Digital Transformation ก้าวสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสู่โลกดิจิทัล

ปฏิเสธไม่ได้ว่าองค์กรในโลกยุคปัจจุบันขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและความรวดเร็วในการให้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคโควิด-19 เราก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าทุกองค์กรล้วนต้องปรับกระบวนการทำงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

Twilio ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารของอเมริกาได้สำรวจผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจภายในองค์กรกว่า 2,569 ราย เกี่ยวกับการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนการทำงานให้เป็นรูปแบบดิจิทัล หรือ Digital Transformation พบว่า 97% เชื่อว่าการระบาดครั้งใหญ่นี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็น Digital Transformation โดย 95% บอกว่าพวกเขากำลังมองหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อจะให้บริการกับลูกค้า โดยที่ 79% ยังบอกอีกว่า โควิด-19 เป็นแรงกระตุ้นทำให้หน่วยงานของพวกเขาเพิ่มงบประมาณสำหรับ Digital Transformation อีกด้วย

นั่นหมายความว่าหลายองค์กรมั่นใจว่า Digital Transformation จะเป็นรูปแบบที่ทำให้การทำงานสามารถเดินหน้าฝ่ามรสุมของสถานการณ์โรคระบาดครั้งนี้ได้

Digitization, Digitalization, Digital Transformation

ในกระแสของคำว่า Digital Transformation ยังมีคำว่า Digitization และ Digitalization รวมอยู่ด้วย ทุกคำมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการพัฒนาองค์กรให้กลายเป็นดิจิทัล แต่ความหมายของทั้งสามคำนั้นมีการแตกต่างในกระบวนการทำงานอยู่

Digitization และ Digitalization กลายมาเป็น Digital Transformation

สองคำนี้ถึงแม้จะฟังดูใกล้กัน แต่ความจริงนั้นมีความหมายแตกต่างกันออกไปอย่างชัดเจน Digitization หรือกระบวนการทำให้เป็นดิจิทัล คือการเปลี่ยนแปลงข้อมูล “รูปแบบกายภาพ” เป็น “รูปแบบดิจิทัล” เช่น การแปลงเอกสารในกระดาษให้เป็นรูปแบบดิจิทัล กลายเป็นระบบไฟล์ที่สามารถจัดเก็บอย่างสะดวก

แต่ Digitalization คือการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานแบบอนาล็อกให้กลายเป็นดิจิทัล ยกตัวอย่างเช่น หากเรามีข้อมูลบนแผ่นกระดาษแล้วแปลงมาเป็นไฟล์ PDF จะเป็นกระบวนการ Digitization และถ้าหากเราแชร์ไฟล์ PDF ดังกล่าวผ่านในคลาวด์ที่เชื่อมโยงกับแผนกอื่นๆ ในที่ทำงาน กระบวนการนี้ก็คือการ Digitalization นั่นเอง

และเมื่อเรานำข้อมูลดิจิทัลมาวิเคราะห์ จนพัฒนาเป็นกลยุทธ์เพื่อเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานขององค์กรโดยใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย นั่นก็คือ Digital Transformation

ดังนั้น Digital Transformation ไม่ใช่กระบวนการทำงานอย่างเดียว จะเริ่มตั้งแต่การกำหนดกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับองค์กร และบุคลากรจะต้องมีทักษะใหม่ๆ ที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานสู่ดิจิทัลให้ได้

ผลงาน Digital Transformation ในเอกชน

เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2021 รถไฟไร้คนขับได้เริ่มเปิดใช้ครั้งแรกที่เมืองฮัมบูร์ก เยอรมนี โดยระบบรถไฟไร้คนขับนี้สามารถวิ่งบนรางรถไฟร่วมกับรถไฟขบวนอื่นๆ ที่ใช้คนควบคุม โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัท Siemens และ Deutsche Bahn ผู้ให้บริการรถไฟของเยอรมนี โดยรถไฟขบวนนี้สามารถขนส่งผู้โดยสารได้มากถึง 30% และลดการใช้พลังงานได้ถึง 30%

