มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล เปลี่ยนภาครัฐสู่ New Normal ได้อย่างไร

ปฏิเสธไม่ได้เลยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อปี 2563 ที่ผ่านมานี้ ได้ทำให้คนทั้งโลกต้องปรับตัวไปสู่ยุควิถีชีวิตใหม่ (New Normal) กันเร็วขึ้นที่จะต้อง ติดต่อกันผ่านทางออนไลน์แทนเป็นหลักและด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เองก็ได้ส่งผลกระทบต่อหน่วยงาน ภาครัฐด้วยเช่นกัน ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งปรับตัวให้ทันกับยุค New Normal อย่างรวดเร็ว ด้วยการ เพิ่มช่องทางการให้บริการเป็นแบบออนไลน์เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนได้อย่างทันท่วงที ซึ่งสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) หรือ DGA ในฐานะเป็นหน่วยงานกลางของรัฐบาลดิจิทัลจึงได้ มีมาตรฐาน (Standard) ต่างๆ ที่จะช่วยให้ปรับเปลี่ยนภาครัฐกลายเป็นรัฐบาลดิจิทัลได้อย่างมีระบบ และยั่งยืน ซึ่งมาตรฐานของรัฐบาลดิจิทัลในวันนี้มีอะไรกันแล้วบ้าง ติดตามได้ในบทความนี้

มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ณ วันนี้

ตั้งแต่ DGA เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 จนกระทั่งถึงวันนี้ได้มีมาตรฐานเกิดขึ้นมามากมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนช่วยสำคัญที่สนับสนุนให้ภาครัฐสามารถเข้าสู่ New Normal ได้รวดเร็วขึ้น โดยมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลจากทาง DGA ณ วันนี้ มีดังต่อไปนี้

  • ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance for Government)
  • แผนแม่บทพอร์ทัลกลางเพื่อประชาชน ระยะ 3 ปี (Citizen Portal Roadmap)
  • มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Government Data of Thailand)
  • ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ (Digital ID)
  • มาตรฐานการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog Guideline)

Data Governance for Government

สินทรัพย์ที่สำคัญในโลกยุคปัจจุบันนั่นก็คือ “ข้อมูล” และภาครัฐเองก็ได้ให้ความสำคัญในการ จัดเก็บและนำเอาข้อมูลมาเพื่อช่วยสนับสนุนและขับเคลื่อนประเทศในหลาย ๆ ด้าน รวมทั้งเชิงนโยบาย ทางเศรษฐกิจหรือด้านสังคมดิจิทัล หากแต่ในหลาย ๆ หน่วยงานภาครัฐต้องประสบปัญหาและอุปสรรคที่ เกี่ยวข้องกับข้อมูลมากมาย จึงส่งผลให้ทาง DGA ออกมาเป็นกรอบมาตรฐานที่จะช่วยนำทางให้กับ หน่วยงานภาครัฐสามารถยึดเป็นแนวทางปฏิบัติที่จะทำให้สามารถสร้าง “ข้อมูลที่ดี” ที่มีทั้งเรื่องความ ปลอดภัย (Security) ความเป็นส่วนตัว (Privacy) และมีคุณภาพ (Quality) ให้เกิดขึ้นได้ภายในองค์กรของ ภาครัฐในยุค New Normal ได้อย่างยั่งยืน

Citizen Portal Roadmap

แผนแม่บทพอร์ทัลกลางเพื่อประชาชน ระยะ 3 ปี หรือ Citizen Portal Roadmap นั้นถือเป็นแผนการรวบรวมงานบริการของภาครัฐจากหลาย ๆ หน่วยงานสำหรับประชาชนมาบูรณาการไว้ ให้อยู่ในแหล่งเดียวกัน เพื่อให้สามารถบริการผ่านช่องทางออนไลน์ได้อย่างสะดวกและครบถ้วน ซึ่งแผนแม่ บทนี้จะกลายเป็นมาตรฐานการให้บริการของภาครัฐในยุค New Normal นี้

โดยแผนแม่บทระยะ 3 ปีนี้จะเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ไปจนถึงปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 ระยะที่ภาครัฐจะเริ่มทยอยพัฒนาและปรับเปลี่ยนการบริการต่างๆ ให้กลาย เป็นระบบดิจิทัล ทำให้บริการเข้าถึงประชาชนได้มากขึ้นอีกทั้งยังช่วยลดการแพร่ระบาดของไวรัส
COVID-19 ได้อีกด้วย แผนแม่บทนี้จึงเป็นการวางรากฐานการให้บริการประชาชนของประเทศไปสู่ มาตรฐานระดับสากลได้ต่อไป

