ทำไมต้องมีข้อมูลเปิดภาครัฐ

ข้อมูลเป็นกุญแจสำคัญยิ่งในการดำเนินกิจการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในภาครัฐหรือภาคเอกชนรวม ไปถึงการนำข้อมูลไปใช้พัฒนาประเทศในทิศทางต่างๆ ตั้งแต่การใช้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อน เศรษฐกิจ ไปจนถึงการใช้ข้อมูลเพื่อพัฒนาบริการหรือต่อยอดนวัตกรรมต่าง ๆ หากแต่ในปัจจุบัน ยังมีข้อจำกัดการใช้ข้อมูลของภาครัฐ เนื่องจากข้อมูลส่วนใหญ่ของภาครัฐยังถูกจัดเก็บอยู่ภายในหน่วยงานหรือ ระหว่างหน่วยงานเป็นหลัก ซึ่งนับเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การพัฒนาประเทศชะลอตัว

ด้วยเหตุนี้เองจึงมีความจำเป็นที่ต้องเปิดให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงข้อมูลภาครัฐเพื่อการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้าสู่ประเทศไทย 4.0 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เป็นผู้พัฒนาศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Government Data of Thailand) ที่เปิดให้ภาคเอกชน และภาคประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลเปิดภาครัฐได้ทางเว็บไซต์ Data.go.th

“ข้อมูลเปิดภาครัฐ” คืออะไร?

ข้อมูลเปิดภาครัฐ คือ ข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเปิดเผยต่อสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วย ข้อมูลข่าวสารของราชการในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลที่สามารถเข้าถึงและใช้ได้อย่างเสรี ไม่จำกัดแพลตฟอร์ม ไม่เสียค่าใช้จ่าย เผยแพร่ ทำซ้ำ หรือใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จำกัดวัตถุประสงค์

ข้อมูลเปิดภาครัฐจัดว่าเป็นข้อมูลสาธารณะจากภาครัฐที่ผู้ใช้งานสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้งาน วิเคราะห์ หรือดัดแปลงได้อย่างอิสระตามความต้องการ โดยเป็นข้อมูลสมบูรณ์ ผ่านการอัปเดตเป็นข้อมูล ปัจจุบันจากแหล่งข้อมูลโดยตรง มีโครงสร้างที่สามารถนำไปใช้งานต่อได้พร้อมเปิดให้เข้าถึงได้ง่ายและใช้ งานได้ตลอดเวลาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงข้อมูล

ทำไมต้องมีข้อมูลเปิดภาครัฐ

การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐนับว่าเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับทั้งหน่วยงานของรัฐและผู้ใช้ข้อมูล โดยหน่วยงานของรัฐสามารถเปิดเผยข้อมูลผ่านแพลตฟอร์ม Open Government Data ซึ่งเป็น ศูนย์รวมข้อมูลส่วนกลางเพื่อให้ผู้ใช้เรียกดูข้อมูลได้จากแหล่งเดียวกัน ทำให้แต่ละหน่วยงานไม่ต้องจัดสรรงบใหม่เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มของตนเองอีกทั้งยังสามารถป้องกันการเกิดข้อมูลที่ซ้ำซ้อนและผิดพลาดได้ ด้วยความสามารถของ API ในการเชื่อมข้อมูลที่เปิดเผยอยู่แล้ว ทั้งนี้ ทุกภาคส่วนก็จะได้รับประโยชน์จากข้อมูลเปิดภาครัฐได้ โดยแยกเป็น 3 ข้อ ดังนี้

  1. ภาครัฐ: การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐเป็นการส่งเสริมให้เกิดธรรมาภิบาลและเป็นการผลักดันให้เกิดการบูรณาการการใช้ประโยชน์จากข้อมูลร่วมกัน สร้างความโปร่งใสในการบริหารประเทศ เพื่อแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน โดยหน่วยงานต่างๆ ของรัฐสามารถนำข้อมูลไปใช้วางแผนเชิงนโยบายและปรับปรุงการให้บริการสาธารณะได้
  2. ภาคเอกชน: เมื่อหน่วยงานเอกชนเข้าถึงข้อมูลเปิดภาครัฐได้ องค์กรต่างๆ ก็สามารถนำ ข้อมูลดังกล่าวไปต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจส่งเสริมการขับเคลื่อนนวัตกรรมจากข้อมูลในยุคที่ใช้ข้อมูลขับเคลื่อนธุรกิจ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของ ประเทศด้วย
  3. ภาคประชาชน: การเปิดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลเปิดภาครัฐได้นับเป็นการเสริมสร้างการมี ส่วนร่วม ทำให้ประชาชนได้รับบริการดิจิทัลภาครัฐที่ดีขึ้นโดยสามารถเข้าถึงและใช้ ประโยชน์จากข้อมูลเปิดภาครัฐแบบดิจิทัลรวมถึงสามารถนำข้อมูลไปพัฒนาหรือต่อยอด นวัตกรรมต่างๆ ได้

โดยสรุปแล้ว

การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐอย่างมีธรรมาภิบาลจะช่วยให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารประเทศ ช่วยสร้างคุณค่าให้กับสังคมและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและช่วยสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาประเทศ ทั้งหมดนี้เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้าใจถึงสถานการณ์และแนวทางการแก้ไข ปัญหาต่างๆ ที่มีความซับซ้อน ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเชิงรุกเน้นการยกระดับไปสู่ความร่วมมือใน การพัฒนาประเทศต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ท่านสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องและอำนวยความสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ รวมถึงช่วยให้เราปรับปรุงการนำเสนอเนื้อหาตรงตามความต้องการของท่าน โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ประกาศการใช้คุกกี้ และ ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่าข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า