ความโดดเด่นของระบบรถไฟอัตโนมัตินี้อยู่ที่ระบบทุกอย่างเป็น Digitalization ใช้ระบบจัดการเดินรถไฟอัตโนมัติ (Automatic Train Operation – ATO) ระบบนี้จะควบคุมรถไฟ โดยได้รับข้อมูลเกี่ยวกับตารางเดินรถ, คำสั่งสัญลักษณ์ต่างๆ, การจำกัดความเร็วรถไฟแบบดิจิทัลผ่านเซ็นเซอร์และกล่องสัญญาณ

ไม่ใช่แค่การให้บริการด้านคมนาคมที่ Siemens ปรับเปลี่ยนมาดำเนินการกระบวนการทำงานให้เป็นดิจิทัล พวกเขายังร่วมมือกับ BioNTech เปลี่ยนโรงงานให้กลายเป็นสถานที่ผลิตวัคซีน mRNA เพื่อป้องกันโควิด-19 โดยสามารถลดระยะเวลาจาก 1 ปีให้เหลือเพียง 5 เดือนได้ด้วยระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยี

Digitalization

งานดังกล่าวรวมไปถึงการเก็บข้อมูลแบบดิจิทัลที่ไม่ใช้กระดาษ การชั่งน้ำหนักอัตโนมัติแทนการใช้คนจัดการ นอกจากนี้ Siemens ยังใช้เทคโนโลยี Digital twins เพื่อทำแบบจำลองดิจิทัลในการวิเคราะห์จำลองสถานการณ์แบบเรียลไทม์ ทำให้ลดระยะเวลาในการตัดสินใจหาโมเดลที่ดีที่สุดในการผลิตวัคซีนที่มีคุณภาพ ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้จากการเปลี่ยนเป็น Digital Transformation

ภาครัฐกับการเป็นรัฐบาลดิจิทัล

เพื่อตอบสนองการให้บริการของประชาชนและภาคธุรกิจที่ต้องการความรวดเร็วและทันสมัย จึงได้เกิดพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า พรบ.รัฐบาลดิจิทัล เพื่อช่วยลดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อนของหน่วยงานรัฐ ลดขั้นตอนการให้บริการด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้

พรบ.รัฐบาลดิจิทัล กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้สอดคล้องกับการกำหนดหลักเกณฑ์พัฒนามาตรฐาน ซึ่งกำหนดไว้ดังนี้

  • ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance for Government)
  • การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Government Data)
  • การจัดทำกระบวนการหรือการดำเนินงานทางดิจิทัล (Digitalization)
  • การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital Identity: ID)
  • การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัล (Data Exchange)

จะเห็นว่าการทำ Digitalization เป็นหนึ่งในก้าวที่สำคัญสำหรับการเริ่มต้นการเป็นรัฐบาลดิจิทัล ซึ่งปัจจุบันหลายหน่วยงานเริ่มเปิดให้ใช้บริการแล้ว ยกตัวอย่างเว็บไซต์ศูนย์กลางบริการภาครัฐสำหรับประชาชน (GovChannel) ที่เป็นศูนย์กลางการเข้าถึงข้อมูลและบริการสำหรับประชาชน โดยใช้งานได้ที่ https://www.govchannel.go.th/

อ้างอิง

https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/page/opdc.pdf
https://onde.go.th/assets/portals/1/files/620425-Government%20Gazette.PDF
https://www.forbes.com/sites/johnkoetsier/2020/09/10/97-of-executives-say-covid-19-sped-up-digital-transformation/?sh=753a14647997

https://www.forbes.com/sites/jasonbloomberg/2018/04/29/digitization-digitalization-and-digital-transformation-confuse-them-at-your-peril/?sh=3a6163d42f2c https://www.fastcompany.com/90737945/from-automated-trains-to-vaccine-production-siemens-is-changing-the-world-with-digitalization?partner=rss&utm_source=rss&utm_medium=feed&utm_campaign=rss+fastcompany&utm_content=rss

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ท่านสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องและอำนวยความสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ รวมถึงช่วยให้เราปรับปรุงการนำเสนอเนื้อหาตรงตามความต้องการของท่าน โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ประกาศการใช้คุกกี้ และ ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่าข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า