ใครๆ ก็ใช้ Digital ID

เรากำลังก้าวข้ามไปสู่ยุคดิจิทัล ที่อะไรๆ ก็ทำผ่านออนไลน์ได้ วันนี้การให้บริการประชาชนของประเทศไทยที่ทำผ่านออนไลน์ได้แล้วก็มีอยู่ไม่น้อย เช่น การเช็กสิทธิ การจองคิวเพื่อเข้าไปรับบริการ หรือที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี คือ ยื่นภาษีออนไลน์ที่มีมานับ 10 ปีแล้ว แต่ก็ยังมีบริการอีกมากมายที่หน่วยงานรัฐกำลังเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดให้บริการแแก่ประชาชน

ด้วยงานให้บริการประชาชนที่มีหลายรูปแบบ บางอย่างเป็นเรื่องทั่วไปไม่ต้องแสดงตนก็ได้ แต่บางอย่างจำเป็นต้องแสดงตนเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นคนๆ นั้นจริง จึงต้องมีการพบเห็นต่อหน้า มีการตรวจสอบตัวบุคคล และตรวจสอบหลักฐานแสดงตนควบคู่กันไป ตัวอย่างเช่น โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และโครงการคนละครึ่ง เป็นต้น

ถ้าจำกันได้ตอนสมัครขอรับสิทธิสวัสดิการของรัฐโครงการคนละครึ่ง ต้องดาวน์โหลดแอป “เป๋าตัง” มาไว้ในมือถือด้วย เอาไว้สแกนจับจ่ายซื้อของ ซึ่งตอนลงทะเบียนแอปเป๋าตังก็ต้องยืนยันตัวตนเพื่อใช้งาน G-Wallet ที่จะต้องเติมเงินของเราเข้าไปไว้ใช้ร่วมกับเงินอีกครึ่งที่รัฐบาลออกให้นั้น จะต้องมีการสแกนใบหน้าซึ่งก็จัดว่าเป็นการยืนยืนตัวตนที่ต้องแสดงตน แต่แสดงผ่านออนไลน์

3 ขั้นตอน เตรียมก้าวสู่โลกดิจิทัล

ถ้าถามว่าหน่วยงานรัฐต้องทำอะไรบ้าง มีหลักการสั้นๆ ง่ายๆ คือ 

  • สำรวจบริการ ไปดูว่างานให้บริการประชาชนมีอะไรบ้าง และจัดประเภทเพื่อแยกแยะว่าอยู่ในกลุ่มใด เพราะงานบางอย่างเป็นบริการพื้นฐานเวลาประชาชนเข้ามาใช้ก็ไม่ต้องแสดงตน แต่บางอย่างมีผลทางกฎหมายก็ต้องจัดไว้ในกลุ่มที่ต้องมีการพิสูจน์และยืนยันตัวตน
  • เลือกระดับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนให้เหมาะสมมีความปลอดภัยเพียงพอ เมื่อแยกแยะประเภทแล้ว ก็ต้องมาดูอีกว่า ต้องการความเข้มข้นของการพิสูจน์และยืนยันตัวตนในระดับใด เพื่อให้ตรงกับข้อกำหนดตามมาตรฐาน IAL และ AAL (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://standard.dga.or.th/wp-content/uploads/2021/09/2.Digital-ID_DGS-1-1_2564.pdf)
  • ปรับปรุงบริการให้สอดคล้องกับการให้บริการในรูปแบบดิจิทัล ดูว่างานบริการที่ทำอยู่จะยกไปไว้บนออนไลน์นั้นต้องปรับปรุงกระบวนการหรือขั้นตอนอะไรบ้าง เช่น จะต้องมีระบบรองรับการส่งเอกสาร หรือการตรวจเอกสาร เป็นต้น

