ก้าวใหม่สู่รัฐบาลดิจิทัล – ภาครัฐแห่งอนาคตจะเป็นอย่างไร? ประชาชนจะได้ประโยชน์อย่างไร?

เวลาติดต่อหน่วยงานภาครัฐ หลายๆ คนคงเคยมีคำถามสงสัยในใจกันมาก่อนว่า ทำไมเราถึงต้องนำเอกสารหลักฐานข้อมูลของเราส่งให้แต่ละหน่วยงานด้วยตนเอง ทั้งๆ ที่ภาครัฐเองก็น่าจะมีข้อมูลของเราครบถ้วนอยู่แล้ว? ทำไมหน่วยงานภาครัฐจึงไม่สามารถแบ่งปันข้อมูลระหว่างกันได้?

เพื่อตอบโจทย์เหล่านี้ให้กับภาคประชาชนและกำหนดให้หน่วยงานภาครัฐต้องพัฒนาระบบกลางขึ้นมาแก้ไขปัญหาเหล่านี้ พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒ หรือ พรบ.DG จึงถูกร่างขึ้นมาเพื่อเปลี่ยนแปลงการทำงานของหน่วยงานภาครัฐทั้งหมด ให้ก้าวสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างเต็มตัว และสามารถทำงานร่วมกันแบบบูรณาการได้อย่างสมบูรณ์ในอนาคต

รัฐบาลดิจิทัล: เป้าหมายสู่การดำเนินงานภาครัฐ ที่บูรณาการข้อมูลและขั้นตอนจากทุกหน่วยงานเข้าด้วยกัน

ที่ผ่านมาประชาชนชาวไทยทุกท่านน่าจะได้เห็นความพยายามของหลายๆ หน่วยงานที่ได้ทำการพัฒนาระบบเว็บไซต์หรือ Mobile Application ขึ้นมาให้บริการประชาชนกันบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งในโครงการเหล่านี้เอง หน่วยงานรัฐหลายๆ แห่งก็ได้เริ่มมีประสบการณ์ในการพัฒนาบริการดิจิทัลกันมากขึ้น และพบกับอุปสรรคสำคัญ คือการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหลายหน่วยงานเข้าด้วยกันนั่นเอง

ประเด็นนี้ถือว่ามีความสำคัญไม่น้อย เพราะแรกเริ่มเดิมทีนั้นหน่วยงานภาครัฐมีการดำเนินงานโดยใช้เอกสารกระดาษกันเป็นหลักมาตั้งแต่อดีต จนกระทั่งเมื่อเทคโนโลยี IT เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น หลายๆ หน่วยงานก็เริ่มนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาประยุกต์ใช้งานกันภายใน ทำให้ระบบบริหารจัดการกระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นบนเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น

อย่างไรก็ดี ปัญหาประการถัดมาที่เกิดขึ้นก็คือการที่แต่ละหน่วยงานนั้นต่างเร่งพัฒนาบริการดิจิทัลของตนเองด้วยแนวคิดที่แตกต่างกันออกไป ทำให้แต่ละระบบถูกออกแบบมาด้วยแนวทางที่แตกต่างกัน มีการจัดเก็บและนำข้อมูลมาใช้งานที่แตกต่างกัน ทำให้การนำข้อมูลของหน่วยงานต่างแห่งมาใช้งานนั้นเป็นไปได้ยาก อีกทั้งยังไม่มีมาตรฐานกลางที่ชัดเจนถูกระบุขึ้นมา

ด้วยเหตุนี้ พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒ หรือ พรบ.DG จึงเกิดขึ้นมาตอบโจทย์เหล่านี้โดยเฉพาะ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐไทยสามารถร่วมมือกันพัฒนาไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลได้อย่างเต็มตัว โดยมีการวางแผนระดับชาติและตั้งคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลขึ้นมา พร้อมมีสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลหรือ DGA เป็นหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินการตามประราชบัญญัติฉบับนี้ ด้วยแนวทางดังต่อไปนี้

1. กำหนดให้มีการทำ Data Governance หรือธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ด้วยการวางมาตรฐานในการจัดเก็บ รักษา อัปเดต บริหารจัดการ และการเปิดให้นำข้อมูลของแต่ละหน่วยงานมาใช้ร่วมกันได้ โดยข้อมูลเหล่านี้ต้องมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย พร้อมเปิดให้หน่วยงานต่างๆ มานำไปใช้งานได้ หรือเปิดให้ภาคเอกชนและประชาชนเข้าถึงได้ในส่วนที่เป็นข้อมูลสาธารณะ

2. กำหนดให้มีการจัดทำข้อมูลและบริการในแบบดิจิทัลหรือ Digitization เพื่อให้กระบวนการการให้บริการภาครัฐและการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ นั้นอยู่ในรูปแบบดิจิทัลให้สอดคล้องกัน รวมถึงมีการนำระบบการชำระเงินทางดิจิทัล (National e-Payment) สำหรับการชำระค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือค่าปรับมาใช้ และนำระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) มาใช้ภายในระบบต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและความมั่นคงปลอดภัยแก่ประชาชน

3. กำหนดให้มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลรูปแบบดิจิทัลหรือ Integration เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐแต่ละแห่งสามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันผ่านระบบดิจิทัลได้ด้วยรูปแบบของข้อมูลที่เป็นมาตรฐานและมีความมั่นคงปลอดภัย ลดความซ้ำซ้อนในกระบวนการร้องขอหรือจัดเก็บข้อมูลของแต่ละหน่วยงานลง และมีหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลเหล่านี้

4. กำหนดให้มีความร่วมมือเปิดบริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวหรือ One Stop Service เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการทำธุรกรรมใดๆ กับหน่วยงานภาครัฐ ให้สามารถเข้าถึงบริการและสวัสดิการภาครัฐให้ได้มากที่สุดภายในระบบเดียว ไม่ต้องลำบากติดต่อหลายหน่วยงานอย่างในอดีตอีกต่อไป

5. กำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล หรือ Open Government Data เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการทำงาน ประชาชนสามารถเข้าถึงและตรวจสอบการทำงานของภาครัฐได้ ไปจนถึงสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้งานต่อยอดในการดำเนินธุรกิจได้อย่างสะดวกจาก https://data.go.th/

6. กำหนดให้มีการพัฒนาทักษะทางด้านดิจิทัลของบุคลากรภาครัฐ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐกลายเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลแห่งอนาคตได้อย่างเข้มแข็ง

จะเห็นได้ว่าพระราชบัญญัติฉบับนี้มีเนื้อหาที่ครอบคลุมและชัดเจนถึงเป้าหมายของรัฐบาลดิจิทัล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งประชาชนที่จะสามารถเข้ารับบริการหรือสวัสดิการต่างๆ ได้อย่างสะดวก ง่ายดาย และมั่นคงปลอดภัยมากยิ่งขึ้น รวมถึงหน่วยงานภาครัฐเองที่หลังจากนี้จะสามารถร่วมมือทำงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ มาให้บริการแก่ภาคประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานมากยิ่งขึ้นด้วย

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดฉบับเต็ม สามารถศึกษาข้อมูลทั้งหมดได้ที่ พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ.2562

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ท่านสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องและอำนวยความสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ รวมถึงช่วยให้เราปรับปรุงการนำเสนอเนื้อหาตรงตามความต้องการของท่าน โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ประกาศการใช้คุกกี้ และ ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่าข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า