Open Government Data of Thailand

การเปิดข้อมูลเปิดภาครัฐได้มีมาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะออกมาเมื่อปี พ.ศ.2563 ที่ผ่านมาเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลของภาครัฐ ที่สามารถเปิดเผยสู่สาธารณะได้ โดยประชาชนสามารถนำข้อมูลไปใช้งานได้อย่างเสรี ไม่จำกัดวัตถุประสงค์ และไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใดจึงทำให้ผู้ใช้งานข้อมูลสามารถนำไปวิเคราะห์หรือดัดแปลงได้ตามที่ต้องการ โดยมีศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Government Data of Thailand) อยู่ที่เว็บไซต์ data.go.th

นอกจากเรื่องข้อมูลเปิดของภาครัฐที่ได้ทำให้ยกระดับมาตรฐานของข้อมูลเปิดภาครัฐขึ้นมาเป็นมาตรฐานสากลมากขึ้นแล้ว ยังมีบริการศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (Government Data Exchange Center : GDX) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยสนับสนุนให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐให้มี มาตรฐานและมีความมั่นคงปลอดภัย และทำให้สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย มาตรฐานและ แพลตฟอร์มเหล่านี้เองจะเป็นส่วนที่ช่วยสนับสนุนให้ภาครัฐสามารถต่อยอดไปสู่การให้บริการในลักษณะ One Stop Service ได้ต่อไปในยุค New Normal นี้

Digital ID

Digital ID อาจเรียกได้ว่ากำลังจะกลายเป็นมาตรฐานใหม่สำหรับภาครัฐในยุค New Normal นี้เลยทีเดียว ด้วยบริการภาครัฐที่กำลังปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบออนไลน์มากขึ้นเรื่อย ๆ ตามแผนแม่บท Citizen Portal Roadmap ทำให้การพิสูจน์ตัวตน (Authentication) และยืนยันตัวตน (Identity Verification) ก่อนอนุญาตให้เข้าใช้บริการได้นั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญภาครัฐจึงต้องมีมาตรฐานวิธีการ พิสูจน์ยืนยันตัวตนให้เป็นรูปแบบเดียวกันเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าใจและตอบสนองต่อการเปลี่ยน แปลงได้อย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ ในประเทศไทยอาจเรียกได้ว่ามีการใช้งาน Digital ID มาระยะหนึ่งแล้ว อย่างเช่น โครงการ ชิมช้อปใช้อันเป็นที่รู้จักกันดีนั้นได้มีการผสานระบบ Digital ID เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการใช้งานไว้เป็น ที่เรียบร้อยแล้ว หรือการทำธุรกรรมออนไลน์ร่วมกับสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่จะมีการให้ยืนยันตัวตนผ่าน Digital ID ได้เลย เป็นต้น

Government Data Catalog

จากความตื่นตัวเรื่องข้อมูลที่มีมากขึ้นในทุกภาคส่วน จึงทำให้เกิดชุดข้อมูลของภาครัฐที่เปิด สาธารณะออกมาเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้การเลือกใช้ข้อมูลและการสืบค้นหาชุดข้อมูลนั้น เกิดความซับซ้อนและยุ่งยากมากขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าหากไม่ได้มีการจัดการอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ทาง DGA มีการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐหรือ Government Data Catalog (GD Catalog) ที่เป็นระบบเพื่อช่วยให้สามารถสืบค้น และเข้าถึงแหล่งที่มาของข้อมูล ประเภทและรูปแบบของ ข้อมูลที่จะทำให้ผู้ใช้งานข้อมูลสามารถเข้าใจและใช้ประโยชน์จากชุดข้อมูลได้สูงสุดและสะดวกรวดเร็ว

บทสรุป

มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลต่างๆ ที่ทาง DGA ได้มีการออกแบบ และได้พัฒนาขึ้นมาเหล่านี้เอง ที่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนให้ภาครัฐของประเทศไทยกำลังค่อยๆ ปรับตัวไปสู่ New Normal มากขึ้นเรื่อย ๆ ที่จะทำให้เกิดมาตรฐานเทียบเท่ากับระดับสากล และทำให้เกิดการขับเคลื่อนด้วย “ข้อมูล” ได้อย่างยั่งยืน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ท่านสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องและอำนวยความสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ รวมถึงช่วยให้เราปรับปรุงการนำเสนอเนื้อหาตรงตามความต้องการของท่าน โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ประกาศการใช้คุกกี้ และ ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่าข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า