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าบริการอะไรต้องลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตน คำตอบคือ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA ได้แบ่งการให้บริการภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) การให้บริการข้อมูลพื้นฐาน (Emerging Services) เป็นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทั่วไป 2) การให้บริการข้อมูลที่มีการปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการ (Enhanced Services) เป็นบริการที่มีการสื่อสารระหว่างกัน 3) การให้บริการธุรกรรม (Transactional Services) เป็นธุรกรรมที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย และ 4) การให้บริการธุรกรรมที่เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน (Connected Services) เป็นธุรกรรมที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลมากกว่า 1 หน่วยงานขึ้นไป โดยแต่ละกลุ่ม มีระดับความสำคัญมากน้อยแตกต่างกัน (อ่านรายละเอียดได้ที่ https://standard.dga.or.th/wp-content/uploads/2021/09/3.Digital-ID-DGS-1-2_2564.pdf)

DOPA-Digital ID ตัวอย่างความสำเร็จกับต้นแบบของไทย

เมื่อปี 2563 กรมการปกครอง ดำเนินโครงการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่เรียกว่า DOPA-Digital ID เพื่อสร้างต้นแบบและนวัตกรรมด้านการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของประเทศไทยให้รองรับกับการใช้งานบริการภาครัฐผ่านระบบออนไลน์

DOPA-Digital ID นับเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการสร้างมิติใหม่ของการพิสูจน์และยืนยันตัวตนผ่านช่องทางดิจิทัล ทำให้ประชาชนไม่ต้องมาเผชิญหน้าและแสดงตนต่อเจ้าหน้าที่รัฐแบบเดิมๆ เป็นการอำนวยความสะดวก สร้างความรวดเร็ว ทันสมัย และปลอดภัยต่อการทำธุรกรรมกับหน่วยงานรัฐ ซึ่ง Digital ID ที่ให้บริการโดย DOPA หรือกรมการปกครอง เป็นโครงการพื้นฐานสำคัญที่จะเชื่อมต่อการยืนยันตัวตนจากทุกภาคส่วนเข้ามาไว้ด้วยกัน

ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานที่เข้ามาเชื่อมต่อกับ DOPA-Digital ID และในอนาคตจะมีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาเชื่อมต่ออีกมาก เพื่อทำให้การให้บริการประชาชนมีความสมบูรณ์มากขึ้น เป็นไปตามแผนขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล

ความสำเร็จในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจาก DGA ในการให้คำปรึกษาด้านมาตรฐาน IAL มาตรฐานเกี่ยวกับระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี และ AAL มาตรฐานเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน

รวมพลบริการที่ใช้ Digital ID

นอกจากกรมการปกครองซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ Digital ID ในประเทศไทยแล้ว ก็ยังมีอีกหลายหน่วยงานที่เปิดให้บริการการขออนุญาตออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ Bizportal.go.th ซึ่งผู้เข้ารับบริการจะต้องพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วย Digital ID ยกตัวอย่างเช่น 

  • การขอใช้สาธารณูปโภค มีให้เลือกทั้งขอใช้ไฟฟ้า ขอใช้น้ำประปา และขอใช้โทรศัพท์/อินเทอร์เน็ต ฯลฯ
  • การขอใบอนุญาตธุรกิจร้านค้าปลีก ได้รวบรวมบริการการยื่นคำขอให้ไว้ ณ จุดเดียว โดยให้เลือกกดเพื่อขออนุญาตหลายๆ รายการพร้อมกันได้ในคราวเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น ขอจดทะเบียนพาณิชย์ ขอหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่ ขอใบอนุญาตขายสุรา ขอใบอนุญาตขายยาสูบ ฯลฯ
  • การขอใบอนุญาตธุรกิจเกษตร มีการรวบรวมบริการไว้หลายเรื่อง เช่น ขอใบรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ (แปลงเดียว) การขอใบรับรองสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มเลี้ยงสัตว์ การขอรับรองแหล่งผลิต GAP หม่อนเพื่อผลิตใบ/ผล ฯลฯ

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการให้บริการภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลที่รวบรวมไว้ใน Bizportal.go.th ซึ่งในเว็บยังมีบริการอีกมากมายกว่า 20 ธุรกิจ ที่พร้อมให้บริการประชาชนและภาคเอกชนไทย ซึ่งบริการต่างๆ นั้นมีระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนผ่านช่องทางดิจิทัล หรือ Digital ID ตอบโจทย์ความมั่นคงปลอดภัย เป็นมาตรฐานที่เชื่อมั่นได้

