฎเกณฑ์หรือนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกับข้อมูล บทบาทและความรับผิดชอบในธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ กระบวนการธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ และการวัดการดำเนินการและความสำเร็จของธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ กล่าวคือ บุคคลที่ได้รับบทบาทในธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ จะมีหน้าที่ในการกำหนดขอบเขต กฎเกณฑ์ และนโยบายข้อมูลที่ใช้ในกระบวนการธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เพื่อควบคุมและตรวจสอบการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ตั้งแต่การสร้าง การจัดเก็บ การประมวลผล การใช้ การเผยแพร่จนถึงการทำลาย โดยกฎเกณฑ์และนโยบายข้อมูลต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมองค์กรของแต่ละหน่วยงาน การวัดผลการดำเนินการช่วยให้เห็นระดับการดำเนินการของธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ซึ่งส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินการหรือคุณภาพของข้อมูล

ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐจะเป็นแนวทางให้หน่วยงานภาครัฐ ทั้งส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานของรัฐรูปแบบใหม่ นำไปปรับใช้ให้เข้ากับลักษณะเฉพาะของแต่ละหน่วยงานเพื่อให้สามารถปรับตัวตามบริบทที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ท่านสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องและอำนวยความสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ รวมถึงช่วยให้เราปรับปรุงการนำเสนอเนื้อหาตรงตามความต้องการของท่าน โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ประกาศการใช้คุกกี้ และ ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่าข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า