ก้าวสู่ Data-Driven Organization ด้วยธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ

ถ้าจะเกริ่นนำอ้างไปถึง พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการบริหารงานภาครัฐและการจัดทำบริการสาธารณะเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อการให้บริการและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน รวมทั้งกำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีการบริหารจัดการและการบูรณาการข้อมูลภาครัฐและการทำงานให้มีความสอดคล้องกันและเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างมั่นคงปลอดภัยและมีธรรมาภิบาล (รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://bit.ly/3QrcJcu ราชกิจจานุเบกษา ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่องธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ) แม้จะเป็นความจริง แต่หลายคนคงจะมีคำถามตามมาว่า “แล้วจะต้องทำอย่างไร จะยุ่งยากไหม ทำได้จริงหรือ ถ้าทำแล้วจะดีอย่างไร 

หันมามองทางนี้ โดยเฉพาะผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานให้ข้อมูลทำงานได้อย่างสอดคล้อง เชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างมั่นคงปลอดภัยและมีธรรมาภิบาล

เรามาเริ่มไขข้อข้องใจอย่างเป็นขั้นเป็นตอนกันดีกว่า

ธรรมาภิบาลต้องสอดคล้องยุทธศาสตร์

ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ควรสอดคล้องกับยุทธศาสตร์องค์กร เพื่อจะได้ใช้ข้อมูลในการขับเคลื่อนองค์กรให้สอดคล้องกับพันธกิจองค์กร

ธรรมาภิบาลข้อมูล จัดเป็นโครงการระดับใหญ่ที่ทุกองค์กรควรดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการดูแลรักษาข้อมูล และผลลัพธ์ที่ได้นอกจากระบบข้อมูลที่โปร่งใสแล้ว ยังช่วยลดวัฒนธรรมการหวงแหนข้อมูลในองค์กร ทำให้การวิเคราะห์ หรือใช้ประโยชน์จากข้อมูล เป็นไปได้สะดวก และรวดเร็วขึ้น

ผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน-CEO ต้องนั่งประธาน

การจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน (รายละเอียดเพิ่มเติม น.7-9 คลิก https://bit.ly/3d6JGNc) ซึ่งต้องกำหนดบทบาทให้ชัดเจน เพื่อความคล่องตัวเวลาปฏิบัติ (ดูตัวอย่าง โครงสร้างของบุคลากรที่รับผิดชอบในธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ น. 33-34 https://bit.ly/3QrcJcu, กฟภ. คลิก https://bit.ly/3Ci7k3M, สสช. คลิก https://bit.ly/3SXRFN2) ประกอบด้วย

  • คณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance Council) ผู้บริหารระดับสูงสุดของหน่วยงาน (CEO) ควรทำหน้าที่เป็นประธานของคณะกรรมการ เพื่อสร้างความเชื่อถือของการดำเนินงาน
  • ผู้บริหารข้อมูลระดับสูง (Chief Data Officer) ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านข้อมูลของหน่วยงาน ควรเป็นเลขาของคณะกรรมการ
  • ทีมบริกรข้อมูล (Data Steward Team) บริกรข้อมูลด้านธุรกิจ (Business Data Stewards) ทำหน้าที่รับผิดชอบในการนิยามความต้องการด้านคุณภาพ รักษาความเป็นส่วนบุคคล และความมั่นคงปลอดภัย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ข้อมูลที่อาจได้รับมาจากผู้ใช้ข้อมูล
  • บริกรข้อมูลด้านเทคนิค (Technical Data Stewards) ทำหน้าที่ให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่บริกรข้อมูลด้านธุรกิจ
  • บริกรข้อมูลด้านคุณภาพข้อมูล (Data Quality Stewards) ทำหน้าที่ดำเนินการเรื่องคุณภาพข้อมูล
  • ผู้มีส่วนได้เสียกับข้อมูล (Data Stakeholders)

ธรรมาภิบาลข้อมูลหนุน Data-Driven

ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เป็นการกำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้มีส่วนได้เสียในการบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐทุกขั้นตอน เพื่อให้การได้มาและการนำข้อมูลของหน่วยงานของรัฐไปใช้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน รักษาความเป็นส่วนบุคคล และสามารถเชื่อมโยงแลกเปลี่ยน และบูรณาการระหว่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคงปลอดภัย โดยใช้ข้อมูลเป็นหลักในการบริหารงานภาครัฐและการบริการสาธารณะ

ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารจัดการข้อมูล (Data Management) โดยเป็นกลไกในการกำหนดทิศทาง ควบคุม และทวนสอบการบริหารจัดการข้อมูล เพื่อให้หน่วยงานได้ดำเนินการบริหารจัดการข้อมูลตามนโยบาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่ได้กำหนดไว้

แน่นอนว่า ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐที่ดีย่อมก่อให้เกิดการบริหารจัดการข้อมูลที่ดี ส่งผลให้ข้อมูลมีความมั่นคงปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นด้านการรักษาความลับ การเข้าถึงข้อมูล รวมถึงการรักษาความเป็นส่วนบุคคล เป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคม และมีความคุ้มทุนต่อการดำเนินงาน

การทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐก็เพื่อให้การก้าวไปสู่การเป็นหน่วยงานที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-driven Organization) ซึ่งเกี่ยวข้องกับด้านต่างๆ คือ การปฏิบัติตามกฎหมาย การสร้างความเชื่อมั่นในข้อมูลที่ออกจากองค์กรสู่สาธารณะ การใช้ข้อมูลทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียเพื่อสร้างนวัตกรรม รวมถึงความโปร่งใสและการสร้างการมีส่วนร่วมบรรลุผลนั่นเอง (รายละเอียดเพิ่มเติม น.3 คลิก https://bit.ly/3d6JGNc)

การจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล ครอบคลุมตั้งแต่การกำกับดูแลข้อมูล โดยต้องบริหารจัดการข้อมูลผ่านการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอย่างมีระบบ ตั้งแต่การเกิดของข้อมูล การจัดเก็บ การวิเคราะห์ การทำลาย การเข้าถึง การรักษาความปลอดภัย และการนำไปใช้ โดยให้ความสำคัญทั้งในมุมกระบวนการ บุคลากร และเทคโนโลยี

การธรรมภิบาลข้อมูลมีขึ้นเพื่อจัดทำให้ข้อมูลของหน่วยงานเป็นข้อมูลที่ดี เพื่อใช้ประโยชน์ในมิติต่างๆ ทั้งในแง่ใช้บูรณาการเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่น (Data Integration) เปิดเผยข้อมูลสู่ประชาชน และวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในมิติต่างๆ (Data Analytics) นำไปสู่การตัดสินใจเชิงนโยบายบนพื้นฐานของข้อมูล บริการที่มีคุณภาพ สะดวกรวดเร็ว และมั่นคงปลอดภัย ความถูกต้องของข้อมูล ส่งผลต่อความพึงพอใจสำหรับภาคธุรกิจและประชาชน และยกระดับการบริหารงานและการให้บริการประชาชน

มี Data Policy กำกับ

การดำเนินการธรรมาภิบาลข้อมูลต้องมีนโยบายข้อมูล (Data Policy) มากำกับดูแลชุดข้อมูลแต่ละชุด โดยมี Policy Template หรือแนวปฏิบัติเป็น Template ให้หน่วยงานนำไปใช้ เพื่อทำให้ข้อมูลมีคุณภาพ

นอกจากนี้ ต้องเข้าใจตรงกันว่า ข้อมูลที่จะบริหารจัดการนั้น ต้องได้รับการจัดหมวดหมู่เพื่อให้มองเห็นภาพรวม โดยแบ่งเป็น 4 หมวดหมู่ (Data Category) คือ ข้อมูลสาธารณะ ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลความลับทางราชการ และข้อมูลความมั่นคง

ทั้งนี้ ข้อมูลสาธารณะ คือข้อมูลที่เปิดเผยได้ นำไปใช้ได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ขณะที่ข้อมูลที่ต้องได้รับการป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นข้อมูลอ่อนไหว (Sensitive Data) มีชั้นความลับเพื่อคุ้มครองความเป็นส่วนตัว (Privacy) หรือความปลอดภัย (Security) ของบุคคลหรือองค์กร แบ่งเป็น 5 ชั้น คือ ชั้นเปิดเผย (Open) ชั้นเผยแพร่ภายในองค์กร (Private) ชั้นลับ (Confidential) ชั้นลับมาก (Secret) และชั้นลับที่สุด (Top Secret) (รายละเอียด 5 ชั้นความลับ ตามมาตรฐาน มสพร. X-2565 ว่าด้วยร่างหลักเกณฑ์การจัดชั้นความลับและแบ่งปันข้อมูลภาครัฐ คลิก https://bit.ly/3ppmWea)

หลังจากจัดหมวดหมู่ข้อมูล จะต้องจัดทำชุดข้อมูลดิจิทัล หรือเมทาดาตา (Metadata) ซึ่งคือ ข้อมูลที่ใช้กำกับและอธิบายข้อมูลหลักหรือกลุ่มของข้อมูลอื่น เพื่อสร้างความเข้าใจต่อข้อมูลมากยิ่งขึ้น โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ เมทาดาตาเชิงธุรกิจ (Business Metadata) และเมทาดาตาเชิงเทคนิค (Technical Metadata)

อย่างไรก็ตาม การดำเนินการบริหารจัดการข้อมูลควรทราบถึงองค์ประกอบในการบริหารจัดการตลอดทั้งระบบบริหารและกระบวนการจัดการข้อมูล หรือวงจรชีวิตของข้อมูล ซึ่งก็คือ “ลำดับขั้นตอนของข้อมูล ตั้งแต่เริ่มสร้างข้อมูลไปจนถึงการทำลายข้อมูล” (รูปที่ 3 น.15 คลิก https://bit.ly/3QrcJcu) ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ

  1. กระบวนการสร้างข้อมูล (Create) เป็นการสร้างข้อมูลขึ้นมาใหม่
  2. กระบวนการจัดเก็บข้อมูล (Store) 
  3. กระบวนการใช้ข้อมูล (Use) 
  4. กระบวนการเผยแพร่ข้อมูล (Publish)
  5. กระบวนการจัดเก็บข้อมูลถาวร (Archive)
  6. กระบวนการทำลายข้อมูล (Destroy)

สรุปว่า การจะพัฒนาระบบข้อมูลที่สำคัญของภาครัฐให้เป็นไปอย่างมีธรรมาภิบาลและมีประโยชน์ ล้วนต้องผ่านการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนและบูรณาการข้อมูลของหน่วยงานของรัฐอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการพัฒนาศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสิ่งนี้จะกลายเป็นคุณค่าสูงสุดของการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐนั่นเอง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ท่านสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องและอำนวยความสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ รวมถึงช่วยให้เราปรับปรุงการนำเสนอเนื้อหาตรงตามความต้องการของท่าน โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ประกาศการใช้คุกกี้ และ ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่าข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า