เกิดประโยชน์ 3 ฝ่าย “ภาครัฐ-ประชาชน-ภาคเอกชน” 

จะว่าไปแล้ว Digital ID ก่อให้เกิดประโยชน์กับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ประชาชน และภาคเอกชน ทำให้เห็นการพัฒนาไปพร้อมๆ กัน สุดท้ายแล้วก็จะนำไปสู่การยกระดับประเทศไทยให้เท่าทันนานาประเทศ เพราะ 

  • ภาครัฐ มีข้อมูลที่บูรณาการ ทำงานง่าย ให้บริการได้รวดเร็ว 
    • ข้อมูลบูรณาการ เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐเข้าด้วยกัน ทำให้มีข้อมูลอัปเดต และรู้ว่าประชาชนคนนั้นใช้บริการเมื่อไหร่ อะไรบ้าง 
    • ทำงานง่าย เมื่อหน่วยงานรัฐมีข้อมูลที่เชื่อมโยงกัน ทำให้สามารถติดตามข้อมูลประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง 
    • ให้บริการได้รวดเร็ว ถ้าประชาชนต้องใช้บริการจากหน่วยงานรัฐหลายๆ ด้านในคราวเดียว ทำได้ทันที ไม่ต้องติดต่อหลายๆ หน่วยงานให้เสียเวลา ทำให้รัฐสามารถได้บริการประชาชนได้รวดเร็วขึ้น
  • ประชาชน ได้รับความสะดวก ปลอดภัย 
    • สะดวก เพราะประชาชนลงทะเบียนพิสูจน์ตัวตนเข้าใช้บริการภาครัฐเพียงครั้งเดียว ก็จะสามารถเข้าใช้ได้หลายๆ บริการ
    • ปลอดภัย เพราะ Digital ID มีระบบควบคุมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัลในกระบวนการใช้งานซึ่งการันตีด้วยมาตรฐาน DGA ที่กำหนดขึ้นให้หน่วยงานภาครัฐใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ เป็นการสร้างความมั่นใจในการใช้งานให้กับประชาชน   
  • ภาคเอกชน ช่วยเรื่องลดขั้นตอน ลดค่าใช้จ่าย ได้งานรวดเร็ว 
    • ลดขั้นตอน เอกสารส่งหน่วยงานรัฐที่จะต้องลงนามหลายคน ทำให้มีหลายขั้นตอน เช่น การมอบอำนาจ ซึ่งการใช้ Digital ID นิติบุคคลจะช่วยลดความยุ่งยาก ลดขั้นตอนการตรวจสอบ ลดงานเหล่านี้ลงได้  
    • ลดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องเสียค่าเดินทางที่จะเข้ามายื่นเอกสารให้กับหน่วยงานรัฐ และไม่ต้องเสียค่าเดินทางที่จะต้องนำส่งเอกสารไปให้ผู้มีอำนาจลงนามในเอกสารนั้นๆ และยังช่วยลดการใช้กระดาษลงด้วย 
    • ได้งานรวดเร็ว จากผลของการลดขั้นตอนต่างๆ ลงได้ก็ทำให้เกิดความรวดเร็ว เพราะหลายๆ อย่างสามารถดำเนินการผ่านช่องทางดิจิทัลได้เพียงไม่กี่คลิก ไม่กี่นาที 

ดังนั้น จุดเริ่มต้นของการใช้ Digital ID ที่หลายหน่วยงานใช้ในการยกระดับการให้บริการประชาชนแล้วในวันนี้ และก็ยังมีอีกหลายหน่วยงานที่กำลังดำเนินการอยู่ ไม่ว่าจะเป็น สปสช. (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) DBD (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) กรมที่ดิน รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ด้วย ซึ่งสุดท้ายแล้วทุกงานของการให้บริการประชาชน และการให้บริการต่อภาคเอกชน จะนำไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือ การใช้ Digital ID ให้สอดคล้องกับมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ท่านสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องและอำนวยความสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ รวมถึงช่วยให้เราปรับปรุงการนำเสนอเนื้อหาตรงตามความต้องการของท่าน โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ประกาศการใช้คุกกี้ และ ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่าข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า